Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nikolay Miklukho-Maklay

นิโคไล มิคลูโค่-แม็คเลย์ (Николай Николаевич Миклухо-Маклай)

แม็คเลย์ เกิดวันที่ 17 กรกฏาคม 1846 ในหมู่บ้านโรซเดชเวนสโกเย่ ในนอฟโกรอด (Rozhdestvenskoye, Novgorod region) หมู่บ้านแห่งนี้เป็นแค่หมู่บ้านชั่วคราวที่สร้างขึ้นสำหรับแรงงานที่ก่อสร้างทางรถไฟสายมอสโคว์-เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พ่อของแม็คเลย์นั้นเป็นวิศวกรซึ่งทำงานในโครงการนี้ ชื่อนิโคไล (Nikolay Miklukho)  และแม่ชื่อเยแคทเธอริน่า (Ekaterina Semenovna) 
นิโคไลนั้นสืบเชื้อสายมาจากสเตปาน มิคลูค่า (Stepan Myklukha) ชาวคอสแซค ซึ่งร่วมรบในสงครามระหว่างรัสเซียกับตุรกี ในสมัยของแคทเธอรีน ที่ 2 (Catherine II)  จนได้รับเหรียญตรา 
นิโคไลนั้นเสียชีวิตตอนที่แม็คเลย์มีอายุ 11 ปี 
1858 ครอบครัวที่เหลือย้ายมาอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเขาเข้าเรียนที่จิมเนเซียมหมายเลขสอง 
1863 เข้าเรียนที่คณะฟิสิกและคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ว่าเมื่อเรียนไปได้แค่สองเดือน เขาทำกิจกรรมทางการเมืองกับพวกนักศึกษาซึ่งกิจกรรมบางอย่างไม่ได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นเหตุให้เขาถูกไล่ออก
แม็คเลย์จึงเดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg University) ในเยอรมัน โดยเลือกเรียนทางด้านปรัญชา และเรียนทางด้านการแพทย์ที่ลิปซิก(Leipzig) และเรียนด้านสัตวศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเจน่า (University of Jena) ซึ่งทำให้ได้เรียนหนังสือกับ ศจ. เอิร์น แฮคเกิ้ล  (Ernst Haeckel) ซึ่งขณะนั้นแฮคเกิ้ลสนับสนุนแนวคิดของดาวิน (Charles Dawin) จากหนังสือ Origin of the Species  ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมากในเวลานั้น เกี่ยวกับการคัดสรรโดยธรรมชาติ และมนุษย์อาจจะพัฒนามาจากเผ่าพันธ์ร่วมกับลิง ไม่ได้ถูกสร้างโดยพระเจ้า
1868  เขาร่วมทีมสำรวจของ แฮคเกิ้ล ไปยังหมู่เกาะคานารี (Canary Islands) เพื่อเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ซึ่งแม็คเลย์ได้ค้นพบฟองน้ำสายพันธ์ใหม่ ที่เขาตั้งชื่อว่า Guancha blanca (sponges)  ตามชื่อคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะ 
แม็คเลย์นั้นได้เงินทุนสนับสนุนมาจากแกรนดุ๊ก คอนสแตนติน (Grand Duke Konstantin Nilolayevich) ซึ่งเป็นประธานของสมาคมภูมิศาสตร์แห่งรัสเซีย (Russian geographic Society) 
1870 ตุลาคม, เดินทางไปกับเรือไอน้ำชื่อ วิตแยซ (Vityaz) เพื่อมุ่งหน้าสู่แปซิฟิก ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังถูกสำรวจน้อยจากชาวยุโรป 
1871 กันยายน, เรือของแม็คเลย์ มาจอดที่ตอนเหนือของนิวกีนี และต้องพบกับคนท้องถิ่นที่ไม่เป็นมิตรกับคนแปลกถิ่น แต่แม็คเลย์นั้นทำให้คนเหล่านั้นรู้ว่าเขาไม่ได้เป็นอันตรายโดยเอารองเท้าของตัวเองวางไว้บนศรีษะและทำท่านอนหลับ คนพื้นเมืองปาปัวจึงรับรู้ได้ว่าเขาไม่เป็นอันตราย
เมื่อแม็คเลย์เข้ากับคนพื้นเมืองได้แล้ว เขาได้ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยของคนเหล่า สอนการจุดไฟโดยใช้ไม้ขึด 
1872 เดินทางกลับรัสเซียเมื่อเรืออิซัมรุด (Izumrud) มารับในช่วงปลายปี  บริเวณที่แม็คเลย์อาศัยอยู่กับชาวปาปัวยังคงถูกเรียก The Maklay Coast มาจนทุกวันนี้
ระหว่างเดินทางกลับ เรือไว้แวะจอดที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเขาพบกับคนพื้นเมืองที่คล้ายกับชาวปาปัวที่นี่ด้วย
1873 กลับมาถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก  และพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการสำรวจของเขา 
1876 เดินทางไปไมโครนีเซีย (Micronesia) และ เมลานีเซีย (Melanesia) ทางตะวันออกของออสเตรเลีย และเดินทางมานิวกีนีอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่ามาอยู่ทางตะวันตกของนิวกีนี ซึ่งเจอกับคนท้องถิ่นที่ไม่เป็นมิตรมากกว่า และลูกเรือของเขาก็ถูกฆ่าตายหลายคน แต่ครั้งนี้เขาได้พบสุสานของกัปตันเรืออังกฤษชื่อ จอห์น มอร์สบี้ (John Moresby) ด้วย
แวะที่มาเลเซียและสิงคโปว์
1878 เดินทางมายังออสเตรเลีย และเขาได้รับการสนับสนุนจากสมาคมลินเนียน (Linnean Society) ในการสร้างสถานีเพื่อศึกษาชีวทางทะเล โดยสถานีของเขาชื่อ  Marine Biological Station
1882 เดินทางกลับรัสเซีย
1883 เดินทางไปซิดนีย์ ออสเตรเลีย  แต่ว่าห้องทดลองที่เข้าใช้เก็บตัวอย่างนั้นถูกไฟไหม้จนเสียหาย
1884 27 กุมภาพันธ์  แต่งงานกับมาการเร็ต (Margaret Emma Clark) พวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน 
1886 เดินทางมารัสเซีย พร้อมกับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตจำนวน 22 ลัง
1888 2 เมษายน, เสียชีวิตในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก  , ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานโวลกอย (Volkoy cemetery)
Don`t copy text!