Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Andrey Vlasov

อันเดรย์ วลาสอฟ (Анлрей Андреевич Власов )

ผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนรัสเซีย (ROA)
วลาสอฟ เกิดในนิซนี นอฟโกรอด (Nizhny Novgorod) ในหมู่บ้านโรมากิ้น (Lomakin) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1901 เขาเป็นลูกคนสุดท้ายในพี่น้อง 13  คน ครบอครัวมีฐานะยากจนมาก 
วลาสอฟ ได้พี่ชายคนโตของเขาส่งเข้าเรียนที่ Russian Orthodox seminary แต่ว่าต้องออกจากการศึกษากลางคันระหว่างที่เกิดการปฏิวัติรัสเซียช่วงปี 1917 หลังจากนั้นเขาหันไปเรียนด้านการเกษตรอยู่พักหนึ่งก่อนที่จะสมัครเข้ากองทัพ 
1919 เข้าร่วมกับกองทัพแดง ใช้เวลาฝึกอยู่ 4 เดือน ก่อนที่จะถูกส่งไปแถบยูเครน ไครเมีย และคอเคซัส 
1929 จบการศึกษาในหลักสูตร The Shot (Выстрел ) ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี สำหรับฝึกทหารราบให้รู้จักใช้อาวุธ และกลยุทธ์
1930 เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์  
1935 เข้าเรียนที่สถาบันฟรุนซ์ (Frunze Military Academy) 
1938 ถูกส่งไปยังประเทศจีน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางทหารให้กับ เจียง ไคเชค (Chaing Kai Shek) 
1939 ก่อนเดินทางกลับโซเวียต เขาได้รับเหรียญ Order of the Golden Dragon 
เมื่อเดินทางกลับมายังโซเวียต เขารับหน้าที่ควบคุมทหารหน่วยพลไรเฟิ้ล ที่ 99 (99th Rifle Division) ซึ่งหนึ่งเดือนหลังจากเขารับตำแหน่ง นายพลไทโมเชนโก้ (Semyon Timoshenko) ได้กล่าวว่าหน่วยของเขาเป็นหน่วยที่ดีที่สุดของกองทัพ และได้มอบนาฬิกาทองคำเรือนหนึ่งให้เขาเป็นของขวัญ โดยที่มีรอยสลักเอาไว้ว่า “found the 99th the best of all”
1940  ได้รับแต่งตั้งเป็น นายพล 
1941 เมื่อเยอรมันใกล้จะบุกโซเวียต วลาสอฟ ทำหน้าที่บัญชาการกองทหารเครื่องกล ที่ 4 (4th Mechanized Corps) 
1942 24 มกราคม, ได้รับรางวัล Order of the Red Banner จากผลงานการต่อสู้ปกป้องมอสโคว์ หลังจากนั้นเขาถูกย้ายไปควบคุมหน่วย 2nd Shock Army ซึ่งกำลังจะร่วมในปฏิบัติการเพื่อปลดปล่อยเลนินกราด (Lyuban-Chudovo offensive Operation) 
มิถุนายน หน่วยของเขาตกอยู่ใต้วงล้อมของนาซี 
12 กรกฏาคม วลาสอฟ มอบตัวกับทหารเยอรมัน
ระหว่างอยู่ในเยอรมัน เขาถูกชักชวนจากกัปตันไตรก์-สไตรก์เฟรดต์ (captain Wilfired Strik-Strikfledt) ชาวรัสเซีย เชื้อสายเยอรมันบอลติก ที่เคยทำงานกับกองทัพขาว เขาชักชวนให้วลาสอฟหันมาต่อต้านสตาลิน
ต่อมา วลาสอฟ  จึงได้ตั้งคณะกรรมการปลดปล่อยประชาชนรัสเซีย (Committee for the Liberation of Peoples of Russia , Комитет освобождения народов России)  โดยที่เขาเป็นประธาน และตั้งกองทัพปลดปล่อยรัสเซีย (Russian Liberation Army ,  Русскую Освободительную Армию รู้จักกันในชื่อ ROA ตามตัวย่อภาษารัสเซีย) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนาซีเยอรมัน มีกำลังประมาณ 50,000 นาย
ชาวรัสเซียคนสำคัญคนหนึ่งที่สนับสนุนวลาซอฟ คือ บาทหลวงอนาสตาซิ (Metropolitan Amastasii(Gribanovskii)) ซึ่งประจำอยู่ในเบอร์ลิน  
แต่ว่า ROA เหมือนเป็นเครื่องมือการโฆษณาชวนเชื่อของกองทัพเยอมัน (Wehrmacht) มากกว่าจะใช้ในการรบ วลาสอฟ นั้นปรากฏตัวในเครื่องแต่งกายของทหารนาซี  เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางไปในพื้นที่ของรัสเซียที่ถูกนาซียึดครองเอาไว้ได้ เพื่อชวนเชื่อชาวรัสเซ๊ยที่สนับสนุนเยอรมันหรือที่ต่อต้านสตาลิน 
วลาสอฟ เขียนจดหมาย “ทำไมเขาจึงต่อต้านบอลเชวิค” ( Why I stated to fight against Bolshevism , Почему я стал на путь борьбы с большевизмом) ซึ่งเยอรมันพิมพ์เป็นใบปลิวและแจกลงมาจากเครื่องบิน ในช่วงสงคราม 
1944  14 พฤศจิกายน คณะกรรมการปลดปล่อยประชาชนรัสเซืย อ่านแถลงการณ์กรุงปราก (Prague Manifesto) มีเป้าหมายที่จะสร้างรัฐบาลรัสเซียที่ปราศจากคอมมิวนิสต์ และเป็นมิตรกับเยอรมัน แถลงการณ์ยังกล่าวประณามสตาลินในการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนในชาติของตัวเอง 
1945 11 กุมภาพันธ์  กำลังหน่วยที่หนึ่งของ ROA  ปะทะกับทหารกองทัพแดงริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ (Oder river) แต่่ว่าเพียงสามวันก็ต้องถอยไปยังเขตโบฮีเมีย ใกล้กรุงปราก ซึ่งมีทหารนาซียึดครองอยู่
6 พฤษภาคม , ผู้บัญชาการหน่วยที่หนึ่งของ ROA นายพลเซอร์เกย์ บุนยาเชนโก้ (Gen. Sergei Bunyachenko) ต้องการช่วยเหลือชาวเชคในการขับไล่นาซี (Prague uprising) เขาจึงขออนุญาตยิงทหาร SS แต่ว่าวลาสอฟไม่เห็นด้วย ทำให้สองฝ่ายแยกทางใครทางมัน 
10 พฤษภาคม, เขาเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอเมริกาอยู่ และพยายามข้อลี้ภัย 
12 พฤษภาคม,  วลาสอฟ ถูกทหารโซเวียตล้อมจับเอาไว้ได้ ในเมืองพิลเซน (Pilsen) ในเชคโกสโลวาเกีย โดยที่ตัวเขาหลยอยู่ในรถจี๊บ  เขาถูกคุมตัวส่งไปยังมอสโคว์ ให้กับจอมพลโกเนฟ (Ivan S. Konev)
1946 1 สิงหาคม , ถูกศาลในโซเวียตตัดสินว่าเป็นสายลับเยอรมัน และถูกประหารชีวิตในวันเดียวกันด้วยการแขวนคอ (ลือกันว่าเขาถูกแขวนคอด้วยสายเปียโน ก่อนที่จะใช้ตะขอสับจนเสียชีวิต)
ความเห็นต่อวลาสอฟ ในรัสเซียมีความหลากหลาย เขาได้รับการบันทึกจากองค์กรรัสเซียออโธดอกซ์ในต่างแดน (Russian Orthodox Church Abroad, ROCA) โดยอาร์ชบิชอฟ มาร์ก แห่งเบอร์ลิน (Archbishop Mark of Berlin and of Great Britain) ในฐานะผู้ที่ต่อสู้กับบอลเชวิค  ไม่ใช่คนทรยศ
แต่บางส่วนก็เห็นว่าเขาทรยศต่อทุกฝ่ายเพื่อที่จะเอาตัวรอดเท่านั้น 
Don`t copy text!