Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Immanuel Kant

 

อิมมานูเอล คานต์ (Кант Иммануил)

Copernican Revolution of Philosophy 
คานต์เกิดที่โคนิงส์เบิร์ก เมืองหลวงของปรัสเซีย (Konigsberg, Prussia ปัจจุบันคือเมือง คาลินนินกราด, รัสเซีย) เวลานั้นคนส่วนใหญ่ในปรัสเซียพูดด้วยภาษาเยอรมัน
 คานต์เกิดวันที่ 22 เมษายน 1724  ชื่อตอนแรกเกิดของเขาคือ อีมานูเอล (Emanuel) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเป็น อิมมานูเอล (Immanuel) หลังจากเข้าพิธีแบ๊พติส  
พ่อของเขาชื่อว่า  โจฮาน์น คานต์ (Johann Georg Kant) เป็นช่างทำอุปกรณ์สำหรับม้า เขาย้ายมาจากเมืองเมเมล (Memel) ทางตอนเหนือสุดของปรัสเซีย จากคำอ้างของคานต์บอกว่า ปู่ของโจฮาน์น พ่อของเขาเป็นชาวสก็อตแลนด์อพยพ 
แม่ชื่อ เรกิน่า รอยเตอร์ (Regina Dorothea Reuter) เป็นชาวเมืองนูเร็มเบิร์ก (Nuremburg) ครอบครัวทางฝ่ายของแม่ก็เป็นช่างทำอุปกรณ์สำหรับม้าเช่นกัน
พ่อแม่ของคานต์มีลูก 9 คน คานต์เป็นลูกคนที่ 4 แต่ว่าคานต์เป็นคนโตที่สุดที่มีชีวิตรอด , พ่อแม่เขานั้นเป็นผู้นับถือนิกาย เฟียทิซึม (Pietism) ซึ่งเป็นสายหนึ่งของคริสต์นิกายลูเธอลัน (Lutheranism) ทำให้ตอนวัยเด็กคานต์ถูกส่งเข้าเรียนที่ The Collegium Fridericianum โรงเรียนของผู้นับถือนิกายเฟียทิซม์ ตั้งแต่ตอนอายุ 8 ขวบจนกระทั้ง 15 ปี ที่โรงเรียนนี้สอนภาษาลาตินทำให้คานต์รักการเรียนภาษานี้มาก เขาชอบงานของกวีชื่อ ลูครีเตียส (Titus Lucretius Carus)
1737 แม่ของคานต์เสียชีวิต
1740 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ติน่า (Albertina หรือ University of Konigsberg) อาจารย์ที่สอนหนังสือเขา เช่น  คริสเตียน วูล์ฟฟ (Christian Wolff, 1679-1750)  มาร์ติน คนุตเซน (Martin Knutzen, 1713-1751) ระหว่างเรียนหนังสือคานต์มีความสนใจด้านคณิตศาสตร์ และวิชาฟิสิก อาจารย์คนโปรดคนหนึ่งของคานต์ ชื่อ ก็อตไฟรด์ ไลย์นิซ (Gottfried Wihelm Leibniz) 
1746 ไม่นานก่อนที่คานต์จะเรียนจบ พ่อของคานต์เสียชีวิต ทำให้คานต์ต้องทำงานหารายได้ด้วยการเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน ทำให้ช่วงเวลานี้เขาได้มีโอกาสเดินทางออกจากโคนิงส์เบิร์ก
สถานที่แรกที่คานต์ไปสอนพิเศษคือที่บ้านของบาทหลวง เดเนียล ( Pastor, Daniel Ernst Andersch) ในหมู่บ้านจุดต์เซ่น (Judtschen ~ Wessojolowka, Kaliningrad) ห่างจากตัวเมืองไป 40 ไมล์  เขาสอนที่นี่จนปี 1950 ในตอนนั้นหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่พูดด้วยภาษาฝรั่งเศส
1747 หนังสือปรัญชาเล่มแรกของคานต์ พิมพ์ออกมาในชื่อ Thoughts on the True Estimation of Living Forces
1753  ย้ายมาสอนพิเศษที่บ้านของ เบอร์ฮาร์ต ฮูลเซ่น (Bernhard Friedrich von Hülsen)  ที่ฮาร์นดอร์ฟ (Arnsdoft ~ Morag,Poland) ห่างออกไป 60 ไมล์ ซึ่งที่นี่คือสถานที่ไกลสุดที่คานต์เคยเดินทางไปถึงตลอดชีวิตของเขา
สถานที่ที่ 3 และสุดท้ายที่คานต์ทำงานเป็นครูสอนพิเศษให้กับสมาชิกของตระกูล เกย์เซอร์ลิงก์ (Keyserlingk) ที่ปราสาท วาลเดนเบิร์ก-คาปุสติกัลล์ (Castle  Waldburg-Capustigall )  ปราสาทนี้อยู่ไม่ไกลจากเมืองโคนิงส์เบิร์ก โดยศิษย์ของคานต์ เป็นบุตรบุญธรรมของแคโรไลน์ เกย์เซอร์ลิงก์ (Caroline von Keyserling)
1754 เดินทางกลับมาอยู่ที่โคนิงส์เบิร์ก และเข้าเรียนอีกครั้ง
1955 ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทำให้เขาสามารถสอบเอาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยได้ โดยวิทยานิพนธ์ของคานต์ เรื่อง De Igne (On Fire) และได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยที่คานต์เป็นอาจารย์ที่สอนหนังสือได้สนุกเป็นที่รักของลูกศิษย์มาก
คานต์ในตอนที่เป็นอาจารย์นั้นสอนในด้านคณิตศาสตร์และฟิสิก โดยความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ของเขาเป็นไปอย่างต่อเนื่องเขาพยายามหาคำอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ อย่าง ความแตกต่างของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว 1 พฤศจิกายน ซึ่งในปีนี้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่ลิสบอน (Lisbon earthquake 1755) ซึ่งทำลายเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปตุเกสจนราบคาบ ซึ่งกระตุ้นทั้งนักปรัญชาและนักวิทยาศาสตร์ให้สนใจในการสร้างทฤษฏีขึ้นมาอธิบาย
ในผลงานเรื่อง General History of Nature and Theory of the Heavens คานต์ ตั้งสมมุติฐานว่าทางช้างเผือก เกิดจากการหมุนของกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ และยังคิดว่าแกแล็คซี เนบิล่า อื่นๆ ก็เกิดในลักษณะเดียวกัน ( ซึ่งรู้จักสมมุติฐานนี้กันว่า Kant-Laplace Theory ซึ่งในปี 1796 ปิแอร์ ลาปาส (Pierre Laplace) ชาวคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส ก็เสนอสมมุติฐานคล้ายกับคานต์)
คานต์มีความสนใจในวิชาฟิสิกของนิวตันมาก  แต่ว่าปีนี้เขาเสนอวิทยานิพนธ์เล่มที่สองชื่อ the Monodologia physica (The First principles of metaphysical knowledge)
1758 ช่วงสงคราม 7 ปี (Seven Years Was , 1758-1762) ทำให้โคนิกส์เบิร์ก ตกอยู่ใต้อำนาจของรัสเซีย
1759 พยายามสอบเอาตำแหน่งศาสตร์จารย์เป็นครั้งแรก แต่ว่าล้มเหลว
1762 The False Subtlety of the Four Syllogistic Figures
1763 Attempt to Introduce the Concept of Negative Magnitudes into Philosophy 
The Only Possible Argument in Support of a Demonstration of the Existence of God
1764 Observations on the Feeling of the Beautiful and the Sumlime
 Inquiry Concerning the Distinctness of the Principles of Natural Theology and Morality 
1766 คานต์ทำงานพิเศษเสริมเป็นติวเตอร์ที่ Hörgeldern  และเป็นผู้ช่วยบรรณารักษณื ที่ Royal Palace Library 
1770 ตอนอายุ 46 ปี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตร์จารย์ทางด้านตรรกศาสตร์และเมต้าฟิสิกส์ (Logic and metaphysics) ของมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ดิน่า คานต์ถูกปฏิเสธที่จะได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์มาหลายปีแม้ว่าเขาจะมีคุณสมบัติพร้อม ก่อนหน้านี้ มีมหาวิทยาลัยเจน่า (University of Jena) และมหาวิทยาลัยเออร์แลนเจ้น (University of Erlangen)เคยเสนอตำแหน่ง ศ.จ. ให้กับเขา แต่ว่าคานต์ปฏิเสธเพราะไม่อยากเดินทางออกไปจากเมือง แต่ว่าช่วงเวลาต่อจากนี้หลายปีเข้าไม่มีผลงานที่สำคัญออกมาเลย แม้ว่าในเวลานั้นเขาจะเป็นนักปราชญ์ที่ถูกสังคมคาดหวังไว้สูง
1781 Critique of Pure Reason ผลงานที่เขาใช้เวลากว่า 10 ปี ในการพัฒนา แต่เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคานต์ ซึ่งมันเปลี่ยนโลกของปรัญชาไปอีกก้าวหนึ่ง เป็นปรัญชาแห่งความคิด   จากความเชื่อ Metaphysic ในยุคนั้น ซึ่งมองว่าความรู้ (Knowlegde) ของมนุษย์นั้นมีข้อจำกัดโดยเหตุผล (Reason) Critique of Pure Reason คือ จุดเร่ิมต้นของปรัญชายุคใหม่ Transcandal Idealism
คานต์ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าปรัญชาจะสามารถตอบคำถามได้เหมือนกับคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ โดยมีกฏพื้นฐาน
Critique of Pure Reason นั้นแบ่งออกเป็นสองตอน คือ Transcendental Doctrine ซึ่งพยายามปูพื้นฐาน วิธีการในการจัดการกับความรู้ ซึ่งเขาแนะนำวิธีที่เรียกว่า Priori 
แต่ว่าตอนที่ Critique of Pure Reason พิมพ์ออกมาครั้งแรกนั้น มันไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งเป็นเพราะเป็นเรื่องใหม่ และคานต์ก็แก้ตัวว่าเพราะผู้วิจารณ์ตีความหมายของมันผิด 

1783 คานต์เขียนคำอธิบายเพิ่มเติมและแก้ไขข้อบกพร่องของ Critique of Pure Reason ในงานผลงาน Prolegomena to any Future Metaphysics 

1784 Answer to the Question: What is Enlightenment? งานเขียนสั้นๆ ของคานต์ที่เขาเขียนอธิบายว่า การตรัสรู้คือการที่’ “ Enlightenment is man’s emergence from his self-incurred immaturity / สภาวะที่มนุษย์คนนั้นโตเต็มที่(ทางความคิด)ด้วยตนเอง ”  คานต์สร้างคำขวัญขึ้นมาว่า “ Sapere aude/Dare to be wise/จงกล้าที่จะรู้ ”
1786 ในปีนี้เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ Prussian Academy of Sciences
1787 เขาพิมพ์ผลงานฉบับปรับปรุงใหม่ของ Critique of Pure Reason
1788 Critique of Practical Reason (รู้จักกันในชื่อ Critique เล่มที่ 2)  เป็นงานที่คานต์พัฒนาแนวคิดเรื่องของคุณธรรมและศิลธรรม ประโยคหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ คานต์เขียนว่า “Morality is not properly the doctrine of how we may make ourselves happy, but how we may make ourselves worthy of happiness/ ศีลธรรมนั้นไม่ใช่หลักคำสอนที่สอนว่าเราจะทำตัวเราให้มีความสุขได้อย่างไร แต่มันสอนเราว่าเราจะทำตัวเราให้มีคุณค่าคู่ควรแก่ความสุขได้อย่างไร”
1790 Critique of Judgement (รู้จักกันในชื่อ Critique เล่มที่ 3)
1793 เมื่อคานต์ตีพิพม์ผลงานเรื่อง Religion within the limits of Reason Alone ทำให้เขามีปัญหากับรัฐบาลของปรัสเซีย ตอนนั้นเป็นสมัยของกษัตริย์เฟรเดอริก ที่ 3 แห่งปรัสเซีย (King, Friedrich Wilhelm II)เมื่อคานต์เห็นว่าควรให้เสรีภาพในการแสดงความเห็นต่อศาสนา ทำให้เขาถูกตำหนิโดยรัฐมนตรีวัฒนธรรม วอลล์เนอร์ (Johann Christoph von Woellner) ว่าใช้ปรัชญาบ่อนทำลายคริสต์ศาสนา จนรัฐบาลสั่งให้เขาหยุดแดสงความเห็นและสอนเรื่องที่สุ่มเสียงต่อศาสนาอีก ซึ่งคานต์ก็ต้องอดทนยอมปฏิบัติตาม
1795 ผลงาน On Eternal Peace  ในงานชิ้นนี้คานต์วางรูปแบบเชิงอุดมคติขององค์การสันนิบาติชาติ 
1796 เกษียรราชการ
1798 คานต์สอนเกี่ยวกับ Anthropology มานานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ 1772 จน 1796 มันถูกรวมมาเป็นหนังสือ The Anthropology from a Pragmatic Point of View  (จากการค้นคว้าในวิทยานิพนธ์ของ Michel Foucault) แต่ว่าเลคเชอร์ของคานต์เกี่ยวกับ Anthropology นี้ถูกพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี 1997 นี้เอง โดยสำนักพิมพ์แคมบริด
1804 เสียชีวิต 12 กุมภาพันธ์ 1804 ก่อนท่ี่จะอายุครบ 80 ปีเพียงสองเดือน , ประโยคสุดท้ายที่เขาพูดคือ ‘ Es ist gut/It is good/รู้สึกดี’
คานต์ถูกฝังที่วิหารแห่งโคนิกส์เบิร์ก (Cathedral of Konigsberg)
ในปี 1880 มีการสร้างสร้างป้ายจารึกเหนือจุดที่คานต์ถูกฝัง แต่ว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วมันก็ทรุดโทรมลงไป ก่อนที่ในปี 1924 จะได้มีการสร้างเป็นอาคารสุสานขึ้นแทนที่ป้ายจารึกอันเดิม โดยความริเริ่มของ Friedrich Lahrs ในโอกาสครบ 200 ปี ของคานต์
ป้ายจารึกถึงคานต์ บนกำแพงด้านหนึ่งของปราสาทโคนิก์เบิร์ก เขียนเอาไว้เป็นภาษาเยอรมันและรัสเซีย ว่า
Zwei Dinge erfüllen das Gemüt mit immer neuer und zunehmender Bewunderung und Ehrfurcht, je öfter und anhaltender sich das Nachdenken damit beschäftigt: Der bestirnte Himmel über mir, und das moralische Gesetz in mir
Две вещи наполняют душу все новым и растущим восхищением и благоговением по мере того, как задумываешься над ними все глубже и дольше: звездное небо надо мной и моральный закон во мне
Two things fill the mind with ever new and increasing admiration and awe, the more often and steadily we reflect upon them: The starry heavens above me and the moral law within me
สองส่ิงที่อยู่ในจิตสำนึกมาโดยตลอด มันทวีความหลงไหลและหวาดกลัว, ยิ่งบ่อย ยิ่งตระหนักถึง อันสวรรค์พร่างพราวอยู่เหนือเรา และกฏแห่งธรรมในตัวตน
(มาจากหนังสือ  Critique of Practical Reason ของคานต์เอง)
งานชิ้นสุดท้ายที่คานต์พยายามเขียน ชื่อ Opus postumum (คานต์เรียกมันว่า chef d’oeuvre (Masterpices) เขาใช้เวลาเขียนนานกว่า 10 ปีในช่วงท้ายของชีวิต แต่ว่าเขียนไม่เสร็จ (แต่ว่าถูกรวบรวมพิมพ์ออกมา
ผลงานเขียนของคานต์
  • 1746 Gedanken von der wahren Schätzung der lebendigen Kräft (Thoughts on the True Estimation of Vital Forces)
  • 1755  De Igne (On Fire) วิทยานิพนธ์
  • 1755 Principiorum Primorum Cognitionis Metaphysicae Nova Dilucidatio (Principiorum primorum cognitionis metaphysicae nova dilucidatio) วิทยานิพนธ์
  • 1755  Neue Erhellung der ersten Grundsätze metaphysischer Erkenntnisse (Habilitation Principiorum primorum cognitionis metaphysicae nova dilucidatio)
  • 1756 Metaphysicae cum geometria iunctae usus in philosophia naturalis, cuius specimen I. continet monadologiam physicam (the Monodologia physica)
  • 1756  Neue Anmerkungen zur Erläuterung der Theorie der Winde (New notes to explain the theory of the winds)
  • 1762 Die falsche Spitzfindigkeit der vier syllogistischen Figuren (The False Subtlety of the Four Syllogistic Figures )
  • 1763 Versuch, den Begriff der negativen Größen in der Weltweisheit einzuführen (Attempt to Introduce the Concept of Negative Magnitudes into Philosophy)
  • 1763 Untersuchung über die Deutlichkeit der Grundsätze der natürlichen Theologie und der Moral (Study on the clarity of the principles of natural theology and ethics)
  • 1763 Der einzig mögliche Beweisgrund zu einer Demonstration des Daseins Gottes (The only possible argument for a demonstration of the existence of God)
  • 1764 Beobachtungen über das Gefühl des Schönen und Erhabenen (Observations on the Feeling of the Beautiful and Sublime)
  • 1764 Versuch über die Krankheiten des Kopfes (An Essay on the illness of the head)
  • 1766 Träume eines Geistersehers, erläutert durch Träume der Metaphysik (Dreams of a Spirit-Seer, illustrated by Dreams of Metaphysics)
  • 1770 De mundi sensibilis atque intelligibilis forma et principiis (Inaugural Dissertation)
  • 1775 Über die verschiedenen Rassen der Menschen (On the Different Races of Man)
  • 1781 Kritik der reinen Vernunft (Critique of Pure Reason)
  • 1783 Prolegomena zu einer jeden künftigen Metaphysik, die als Wissenschaft wird auftreten können (Prolegomena to any Future Metaphysics)
  • 1784 Idee zu einer allgemeinen Geschichte in weltbürgerlicher Absicht (Idea for a Universal History with a Cosmopolitan Purpose)
  • 1784 Beantwortung der Frage Was ist Aufklärung (An Answer to the Question: What Is Enlightenment?)
  • 1785  Bestimmung des Begriffs der Menschenrasse (Definition of the human race)
  • 1785 Grundlegung zur Metaphysik der Sitten (Groundwork of the Metaphysics of Morals)
  • 1786 Metaphysische Anfangsgründe der Naturwissenschaft (Metaphysical Foundations of Natural Science)
  • 1786 Mutmaßlicher Anfang der Menschengeschichte (Conjectural Beginning of Human History)
  • 1786 Was heißt sich im Denken orientieren? (What Does it Mean to Orient Oneself in Thinking?)
  • 1787 Kritik der reinen Vernunft, (Critique of Pure Reason , 2nd Edition) 
  • 1788  Über den Gebrauch teleologischer Prinzipien in der Philosophie (On the use of teleological principles in philosophy)
  • 1788 Kritik der praktischen Vernunft (Critique of Practical Reason)
  • 1790 Kritik der Urteilskraft (Critique of Judgement)
  • 1793 Die Religion innerhalb der Grenzen der bloßen Vernunft (Religion within the Limits of Reason Alone )
  • 1793 Über den Gemeinspruch Das mag in der Theorie richtig sein, taugt aber nicht für die Praxis (On the Old Saw: That may be right in theory, but it won’t work in practice)
  • 1794 Das Ende aller Dinge (The End of All Things)
  • 1795 Zum ewigen Frieden (Perpetual Peace)
  • 1797  Die Metaphysik der Sitten (The Metaphysics of Ethics)
  • 1797 Über ein vermeintes Recht aus Menschenliebe zu lügen (On a Supposed Right to Tell Lies from Benevolent Motives)
  • 1798 Streit der Fakultäten (The Contest of Faculties)
  • 1798 Anthropologie in pragmatischer Hinsicht (Anthropology from a Pragmatic Point of View)
  • 1800 Logik (Logic,  เขียนโดย Gottlob Benjamin Jasche จากเลคเชอร์ของคานต์)
  • 1802 Physische Geographie (Physical Geography ,เขียนโดย Theodor Rink Friedrich)
  • 1803 Über die Pädagogik (On Pedagogy)
  • Opus Postumum


คานต์พยายามจะตอบคำถาม 4 ข้อนี้ ก่อนเขียน Critique of Pure Reason
What do I Know ? (Metaphysics)  ความรู้คืออะไร ฉันรู้อะไร
What should i do ? (Morality) ฉันควรทำอะไร 
I dare to hope? (Religion) ฉันควรคาดหวังอะไร 
What is man? (Anthropology) มนุษย์คืออะไร 
คานต์ สอนอะไร 
Aspects of the Real ?  อะไรคือความจริง 
คานต์อธิบายความจริง ออกเป็น 2 ประเภท
Phenomenon สิ่งที่เราสังเกตุเห็น (Things as it appear to an observer)
Noumenon คานต์บอกว่าเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ Phenomenon มันมีอยู่แล้วเช่นนั้น แต่ว่าเราไม่อาจจะสังเกตุเห็น และเป็นความจริงที่ตรงข้ามกับที่เราสังเกตุเห็น (Actually really real)
ก่อนหน้าคานต์ นักปรัชญาอย่าง Hume เชื่อว่า มนุษย์จะสัมพันธ์ว่าสรรพสิ่งจริงหรือไม่จริง ต้องมาจากประสบการณ์การสัมพันธ์ (Perception)
คานต์ตั้งคำถามว่า แล้วมนุษย์จะสามารถเข้าถึงความจริง Noumenon ได้หรือไม่ ?
Priori และ Posteriori 
ก่อนยุคสมัยของคานต์ นักปรัชญา แบ่งวิธีการตัดสิน (Judgment) ออกเป็นสอง อย่าง
1. Synthetic Judgment : การตัดสินโดยการสังเคราะห์  นำความประสบประการณ์ที่สังเกตุเห็นมาศึกษา และสังเคราะห์ออกมา จึงเรียกว่า Posteriori  ตัวอย่างเช่น  … พระจันทร์จะมองเห็นได้เฉพาะตอนกลางคืน 
ดังนั้น มนุษย์จะเกิดความรู้แบบ Posteriori Knowledge ได้ ก็ต่อเพื่อ พวกเขาพบกับ Phenomenon เท่านั้น 
2. Analytic Judgment : การตัดสินโดยการวิเคราะห์ การตัดสินโดยที่ไม่ต้องเกิดประสบการณ์มาก่อน เรียกว่า Priori

คานต์ สงสัยว่า เราจะมีความรู้ (Knowledge) โดยได้รับจาก Noumenal (Really Real ความจริง จริงๆ ) ได้หรือไม่ , คานต์เรียกความรู้ ที่ได้มาโดยไม่อาศัยประสบการณ์นี้ว่า Priori Knowledge 
คานต์ถามด้วยประโยคนี้ว่า 

Are synthetic, a priori judgments about noumena possible?" 

is it even possible to know what’s really real?
เราจะรู้จักความรู้บริสุทธ์ (Noumena, Really Real) โดยไม่อาศัยประสบการณ์ได้หรือไม่ ?
Priori Knowledge มีหรือไม่ ?
คานต์ยกตัวอย่างสิ่งที่เป็น Priori Knowledge ว่าคือ คณิตศาสตร์  , เพราะไม่ว่ามนุษย์จะไม่ที่ไหนในโลกนี้ก็จะไม่มีวันได้เห็นคณิตศาสตร์ ความรู้ที่เรารู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์จึงไม่ได้มาจากรประสบการณ์
คานต์ยกตัวอย่าง สมการณ์ 7+5=12  , ซึ่งเรารู้ว่ามี 12 โดย ที่ไม่รู้ว่ามี 7 หรือ 5  ได้
สิ่งที่คานต์พยายามแสวงหา คือ ความจริง (Noumena) ซึ่งเป็นความจริงในตัวเอง (In itself) เป็นอิสระจากการรับรู้ ประสบการณ์ 
คานต์พยายามสร้าง วิทยาสตร์ของเมต้าฟิสิก (Science of Metaphysics) คือ การไปให้พ้นจากขึดจำกัดที่ถูกกักไว้เพราะความสามารถในการรับรู้ของเรา 
Don`t copy text!