Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Hanna Reitsch

ฮานน่า ไรต์ซ (Hanna Reitsch)
นักบินทดสอบเครื่องบินแห่งกองทัพนาซี ,  ผู้หญิง 1 ใน 2 ที่ได้รับเหรียญ Iron Cross  ชั้นที่ 1 และ Luftwaffe Diamond Clash
เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1912 ในไฮรช์เบิร์ก (Hirschberg, Silesia)ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง พ่อของเธอเป็นจักษุแพทย์ ชื่อวิลลี (Willy Reitsch) ซึ่งอยากให้ลูกสาวเป็นหมอเหมือนกับตัวเขา แต่ว่าฮานน่าสนใจเกี่ยวกับการบินมาตั้งแต่ตอนเด็ก เล่ากันว่าเธอกระโดดหน้าต่างบ้านตัวเองลงมาตั้งแต่อายุ  4 ปี เพราะอยากจะบินได้ แต่เพราะพ่อต้องการให้เธอเรียนหมอ ตอนแรกเธอจึงคาดว่าอนาคตของตัวเองน่าจะเป็นแพทย์มิชชั่นนารี ที่เดินทางไปกับเครื่องบินเพื่อไปรักษาคนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอัฟริกา
ส่วนแม่ชื่อ อีมี (Emy ,  Helff-Hibler von Alpenheim) เธอนับถือศาสนาคริสต์โรมันแคทอริก แต่ว่าไรต์ซ นั้นนับถือนิกายโปเตสแตนต์
1932 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย และมาเรียนแพทย์ในเบอร์ลิน ,  พ่อของเฮนน่าจึงได้เริ่มอนุญาตให้เธอฝึกเรียนการบินได้ โดยเธอเริ่มฝึกบินครั้งแรกกับเครื่องบินแบบกลิดเดอร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภทไม่มีเครื่องยนต์ (Glider ที่ Grunau School of Gliding ในแถบเทือกเขาไรเซนเกเบิร์ก (Riesengebirge )
1933 ลาออกจากโรงเรียนแพทย์ เพราะได้รับคำเชิญจากวูลฟ์ ไฮร์ต (Wolf  Hirth) ให้มาฝึกเป็นนักบินอย่างเต็มเวลา ที่ เมืองฮอนเบิร์ก (Hurnberg ใน Baden-Württemberg) ซึ่งเป็นโรงเรียนการบินที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่  และหลังจากเข้าเรียนระหว่างปี 1933-1934 ไรต์ซ ต้องเดินทางไปบราซิลและอาร์เจนติน่า เพื่อการฝึกบินในสภาพอากาศที่เลวร้าย
1936 ไรตซ์ ได้รู้จักกับ เอิร์นต์ อูเด็ท (Ernst Udet) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคสังกัดกระทรวงการบิน ซึ่งเขาเป็นนักบินของเยอรมันที่มีสถิติดีที่สุดในเวลานั้นและผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้ว
1937 ร่วมทำงานกับศูนย์วิจัย ลุฟวาฟเฟ่ (Luftwaffe) ศูนย์วิจัยแห่งนี้เพิ่งก่อตั้งในปี 1935 ตั้งอยู่ในสนามบินเรชลิน-ลาร์ซ (Rechlin-Lärz Airfield) โดยไรต์ซทำหน้าที่ทดลองขับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่อย่าง  Junkers Ju 87 Stuka และ Dornier Do 17
1938 กุมภาพันธ์ ไรต์ซ กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ขับเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเครื่องที่เธอขับชื่อว่า Focke-Wulf Fw 61 โดยเป็นการทดลองขับในร่มในอาคารเบอร์ลินดอยต์สแลนด์ฮอล  (Berlin’s Deutschlandhalle)
1939 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไรต์ซ ยังคงทำงานเป็นนักบินทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ
1942 ไรต์ช เกือบจะเสียชีวิต จากการทดลองบังคับเครื่อง Me-163B มีเป็นเครื่องบินแบบจรวดขับดับ (Rocker-Powered fighter aircraft) ซึ่งตอนที่ไรต์ซขับเครื่องขึ้นก็ปรากฏว่าวิทยุไม่ทำงาน และเมื่องเธอพยายามจะนำเครื่องลง ก็ปรากฏว่าเครื่องแตกออกและก็ตกลงไปในทุ่งใกล้กับรันเวย์ ตอนนั้นไรต์ซได้รับบาดเจ็บสาหัส ขากรรไกและซี่โครงเธอหัก
ซึ่ง 4 วันหลังจากอุบัติเหตุ ไรต์ซ ได้รับเหรียญ Gold Medal for Military Flyiyng , special diamond-encrusted เป็นการสดุดีวีรกรรมของเธอในการทดสอบเครื่องบิน
ไรต์ซเข้ารับการผ่าตัดและรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 5 เดือน ก่อนที่เธอจะกลับมาลองขับเครื่องกลิเดอร์อีกครั้ง แต่กว่าที่เธอจะหายดีและได้รับการรับรองว่าเป็นปกติแล้วก็กินเวลากว่า 10 เดือน ซึ่งเธอก็อยากจะกลับไปทดสอบเครื่อง Me-163 ตามเดิม แต่ผู้อำนวยการของโครงการเวลานั้นปฏิเสธไม่ให้เธอขึ้นบินอีก ทำให้เธอถอนตัวจะโปรเจ็คนี้
ไรต์ซ ได้รับคำเชิญจากนายพลโรเบิร์ต กราม  (Robert Ritter von Greim)  ที่ชวนเธอไปหาเขาบริเวณแนวรบฝ่ายหน้าที่ปะทะกับรัสเซีย เพื่อจะได้สร้างขวัญกำลังใจให้กับทหาร ซึ่งไรต์ซก็ตกลง และทำให้เธอมีโอกาสเห็นโฉมหน้าจริงๆ ของสงคราม
1943 มีส่วนช่วยในการทดสอบเครื่องบินแบบพุ่งชนข้าศึกหลายรุ่น ภายใต้การควบคุมของพลโทอ๊อตโต้ สกอร์เซนี ( SS-Obersturmbannführer Otto Skorzeny) ซึ่งควบคุมหน่วยฝูงบินเลฟนิดาส (Leonidas Squadron) ซึ่งเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อบังคับเครื่องบินวี 1 (V-1 flying bomb) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักบินจะต้องสละชีวิตตัวเองพุ่งชนกองทัพข้าศึก หรืออาจจะกระโดดร่มหนีก่อนที่จะชน แต่ว่าหน่วยเลฟนิดาส นี้ไม่เคยถูกใช้ในการรบจริงในสงครามโลก
ไรต์ซ ได้รับเหรียญ Iron Cross  จากฮิตเลอร์ ในช่วงปลายปี ในงานเลี้ยงที่จัดขึั้นที่เมืองเบอร์เดตสกาเดน (Berchtesgaden)
หลังจากนั้นเธอได้มีโอกาสดูโครงการเครื่องบินเจ็ต V-1 ซึ่งเหมือนตอปิโดร่อนที่ใช้นักบินขับเครื่องพุ่งเข้าชนเรือข้าศึก แต่ว่าไรต์ซังไม่มีโอกาสได้ทดลองขับเครื่องรุ่นนี้ 
เธอกลับไปร่วมทดสอบโครงการ Me-163 ต่อ และได้มีโอกาสร่วมโครงการ Me-262, Me-328B ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน 
1945 ช่วงปลายของสงครามโลก ไรต์ซ ทำหน้าที่ขับเครื่องบินลำเลียงทหารที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส และในวันที่ 25 เมษายน เธอกับนายพล กรามได้ขับเครื่องบินจากมิวนิคเพื่อไปหาฮิตเลอร์ในเบอร์ลิน ระหว่างที่บินนายพลกราม ถูกกระสุนปืนจากเครื่องต่อต้านอากาศยานของรัสเซียจนได้รับบาดเจ็บที่เท้า แต่พวกเขายังสามารถเอาตัวรอดไปจนถึงเบอร์ลิน พวกเขาทั้งสองคนไปอยู่ในบังเกอร์เดียวกับฮิตเลอร์เป็นเวลาสองวัน และนายพล กรามได้รับแต่งตั้งให้เป็น จอมพล เพื่อบัญชากองทัพอากาศเยอรมัน (Luftwaff) แทนเฮอร์แมนน์ จอริ่ง (Herman Goering) ที่ทรยศ 
28 เมษายน ไรต์ซและจอมพลกราม ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ให้ขับเครื่องบินออกจากกรุงเบอร์ลิน ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่เบอร์ลินจะถูกกองทัพแดงตีแตก
9 พฤษภาคม ไรต์ซ ถูกจับโดยทหารอเมริกาในช่วงบ่ายของวันนี้ที่เธอพาจอมพลกราม ไปโรงพยาบบาลที่คิตซบุเฮล (Kitzbühel) ตอนนั้นเธอเป็นเป้าหมายหนึ่งที่เป็นที่ต้องการตัวเพราะข่าวลือที่ว่าเธอพาฮิตเลอร์หนีไป แต่ว่าไรต์ซถูกจับขังคุกนาน 15 เดือน ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ได้ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม แต่ระหว่างอยู่ในคุกไรต์ซทราบข่าวว่าพ่อแม่ของเธอ รวมทั้งโรเบิร์ต กราม ฆ่าตัวตาย  ในวันที่  24 พฤษภาคม เพราะไม่่ต้องการถูกจับเป็นเชลย จอมพลกราม พูดประโยคสุดท้ายก่อนที่จะกินโปแตสเซียมไซยาไนด์เพื่อฆ่าตัวตายว่า I am the head of the Luftwaffe, but I have no Luftwaffe “ข้าเป็นผู้นำของกองทัพอากาศ แต่ว่าไม่มีกองทัพอากาศอีกแล้ว”
หลังสงครามโลก นักบินส่วนใหญ่ของเยอรมันถูกสั่งห้ามไม่ให้ขับเครื่องบินอีก นอกจากเครื่องที่กริดเดอร์ที่ไม่มีเครื่องยนต์ ซึ่งไรต์ซ มีโอกาสได้เข้าแข่งขั้นกลิดเดอร์ ในปี 1952 ที่สเปน จนได้อันดับ 3 แต่ว่าในปี 1954 การแข่งขันจัดขึ้นที่อังกฤษ เธอก็ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วม 
1954 เข้าทำงานเป็นนักบินทดสอบเครื่องบินอีก ที่สถาบันทดสอบการบินแห่งชาติ (German Experimantal Institue for Aviation) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่
1955 Sky My Kingdom ผลงานเขียนของไรต์ซ เกี่ยวกับชีวประวัติของเธอ
1959 เธอมีโอกาสขับเครื่องกลิดเดอร์ ไปอินเดีย และกลายมาเป็นเพื่อนอับอินธิรา คานธี 
1961 เดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของประธานาธิบดีเคนเนดี ซึ่งเธอได้มีโอกาสพบกับ ดร. เบราน์ ( Wernher von Braun) เพื่อนสนิทของเธอตั้งแต่วัยเด็กของเธอ ซึ่งเบราน์  นักออกแบบจรวดให้กับนาซีเยอรมัน ซึ่งกลายมาเป็นนักออกแบบจรวดให้กับองค์การนาซ่า ผู้สร้างจรวด Saturn V ซึ่งนำอพอลโลไปลงดวงจันทร์
1962 เปิดโรงเรียนสอนขับเครื่องกลิดเดอร์ ในกาน่า

1979 เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย 24 สิงหาคม 1979 ในเมืองแฟรงเฟริ์ต, ตลอดชีวิตของไรต์ซไม่เคยแต่งงาน เธอทำสถิติที่เกี่ยวข้องกับการบินกว่า 40 รายการ  เธอภูมิใจกับหน้าที่ที่เธอทำในสงคราม แต่เธอบอกว่าเธอเป็นแค่คนที่รักชาติเยอรมัน  ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคนาซีหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับนาซี

Don`t copy text!