Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Pedro Albizu Campos

เปโดร อัลบิซุ แคมโปส (Dr. Pedro Albizu Campos)

El Maestro "คุณครู"  ของชาวเปอร์โต ริโค

ดร. แคมโปส เกิดในจังหวัดปอนเซ่ (Ponce) ในเมืองมาเชโร อบาโจ (Machuelo Abajo) , เปอร์โต ริโค ในวันที่ 12 กันยายน 1891

พ่อของเขาชื่อว่า อเลจานโดร (Alejandro Albizu) และแม่ชื่อจัวน่า (Juana Campos)
เรียนหนังสือจนจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนมัธยมปอนเซ่ (Ponce High School)
1898 กองทหารอเมริกา เดินสวนสนามผ่านเมืองที่เขาอาศัย
1912 ดร.แคมโปส ได้รับทุนในการเรียนที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ (Vermont U.) ทางด้านวิศวกรรม เคมี
1913 ย้ายจากมหาวิทยาเวอร์มอนต์ ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard U.)
1917 ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาสมัครเข้าเป็นทหารอาสาให้กับกองทัพอเมริกา ซึ่งเขาได้ติดยศ Second Lieutenant ถูกคัดรายชื่อไว้เป็นกำลังพลสำรอง ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปประจำการในปอนเซ่ บ้านเกิดของเขา โดยทำหน้าที่ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของเมือง  ต่อมาได้ถูกเรียกตัวให้มาเป็นทหารสามัญในกองทัพแล้วส่งไปยังค่ายทหาร ลาส คาซาส (Camp Las Casas)  ในจังหวัดซานเทอเซ่ (Santurce) เพื่อรับการฝึกเพิ่มเติม โดยสังกัดหน่วยทหารราบที่ 375 (375th Infantry Regiment) ซึ่งเป็นหน่วยสำหรับคนผิวดำ อัฟริกัน-อเมริกัน  โดยเฉพาะ เนื่องจากนโยบายในการแบ่งแยกสีผิวของกองทัพสหรัฐเวลานั้น
1919 ปลดประจำการจากกองทัพ โดยได้ยศ First Lieutenant , หลังจากนั้น ดร.แคมโปส เดินทางกลับมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยที่เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานของชมรม Harvard Cosmopolitan Club
ดร. แคมโปส จบจากฮาร์วาร์ด ทางด้านนิติศาสตร์ จาก Harvard Law School และยังได้ปริญา ทางด้าน วรรณกรรม, ปรัญชา, วิศวะกรรมเคมี และวิทยาศาสตร์ทางทหาร  จาก Harvard College , เขายังมีความสามารถในการพูดภาษาต่างประเทศได้อีก 8 ภาษา ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน โปตุเกส อิตาลี ลาติน และกรีซ
1922 แต่งงานกับ ดร. ลัวร่า เมเนเซส (Dr. Laura Meneses) เธอเป็นคนเปรู ทั้งคู่ได้พบกันระหว่างเรียนที่ฮาร์วาร์ด
1924 เดินทางไปยังหลายประเทศ ทั้ง เฮติ, คิวบา, เม็กซิโก, เปรู, ปานามา, เวเนซูเอร่า , ซานโต โดมิโค เพื่อหาความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชให้กับเปอร์โต ริโค
1930 ดร. แคมโปส เปิดเผยเอกสารลายมือ ของ ดร.คอร์เนเลียส โธรเดส (Dr. Cornelius P. Rhoades) ซึ่งทำงานวิจัยยาให้กับสถาบันวิจัยร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Institute) ซึ่งในเอกสารที่ ดร. แคมโปส ได้รับมาจากบุคคลที่สาม , ดร. คอร์เนเลียส ได้เขียนถึงการใช้ชาวเปอร์โต ริโค ในการทดลองวัคซีนรักษาโรคมะเร็ง โดยจดหมายบอกว่า เขาได้สังหารมนุษย์ทดลองเหล่านั้นไป 8 คน แล้วมีการตัดเอามะเร็งออกมาเพื่อศึกษา
โดย ดร.คอร์เนเลียส เขียนเอาไว้ว่า 
“ ชาวเปอร์ โตริกัน นั้นสกปรก, ขี้เกียจ, เป็นเผ่าพันธ์ที่เลวและขี้ขโมยที่สุดในบรรดามนุษย์บนโลกนี้ … ผมได้พยายามอย่างดีที่สุดในการกำจัดพวกเขาไปแล้ว 8 คน แล้วก็นำเอาเซลล์มะเร็งไปปลูกถ่ายให้กับคนอื่นๆ อีก … นักวิจัยในทีมทุกคนล้วนมีความสุข ในการทรมานและกลั่นแกล้งสิ่งมีชีวิตที่โชคร้ายเหล่านี้ ”
“The Porto Ricans (sic) are the dirtiest, laziest, most degenerate and thievish race of men ever to inhabit this sphere… I have done my best to further the process of extermination by killing off eight and transplanting cancer into several more… All physicians take delight in the abuse and torture of the unfortunate subjects”
ในปีนี้ ดร.แคมโปส ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคชาตินิยมเปอร์โตริกัน (The Puerto Rican Nationalist Party) , เขาได้จัดให้มีคณะกรรมการสตรีเปอร์โต ริโก (Women’s Nationalist Committee) ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ระหว่างประชุมในเมือง เวียคิว (Vieques)
1932 หลังจากเปิดเผยจดหมายอื้อฉาวของ ดร. คอร์เนเลียส จนกลายเป็นประเด็นระดับโลก , ดร.แคมโปส ได้นำชาวเปอร์โต ริกัน บุกไปประท้วงที่โรงพยาบาลพยาธิวิทยา ซาน จวน (San Juan’s Presbyterian Hospital) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ ดร.คอร์เนเลียส ใช้ชีวิตของชาววเปอร์โต ริกัน ในการวิจัยวัคซีนโรคมะเร็ง ให้กับสถาบันร็อคกี้เฟลเลอร์
แต่ว่าผู้ประท้วงที่พยายามบุกเข้าไปในโรงพยาบาล ถูกยิงเสียชีวิตไปหนึ่งราย
พรรค PRNP ของเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเท่าที่ควร แต่ว่าเขายังคงรณรงค์ให้ชาวเปอร์โต ริโค รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นเพื่อเรียกร้องเอกราชต่อไป
1933 ดร. แคมโปส นำผู้ประท้วง บุกบริษัทการรถไฟและแสงและพลังงาน (Puerto Rico Railway and Light and Power company) ซึ่งผูกขาดกิจการในเปอร์โต ริโค , นอกจากนั้นยังได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านกฏหมายให้กับเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ในการฟ้องร้องสหรัฐที่ผูกขาดอุตสาหกรรมน้ำตาลในเปอร์โต ริโค
1935 24 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยเปอร์ โตริโค เจ้าหน้าที่ตำรวจปทะกับกลุ่มผู้สนับสนุนพรรค PRNP ที่ประท้วงรัฐบาลประจำเปอร์โตริโค ของ ทีโอดอร์ รูสเวลต์ จูเนียร์ (Theodore Roosevelt Jr., ) เขาเป็นลูกชายของ ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ สูสเวลต์ , และถูกแต่งตั้งโดย ปธน. แฟรงคลิน รูสเวลต์ (Frankilin D.Roosevelt) ญาติของเขาเองให้มาเป็นผู้ปกครองเปอร์โต ริโค, ซึ่ง รูสเวลต์ จูเนียร์ พัวพันคดีคอร์รัปชั่น ในแหล่งน้ำมัน Teapot Dome ในรัฐไวโอมิ่ง และ ทีโอดอร์ จูเนียร์ ยังได้แต่งตั้งให้ ดร.ชาร์ดอน (Dr.Carlos E. Chardon) มาเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลับเปอร์โต ริโค ซึ่งเขาร่างแผน ชาร์ดอน (Chardon Plan) ในการสำรวจเอาทรัพยากรธรรมชาติของเปอร์โต ริโค , นอกจากนั้นถูกมองว่าใช้มหาวิทยาลัยเพื่อปลูกฝังความเป็นอเมริกันให้กับชาวเปอร์โต ริโค (Americanize) จนนำไปสู่การประท้วงต่อต้าน ดร.ชาร์ดอน ภายในมหาวิทยาลัย  , พันเอก ริกกส์ (Colonel E. Francis Riggs) ได้สั่งให้มีการใช้อาวุธปืนยิงกลุ่มผู้ประท้วง จนมีผู้สนับสนุนพรรค PRNP เสียชีวิต 4 คน เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่าเป็นการสังหารหมู่  แห่งริโอ เปียดราส (The Rio Piedras Massacre
1936 ชาวเปอร์โต ริกัน สองคน คือ ฮิราม โรซาโด้(Hiram Rosado) และ อีเลียส บัวแชมป์ (Elias Beauchamp) ร่วมกันฆ่าพันเอก ริกก์ส ซึ่งต่อมาพวกเขาทั้งคู่ถูกจับตัวได้ ในขณะที่ ดร.แคมโปส กล่าวสรรเสริญเขาทั้งคู่ว่าเป็นวีรบุรุษ , พวกเขาสองคนถูกประหารชีวิต โดยไม่มีการสอบสวน ภายในสำนักงานใหญ่ของตำรวจ ในเมืองซาน จวน
ขณะที่ศาล แห่ง ซาน จวน (San Juan Federal Court)  ได้มีการออกหมายจับ ดร. แคมโปส และสมาชิกพรรคอีกจำนวนหนึ่งในข้อหาที่พยายามล้มล้างอำนาจของสหรัฐอเมริกาเหนือเปอร์โต ริโค , แต่ต่อมาคณะลูกขุนได้ของศาล ซึ่งเป็นชาวเปอร์โต ริโค 7 คน และจากอเมริกา  5 คน ได้ลงมติ 7 ต่อ 5 ว่าไม่มีความผิด , ทำให้ผู้พิพากษาคูเปอร์ (Judge cooper) ต้องเปลี่ยนคณะลูกขุนใหม่ โดยเป็นชาวอเมริกา 10 คนแทน มาตัดสินในคดีของ ฮิราม และ อีเลียส ว่ามีความผิด
1937 ศาลอุทรณ์ในบอสตัน (The Boston appeals court) ได้ยืนยันคำตัดสิน ทำให้ ดร.แคมโปส และเพื่อน ถูกส่งไปขังคุกในแอตแลนต้า
หลังจากนั้นเกิดการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ ในปอนเซ่ วันที่  21 พฤษภาคม , เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงเข้าใส่ผู้ประท้วงเพื่อสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้ประท้วง 21 คน ถูกยิงเสียชีวิต และ 200 คนที่ได้รับบาดเจ็บ จนถูกเรียกว่าเป็นการสังหารหมู่แห่งปอนเซ่ (Ponce Massacre)
1943 ดร.แคมโปส เริ่มมีอาการป่วย จนถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลโคลัมบัส (Columbus Hospital) ในนิวยอร์ค ซึ่งเขาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ จนเกือบสิ้นสุดการถูกลงโทษจำคุก
1947 10 ปี หลังถูกจองจำ , ดร.แคมโปส เดินทางกลับมายังเปอร์โต ริโค , แต่เขาก็ยังเดินหน้าที่จะเรียกร้องเอกราชต่อไป
1948 21 พฤษภาคม กฏหมาย 53 (Law 53) หรือที่ถูกเรียกว่า กฏหมายกระบอกปืน ( Ley de La Mordaza , the law of the muzzle) มีผลบังคับใช้ กฏหมายฉบับนี้บัญญัติให้การกระทำทุกกรณ๊ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องเอกราชของเปอร์โต ริโค เป็นอาชญากรรม, ห้ามมีให้มีการใช้ธงของเปอร์โต ริโค ไม่ว่าที่ไหน
1950 30 ตุลาคม เกิดเหตุการณ์ ประท้วงในจังหวัดจายุย่า (Jayuya  uprising,El Grito de Jayuya) นำโดยสตรีชาวเปอร์โต ริกัน ชื่อ บรานคา คานาเลส (Blanca Canales) , ชาวเปอร์โต ริกัน เดินขบวนประท้วงเป็นเวลากว่า 3 วัน เพื่อเรียกร้องเอกราช  วันเดียวกับ ก็เกิดการประท้วงในจังหวัดอูตัวโด้ (Utoado Uprising) ด้วย และผู้ประท้วงและได้บุกยึดแมนชั่นของผู้ปกครองเปอร์โต ริโค  , อาคารที่มีชื่อว่า ลา ฟอร์ตาเลซ่า ( La Fortaleza) ทำให้พวกเขาถูกเจ้าหน้าที่สังหารไป 5 คน  มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตอีก 1 คน ถูกเรียกว่าเป็นการสังหารหมู่แห่งอูตัวโด้  (Utuado Massacre)
นอกจาก จายูย่า , ซานจวน และอูตัวโต้ แล้ว ยังได้เกิดเหตุการณ์ประท้วง ในอีกหลายเมืองด้วย ได้แก่ ที่ ปอนเซ่(Ponce), มายากุซ (Mayaguez), นารันจิโต้ (Naranjito), อเรคิโบ (Arecibo), 
เหตุการณ์สิ้นสุดลง โดยสหรํฐอเมริกา ประกาศกฏอภัยการศึกเหนือเปอร์โต ริโค และส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด และกองทัพ 16,000 คน เข้าโจมตีผู้ประท้วง
1 พฤษจิกายน ถัดมา ชาวเปอร์โต ริกัน 2 คน ออสก้า โคลลาโว่ (Oscar Collazo) และ กริเซลิโอ ตอร์เรสโซล่า (Griselio Torresola) ได้บุกบ้านพักของประธานาธิบดี แฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman)  บ้านแบลร์เฮาร์ (Blair House๗  ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.  ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ยิงจนตอร์เรสโซล่า เสียชีวิต
ระหว่างเหตุการ์ณประท้วง ดร.แคมโปส อยู่ในที่ทำการของพรรค ในซานจวน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดล้อมอาคารไว้ , ดร.แคมโปส ถูกเจ้าหน้าที่ทางการจับตัวจากที่ทำการพัก  และมีประชาชนที่เรียกร้องเอกราช 3,000 คน ถูกจับตัว
1951 ดร.แคมโปส ถูกตัดสินจับคุก เป็นเวลา 80 ปี
1953 รัฐบาลประจำเปอร์โต ริโค ของ หลุยส์ มูโนซ มาริน (LuisMunoz Marin) อภัยโทษให้ดับ ดร.แคมโปส
1954 1 พฤษภาคม โลลิต้า เลบรอน (Lolita Lebron) สตรีชาวเปอร์โต ริโค และเพื่อนอีก 3 คน ได้บุกรัฐสภาของสหรัฐ โดยใช้อาวุธปืนซึ่งส่วนใหญ่พวกเธอยิงขึ้นเพดานา เพื่อประกาศเรรียกร้องเอกราชให้กับเปอร์โต ริโค , ซึ่งพวกเธอทั้งหมดถูกจับ
คำสั่งอภัยโทษให้กับ ดร.แคมโปส ถูกยกเลิก แต่ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะจับตัวเขาในบ้านพัก ดร.แคมโปส ปฏิเสธ และได้ยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ทางการ ดร.แคมโปส ถูกยิงจนเสียเลือดมากและหมดสติไปตอนที่ถูกจับ
1956 ระหว่างอยู่ในเรือนจำ ดร.แคมโปส มีอาการป่วยหนักจากโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ (Stroke) จนเขาถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล Presbyterian Hospital ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ , ระหว่างอยู่ในเรือนจำ ดร.แคมโปส อ้างว่าถูกนำตัวไปเป็นสัตว์ทดลองในการฉายรังสี , และต้องเอาผ้าเซ้ดตัวเปี๊ยกๆ มาคลุมหัวเพื่อป้องกันรังสี จนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลล้อเลียนว่าเขาเป็นราชาแห่งผ้าเช็ดตัว El Rey de las Toallas (The King of the Towels)
แม้ว่าหลายคนจะมองว่าข้ออ้างของ ดร.แคมโปส เป็นอาการทางจิต แต่ว่า ดร.ออร์แลนโด (Dr. Orlando Damuy) ประธานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งคิวบา (Cuban Cancer Association) ได้เคยไปตรวจอาการของ ดร.แคมโปส ซึ่งเขาพบว่า ร่างของ ดร.แคมโปส ถูกเผาจากรังสีจริงๆ 
1964 15 พฤศจิกายน ก่อนหมดวาระไม่นาน รัฐบาลของหลุยส์ มูโนซ มาริน ได้อภัยโทษให้กับ ดร.แคมโปส
1965 หลังจากออกจากคุกไม่นาน ดร.แคมโปส เสียชีวิตด้วยอาการป่วย ในวันที่ 21 เมษายน ใน ฮาร์โต เรย์ (Hato Rey), เปอร์โต ริโค
งานศพของ ดร.แคมโปส มีชาวเปอร์โต ริกัน กว่า 75,000 คนเข้าร่วมพิธี , ร่างของเขาถูกฝังที่สุสาน Old San Juan Cemetery 
ในสมัยของ ปธน. บิลคลิน ตัน มีการเผยแพร่ข้อมูลในปี 1994 เกี่ยวกับการใช้ผู้ป่วยในการทดลองด้วยรังสี ซึ่ง ดร. แคมโปส เป็นหนึ่งในรายชื่อหนูทดลอง
ทุกวันนี้ เปอร์โต ริโค ยังอยู่ใต้การปกครองของสหรัฐ พวกเขามีประธานาธิบดี คนเดียวกับคนที่ชาวสหรัฐเลือก แต่ว่าชาวเปอร์โต ริกัน ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ องค์การสหประชาชาติ จัดเปอร์โต ริโค เป็นดินแดนประเภท ดินแดนที่ไม่มีอำนาจปกครองตัวเอง (Non-Self-Governing Territories) 

a nation is strong to the extent that their children are loved.
a nation is free to the extent their children are respected.

ประเทศจะเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ เมื่อเด็กๆ ได้รับความรัก

ประเทศจะเสรีและยิ่งใหญ่ เมื่อเด็กๆ ได้รับการเคารพ

Dr. Prdro Albizu Campos

When Tyranny is law, Revolution is order

เมื่อถูกกดขี่โดยกฏหมาย, การปฏิวัติคือคำมั่น

Dr. Prdro Albizu Campos

Don`t copy text!