Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Eduard Shevardnadze

เอ็ดดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ่ (Эдуарл Амвросиевич Шеварднадзе)

ประธานาธิบดีของจอร์เจีย, รัฐมนตรีต่างประเทศของโซเวียต

เชวาร์ดนัดเซ่ เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1928 ในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อมามาติ เมืองแลนช์คูติ (Mamati, Lanchkhuti) สาธารณรัฐทรานคอเคซัส สหภาพโซเวียต (Transcaucasion SFSR, Soviet)  พ่อของเขาเป็นครู ชื่อแอมโบรส (Ambrose) แอมโบรสเป็นสมาชิกของพรคคอมมิวนิสต์
เชวาร์ดนัดเซ่ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ในทบิลิซี (Tbisili medical school) ก่อนที่ต่อมาจะเข้าเรียนที่วิทยาลัยครู
1946 เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
1950 แต่งงานนานูลิ (Nanuli Tsagareishvili) เธอเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ และทำงานให้กับองค์กรเพื่อสิทธิสตรี พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน คือ ปาต้า (Paata) เป้นนักกฏหมายทำงานอยู่ที่องค์การยูเนสโก้ และ มานาน่า (Manana) ทำงานสถานีโทรทัศน์
1956 เป็นเลขาธิการของยุวคอมมิวนิสต์จอร์เจีย  ซึ่งช่วดำรงตำแหน่งนี้ได้มีโอกาสพบกับกอร์บาเชฟ (Mikhail Gorbachev) 
1959 เรีนจบจากวิทยาลัยครูคุไตซิ (Kutaisi Teaching Institute)
1968 เป็นรัฐมนตรีมหาดไทยของจอร์เจีย
1972 29 กันยายน, ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำจอร์เจีย ซึ่งเขามีนโยบายปราบปรามตลาดมืดและการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเด็ดขาด ซึ่งเพียงปีแรกมีผู้ที่ถูกจับกุมตัวกว่าสามหมื่นคน  ทว่านโยบายของเขาไม่สามารถขจัดการคอร์รัปชั่นในจอร์เจียได้
1976 ได้รับตำแหน่งสมาชิกของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ (Central Committee) 
1978 ได้เป็นสมาชิกแบบไม่เต็มตัว (ไม่มีสิทธิออกเสียงโหวต) ของโพลิตบุโร (Politbura)
1981 ได้รับรางวัล Hero of Socialist Labor
1985 เป้นรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพโซเวียต  ระหว่างเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศมีฉายาว่าจิ้งจอกขาว (White Fox, Gray Fox) เขามีบทบาทสำคัญในการยุติสงครามเย็น การถอนทหารโซเวียตจากอัฟกานิสถาน การรวมเยอรมัน
1989 9 เมษายน (Tbilisi Tradgedy ), กองทัพของจอร์เจียและโซเวียตใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านโซเวียตที่ทำการรัฐบาลของจอร์เจีย ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 20 คน  ซึ่งเชวาร์ดนัดเซ่ ประณามเหตุรุนแรงของกองทัพครั้งนี้
1990 1 มิถุนายน , เป็นตัวแทนของโซเวียตเดินทางไปลงนามในสนธิสัญญา Shevardnadza-Baker ในการแบ่งน่านน้ำในทะเลเบอริ่ง 
1990 20 ธันวาคม, ประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่าต่อต้านรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ และต่อมาลาออกจากการเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ 
1991 กันยายน, เขียนหนังสือชื่อ The Future Belongs to Freedom 
19 พฤศจิกายน, ได้กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียตอีกครั้งตามคำเชิญของกอร์บาเชฟ 
21 ธันวาคม , แถลงการณ์เบลาเวซซ่า (Belavezha Accords) สิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ
ธันวาคม-มกราคม 1992, เกิดการรํฐประหารในจอร์เจีย ประธานาธิบดีซาเวีต ( Zviad Gamsakhurdia) ประธานาธิบดีคนแรกของจอร์เจียต้องหนีออกจากประเทศ ซึ่งเชวาร์ดนัดเซ่อาจจะอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติครั้งนี้ ซึ่งเขาได้รับเชิญจากฝ่ายปฏิวัติให้เดินทางกลับจอร์เจีย
1992 มีนาคม, เซวาร์ดนัดเซ่ ได้รับเชิญให้รับตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ (Georgian State Council) ซึ่งทำหน้าที่บริหารประเทศแทนสภาทหารที่ทำการปฏิวัติ    แต่ก็เริ่มมีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดนของอับคาเซีย (Abkhazia) และออสเซเทียใต้ (South Ossetia) 
1995 5 พฤศจิกายน, ได้รับการเลือกตั้งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุน 70% ระหว่างอยู่ในตำแหน่งเขาเผชิญกับการลอบสังหารหลายครั้ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ และขบวนรถที่เขานั่งอยู่ถูกยิงด้วยจรวด แต่ว่าเขารอดมาได้
2000 ได้รับการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้งด้วยคะแนนสนับสนุน 82% แต่ว่าคะแนนเสียงของเขาก็ลดลงอย่างรวดเร็วจากปัญหาหนี้สินของประเทศที่สูง จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีการว่างงานจำนวนมาก และการเก็บภาษีที่ไร้ประสิทธิภาพ
2003 20 พฤศจิกายน, ปฏิวัติดอกกุหลาบ (Rose Revolution) , หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ฝ่ายเซวาร์ดนัดเซ่ถูกกล่าวหาว่ามีการโกงผลการเลือกตั้ง  ฝ่ายปฏิวัตินำโดยมิคาอิล ซาคัสวิลี (Mikhail Saakashvili) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ จึงเรียกร้องให้เขาออกจากตำหน่ง
23 พฤศจิการยน เชวาร์ดนัดเซ่ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง
2004 20 ตุลาคม, ภรรยาของเชวาร์ดนัดเซ่เสียชีวิต 
Don`t copy text!