Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Lajos Kossuth

ลาจอส คอสสุธ (Lajos Kossuth)

ผู้ปฏิวัติฮังการี 1848 สู่อิสรภาพ 

คอสสุธ เกิดในหมู่บ้านโมน๊อก (Monok, Zemplen) ทางตะวันออกของประเทศฮังการี (Kingdom of Hungary) จักรวรรดิออสเตรีย (Austria Empire) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1802 เขาเป็นลูกชายคนโตในพี่น้องสี่คน มีน้องชายสองคน และน้องสาวหนึ่งคน 
 พ่อของเขาชื่อลาสซ์โล่ (Laszlo Kossuth)   นั้นเป็นนักกฏหมาย ที่เกิดในครอบครัวโปแตสแตนต์ บรรพบุรุษของฝ่ายพ่อนั้นเป็นคนเชื้อสายสโลวาเกีย ย้อนกลับไปได้ถึงศตวรรษที่ 13 แต่่่ว่าภายในตระกูลถือกันว่าตัวเองเป็นชาวฮังกาเรียนร้อยเปอร์เซ็นต์ และชาวสโลวัคนั้นไม่ได้มีความเป็นผลชาติเพราะว่าเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของฮังการี 
ส่วนแม่ชื่อว่าคาโรลิน่า เว็บเบอร์ (Karolina Weber)  นับถือนิกายลูเธอลัน บรรพบุรุษของฝ่ายเธอมีเชื้อสายของชาวเยอรมัน ที่ย้่ายมาตั้งบ้านเรือนตอนเหนือของฮังการี 
ภูมิหลังของทั้งคู่ไม่ใช่คนร่ำรวย แต่ว่าเมื่อตอนคอสสุธเกิดมานั้นครอบครัวนี้ก็มีฐานะดีมากแล้ว โดยที่คาโรลิน่าเลี้ยงลูกด้วยความเข้มงวดตามแบบนิกายลูเธอลัน 
1808 ครอบครัวของเขาย้ายมาอยู่ที่เมืองซาโตรัลจัวเฮลี (Satoraljaujhely, Zemplen)
1810 คอสสุธเริ่มเข้าเรียนชั้นประถมในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมือง
1816  เข้าเรียนที่วิทยาลัยเพียริสต์ (Piarist college)    ก่อนที่จะเข้าเรียนที่วิทยาลัยคาลวินิสต์ (Colvinist college) ในซารอสปาตาก (Sarospatak) อยู่หนึ่งปี
1824 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบูดาเปสต์ (EÖTVÖS LORÁND Universtiy) ทางด้านกฏหมาย
1831 เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของเคานเตส์ส สซาปารี (countess Szapary)  ซึ่งคอสสุธถูกส่งให้เป็นตัวแทนของเธอไปอยู่ในสภา และมีหน้าที่ออกเสียงลงคะแนนตามคำสั่งของเธอ แต่ว่าไม่นานเขาก็ถูกปลดออกเพราะมีปัญหาความเข้าใจผิดเรื่องเงินระหว่างกัน
1832 หลังจากนั้นคอสสุธได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของเคานต์ ฮันยาดี  (count Hunyady) ในสภาล่าง (National Diet) ที่ตั้งอยู่ในเมืองบราติสลาว่า (Bratislava~Pressburg) ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของฮังการี ภายในสภาไดเอ็ทนั้นมีแต่ขุนนางระดับสูงเท่านั้นที่มีสิทธิในการออกเสียง ซึ่งบทบาทของคอสสุธในสภาเขาทำได้แค่ขึ้นอภิปรายบางโอกาสเท่านั้น งานหลักคือการเขียนรายงานการทำงานของสภา ซึ่งเขาเขียนบันทึกรายงานได้ดีมากและเป็นที่ชื่นชมของขุนนางที่มีหัวเสรีนิยม จนถูกใช้ให้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของสภาด้วย แต่ว่าไม่นานหนังสือพิมพ์และรายงานการประชุมที่คอสสุธเขียน ก็ถูกรัฐบาลสั่งเก็บเรียบ 
1836 สภาไดเอ็ทถูกประกาศยุบ แต่ว่าคอสสุธยังคงเขียนบทความในรูปแบบของใบปลิว เกี่ยวกับการเมือง เขามักพูดในที่สาธารณะต่อหน้าประชาชนเพื่อ เรียกร้องการปฏิรูป เรียกร้องการฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวฮังกาเรียน ซึ่งขณะนั้นภาษาทางการที่ใช้กับเอกสารของสภานั้นใช้ภาษาลาติน แต่ว่าคอสสุธมักจะเขียนบทความของเขาด้วยภาษาฮังการเรียน
1837 4 พฤษภาคม ถูกจับพร้อมกับเพื่อนของเขาทำนวนหนึ่ง  โดยที่ถูกขังไว้นาน 18 เดือนก่อนที่จะมีคำตัดสินขังคุกเป็นเวลา  3 ปี ในข้อหาเป็นกบฏ
1840 ได้รับปล่อยตัวโดยกฏหมายนิรโทษกรรม ซึ่งเมื่อออกจากคุกประชาชาชนก็ตอนรับเขาด้วยความยินดี เขาเริ่มทำงานเป็นบรรณาธิการให้กับนิตยสาร  Pesti Hirlap (Pest leaflet) ซึ่งเป็นนิตยสารรายสองสัปดาห์ แนวเสรีนิยมรุนแรง ซึ่งหนังสือประสบความสำเร็จมากมียอดพิมพ์กว่า 7000 เล่ม 
ซึ่งรัฐบาลออสเตรีย ได้ตอบโต้กับนิตยสารของคอสสุธ โดยการตั้งหนังสือพิมพ์ Vilag (Peace)  
ไม่นานหลังออกจากคุก เขาได้แต่งงานกับ เทเรซ่า เมสซ์เลนี (Tereza Meszleny) ซึ่งเป็นโรมันแคธอริก  ซึ่งต่อมาทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน 
1844 เขามีปัญหาเรื่องเงินเดือนกับเจ้าของแม็กกาซีน Pesti Hirlap ทำให้ถูกไล่ออก ซึ่งจริงๆ เบื้องหลังอาจจะมาจากแรงกดดันจากรัฐบาล  คอสสุธพยายามที่จะทำหนังสือพิมพ์ของตัวเองขึ้นมาแทนแต่ว่าเขาไม่ได้รับใบอนุญาตจากรรัฐบาล 
ต่อมาได้รับข้อเสนอจากนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คลีเมนส์ เมตเตอร์นิช (Chancellor Klemens von Metternich) ให้ทำงานกับรัฐบาล แต่ว่าเขาปฏิเสธ ทำให้เขาไม่ได้ทำงานประจำอะไรอีกเป็นเวลากว่า 3 ปี แต่ว่าหันไปสนใจแนวคิดเศรษฐศาสตร์ของ Friedrich List นักอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน  ซึ่ง เฟรดริช ได้ก่อตั้งสมาคม Vedegylet เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในฮังการี
แนวคิดของคอสสุธคือการพยายามเรียกร้องเอกราชให้กับฮังการี มีความเป็นชาตินิยมฮังการี (Magyar nationalism) ต้องการมีระบบศาลยุติธรรมในการตัดสินคดีความ ให้เสรีภาพในการพูดและเสรีภาพกับสื่อ ยกเลิกการใช้แรงงานทาส และทาสติดที่ดิน ซึ่งการเรียกร้องของเขาทำให้ถูกต่อต้านจากขุนนาง บารอนเก่าแก่  และชาวโครแอตและสโลวัค ที่อยู่ในฮังการี
1847 ได้รับเลือกจากจังหวัดเปสต์ ในการเป็นผู้แทนเข้าไปในสภาไดเอ็ด โดยที่คอสสุธทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้นำของฝ่ายค้าน ซึ่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองและสังคม 
Hugn
1848 3 มีนาคม หลังจากทราบข่าวการเกิดการปฏิวัตในฝรั่งเศส คอสสุธได้กล่าวสุนทรพจน์เรียกร้องการปฏิวัติเพื่อเอกราชของฮังการี และให้รัฐบาลในดินแดนส่วนอื่นของจักรวรรดิออสเตรียอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่เขาได้ยืนฏีกาไปยังจักรพรรดิ ฟรานซิส โจเซฟ (Francis Joseph I, Austria Emperor) ซึ่งขณะนั้นมีพระชนษ์เพียง 17 พระชันษา
13  มีนาคม รัฐบาลของเมตเตอร์นิช ถูกกลุ่มผู้ประท้วงโค่น โดยที่คอสสุธเป็นคนที่ได้กล่าวข้อเรียกร้องของเขาอยู่ท่ามกลางฝูงชนในกรุงเวียนนา
15 มีนาคม ออสเตรียยอมให้ฮังการี มีรัฐบาลของตัวเองได้
โดยที่นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลฮังการี ที่ตั้งขึ้นมานั้นคือเป็นของเคานต์ ลาจอส (count Lajos Batthyany) ได้เขาได้มอบตำแหน่งรัฐมนตรีคลังให้กับคอสสุธ  
ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งคอสสูธได้กระตุ้นให้เกิดความเป็นชาตินิยมของฮังการีด้วยการ ออกเหรียญและธนบัตรของฮังการีเองแทนที่จะใช้ร่วมกับออสเตรียเหมือนอดีต โดยที่ธนบัตรมีลายเซ้นต์ของเขาอยู่ด้วย 
กันยายน เคานต์ ลาจอส ลาออกจากตำแหน่ง เพราะความหวาดกลัวในสงคราม ซึ่งออสเตรีย พยายามหนุนหลังให้ชาวเซิร์บและโครแอตบุกฮังการรี คอสสุธทำหน้าที่แทน แม้ว่าจักรพรรดิจะยังไม่ได้ทรงอนุญาต และจักรพรรดิได้ทรงประกาศยุบรัฐบาลของฮังการี
ตุลาคม    คอสสูธกลายเป็นประธานของสภาป้องกันตัวเองแห่งชาติ (National Defense) ซึ่งทำให้เขากลายเป็นเสมือนเผด็จจการ  เขาเรียกร้องให้มีการตั้งกองทัพขนาด 2 แสนนาย  (Hungarian Defence Force~Honved)
ขณะที่กองทัพชาวโครแอตนำโดย โจซิป เจลาคิค  (Josip Jelačić) ได้เคลื่อนพลมุ่งหน้ามายังกรุงบุดาเปรสต์ , ซึ่งระหว่างนี้คอสสุธแสดงให้เห็นว่าเขาไม่มีความสามารถในการรบ มีแต่เพียงความมุ่งมั่นเพียงอย่างเดียว
30 ตุลาคม การรบที่ชเวชาต (Battle of Schwechat) ใกล้กับกรุงเวียนนา ซึ่งออสเตรียเป็นฝ่ายมีชัยชนะอย่างเด็ดขาด , หลังแพ้ในการรบ คอสสุธพยายามให้ทูตของสหรัฐมาเป็นตัวกลางในการเจรจา  แต่ว่าฝ่ายออสเตรีย ซึ่งเจ้าชายอัลเฟรด ที่ 1 (Alfred I, Prince of Windisch-Grätz) นำทัพมาได้ปฏิเสธขอเสนอ ที่สุดแล้วฝ่ายฮังการีต้องพากันหนึไปยังเมืองเดเบรเคน (Debrecen)  โดยระหว่างการหลบหนีคอสสุธได้นำเอามงกุฏแห่งเซนต์ สตีเฟน (Crown of St. Stephen) ติดตัวไปด้วยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติฮังการี 
พฤศจิกายน จักรพรรดิเฟอร์ดินาน สละอำนาจให้กับ  ฟรานซ์ โจเซฟ (Franz Joseph) ครองราชย์แทน โดยจักรพรรดิองค์ใหม่หวังที่จะยุติสงครามการปฏิวัติฮังการีนี้
1849  April Laws  รัฐสภาไดเอ็ทของฮังการี ประกาศกฏหมาย(หลายฉบับ) เกี่ยวกับการเลิกทาส การจัดตั้งกองทัพของฮังการี และการควบคุมงบประมาณของประเทศ และนโยบายต่างประเทศเอง ช่วงเดือนมีนาคม ระหว่างอยู่ในเมืองโปซโนนี (Pozsony ปัจจุบัน Bratislava, Slovakia) ซึ่งจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองในวันที่  11 เมษายน
13 เมษายน ฮังการี ประกาศเอกราช , โดยที่คอสสุธ ได้อ่านคำประกาศเอกราชตอนหนึ่งที่เขียนเอาไว้ว่า “บัดนี้ ราชวงศ์แห่ง แฮบเบิร์ก-ลอร์เลน ซึ่งกระทำการขัดต่อเจตจำนงค์แห่งพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์ ได้ถูกริบบังลังค์แห่งฮังการีแล้ว (the house of Habsburg-Lorraine, perjured in the sight of God and man,The house of Habsburg has forfeited the throne)  
วันถัดมา คอสสุธ กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของฮังการี แต่ว่าสถานการณ์สงครามในขณะนั้นก็ยังไม่สงบดี เพราะกลุ่มชนเชื้อสายอื่นๆในประเทศยังคงต่อสู้การถูกปกครองโดยฮังการี  และรัสเซียก็เริ่มเข้ามาแทรกแซง
4 พฤษภาคม ฮังการี ยึดปราสาทบูดา (Buda castle) คืนมาได้
11 สิงหาคม  คอสสุธสละตำแหน่งประธานาธิบดี และมอบให้กับ อาร์เธอร์ จอร์เกย์ (Artúr Görgey)
13 สิงหาคม (Surrender at Vilagos)กองทัพของจอร์จี  รบกับทหารรัสเซียที่วิลากอส (Siria, Romania) แต่เป็นฝ่ายแพ้และจอร์เกย์ยอมมอบตัว
คอสสุธเองหลบหนีไปยังไปยังอาณาจักรออตโตมาน โดยได้รับการตอนรับอย่างอบอุ่น คอสสุธใช้ชีวิตอยู่ในเมืองอนาโตเลียของตุรกีนี้นานกว่าสองปี 
1851 กันยายน สหรัฐเชิญเขาไปยังสหรัฐโดยที่ส่งเรือฟรีเกต ยูเอสเอส มิซซิบซิปปี มารับถึงตุรกี ซึ่งคอสสุธได้ขึ้นเรือพร้อมกับครอบครัวและผู้ติดตามอีกกว่าห้าสิบคน อพยพไปสหรัฐ  ซึ่งตุลาคมระหว่างทางไปสหรัฐ เรือได้จอดที่อังกฤษ ในเซาท์แธมตัน คอสสุธใช้ช่วงเวลานี้ เที่ยวในหลายเมืองของอังกฤษ และกล่าวปราศรับกับชาวเมืองถึงสถานการณ์ในฮังการี นอกจากนั้นเขายังกล่าวเรียกร้องให้อังกฤษจำกัดอำนาจของราชวงศ์อังกฤษเองด้วย โดยหลายเมืองที่คอสสุธเดินทางไปปราศรัยนั้นมีประชาชนหลายหมื่นคนคอยให้การตอนรับ
ธันวาคม เขามาถึงกรุงนิวยอร์ค และเขาเป็นชาวต่างชาติคนที่สองที่ได้รับเกียรติให้มีการเลี้ยงต้องรับที่สภาคองเกรส โดยได้มีโอกาสพบกับ ปธน.ฟิลมอร์ (Millard Fillmore) และอดีต ปธน.ลินคอล์น ด้วย โดยลินคอล์นได้กล่าวยกย่องคอสสุธว่าเป็นผู้นำเสรีภาพมาสู่ประชาชนในทวีปยุโรป แต่ว่าคอสสุธเองไม่สามารถโน้มน้าวให้อเมริกายืนมือเข้าช่วยเหลือฮังการีได้
1852 กรกฏาคม กลับมาอยู่ในอังกฤษ  
1859 เมื่อใกล้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและออสเตรีย  นโบเลียน ที่ 3 (Napolean III) ได้ขอให้คอสสุธเดินทางไปยังฮังการีเพื่อช่วยปลุกระดมให้ประชาชนต่อต้านสงคราม ซึ่งคอสสุธก็ตอบตกลง  เขาตั้งกองทหารชาวฮังกาเรียน (Hungarian legion) ขึ้นมาเพื่อร่วมรบกับกุซซิบปี การิบัลดิ (Giyseppe Garibaldi) แต่ว่าไม่นานแผนการนี้ก็ถูกยกเลิก เพราะว่านโปเลียน ที่ 3 สามารถทำข้อตกลงพักรบ (The Peace of Villafranca) กับจักรพรรดิ ฟรานซิส โจเซฟ ที่  1 ของออสเตรียได้ (Fracis Joseph I, Austrain Emperor) ทำให้คอสสุธถูกปล่อยให้อยู่ในฮังการีตามยถากรรม 
เขาเดินทางมายังตูริน (Turin, Italy) และต้องนั่งมองดู เฟเรน เดก (Ferenc Deak) นายกฮังการีขณะนั้นเอนเอียงไปหาราชวงศ์ของออสเตรียอีก 
1867 คอสสุธ เขาเขียนจดหมายที่ถูกเรียกว่า Cassandra letter  ประณามข้อตกลงระหว่างออสเตรียและฮังการี (Austro-Hungarian compromist of 1867) ว่าอาจจะทำให้ฮังการีสูญเสียเอกราช
1880 คอสสุธ เขียนหนังสือ ชืวประวัติของเขา ออกมา ชื่อว่า Memoirs of My Exile
1890 มีนักแสวงบุญชาวฮังกาเรียน ได้เดินทางไปยังตูริน และทำการบัันทึกเสียงจริงๆ  สั้นๆ ของคอสสุธ ได้ด้วยเครืองโฟโนกราฟ (Edison phonograph) 
1894 20 มีนาคม เสียชีวิตในเมืองตูริน อิตาลี ,อายุได้ 91 ปี , ร่างของราจอส คอสสุธถูกนำกลับไปยังกรุงบูดาเปรส และมีการไว้อาลัยให้กับเขาแบบรัฐพิธี  มีการสร้างอนุสรณ์ขนาดใหญ่ใหักับเขา (Lajos Kossoth mausoleum) ที่ภายใน ณ.สุสาน Kerepesi cemetery 
Don`t copy text!