Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Alexander Kerensky

Alekxander Karensky wikipedia.org

อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Александр Фёдорович Керенский)

ผู้นำการปฏิวัติปี 1917 ในรัสเซีย , นายกรัฐมนตรีคนที่สองของรัฐบาลเฉพาะกาล
เขาเกิดในเมืองซิมเบิรส์ก (Simbirsk) ริมฝั่งแม่น้ำโวลก้า ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1881 พ่อของเขาคือฟิโอดอร์ (Fyodor Kerensky) เป็นครูในโรงเรียนประถม ซึ่งแต่งงานกับนาเดชด้า แอ๊ดเลอร์ (Nadezhda Adler) หญิงซึ่งมาจากครอบครัวที่มีชื่อเสียง บิดาของเธอทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายแผนที่ในกองทัพประจำคาซาน ชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander Adler) เขาเคยเป็นหัวหน้าของเลนิน (Vladimir Ulyanov) ตอนสมัยยังเป็นนักเรียนอยู่ในซิมกิ้น ซึ่งสมาชิกของตระกูลเคเรนสกี และอุลยานอฟ (Ulyanov) นั้นมีความสนิทสนมกัน
1889 ตอนที่เคเรนสกี อายุได้ 8 ปี ครอบครัวของเขาย้ายมายังทัชเคนต์ (Tashkent) เพราะพ่อของเขาได้รับตำแหน่งใหม่ให้เป็นผู้ตรวจการณ์ของโรงเรียน , คาเรนสกีนั้นเรียนจบมัธยมต้นจากโรงเรียนในทัชเคนต์นี้ โดยที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม และหลังจากเรียนจบในปีนี้ เขาได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ทางด้านประวัติศาสตร์และปรัชญา แต่ว่าพอปีถัดมาเขาได้เปลี่ยนมาเรียนทางด้านกฏหมายแทน
1904 จบการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ หลังจากเรียนจบแล้วก็ได้แต่งงานทันทีกับลูกสาวนายพลคนหนึ่ง เธอชื่อ Olga L. Baranovskaya เขานั้นทำงานเป็นที่ปรึกษากฏหมาย โดยเฉพาะกับผู้ที่ถูกดำเนินคดีในช่วงการปฏิวัติ 1905
1912 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาดูม่า ครั้งที่ 4 โดยเขาร่วมกับพรรค Trudoviks ซึ่งเป็นพรรคในแนวสายกลาง แต่ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคฝ่ายซ้ายในสภา
1917 เมื่อเกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ เคเรนสกีนั้นเป็นหนึ่งในบรรดาแกนนำก่อการปฏิวัติครั้งนี้ และเขาเองก็ได้เข้าเป็นคณะกรรมการของรัฐบาลเฉพาะกาล และได้รับเลือกให้เป็นประธานของ Petrograd Soviet  (สภากรรมกร) ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรมคนแรก ของรัฐบาลเฉพาะกาลด้วย 
แต่ว่าเมื่อจดหมายติดต่อระหว่าง Pavel Milyukov รัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้น กับอังกฤษและฝรั่งเศสถูกเปิดเผยในเดือนเมษายน ซึ่งเนื้อหาในจดหมายบอกว่ารัสเซียจะยังคงทำสงครามต่อไปหากจำเป็น ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อรัฐบาลเฉพาะกาล  แรงงานพากันไปสนับสนุนฝ่ายบอลเชวิคมากขึ้น เดือนพฤษภาคม จึงได้มีการปรับรัฐบาลใหม่ และเคเรนสกีได้เป็นรัฐมนตรีกิจการสงคราม แต่ว่ารัฐบาลชุดใหม่ก็ยังได้รับแรงกดดันจากฝ่ายสัมพันธมิตรให้ทำสงครามต่อไป ซึ่ง 1 กรกฏาคม คาเรนสกี ได้สั่งให้กองทัพมีการโจมตีออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมัน ที่ประจำอยู่ในกาลิเซีย (Galicia) ลเวียฟ (Lviv) ซึ่งในสองอาทิตย์แรกกองทัพรัสเซียประสบความสำเร็จมาก แต่ว่าพอวันที่ 16 กรกฏาคม กองทัพเยอรมันก็เริ่มโจมตีตอบโต้ จนรัสเซียต้องเป็นฝ่ายถอยทัพ โดยเสียการควบคุมในยูเครนและแลตเวียให้กับเยอรมัน ในวันเดียวก็ ยังเกิดการจราจลใหญ่ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (July Days) นายกรัฐมนตรี เจ้าชาย ลโวว (Price Lvov) ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเคเรนสกี ขึ้นเป้นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่ในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ขณะมีอายุเพียง 36 ปี
ผลของการแพ้ครั้งนี้ ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลเฉพาะกาล และหันไปสนับสนุนพรรคบอลเชวิคของเลนินมากขึ้น คาเรนสกี เป็นฝ่ายที่ถูกโจมตี อย่างการที่เขายกเลิกโทษประหารของทหารที่หนีทัพ นั่นทำให้เกิดกลุ่มทหารที่ไม่ฟังคำสั่งมากขึ้นในแนวหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้กองทัพแพ้ ประมาณว่ามีทหารกว่า 2 ล้านคนที่หนีทหารในปีนี้
15 กันยายน คาเรนสกี ประกาศให้รัสเซียเป็นสาธารณรัฐ แต่นั้นเป็นการใช้อำนาจที่ขัดแย้งกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) ที่กำลังวางกรอบการปกครองของประเทศอยู่
คาเรนสกี อยู่ในตำแหน่งต่อมาจนกระทั้งพวกบอลเชวิค ทำการปฏิวัติในเดือนตุลาคม ตอนนั้นรัฐบาลเฉพาะกาลในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ล้มลงอย่างง่ายดายโดยที่แทบไม่มีกองกำลังทหารสนับสนุนเลย บอลเชวิคใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมงก็ยึดอำนาจไปได้
คาเรนสกี หนึไปอยู่กับ พัสคอฟ (Pskov) ที่มีทหารจำนวนหนึ่งที่พยายามจะบุกยึดเมืองคืน แต่ก็แพ้ในวันต่อมาในการปะทะที่พุตโกโว (Pulkovo) หลังจากนั้นคาเรนสกี ก็หนึออกจากรัสเซีย มายังฝรั่งเศส 
ช่วงสงครามกลางเมืองในรัสเซีย คาเรนสกี ไม่ได้สนับสนุนทั้งกองทัพแดงหรือกองทัพขาวเลย
1939 เขาแต่งงานกับอดีตนักข่าวชาวออสเตรเลีย ชื่อ ลิเดีย (Lydia Tritton) และปีต่อมาเมื่อเยอรมันยึดฝรั่งเศสได้ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลก พวกเขาก็หนีไปยังสหรัฐอเมริกา คาเรนสกี ประกาศสนับสนุนสตาลิน ในช่วงสงครามโลก แต่ว่าไม่เคยได้รับการตอบรับจากฝ่ายโซเวียตด้วยเห็นว่าเขาไม่ได้มีบทบาทอะไรแล้ว
1945 ลิเดียมีอาการป่วย ทำให้พวกเขาเดินทางมายังบริสเบน ออสเตรเลีย เพื่อพักผ่อนและอาศัยกับครอบครัวของฝ่ายลิเดีย แต่ลิเดียก็เสียชีวิตในวันที่ 10 เมษายน 1946 คาเรนสกีจึงกลับสหรัฐอเมริกาหลังจากนี้ เขาอาศัยอยู่ในนิวยอร์ค แต่ก็ใช้เวลาในการทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลับสแตนฟอร์ตในแคลิฟอร์เนียด้วย
1970 คาเรนสกี เสียชีวิตภายในบ้านในนครนิวยอร์ค ในวันที่  11 มิถุนายน  ตอนนั้นโบสถ์นิกายรัสเซียออโธดอกซ์ในนิวยอร์คปฏิเสธที่จะประกอบพิธีให้เขา เพราะเห็นว่าเขากลายเป็นพวกฟรีเมสันและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้รัสเซียตกอยู่ใต้อำนาจคอมมิวนิสต์ นั่นทำให้ร่างของเขาถูกส่งมายังลอนดอน และประกอบพิธีที่สุสาน Putney Vale 
คาเรนสกี มีลูกชายสองคน คือ โอเล็ก (Oleg) และ เกล็บ (Gleb) ทั้งคู่เป็นวิศกร อาศัยอยู่ในอังกฤษ โอเล็ก คาเรนสกี มีส่วนในการออกแบบสะพานฮาร์เบอร์ บริด (Sydney Harbour Bridge) ในออสเตรเลีย
Don`t copy text!