Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

February Revolution

Get Adobe Flash player

การปฏิวัติกุมภาพันธ์ (Февральская революция)

การปฏิวัติสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ 

สิงหาคม ในปี 1914 รัสเซียได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ว่าหลายปีของสงครามรัสเซียเป็นฝ่ายที่สูญเสียมากกว่าจะได้รับชัยชนะ จนทำให้สถานการณ์ในประเทศสั่นคลอน รัฐบาลถูกดิสเครดิต และกองทัพเต็มไปด้วยทหารที่ไร้ฝีมือ มีการเกณฑ์เอาชาวไร่ชาวนาที่ไม่เคยรบเข้ามาเป็นทหาร  ตั้งแต่ 1914-1917 มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี (Chairman of the Coucil of State) ถึง 4  คน  6 รัฐมนตรีมหาดไทย 4 รัฐมนตรีกลาโหม และ 3 รัฐมนตรีต่างประเทศ 
ในปี 1915 มีการก่อตั้งคณะกรรมการด้านอุตสาหกรรมทหาร ( Military-Industrial Committee, MIC) ขึ้นมาดูแลโรงงานต่างๆ ในประเทศ เพื่อแปลสภาพการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการอาวุธของสงคราม คณะกรรมการนี้ไม่ขึ้นกับรัฐบาล มีอเล็กซานเดอร์ กุชกอฟเป้นประธาน (Alexander Guchkov) , 
นอกจากนั้นยังมีการตั้งเซมกอ (Zemgor ~Main Committee of the All-Russian rural and urban unions) โดยเจ้าชายจอร์จี ลโวว์  (Price Georgy Lvov) จากพรรคคาเด็ต เป็นประธาน แรกเริ่มเซมกอร์ ทำหน้าที่ในการหาความช่วยเหลือให้กับทหารบาดเจ็บ แต่ต่อมาได้ทำงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการด้านอุตสาหกรรมทหารเพื่อช่วยลำเลียงยุทธภัณฑ์ด้วย
นอกจากนั้นอำนาจไปตกอยู่กับซาร์ดิน่า อเล็กซานดร้า (Alexandra Fyodorovna) เพราะว่าซาร์นิโคลัสต้องไปบัญชาการรบในสงคราม แต่อเล็กซานดร้าซึ่งมีเชื้อสายเยอรมัน มักถูกโจมตีจากข่าวลือ เช่น ว่านางอยู่ใต้อิทธิพลของรัสปูติน นางพยายามช่วยเยอรมัน 
สมาชิกสภาดูม่า ที่ 4 (State Duma IV convocation) ซึ่งนำโดยพรรคคาเด็ต (Cadets) นำโดย ปาเวล มิลัวกอฟ (Pavel Miliukov) และพรรคอ็อคโต้ (Octo) ของกุชกอฟ (Guchkov Alexander)  รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้าวหน้า (Progressive Bloc) ที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1915 เริ่มต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของซาร์ และเรียกร้องให้มีรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยสภาดูม่า 
1916
20 มกราคม
บอริส สเตอร์เมอร์ (Boris Vladimirovich Sturmer) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Chairman of the Council of Minister)เขาเป็นเพื่อนกับรัสปูติน และมีเชื้อสายเยอรมัน เขาต้องการให้รัสเซียทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอรมัน 
1 พฤศจิกายน
ผู้นำของพรรคคาเด็ต ปาเวล มิลัวกอฟ  กล่าวหาซาร์ดิน่า อเล็กซานดร้า กับนายกรัฐมนตรีสเตอร์เมอร์ ว่าพยายามทำข้อตกลงสันติภาพกับเยอรมันอย่างลับๆ โดย มิลัวกอฟ กล่าวว่า   นี่มันโง่หรือว่าขายชาติกันแน่ (Is This stupidity or treason?) และเขาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสเตอ์เมอร์ ลาออก และให้สภาดูม่า มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ทำให้มีลือกันว่าเขาพยายามที่จะก่อการปฏิวัติล้มระบบกษัตริย์
10 พฤศจิกายน  
อเล็กซานเดอร์ ทรีปอฟ (Alexander Trepov) รัฐมนตรีคมนาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนสเตอร์เมอร์ โดยที่ทรีปอฟยังควบตำแหน่งเดิมอยู่ด้วย  นายกทรีปอฟนั้นมีความขัดแย้งกับรัฐมนตรีมหาไทย อเล็กซานเดอร์ โปรโตโปปอฟ (Alexander Protopopov) ซึ่งโปรโตโปปอฟ เป็นฝ่ายต่อต้านกษัตริย์ ทำให้โปรโตโปปอฟ ลาออกจากตำแหน่ง 
22 ธันวาคม 
ไดอารี่ของทูตฝรั่งเศสประจำรัสเซีย Maurice Palaeologus อ้างว่า  แกรนด์ดุ๊ก ซิริล (Grand Duke Cyril Vladinirovich), แกรนด์ตุ๊ก บอริส (Grand Duke Boris Vladimirovich) , แอนเดรย์ โรมานอฟ (Andrei Vladimirovich Romanov) ได้ประชุมกันเพื่อวางแผนที่จะปฏิวัติ โดยตั้งใจที่จะตั้ง  แกรนดุ๊ก นิโคไล (Grand Duke Nikolai Nikalaevich)  เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ 
16 ธันวาคม 
รัสปูติน (Grigory Rasputin) ถูกสังหาร 
27 ธันวาคม 
มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ เจ้าชาย นิโคไล โกลิตซิน (Prince Nikolai Golitsyn)
1917
9 มกราคม
คนงานในกรุงเปโตรกราด (Petrograd~ St. Peturburg) กว่าห้าหมื่นคนหยุดงานประท้วง ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ Bloody Sunday 1905
19 มกราคม
 มีการประชุมกันระหว่างฝ่ายประเทศพันธมิตรในเปโตรกราด รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ที่ต้องการคำมั่นว่าจะให้สงครามดำเนินไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ 
9 กุมภาพันธ์ 
นิโคไล เนกราซอฟ (Nikolia Nekrasov, สมาชิกสภาดูม่า) ,กุชกอฟ ประธาน MIC  , มิคาอิล เตเรชเชนโก้ ( Mikhail Tereschenko,นักธุรกิจเจ้าของโรงงานน้ำตาล) , นิโคไล รุซสกี (Nikolai Ruzsky, นายพล) , (Mikhail  Alexeev,ผู้บัญชาการกองทัพรัสเซีย)  มิคาอิล รอดเซียนโก้ (Mikhail Rodzianko, ประธานสภาดูม่า) อเล็กซานเดอร์ กรีมอฟ (Aleksandr Krymov พล.โท ในกองทัพรัสเซีย)
ประชุมกันเรื่องแผนการปฏิวัติ 
14 กุมภาพันธ์
เปิดสมัยประชุมของสภาดูม่า โดยตอนนั้นสภาเรียกร้องให้รัฐมนตรีหลายคนลาออกโดยอ้างว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันมีคนงานกว่า 80,000 คนที่ทำการประท้วง 
18 กุมภาพันธ์
คนงานในโรงงานปูติลอฟ (Putilov plant) โรงงานผลิตอาวุธที่ใหญ่ที่สุดของเมืองและของประเทศนัดหยุดงาน ผู้บริหารโรงงานเข้าเจรจาบอกว่าจะเพิ่มค่าแรงให้ ทำให้ในวันต่อมาแรงงานกลับไปทำงานตามปกติ
22 กุมภาพันธ์ (7 มีนาคม) 
ซาร์นิโคลัสออกเดินทางไปยัง Mogilev ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการทหาร ซึ่งก่อนจะออกเดินทางไปพระองค์ได้ปรึกษารับรัฐมนตรีมหาดไทย อเล็กซานเดอร์ โปรโตโปปอฟ (Alexande Protopopov) ถึงสถานการณ์ในเมืองหลวง ซึ่งโปรโตโปปอฟ บอกว่าเขามั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ 
คนงานในโรงงานปูติลอฟ หยุดงานประท้วงอีก แต่ครั้งนี้ผู้บริหารไม่สามารถเจรจากับคนงานได้ เขาจึงประกาศให้โรงงานหยุดการผลิตไม่มีกำหนด ทำให้แรงงานกว่า 36,000 คน ไม่มีงานทำ , เปโตรกราดในช่วงนี้ขาดแคลนขนมปัง ไม่ใช่เพราะมีผลผลิตไม่เพียงพอ แต่ว่าการประท้วงและสงครามทำให้การลำเลียงอาหารเข้ามายังเมืองเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนต้องต้องนำระบบบัตรอาหาร (Card system) มาใช้ แต่ก็ทำให้ประชาชนต้องรอคิวกันยาวหน้าร้านขนมปัง 
23 กุมภาพันธ์  (ถือเป็นวันเริ่มต้นของ February Revolution) 
แรงงานกว่า 128,000 คน  พากันเดินขบวนไปยังจตุรัสเนฟสกี (Nevsky Prospekt) โดยเรียกร้องให้ยุติการทำสงคราม โดยใช้สโลแกน ไม่เอาสงคราม, ไม่เอากษัตริย์, ขอขนมปัง Down with War, Down with autocracy, Bread (Долой войну, Долой самодержавие, Хлеба) ผู้ชุมนุมบางส่วนร้องเพลง La Marsellaise เพลงชาติของฝรั่งเศส 
24 กุมภาพันธ์ ( 9 มีนาคม) 
จำนวนผู้ประท้วงกว่าสองแสนคน และเจ้าหน้าที่บางหน่วยปฏิเสธที่จะใช้กำลังกับผู้ประท้วง
25 กุมภาพันธ์ (10 มีนาคม)
17.30 นายพลกลาบาลอฟ (Khabalov,  Petrograd Military District) ผู้บัญชาการกองทัพในเปโตรกราด โทรเลขถึงซาร์นิโคลัส  รายงานว่ามีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ประท้วง ผูับัญชาการตำรวจคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ ผู้ประท้วงใช้ระเบิด และขวดบรรจุน้ำมัน 
ซาร์นิโคลัส ประกาศคำสั่งให้ระงับกิจกรรมของสภาดูม่า และให้เลื่อนการประชุมไปเดือนเมษายน 
กลาบาลอฟได้รับโทรเลขจากซาร์นิโคลัส  ให้เรียกคืนกฏระเบียบของเมืองกับคืนมา  (Restor order in the capital) 
26 กุมภาพันธ์  วันอาทิตย์ 
นายกรัฐมนตรีโกลิตซิน ประกาศว่าเมืองถูกยึด
ตอนบ่าย , ประธานสภาดูม่า รอดเซียนโก โทรเลขไปยังซาร์ ว่าภายในเมืองตรึงเครียด อยู่ในภาวะไร้ขื่อแปร  รัฐบาททำงานไม่ได้ การลำเลียงอาหารและเชื้อเพลิงติดขัด บนท้องถนนมีความวุ่นวายและยิงกัน ทหารบางส่วนยิงกันเอง 

The situation is serious. In the capital of anarchy. The government is paralyzed. Transportation, food and fuel have come to a complete breakdown. Growing general discontent. In the streets are chaotic shooting. Some of the troops shoot at each other. Immediately instruct the person enjoying the confidence of the country, to form a new government. Delayed. Any delay would be fatal. I pray to God that in this hour of responsibility does not fall on monarch.

แต่ว่าซาร์นิโคลัส ปฏิเสธที่จะตอบโทรเลขฉบับนี้ พระองค์คิดว่า โทรเลขที่รอดเซียนโก้ เขียนมาไร้สาระ 

One that fat Rodizianko writes me all sorts to nonsense

4 ทุ่ม , ประธานสภาดูม่า ร๊อดเซียนโก้ ส่งโทรเลขอีกฉบับไป แนะนำให้ซาร์นิโคลัส ตั้งรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับ 
27 กุมภาพันธ์ (12 มีนาคม)
 กองทหารหน่วย Volhynia Regiment ราว 600 นายนำโดย Kirpichnikov หันไปเข้าข้างฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งต่อมาทหารหน่วยปาพลอฟสกี (Pavlovsky Regiment) ทหารหน่วยปรีโอบราเชนสกี (Preobrazhensky regiment) หน่วยลิตอฟสกี (Litovsky regiment) ก็สนับสนุนผู้ประท้วงด้วย รวมแล้วเป็นกำลังทหารกว่าหมื่นนาย
ทหารสามหน่วยนี้มุ่งหน้าไปยังค่ายตำรวจ และสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยึดเอาอาวุธมาแจกจ่ายให้กับผู้ประท้วง และหลังจากนั้นได้มีการปล่อยนักโทษที่อยู่ในคุกออกมา พวกนักโทษเหล่านั้นได้เข้าร่วมกับผู้ประท้วงที่ใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ 
ซาร์นิโคลัส ประกาศระงับกิจกรรมของสภาดูม่าออกไป 

สมาชิกของสภาดูม่า ได้เปิดการประชุมกันเอง ใน White Hall ที่พระราชวังทูไรด์ (Tauride Palace) โดยที่มีทหารแปรพักตร์คุ้มกันอยู่ภายนอกพระราชวัง หลังจากใช้เวลาประชุมกันนาน 17 ชั่วโมง พวกเขาได้จัดตั้งคณะกรรมการฉุกเฉินแห่งสภาดูม่า (Interim Committee of the State Duma) ขึ้นมาประกอบไปด้วย 13 คน  โดยที่ประธานของคณะกรรมการคือร็อดเซียนโก้ 

  1. มิคาอิล รอดเซียนโก้ (Mikhail Rodzianko) ประธานสภาดูม่า พรรคอ๊อคโต้ 
  2. นิโคไล เนกราซอฟ (Nikolai Nekrasov) พรรคคาเด็ต
  3. อเล็กซานเดอร์ โคโนวาลอฟ (Alexander Ivanovich Konovalov, พรรคคาเด็ต)
  4. อิวาน ดมิทรียุค (Ivan Dmitryuk) เลขานุการสภาดูม่า , พรรคอ๊อคโต้ ,  Progessive Bloc
  5. วลาดิมีร์ รเชฟสกี (Vlavdimir A. Rzhevsky) สมาชิกสภาดูม่า , Progressive Bloc, Freemason 
  6. นิโคไล ชคิดเซ่ (Nikolay S Chkheidze) พรรคเมนเชวิค , Petrograd Soviet 
  7. อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander  F. Kerensky) สมาชิกพรรค Socialist Revolutionary Party ย้ายมาสังกัน Trudovik , Progessive Bloc,  Petrograd Soviet  
  8. วิซิลี ชูลกิ้น (Vasily V. Shulgin) หัวหน้าพรรค  Russian National Union
  9. ปาเวล มิลยูกอฟ (Pavel N. Milyukov) หัวหน้าพรรคคาเด็ต 
  10. อิวาน เยฟรีมอฟ (Ivan Efremov), พรรค The Progressist Party, Progressive Bloc
  11. วลาดิมีร์ ลโวว (Vladimir Nikolayevich Lvov) Progressist Party
  12.  A few hours later was co-opted to the Committee of BA Engelhardt(commander of the Petrograd garrison, outside parties).
ในขณะเดียวกันฝ่ายซ้ายในสภาดูม่า นำโดยเคเรนสกี และแมตเวย์ สโกเบเลฟ  (Matvey Skobelev,เมนเชวิค )ได้มีประกาศให้ทหารและกองทัพส่งผู้แทนของตัวเองในแต่ละหน่วย แต่ละโรงงานเข้าประชุมภายในพระราชวังทูไรด์ เวลา 1 ทุ่ม ผลการประชุมทำให้มีการก่อตั้ง Petrograd Soviet of Workers’ and Soldies’ Deputies (Петроградский Совет рабочих и солдатских депутатов) ขึ้นมา  นิโคไล ชคิดเซ่  เป็นประธาน เคเรนสกี และสโกเบเลฟ เป็นรองประธาน
วันเดียวกันนี้  ยังได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีของรัสเซีย (Council of Ministers) ที่ Mariinsky Palace  ซึ่งผลการประชุมได้มีการส่งข้อความถึงซาร์นิโคลัส ว่าคณะรัฐมนตรีไม่มีความสามารถในการจัดการความวุ่นวายที่เกิดขึ้นได้ และขอให้พระองค์ยุบและเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีใหม่ที่มีความเข้มแข็งกว่า นอกจากนี้ยังได้แจ้งว่ารัฐมนตรีมหาไทย โปรโตโปปอฟ ลาออกและหันไปเข้าข้างฝ่ายผู้ประท้วงแล้ว 
Grand Duke Mikhail Alexandrovich , Price Golitsyn ได้ตกลงกันและส่งโทรเลขถึงซาร์นิโคลัส ให้พระองค์ประกาศยุบคณะรัฐมนตรี และยอมรับคณะของ Lvov 
ซาร์นิโคลัสแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโกลิตซิน  เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมสถานการณ์ , และนายพล N. Ivanov ได้รับแต่งตั้งเป็น Gendarmerie ควบคุมทหารในเปโตรกราดทั้งหมด
23.00 ประธานสภาแห่งรัฐ (State Council) I. G. Shcheglovitov ถูกผู้ประท้วงจับ
28 กุมภาพันธ์
 ประธานสภา ร๊อดเซียนโก้ ได้เจรจากับซาร์นิโคลัส และผู้บัญชาการทหารสูงสุดนายพลอเล็กซีฟ (General Alekseev, Supreme Commander) 
Interim Committee ประกาศตัวเองเป็นรัฐบาล 
เปโตรกราดโซเวียต ได้ประการณ์แถลงการณ์ของกองทัพ ในการสนับสนุนการถ่ายโอนอำนาจบริหารประเทศไปยังคณะกรรมการฉุกเฉิน 
1 มีนาคม
ซาร์นิโคลัส ขึ้นรถไฟเพื่อเสด็จกลับเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก แต่ว่าขบวนถูกทหารแปรพักตร์นำโดยนายพลรุซสกี หยุดไว้ตอนประมาณ 19.00 น. เมื่อรถไฟมาถึงเมือง Pskov ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการทหารทางด้านเหนือ   และแนะนำให้พระองค์มุ่งหน้าไปที่อื่น
2 มีนาคม (15 มีนาคม)
ซาร์นิโคลัส ระหว่างที่ทรงเสด็จโดยรถไฟไปยังพัสคอฟ (Pskov) พร้อมด้วยกุชกอฟ, รัซสกี, ชูกิ้น  Guchkov, Ruza, Shulgin  ทรงประกาศสละพระราชอำนาจ โดยตอนแรกตั้งใจที่จะให้เจ้าชายอเล็กซี ดำรงตำแหน่งแทน แต่ทรงเปลี่ยนพระทัย และเวลา 11.40 p.m. ได้ลงพระนามแต่งตั้งน้องชายของพระองค์  มิคาอิล โรมานอฟ (Mikhail Aleksandrovich Romanov) เป็นซาร์องค์ใหม่ 
3 มีนาคม (16 มีนาคม)
ในตอนเช้า ร๊อดเซียนโก้ ประธานสภา, เจ้าชายลโวว , มิลยูกอฟ, เคเรนสกี ได้เข้าพบกับซาร์ มิคาอิล ที่บ้านของพระองค์ และพวกเขาต่างถกเถียงกันว่าซาร์นิโคลัส มีอำนาจที่จะแต่งตั้งให้เจ้าชายมิคาอิลเป็นซาร์หรือไม่ มีอำนาจที่จะไม่ได้เจ้าชายอเล็กซีเป็นซาร์หรือไม่ ….
เจ้าชายมิคาอิล ไม่ได้ตอบรับหรือว่าปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งซาร์ แต่ทรงเขียนคำแถลงการณ์ ยอมรับเจตนารมณ์ของประชาชน ทรงบอกว่าให้เป็นอำนาจสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) ที่จะมาจากการเลือกตั้งในอนาคต เป็นคนที่จะกำหนดว่ารัสเซียจะปกครองด้วยระบบใด 
ดังนั้นโดยเบื้องต้น จึงขอให้ประชาชนยอมรับกับรัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional Government of the Constituent Assembly) จนกว่าจะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ในอนาคตอันใกล้ 
ดังนั้นในทางการแล้วอำนาจบริหารรัสเซียจึงตกไปอยู่กับรัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional Government) ซึ่งคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่มาจากชุด Interim Committee  

นายกรัฐมนตรี

จอร์จี ลโวว์ (Georgy Lvov)

รัฐมนตรีต่างประเทศ

ปาเวล มิลยุกอฟ (Pavel Milyukov) พรรคคาเด็ต

มิคาอิล เตเรชเชนโก้ (Mikhail Tereshchenko) ไม่สังกัดพรรค, ตั้งแต่ เมษายน

รัฐมนตรีกิจการสงครามและกองทัพเรือ

อเล้กซานเดอร์ กุชกอฟ (Alexander Guchkov) พรรคอ็อคโต้

อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky) พรรค Socialist-Revolutionary , ตั้งแต่ เมษายน

รัฐมนตรีคมนาคม 

นิโคไล เนกราซอฟ (Nikolai Nekrasov) พรรคคาเด็ต 

รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม

อเล็กซานเดอร์ โกโนวาลอฟ (Alexander Konovalov) พรรค Progressist

รัฐมนตรียุติธรรม

อเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky) พรรค Socialist-Revolutionary

ปาเวล เปเรเวอร์เซฟ (Pavel Pereverzev) พรรค Socialist-Revolutionary , ตั้งแต่ เมษายน

รัฐมนตรีคลัง

มิคาอิล เตเรชเชนโก้ (Mikhail Tereshchenko) ไม่สังกัดพรรค

แอนเดรย์ ชินกาเรฟ (Andrei Shingarev) พรรรคคาเด็ต , ตั้งแต่เมษายน 

รัฐมนตรีศึกษาธิการ

แอนเดรย์ มานัวลอฟ (Andrei Manuilov) พรรคคาเด็ต

รัฐมนตรีเกษตร

แอนเดรย์ ชินกาเรฟ ( Andrei Shingarev) พรรคคาเด็ต

วิคเตอร์ เชอร์นอฟ (Victor Chernov) พรรค Socialist-Revolutionary, ตั้งแต่ เมษายน

รัฐมนตรีแรงงาน

แมตเวย์ สโกเบเลฟ (Matvey Skobelev) พรรคเมนเชวิค 

รัฐมนตรีอาหาร

อเล็กซีย์ เปเชโคนอฟ (Alexey Peshekhonov) พรรค National socialists

รัฐมนตรีไปรษณีย์และโทรเลข

อิรากลิ ทเชเรเตลิ (Irakli Tsereteli ) พรรคเมนเชวิค 

ผู้แทนของรัฐประจำโฮรี่ไซน๊อด (Ober-Procurator of the Holy Synod)

วลาดิมีย์ ลโวว์ (Vladimir Lvov) พรรค Progressist

ในขณะที่เปโตรกราดโซเวียต กลายเป็นองค์กรคู่ขนานไปกับรัฐบาลเฉพาะกาล ทั้งสองแย่งอำนาจระหว่างกัน 

9 มีนาคม 

ซาร์นิโคลัส กลับมายังพระราชวัง Tsarskoe Selo และอยู่กับครอบครัว โดยที่ถูกรัฐบาลกักบริเวณเอาไว้  หลังจากนั้นพระองค์ได้ขอให้รัฐบาลส่งตัวพระองค์ลี้ภัยไปยังอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ว่าทางการของทั้งสองประเทศปฏิเสธ 
22 มีนาคม
รัฐบาลสหรัฐประกาศรับรองรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซีย
3 เมษายน

เลนิน เดินทางจากสวิส ผ่านเยอรมันกลับเข้ามาถึงรัสเซีย ต่อมาเขาได้นำเสนอ แถลงการณ์เมษายน (April Thesis)  เจตจำนงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาล นำไปสู่ การปฏิวัติตุลาคม (October Revolution)

Don`t copy text!