Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Walther Rathenau

วอลเธอร์ ราเธนัว (Walther Rathenau)
วอลเธอร์ ราเธนัว
วอลเธอร์ เกิดในกรุงเบอร์ลิน วันที่ 29 กันยายน 1867 เกิดในครอบครัวเชื้อสายวยิว เป็นลูกชายของอีมิล ราเธนัว(Emill Rathenau)  นักธุรกิจผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า AEG (Allgemeine-Elektrizitats Gellellschaft) แม่ของเขาชื่อมาธิด้า (Matilda) 
เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเบอร์ลินในสาขาวิทยาศาสตร์ ฟิสิก, เคมี และปรัญชา เขาเรียนจบในปี 1889
1889 จบปริญญาเอก และเข้าทำงานกับ AEG 
1914–  เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเป็นประธานของ AEG แต่ได้ทำงานกับรัฐบาลร่วมไปด้วย โดยทำงานในกรมจัดหาวัตถุดิบ สังกัดกระทรวงสงคราม (Raw Materials Department, War Ministry) 
ภายหลังสงครามโลกได้ก่อตั้งพรรคดีดีพี (German Democratic Party)  วอลเธอร์มีแนวคิดแบบชาตินิยม เขาต่อต้านไซออนิสซ์ (Zionism) และต่อต้านสังคมนิยม (Socialism) เขาต้องการให้ชาวยิวในเยอรมันเข้ากับสังคมเยอรมันและอยู่กันอย่างเสมอภาค 
1921 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีบูรณะฟื้นฟูประเทศ(Minister of reconstruction)
1922  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเขามีความเห็นขัดแย้งกับฝ่ายขวาจัด อย่างอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ , ราเธนัว ต้องการให้เยอรมันรักษาคำมั่นที่ให้ไว้ในสนธิสัญญาแวร์ไซลส์ (Treaty of Versailles) แม้ว่าเขาจะเห็นว่ามันเป็นเงื่อนไขที่โหดก็ตาม 
เยอรมันทำสนธิสัญญาราปาลโล (Treaty of Rapallo) กับโซเวียต โดยที่ราเธนัวเป็นผู้ลงนามในส่วนของเยอรมัน  ทำให้เขาถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิตส์ สนธิสัญญานี้เป็นการแก้ปัญหาการถูกโดดเดี่ยวของเยอรมันซึ่งเป็นผลจากสนธิสัญญาแวร์ไซส์ เยอรมันจึงต้องการหาพันธมิตร แต่สนธิสัญญานี้เยอรมันต้องยอมยกเลิกการเรียกร้องดินแดนที่ขัดแย้งกับโซเวียตมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 
24 มิถุนายน สองเดือนหลังลงนามในสนธิสัญญาราปาลโล ราเธนัว ถูกสังหาร ในช่วงเช้าของวันเสาร์  ระหว่างที่จะเดินทางจากบ้านของเขาเองไปยังที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทส รถของราเธนัว สวนกับรถของคนร้าย เอิร์นส์ เตโชว (Ernst Werner Techow) , เออร์วิน เคิร์น (Erwin Kern) และ เฮอร์มานน์ พิสเชอร์ (Hermann Fischer) 
Don`t copy text!