Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Faddey Bellinsgauzen

Faddey Bellinsgauzenwikipedia.org

แฟดเดย์ เบลลิงส์กัวเซน (Фаддей Фаддеевич Беллинсгаузен, Faddey Faddeyevich Bellinsgauzen)

ผู้ค้นพบทวีปแอนตาร์คติก้า
ชื่อตอนเกิด คือ Fabian Gottlieb Thaddeus von Bellingshausen , แฟดเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 1778 (9 กันยายน ปฏิทินเก่า)ในดินแดน บอลติก-เยอรมัน (Baltic German~ ปัจจุบันดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในเอสโตเนียและแลตเวีย) ในหมู่บ้านชื่อลาห์เฮนเตจจ์ (Lahhentagge) บนเกาะซาเรม่า (Saaremaa) เกาะขนาดใหญ่ที่สุดของเอสโตเนียในทะเลบอลติก ในขณะนั้นบอลติก-เยอรมัน อยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิรัสเซีย
ครอบครัวเขาเป็นชาวประมงและนักเดินเรือ ชีวิตของเขาส่วนใหญ่จึงอยู่กับทะเล
ตอนอายุ 10 ขวบ เขาเข้าเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารเรือ โดยเข้าเรียนที่ Kronstadt Naval Cadet Corps 
1797 เรียนจบตอนอายุ 18 ปี โดยติดยศ Warrant หลังจากนั้นเขาใช้เวลากว่า 5 ปี ในการเดินเรืออยู่ในแถบทะเลบอลติก
1803 ผู้บังคับบัญชาของแฟดเดย์ ได้แนะนำให้เขารู้จักกับอีวาน ครุเซนสเติร์น (Ivan Kruzenstern) ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มทีมสำรวจทางภูมิศาสตร์ทะเลบอลติก
กรกฏาคม เรือชื่อ ดาเดชด้า (Надежда~ความหวัง)ของครุเซนสเติร์น ได้เริ่มการสำรวจ เป็นเวลา 3 ปี เพื่อรวบรวบข้อมูลภูมิประเทศ และตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งครุเซนสเติร์นได้ให้แฟดเดย์ อ่านรายงานการสำรวจของเขา ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนต่างถิ่นไว้จำนวนมาก  ระหว่างการเดินทางนี้แฟดเดย์ติดยศพันโทแล้ว และเมื่อกลับมาเขาก็ได้รับยศสูงขึ้นเป็นพลโท ซึ่งทำให้เขามีประสบการณ์เพียงพอในการบัญชาการเรือรบ
1812-1816 เป็นผู้บัญชาการเรือฟรีเกต ชื่อ มิเนอร์ว่า (Минерва)
1817-1819 เป็นผู้บัญชาการเรือฟรีเกต ชื่อ ฟลอร่า (Флора)

เมื่อ 300 ปี ก่อนคริสต์กาล นักปราชญ์ชาวกรีก อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้เขียนแผนที่โลกเอาไว้ฉบับหนึ่ง ซึ่งในแผนที่มีดินแดนหนึ่งลงจากแอฟริกาลงไป ที่เขาตั้งชื่อเรียกว่า เทอร์ร่า ออสเตรลิส (Terra Australis) ซึ่งแปลว่า ดินแดนทางใต้ที่ไม่รู้จัก (Unknown Southern Land) จนกระทั้งราว  ค.ศ  200 นักปราชญ์ ชาวกรีก  ปโตเลมี (Ptolemy) ได้วาดแผนที่อีกฉบับหนึ่งขึ้นมาก ซึ่งเขาได้อธิบายว่าเทอร์ร่าออสเตรลิส เป็นทวีปขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมโลกด้านใต้ทั้งหมด ซึ่งเปรียบแล้ว มหาสมุทรอินเดียก็เป็นได้แค่ทะเลสาบ

ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาวอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ ดาลริมเปิ้ล (Alexander Dalrymole) ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับดินแดนลึกลับ ที่เขาอ้างว่ามีประชากรอาศัยราว 5 หมื่นคน ช่วงเวลาดังกล่าวนักเขียนแผนที่ได้วาดเทอร์ร่าออสเตรลิส ไปไว้ทางขั่วโลกใต้

ค.ศ. 1773 กัปตัน เจมส์ คุก (James Cook) ได้เดินเรือเข้าไปใกล้ๆ กับขั่วโลกใต้ แต่ว่าก้อนน้ำแข็งในทะเลทำให้เขาไม่สามารถเข้าไปสำรวจบริเวณดังกล่าวได้ เขาเพียงแต่จอดเรือเพื่อสังเกตุการณ์ แต่ก็ไม่สามารถมองเห็นบริเวณที่เป็นแผ่นดิน และได้สรุปว่าเทอร์ร่าออสเตรลิส ไม่มีอยู่จริง ซึ่งในเวลานั้นโลกก็เชื่อเขา 

1819 45 ปี หลังจากเจมส์ คุก , ครุเซนสเติร์น ได้มีแนวคิดที่จะออกสำรวจขั่วโลกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้ออ้างของคุกส์ และกองทัพเรือของกองทัพรัสเซียในเวลานั้นได้มีความสนใจในไอเดียของเขา ซึ่งครุเซนสเติร์นได้เสนอชื่อของ แฟดเดย์ ให้เป็นหัวหน้าทีมสำรวจครั้งนี้
4 กรกฏาคม เรือ ว็อคสต็อก (Vostok, Восток) และเรือ มีร์นี (Mirny,Мирный) ได้ออกจากท่าเรือในครอนสแตดต์ (Kronstadt) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เรือว้อคสต๊อก นั้นควบคุมโดยแฟดเดย์ ส่วนเรือมีร์นี มีกัปตัน ชื่อ มิคาอิล ลาซาเลฟ (Mikhail Lazarev) มุ่งหน้าสู่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล และจะเริ่มมุ่งหน้าลงใต้เพื่อหาดินแดนปริศนากัน
ธันวาคม เรือสำรวจเดินทางมาถึงเกาะเซาร์จอร์เจีย (South Georgia Island~ ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนดิก อยู่ตำกว่าอาร์เจนติน่า ถูกค้นพบโดยเจมส์ คุก)  เรือสำรวจของรัสเซียเริ่มหันหัวเรือไปทางตะวันออกเฉียงใต้จากเกาะนี้
1820 16 มกราคม หลังพยายามที่จะเดินเรือหลบหรือฝ่าก้อนน้ำแข็ง ในที่สุดพวกเขาก็พบดินแดน ที่มันใจว่าเป็นทวีปเทอร์ร่า ออสเตรลิส , หลังจากนั้นพวกเขาเดินเรือไปยังทวีปใหม่นี้ ซ้ำอีก 5 ครั้งเพื่อให้แน่ใจ
มีนาคม เรือว็อคสต็อก และเรือมีร์นี เดินทางไปยังเมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย เพื่อรอให้สิ้นฤดูหนาว และเริ่มออกเดินทางสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ระหว่างทางนี้พวกเขาสามารถค้นพบเกาะใหม่ๆ ได้อีก 29 แห่งและเพิ่มมันลงไปในแผนที่
ธันวาคม พวกเขากลับมายังแอนตาร์คติกก้า และพยายามที่จะนำเรือไปจอดที่ชายฝั่งให้ได้ โดยพวกเขาได้ตั้งชื่อเกาะที่ใหญ่ที่สุดของแอนตาร์คติก้า เกาะอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 (Alexander I Island) และเกาะเล็กๆ ที่ห่างออกไป 450 กิโลเมตร ว่า เกาะปีเตอร์ ที่ 1 (Peter I Island) เกาะปีเตอร์ ที่ 1 นี้ถูกพบในวันที่ 21 มกราคม 1821 แต่ว่าแฟดเดย์ ไม่ได้แวะขึ้นที่เกาะนี้
แฟดเดย์ เขียนบันทึกเอาไว้ว่า “แม้เวลาจะทำลายอนุสาวรีย์ของมหาบุรุษเหล่านี้ เสียจากโลก แต่ว่าเกาะปีเตอร์ ที่ 1 และดินแดนแห่งอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ซึ่งมีอายุเก่าแก่เท่าเทียมกับโลกใบนี้ไม่อาจจะถูกทำลายตลอดกาล และจะส่งผ่านชื่อของมหาบุรุษเหล่านี้ให้ชนรุ่นหลังได้จดจำ”
1821 24 กรกฏาคม เรือทั้ง 2 ลำ เดินทางกลับมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก พร้อมด้วยตัวอย่างดินและสิ่งมีชีวิตที่รวบรวมมา เพื่อเป็นหลักฐานการมีอยู่ของทวีปใหม่ รวมระยะเวลาในการเดินทางสำรวจ 751 วัน
หลังจากเดินทางกลับมา แฟดเดย์ ได้รับการเลือนยศเป็นพลเรือตรี (Rear Admiral)
1828 ร่วมรบในสงครามระหว่างรัสเซีย และตุรกี (1829-1829)
1830 ได้เลือนต่ำแหน่งเป็น พลเรือโท (Vice Admiral) ในวันที่  6 ธันวาคม และได้รับหน้าที่เป็นผู้ว่าการของเกาะครอนสแตดด์
1852 เสียชีวิต ในวันที่ 25  มกราคม 1852 ( 13 มกราคม ปฏิทินเดิม) อายุ 73 ปี โดยก่อนเสียชีวิตมียศถึงชั้นพลเรือเอก (Admiral)  และเคยได้รับเหรียญ Order of St. Vladimir
เขาเขียนหนังสืออธิบายการเดินทางไปยังแอตแลนด์ติกไว้ในหนังสือชื่อ
  • Двукратные изыскания в Южном Ледовитом океане и плавание вокруг света в продолжение 1819, 1820 и 1821 годов  (Two Times Research in the Southern Arctic Ocean and sailing around the world during 1819,1820 and 1821)
ebook : http://www.e-reading.org.ua/book.php?book=145242
ชื่อ Antarctica หมายถึง Anti- Arctic , ฝั่งตรงข้ามกับขั่วโลกเหนือ นักวาดแผนที่ชาวสก็อต ชื่อ จอห์น บาร์โธโลเมว (John George Bartholomew) อ้างว่าเขาเป็นคนเริ่มใช้คำนี้ตั้งแต่ปี 1890
Don`t copy text!