Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Mother Jones

แมรี่ แฮร์ริส , โจนส์ (Mary Harris Jones)

เจ้าของฉายา ผู้หญิงที่อันตรายที่สุดในสหรัฐอเมริกา (The most dangerous woman in America)
 

เกิดในครอบครัวเกษตรกร บ้านของเธอเป็นโรมันแคธอริก พ่อของเธอชื่อ ริชาร์ด แฮร์ริส (Richard Harris) และแม่ชื่อเอลเลน คอตเตอร์  (Ellen Cotter) โจนส์ เกิดในเมืองโคร์ก (Cork) ในประเทศไอร์แลนด์ เอกสารทางการบอกว่าเธอเกิดในวันที่ 1 สิงหาคม 1837 แต่ทว่าตัวเธอเองบอกว่าเกิดในวันที่ 1 พฤษภาคม 1830 
ครอบครัวเธอย้ายมายังประเทศแคนาดาเมื่อเธออายุราว 14 ปี เพราะช่วงนั้นในปีเกิดภาวะอดอยากกระจายไปทั่วไอร์แลนด์ (1845-1849) เธอเข้าเรียนในโรงเรียนแคธอริก ในเมืองโตรอนโต้ จบการศึกษาในปี 1854 ขณะอายุ 17 ปี
1855 บ้านของเธอย้ายอีกครั้งมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เริ่มทำงานเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตเป็นครูในปี 1957 จากรัฐมิชิแกน ซึ่งเธอได้เริ่มทำงานเป็นครูในโรงเรียนคอนแวนต์ เซนต์แมรี่ (St.Mary’s Convent) เมืองมอนโร (Monroe) มิชิแกน แต่ว่าเธอสอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ได้ประมาณ 8 เดือนเท่านั้น ก่อนที่จะย้ายไปยังชิคาโก้ เพื่อทำงานเป็นช่างตัดเสื้อผ้า และจากชิคาโก้ เธอยังเดินทางต่อไปที่เมืองเมมฟิส ในรัฐเทนเนสซี
1860 กลับมาทำงานเป็นครูอีกครั้งหนึ่ง
1861 แต่งงานกับ จอร์จ โจนส์ (George E. Jones) เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพแรงงานหลอมเหล็กแห่งชาติ
ในปีนี้โจนส์ได้เปิดร้านตัดเสื้อผ้าของตัวเองในเมืองเมมฟิสด้วย
1867 สามีของเธอและลูกทั้งหมดเสียชีวิตจากไข้เหลืองซึ่งระบาดอย่างหนักในเวลานั้น หลังจากพวกเขาเสียชีวิตไปแล้วทำให้เธอตัดสินใจเดินทางกลับมายังชิคาโก เธอเปิดร้านตัดเสื้อผ้าอีก
1871 เกิดไฟไหม้ใหญ่ในชิคาโก ทำให้บ้านและร้านขายเสื้อผ้าของโจนส์ถูกไฟไหม้ ตอนนั้นมีกลุ่ม Knights of Labor ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โจนส์จึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มนี้ โดยที่ตัวเธอเองยังทำงานเย็บเสื้อผ้าต่อไป แต่ว่าเธอไม่ได้ซ่อมแซมบ้านของตัวเอง เธอกลับอาศัยอยู่กับ Knights of Labor หลับนอนตามเต็นท์ของอาสาสมัคร ซึ่งกลุ่ม KL นี้เดินทางไปทั่วประเทศ ทำให้เธอได้พบเห็นสภายการทำงานที่ยากลำบากของแรงงาน บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกเอารัดเอาเปรียบ และต้องนัดหยุดงานเพื่อประท้วง ชีวิตจากนี้ไปของเธอไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่งอีกเลยหลายสิบปี จนเธอบอกว่า “ที่อยู่ของฉันคือบนรองเท้าฉันนี่ … ” (My Address is like my shoes, it travel with me, i abide where there is a fight agaisnt wrong)
1877 เธอให้การสนับสนุนแรงงานรถไฟในบัลติมอร์และโอไฮโอนัดหยุดงานประท้วง
1886 1 พฤษภาคม วันแรงงาน มีการนัดหยุดงานในชิคาโก้ เพื่อเรียกร้องให้มีการกำจัดเวลาการทำงานในแต่ละวันที่ 8 ชั่วโมง 2 วัน หลังจากการประท้วงดำเนินไป เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สังให้มีมการสลายการชุมนุม ผู้ประท้วงถูกตำรวจฆ่าตายไปสองคน พอวันที่ 4 ผู้ประท้วงได้นัดชุมนุมกันอีกครั้งที่จตุรัส Haymarket Square เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากตำรวจ แต่ว่าตำรวจยังได้สั่งให้ผู้ประท้วงสลาย มีการยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมอีก และยังมีระเบิดถูกปาเข้ามาในกลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 11 คน ทำให้วันนั้นผู้ชุมนุมต้องสลายตัวไปในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้โจนส์ อ้างว่าตัวเธอเองเกิดในวันที่  1 พฤษภาคม เพื่อระลึกถึงความสูญเสีย และยังเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ของแรงงานอย่างพวกเธอด้วย
1894 โจนส์ ร่วมการนัดหยุดงานของแรงงานรถไฟอีก ในเบอร์มิงแฮม อลาบาม่า
1901 ร่วมการประท้วงของแรงงานทอผ้าในเพนซิวาเนีย ซี่งผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นสตรีวัยรุ่่น ที่ต้องการเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าจ้างในอัตราเดียวกับผู้ใหญ่ มาเธอร์โจนส์ ได้รับการร้องขอจาก Jonh Mitchell ประธานของสหภาพแรงงานเหมืองแร่แห่งสหรัฐ ให้เข้าช่วยปลุกเร้าให้แรงงานเหล่านั้นเกิดความกล้าหาญในการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง หลายครั้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกันยายน แต่ว่างานนี้ยังมีแรงงานสตรีกล้าที่จะออกมาน้อยอยู่มาก
ในปีนี้ เธอมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มีการก่อตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งสหรัฐอเมริกา (Socialist Part of America)
1902 ร่วมการประท้วงของกลุ่มแรงงานเหมืองถ่านหิน ในเพนซิวาเนีย
1903 เข้าร่วมในกิจกรรม Chirldren’s Crusade ซึ่งเด็กๆ ที่ทำงานในเหมืองและโรงสี พากันเดินประท้วง ผ่านหลายรัฐ จากเคนซิงตัง, ฟิลาเดนเฟีย, เพลซิวาเนีย, ออยเตอร์ เบย์ , นิวยอร์ค และไปสิ้นสุดที่บ้านของ ปธน. รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) เพื่อเรียกร้องสิทธิของเด็กๆ ในการได้เข้าเรียนหนังสือ ไม่ใช่ต้องถูกใช้แรงงานในเหมือง มาเธอร์โจนส์ ชี้ให้เห็นว่าเด็กเหล่านั้นหลายคนเสียนิ้วและอวัยวะไปเพราะถูกใช้แรงงาน แต่ว่าวันนี้รูสเวลต์ ปฏิเสธที่จะออกมาพบกับกลุ่มผู้ประท้วง
1909 ร่วมการประท้วงของแรงงานผลิตเบียร์ของโรงงาน Milwaukee
1912 18 เมษาายน 1912- กรกฏาคม 1913 เกิดเหตุการณ์นัดหยุดงาน Paint Creek-Cabin Creek strike ในเหมืองถ่านหิน ในเวสต์เวอร์จิเนีย ซึ่งแรงงานพากันประท้วงให้ปรับอัตราค่าจ้างให้เท่าเที่ยมกัน มาเธอร์โจนส์ ได้เดินทางมายังที่แห่งนี้ในเดือนมิถุนายน เพราะว่าเจ้าของเหมืองพยายามไล่แรงงานที่ประท้วงออกจากงานและที่พัก โดยเอาแรงงานใหม่มาแทน เจ้าของเหมืองซึ่งมีกองกำลังส่วนตัว ได้ใช้อาวุธเข้าทำร้ายแรงงานเหล่านั้น จนเหตุการณ์บานปลาย ทั้งสองฝ่ายจับอาวุธเข้าสู้กัน จนทำให้ผู้ว่าประกาศกฏอัยการศึก ถึง 3 หน เพื่อควบคุมเหตุการณ์ ในวันที่ 2 กันยายน-15 ตุลาคม , 15 พฤศจิกายน-10 มกราคม 1913 , และ 10 กุมภาพันธ์
มาเธอร์โจนส์ ถูกจับในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1913 โดยศาลทหารตั้งข้อหาว่าเร่งเร้าให้ผู้ประท้วงใช้ความรุนแรง เธอถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี โดยที่มาเธอร์โจนส์ ปฏิเสธที่จะอุทรณ์ เธอปฏิเสธคำตัดสินของศาลทหาร มาเธอร์โจนส์ ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายในบ้าน ของ นางคาร์เนย์ (Mrs.Carney) ก่อนที่มาเธอร์โจนส์ จะแอบส่งจดหมายถึงวุฒิสมาชิก จอห์น เคิร์น  (John Worth Kern) ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนแรงงาน ซึ่งที่สุดแล้วมาเธอร์โจนส์ ถูกขังเอาไว้ 85 วัน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว , ตลอดการประท้วงนี้มีผู้เสียชีวิตไป 50 คน สร้างความเสียหายกว่า 100 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพแรงงานของสหรัฐ
1914 Ludlow Massacre เกิดการสังหารหมู่แรงงานเหมืองถ่านหิน 19-25 คน ในรัฐโคโลราโด้ โดยเจ้าหน้าที่ของทางการ ในวันที่ 20 เมษายน พวกเขาถูกยิงด้วยอาวุธปืน มีทั้งเด็กและผุ้หญิงร่วมอยู่ด้วย ก่อนที่จะถูกนำไปเผาในภายในเต็นท์ มาเธอร์โจนส์ เธอนำเรื่องนี้ไปบอกเล่าในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้สิทธิให้กับแรงงานและผู้เสียชีวิต แต่ในเวลานั้นมันไม่เป็นผล เพราะเจ้าของเหมืองเหล่านั้น ล้วนเป็นบริษัทยักษ์ของอเมริกาในกลุ่มของร็อคกีเฟลเลอร์
1916 ร่วมการประท้วงของคนขับรถแท็กซี่ในเทกซัสและนิวยอร์ค
1919 ร่วมการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศของแรงงานในโรงงานหลอมเหล็กทั่วประเทศ
1924 ถูกศาลสอบสวน โดยตั้งข้อหาว่าปลุกระดม ก่อความวุ่นวายด้วยคำพูดหรือเอกสารเท็จ 
1925 เขียนหนังสือ The Autobiography of Mother Jones , เธอมีประโยคที่เป็นที่รู้จักดี อย่าง
I’m not a humanitarian. I’m a hell-raiser … ฉันไม่ใช่นักมนุษยชน ฉันเป็นผู้ปลุกนรก 
Pray for the dead and fight like hell for the living … จงสวดภาวนาให้แก่ผู้เสียชชีวิต จงสู้เพื่อนรกสำหรับดำรงชีพ
ระหว่างที่พักอยู่ในฟาร์มของเพื่อน เธอถูกคู่สามีภรรคยาคู่หนึ่งเข้ามาทำร้าย ทำให้เธอต่อสู้ และสองคนนั้นหนีไปโดยได้รับบาดเจ็บ หญิงแก่วัย 54 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัญและตายในเวลาต่อมาเพราะถูกบูทของมาเธอร์โจนส์เข้าที่หัว ทำให้ตำรวจจับมาเธอร์โจนส์ แต่ว่าไม่นานเธอได้รับการปล่อยตัวเพราะว่าสามารถชี้ให้เห็นว่าสองคนนั่นมาทำร้ายเธอก่อน และยังเกี่ยวข้องกับนักธุรกิจดังอยู่เบื้องหลัง
ช่วงปลายของชีวิต มาเธอร์โจนส์ อาศัยอยู่ในฟาร์มของเพื่อนชื่อ วอลเตอร์และลิลเลีย เบอร์เกส (Walther,Lillie Burgess) ในรัฐแมรี่แลนด์ เธอเสียชีวิตในวันที่ 30 พฤศจิกายน 1930 อายุ 93 ปี แต่หากนับวันเกิดที่บอก ก็จะมีอายุ 100 ปี ,
มีการนำร่างมาเธอร์โจนส์ มาเปิดให้สาธารณชนได้ไว้อาลัยที่วิหารเซนต์เกเบรียล ในวอชิงตัน ดี.ซี.  มีผู้มาไว้อาลัยเธอหมื่นกว่าคน ก่อนที่จะนำร่างของ มาเธอร์ โจนส์ ไปฝังในสุสานของสหภาพแรงงานเหมืองในเมาท์โอลีฟ รัฐอิลินอย (Unoin Miners Cemetery, Mount Olive, Illinois)
มาเธอร์โจนส์ ถูกเรียกขานฉายาอื่น อีก อย่าง นางฟ้าของแรงงานเหมืองแร่ (The Miners’ Angel) และ คุณย่าของนักประท้วง (The Grandmother of All Agitators)
1931 มีเพลงชื่อ The Death of Mother Jones แต่งโดยบุคคลนิรนาม อุทิศให้แก่เธอ , ร้องโดย Gene Autry ,และยังเชื่อว่าเพลง She’ll Be Coming ‘Round the Mountain แต่งในปี 1927 ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเด็กๆ คำว่า She หมายถึง มาร์เธอโจนส์
1970 มีการตั้งแมกกาซีนชื่อ Mother Jones เพื่อระลึกถึงเธอ
Don`t copy text!