Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Anna Ioannovna

แอนนา เอียนนอฟน่า (Анна Иоанновна)
ปกครองรัสเซียระหว่าง  1730-1740
แอนนาประสูตรในวันที่ 28 มกราคม 1963 ( 7 กุมภาพันธ์  N.S.) ในมอสโคว์ ทรงเป็นพระธิดาของ อีวาน ที่ 5 (Ivan V of Russia) ซึ่งเป็นญาติกับจักรพรรดิปีเตอร์ (Peter the Great) ซึ่งอีวาน ที่ 5 เคยร่วมปกครองรัสเซียพร้อมกับปีเตอร์เป็นเวลากว่า 7 ปี ระหว่าง 1682-1692  , พระมารดาของแอนน่าคือ ปราสโกเวีย ซัลคุโกว่า (Praskovia Saltykova
ตอนทรงพระเยาว์ แอนนา อาศัยอยู่ในบ้านของมารดา ในหมู่บ้านอิซเมโลโว่ (Izmaillovo village) ชานกรุงมอสโคว์ และเรียนหนังสืออยู่กับบ้าน โดยได้เรียนภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส 
1710 31 ตุลาคม แต่งงานกับดุ๊กแห่งคัวร์แลนด์,  เฟรเดอริค วิลเลี่ยม (Frederick Willian , Duke of Courland) ตามคำสั่งของจักรพรรดิปีเตอร์  พิธีแต่งงานของทั่งคู่จัดขึ้นที่วังเมนชิกอฟ (Menshikov Palace) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งขณะนั้นยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์
1711 แอนนา และเฟรเดอริค เดินทางกลับมายังมิตตัว (Mittau)  เมืองหลวงของคัวร์แลนด์ขณะนั้น (Courland ปัจจุบันเป็นดินแดนบริเวณตะวันตกของแลตเวีย) แต่ว่าระหว่างทางเฟรเดอริคก็ล้มป่วยและเสียชีวิตอย่างกระทันหัน  ศพของเฟรเดอริคถูกนำกลับคัวร์แลนด์
หลังจากนั้นแอนน่า ทำหน้าที่ปกครองคัวร์แลนด์ โดยจักรพรรดิปีเตอร์ ได้ส่งที่ปรึกษา ปีเตอร์ เบสตุเซฟ (Peter Bestuzhev-Rumin) มาให้
1725 จักรพรรดิปีเตอร์สวรรคต , แคทเธอรีน ที่ 1 (Catherine I) ครองอำนาจต่อจากพระองค์ แคทเธอรีนเป็นมเหสีคนที่ 2 ของจักรพรรดิปีเตอร์ 
แอนน่ามีความสัมพันธ์ใหม่กลับเอิร์น ไบรอน (Ernst Johann von Biron) ชาวคัวร์แลนด์คนหนึ่งที่มีฐานะดี และยังหน้าตาดี ไบรอนนั้นแต่งงานมีครอบครัวอยู่แล้ว ลือกันว่าลูกคนเล็กของไบรอน  ที่ชื่อคาร์ล  (Karl Ernst Biron) แท้จริงแล้วเป็นลูกที่เกิดกับแอนน่า เพราะแอนนาเคยพาคาร์ลเดินทางกลับมารัสเซียด้วยกัน แต่ว่าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ในเรื่องนี้ 
1727 6 พฤษภาคม (17 พฤษภาคม N.S) , แคทเธอรีน ที่ 1 สวรรคต , ปีเตอร์ ที่ 2 (Peter II) หลานของปีเตอร์มหาราช ได้สืบบัลลังค์ต่อมา 
1730 19 มกราคม (30 มกราคม N.S.) , ปีเตอร์ ที่ 2 สวรรคต ขณะมีพระชนเพียง 14 ชันษา  
 ที่ประชุมสภาองคมนตรี (Supreme Privy Council) ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยของแคทเธอรีนที่ 1 , โดยเจ้าชายดมิทรี โกลิตซีน (Dmitri Golitzine) เป็นประธาน  ได้จัดการประชุมลับ และมีมติให้แอนน่า ขณะนั้นมีพระชนษ์ 18 ชันษา ขึ้นเป็นจักรพรรดินีองค์ใหม่ โดยที่ตัวเลือกอีกคนหนึ่งคืเจ้าหญิงอลิซาเวต้า (Elizaveta) ธิดาของจักรพพรดิปีเตอร์มหาราช 
แอนน่า ได้รับตำแหน่ง โดยมีเงื่อนไขให้เธอต้องเซ้นต์รับเงื่อนไข 9 ข้อ คือ ห้ามไม่ให้แต่งงานใหม่, ห้ามแต่งตั้งรัชทายาท, ห้ามประกาศสงครามกับชาติใดหรือเป็นมิตรกับชาติใด, ไม่มีอำนาจในการกำหนดอัตราภาษี, ไม่มีอำนาจแต่งตั้งทหารที่ยศเกินกว่าพลตรี, ห้ามใช้เงินของรัฐบาล, และไม่มีอำนาจลงโทษสมาชิกองคมนตรี ซึ่งแอนน่า ยอมลงพระนามในสัญญาดังกล่าวในวันที่ 28 มกราคม (6 กุมภาพันธ์ N.S.) ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเป็นที่ไม่พอใจแก่ฝ่ายที่สนับสนุนแอนนา
25 กุมภาพันธ์ (8 มีนาคม N.S)  , ฝ่ายที่สนับสนุนแอนน่า ก่อการปฏิวัติ พวกเขาจับคณะองคมนตรีเอาไว้ได้  ต่อมาองคมนตรีส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิต 
28  มีนาคม, แอนน่า เข้าพิธีราชาภิเษก ในมหาวิหารดอร์มิเทียน (Dormition Cathedral)  ภายในพระราชวังเครมลิน มอสโคว์ 
1731 แอนน่า ตั้งหน่วยตำรวจลับ (Secret Search Chancellery) ขึ้นมา เพื่อกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามของเธอ อย่าง เจ้าชายดมิทรี โกลิตซีน, เจ้าชายโดลโกรูกี (Prince Dolgoruky) และอาร์เตมี โวลุนสกี (Artemy Volynsky) 
ในช่วงการปกครองของแอนน่า พระนางแทบไม่ได้บริหารประเทศเอง แต่ปล่อยให้รัฐมนตรี ซึ่งทรงแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร โดยที่ เอิร์น ไบรอน มีอำนาจสูงสุด แต่ว่าเขาไม่ถนัดงานด้านต่างประเทศ งานกิจการต่างประเทศได้ถูกมอบให้ แอนเดรีย ออสเตอร์แมน (Andrey Osterman) กับ เบอร์คาร์ท มุนนิช (Burkhardt Münich) เป็นคนดูแล ซึ่งคนเหล่านี้ล้วนมีเชื้อสายเยอรมัน ทำให้รัสเซียในยุคของแอนนา ถูกมองว่าถูกครอบงำโดยชาวต่างชาติ 
ปีนี้แอนนาได้ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร (the Shlyakhetsky Corps ,Cadet Corps) เป็นครั้งแรกของรัสเซ๊ย โดยใช้ลูกๆ ของขุนนางระหว่างอายุ 8-15 ปีมาฝึกเป็นเวลาเจ็ดปี 
1733 สงครามหากษัตริย์โปแลนด์ (War of Polish succession 1733-1735)  เมื่อกษัตริย์ออกัสตัส ที่ 2 (King Augustus II) ของโปแลนด์สวรรคต เกิดการแย่งอำนาจกันภายใน และมหาอำนาจเวลานั้นต่างสนับสนุนฝ่ายของตนให้สืบอำนาจในโปแลนด์  ฝรั่งเศสกับสเปนนั้นสนับสนุน สตานิสลาฟ เลสซ์ซินสกี (Stanislaw Leszczynski) ส่วนรัสเซีย สนับสนุน ออกัสตัส ที่ 3 (Augustus III) 
1735 สงครามรัสเซีย-ตุรกี (Russia-Turky war , 1735-1739) รัสเซียบุกไครเมีย โดยพยายามยึดป้อมปราการโอชากอฟ (Ochakov fortress) และป้อมโคติน (Khotin fortess) แต่ว่ารััสเซียต้องสูญเสียทหารกว่าแสนนายและสุดท้ายต้องลงนามในสนธิสัญญาเบลเกรด (Belgrade Treaty ) ในปี 1739  เพื่อคืนดินแดนเกือบทั้งหมดให้กับตุรกี 
ในสมัยของแอนน่า รัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ประเทศหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวของการใช้ทาส จำนวนมาก และมีการสร้างอาคารต่างๆ ที่ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมาจนถึงทุกวันนี้อย่าง วิหารนักบุญปีเตอร์และเซนต์พอล (Peter and Paul Cahterdral), อาคาร 12 คอลเลจ (Twelve Colleges Building) แต่เดิมต้องการใช้เป็นที่ทำการของรัฐมนตรี แต่ภายหลังถูกมอบให้มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก, วิหารซีเมียนและแอนน่า (Church of Simeon and Anna) ,พิพิธภัณฑ์คุนต์แกมเมอร์ ( The Kunstkammer) แล้วเสร็จในสมัยของแอนน่า เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตแห่งแรกของรัสเซีย, ระฆังอัสเพนสกี  (The Great Uspensky Bell,Tsar Bell) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นิสัยส่วนพระองค์ทรงโปรดการทอดพระเนตรการแสดงต่างๆ และชอบการเป็นแม่สื่อจับคู่ให้แต่งงานกัน 
1740 สวรรคต  17 ตุลาคม (28 ตุลาคม N.S.)  ขณะพระชนม์ได้ 47 ชันษา จากอาการไตวาย ก่อนเสียชีวิตได้แต่งตั้ง อิวาน แอนโตโนวิช (Ivan Antonovich of Braunschweig) หลานชายให้สืบทอดการปกครอง ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 1 ชันษา จึงได้ให้ไบรอนเป็นผู้สำเร็จราชกาล แต่ว่าความตั้งพระทัยต้องล้มเหลว  เมื่ออีกหนึ่งปีต่อมา อลิซาเบธ เปตรอฟน่า (Elizabeth Petrovna) ธิดาในจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช ได้รับการสนับสนุนให้ปกครองประเทศแทน 
Don`t copy text!