Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Peter The Great

ปีเตอร์ ที่ 1 มหาราช (Пётр Алексуувич Романов, Peter Alexeyevich Romanov)

ซาร์ปีเตอร์  พระราชสมภพในคืนวันที่ 30 พฤษภาคม 1672 (9 มิถุนายน N.S.) สถานที่ที่พระองค์ประสูตรไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์คาดว่าเป็นภายในปราสาทเตเรม ในพระราชวังเครมลิน (Terem Palace, Kremlin) แต่ก็มีความเชื่ออื่นๆ ที่บอกว่าพระองค์ประสูตรที่หมู่บ้าน Kolomenskoye
พระบิดาของพระองค์คือซาร์อเล็กซิส (Tsar Alexis Mikhailovich) ซึ่งเป็นซาร์องค์ที่สองในราชวงศ์โรมานอฟ อเล็กซิสนั้นมีโอรสถึง 14  พระองค์ แต่ว่าปีเตอร์เป็นโอรสองค์โตที่เกิดกับพระชายาคนที่ 2  นาตาเลีย นารีชกิ้น (Natalia Naryshkin)
ขณะทรงพระเยาว์ ทรงอยู่ในการดูแลของพระมารดาอยู่ปีหนึ่ง ก่อนที่จะถูกส่งให้กับแม่นมเป็นผู้ดูแล
1676 29 มกราคม ซาร์อเล็กซิส  สวรรคต, ฟีโอดอร์ ที่ 3  (Tsar Feodor III) ซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากพระราชินีมาเรีย (Maria Miloslavskaya) ขึ้นครองราชย์  แต่ว่าฟีโอดอร์นั้นมีสุขภาพไม่แข็งแรง อำนาจในการบริหารประเทศเวลานั้นอยู่กับอาร์ตามอน แมตวีฟ (Artamon Matveev) ที่ปรึกษาและเป็นพระสหายของอเล็กซิส 
1682 27 เมษายน  (7 พฤษภาคม N.S.) ซาร์ฟีโอดอร์ ที่ 3 สวรรคต โดยที่ไม่มีทายาท  ทำให้เกิดแย่งอำนาจกันในหมู่ชนชั้นสูง ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนอีวาน ที่ 5 (Ivan V) น้องชายของฟีโอดอร์ ที่ 3  , ส่วนปีเตอร์วได้รับการสนับสนุนจากแมตวีฟ, สังฆราชจัวชิม(Patriarch Joachim) และสภาของขุนนาง (Boyar Duma)
อีวานนั้น มีพี่สาวที่ชื่อ โซเฟีย (Sophia Alekseyevna) วัย 25 ปี โซเฟียและผู้ที่สนับสนุนอีวาน ก่อการกบฏขึ้นในมอสโคว์
เมษายนพฤษภาคม กบฏสเตร็ลท์ซี (Streltsy Uprising) ฝ่ายสนับสนุนอีวานพยายามทำรัฐประหารในมอสโคว์ โดยที่มีนายทหารระดับสูงพร้อมทหาร 20,000 นายให้การสนับสนุน  ซึ่งทำให้แมตวีฟ ถูกสังหาร พร้อมกับญาติของปีเตอร์จำนวนหนึ่ง
เหตุการณ์กบฏดังกล่าว ทำให้สองฝ่ายเจรจากันและยอมให้ทั้งอีวาน ที่ 5 และปีเตอร์ ขึ้นครองราชย์พร้อมกัน
25 มิถุนายน , อีวาน ที่ 5 และปีเตอร์ เข้าพิธีราชาภิเษก ที่มหาวิหารอัสสัมชัน (Assumption Catherdral) โดยที่สังฆราชจัวชิมเป็นผู้ทำพิธี
 โซเฟียนั้นขึ้นที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนอีวาน  ที่ 5  เธอกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ทำหน้าที่บริหารประเทศเบื้องหลังอีวาน ที่ 5 นานกว่า 7 ปี , ส่วนซึ่งปีเตอร์รู้สึกว่าไม่ค่อยปล่อยภัย พระองค์จึงไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณะและมักจะไปประทับชานกรุงมอสโคว์ร่วมกับพระมารดา ซึ่งยิ่งเมื่อปีเตอร์เจริญพระชนษ์ขึ้น ก็เริ่มทรงสนพระทัยด้านการทหาร คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทุกแขนง ครูสอนคณิตศาสตร์ของปีเตอร์ คือ ฟรานซ์ ทิมเมอร์มานน์ (Franz Timmerman) ชาวดัตช์
1689 27 มกราคม, ปีเตอร์ถูกบังคับให้อภิเษกกับยูโดเซีย โลปูคิน่า (Eudoxia Lupokhina)   โดยทั้งคู่มีโอรสด้วยกันสองพระองค์ คือ อเล็ก (Alex) ซึ่งเป็นซาร์ต่อมาในอนาคต และ อเล็กซานเดอร์ (Alexander) ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก
ก่อนหน้านี้ปีเตอร์มีคนรักชื่อแอนน่า มอนส์ (Anna Mons) ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันแต่ว่าแอนน่าไม่เป็นที่ชื่นชอบของนาตาเลีย พระมารดาของปีเตอร์
สิงหาคม, ปีเตอร์และผู้สนับสนุนสามารถยึดอำนาจจากโซเฟียได้ โซเฟียถูกบังคับบวชชีไปอยู่ในคอนแวนต์ดนโวเดวิชี (Novodevichy convent) ตลอดชีวิต ส่วนอีวาน ที่ 5 ยอมมอบอำนาจทั้งหมดให้ปีเตอร์
1695 สงครามขยายดินแดนไปยังเอซอฟ (Azov campaigns,1695-1696)  รัสเซียของปีเตอร์เร่ิมทำสงครามกับพวกตาตาร์ในไครเมีย (Crimean Tatars) ซึ่งสนับสนุนอ็อตโตมาน ปีเตอร์พยายามที่จะหาทางออกทะเลให้กับรัสเซียไปยังทะเลดำ แต่ว่าการโจมตีครั้งแรกรัสเซียไม่ประสบความสำเร็จเพราะว่ากองทัพรัสเซียขาดแคลนเรือรบ แต่ว่าในปีต่อมารัสเซียได้ประกอบเรือรบขึ้นมา และบุกยึดป้อมปราการของเอซอฟได้สำเร็จ สามารถเปิดทางสู่ทะเลดำได้เป็นครั้งแรก และมีการก่อสร้างท่าเรือตากานร็อก (Taganrog)
1696 29 มกราคม (8 กุมภาพันธ์) อีวาน ที่  5 สวรรคต
1697 (Grand Embassy) รัสเซียไม่อาจจะเผชิญหน้ากับอ๊อตโตมานได้เพียงลำพัง ทำให้ซาร์ปีเตอร์ทรงต้องการแสดงหาพันธมิตร ด้วยการเสด็จเยือนต่างประเทศ ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของรัสเซียที่เสด็จต่างประเทศ พระองค์นำทูตเดินทางไปด้วยถึง 250 คน  แต่ผลของการเยือนนี้รัสเซียไม่อาจจะหาพันธมิตรได้ตามที่คาดหวัง แต่ว่าปีเตอร์กลับได้เรียนรู้วัฒนธรรม และเทคโนโลยีของยุโรปตะวันตกมากมายเพื่อมาปรับปรุงกองทัพ และการปกครอง ทรงว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญของตะวันตกหลายร้อยคน และผู้ชำนาญการก่อเรือให้เดินทางมาทำงานในรัสเซีย 
 ปีเตอร์ไปเป็นช่างทาสีเรือตอนเสด็จไปฮอลแลนด์ และไปทำงานในอู่ต่อเรือของบริษัทอีสต์อินเดีย ตอนเสด็จไปประทับในอังกฤษ นอกจากนั้นยังดูงานด้านการผลิตอาวุธ และการศึกษา ทรงเสด็จเยือนอ๊อกฟอร์ด และได้มีโอกาสพบกับเซอร์ไอแซค นิวตัน ด้วย
1698 มิถุนายน ระหว่างประทับอยู่ในออสเตรีย ทรงต้องรีบเสด็จกลับรัสเซีย เพราะเกิดกบฏสเทรเล็ตสกีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  แต่ว่าก่อนที่พระองค์จะกลับมาถึงมอสโคว์ในเดือนสิงหาคม พวกกบฏถูกปราบปรามไปแล้ว แต่พระองค์ก็สั่งลงโทษผู้ก่อการกว่า 800 คนอย่างหนัก
1700 (7208) รัสเซียมีการฉลองวันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ตามแบบปฏิทินจูเลียน (Julian calendar) ปีเตอร์ทรงประกาศกฤษฏีกาในปีก่อนให้ยกเลิกการใช้ปฏิทินไบแซนไทน์  (Byzantine calendar)
กุมภาพันธ์, มหาสงครามดินแดนเหนือ (the Great Northern war) ปีเตอร์ทรงต้องการหาทางออกทะเลบอลติก ซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลของสวีเดน , รัสเซียจึงร่วมมือกับ สหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์  (Danish-Worwegian union) ,แซ็กโซนี, ปรัสเซีย ทำสงครามกับจักรวรรดิสวีเดนของชาร์ล ที่ 12 (Charles XII) เพื่อปลดปล่อยทะเลบอลติกซึ่งตกอยู่ใต้การครอบครองของสวีเดน ซึ่งสงครามครั้งนี้กินเวลานานถึง 20 ปี 
19 พฤศจิกายน (30 พฤศิจกายน N.S.) , สมรภูมินาร์ว่า (Battle of Narva) ความพยายามแรกของรัสเซียในการที่จะหาทางออกสู่ทะเลบอลติกจบลงด้วยความล้มเหลว 
1703 16 พฤษภาคม  (27 พฤษภาคม N.S.)  ปีเตอร์ทรงสร้างเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กขึ้น ในช่วงสงครามกับสวีเดน โดยทรงวางศิลากฤษ์ที่ป้อมปีเตอร์แอนพอล (Peter and Paul Fortress) 
1704 รัสเซียสามารถยึดตาร์ตู (Tartu) และนาร์ว่า (Narva)
1708 สมรภูมิเลสน่าย่า (Battle of Lesnaya) เป็นครั้งแรกที่ซาร์ล ที่ 12 แห่งสวีเดนบุกเข้ามายังพรหมแดนรัสเซียในช่วงสงคราม และกลายเป็นครั้งแรกที่พระองค์ต้องแพ้ให้กับปีเตอร์
1709 27 มิถุนายน, สมรภูมิโปลตาว่า (Battle of Poltava) ชัยชนะครั้งสำคัญของรัสเซียเหนือสวีเดน สงครามครั้งนี้ทำให้ชาร์ล ที่  12 แพ้จนต้องหนีไปยังอ๊อตโตมาน 
1710 สงครามรัสเซีย-ตุรกี (Russia-Turkish War) อ๊อตโตมานเข้ามาแทรกแซงในช่วงที่รัสเซียกำลังทำสงครามกับสวีเดน ส่วนหนึ่งเพราะต้องการดินแดนเอซอฟคืน
1712 9 กุมภาพันธ์ อภิเษกกับ มาร์ธ่า สกาฟรอนสกาย่า (Martha Skavronskaya) ภายในมหาวิหารเซนต์ไอแซค (Saint Isaac Cathedral)  เชื่อกันว่าพระองค์กับมาร์ธาได้แต่งงานกันอย่างลับๆ ตั้งแต่ปี 1707 มาร์ธ่านั้นเป็นหญิงชาวโปแลนด์ ก่อนที่ต่อมามาร์ธ่าจะได้เปลี่ยนมานับถือนิกายรัสเซียออโธดอกซ์ และใช้ชื่อใหม่ว่าแคทเธอรีน (Catherine I) 
ปีเตอร์ย้ายเมืองหลวงจากมอสโคว์ มาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 
เจ้าชายอเล็กซี ถูกสงสัยว่าพยายามวางแผนยึดอำนาจจากพระบิดา แต่แผนการณ์ถูกทำลายทำให้อเล็กซีหนีไปต่างประเทศ
1718 อเล็กซีถูกจับได้ และถูกขังไว้ในคุกจนกระทั้งเสียชีวิต
1721 30 สิงหาคม (10 กันยายน ) สนธิสัญญานิชแตดท์ (Nishtadt treaty) รัสเซียและสวีเดนทำสนธิสัญญาสันติภาพ รัสเซียได้เอสโตเนีย(Estonia) ลิโวเนีย (Livonia) และอินเกรีย (Indria) มาครอบครองทำให้สามารถออกสู่ทะเลบอลติกได้
22 ตุลาคม (22 พฤศจิกายน) ปีเตอร์ กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของรัสเซีย (Emperor of All Russian) โดยได้รับการสดุดีจากวุฒิสภา และโฮลี่ไซนอด (Holy Synod) ที่สามารถเอาชนะในมหาสงครามดินแดนเหนือได้
1722 รัสเซียบุกเปอร์เซีย ซึ่งรัสเซียสามารถยึดดินแดนบริเวณทะเลแคสเปี้ยนได้มากขึ้น
1724 พฤศจิกายน , ซาร์ปีเตอร์ทรงประทับบนเรืออยู่บริเวณที่เรียกว่าแลคต้า (Lakhta) ในอ่าวฟินแลดน์ ทรงทอดพระเนตรเห็นทหารกลุ่มหนึ่งกำลังจะจมน้ำที่เย็นจัด พระองค์ทรงกระโดดลงไปน้ำเพื่อช่วยทหาร แต่หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวร 
1725 สวรรคตช่วงรุ่งเช้า ระหว่างตีสี่ตีห้าของวันที่ 28 มกราคม (8 กุมภาพันธ์ N.S.) ด้วยอาการแกงรีน (gangrene อวัยวะตายเพราะขาดเลือดหรือติดเชื้อ) 
Don`t copy text!