Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Sigmund Freud

ซิจิสมันด์ ฟรอยด์ (Sigismund Schlomo Freud
ฟรอยด์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1856 ในเมืองไฟรเบิร์ก , โมราเวีย (Freiberg, Moravia) ในขณะนั้นเป็นดินแดนของออสเตรีย ปัจจุบันอยู่ในสาธาราณรัฐเชค 
 ครอบครัวของฟรอยด์มีเชื้อสายยิว เขาเป็นลูกคนโตในพี่น้องแปดคน  ชื่อกลางของฟรอยด์ ตั้งตามชื่อของปู่ของเขา ที่ชื่อชโลโม่ ฟรอยด์ (Schlomo Freud) ซึ่งปู่เสียชีวิตไม่กี่เดือนก่อนที่ฟรอยด์จะเกิดฟรอยด์
พ่อของเขาชื่อจาคอฟ (Jacob Freud) เป็นพ่อค้าผ้าและหนังสัตว์ จาคอฟแต่งงาน 2 ครั้ง กับภรรยาคนแรกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน 
ในปี 1855 จาคอฟแต่งงานกับแม่ของฟรอยด์  เธอชื่อว่าอเมเลีย (Amalia Nathansohn) โดยขณะนั้นจาคอฟมีอายุ 40 ปีแล้ว  ส่วนอเมเลียอายุ 20 ปี ครอบครัวมีฐานะยากจนในตอนที่ฟรอยด์เกิดมา พ่อแม่ของเขายังเช่าห้องเล็กๆ ในร้านของช่างเหล็กเป็นที่อาศัย ฟรอยด์เกิดมาโดยที่มีเนื้อเยื่อ (caul ส่วนหนึ่งของถูกน้ำคล้ำ) ปกคลุมที่ศรีษะ ซึ่งแม่ของเขาเชื่อว่าเป็นลางดีฟรอยด์ฟรอยด์ฟรอยด์
1859 ครอบครัวเขาย้ายไปอยู่ที่ลิปซิก (Leipzig)  หลังจากที่จาคอฟประสบปัญหาทางธุรกิจ แต่ว่าต่อมาก็ย้ายไปยังกรุงเวียนนา
1873 เมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเวียนา (University of Vienna) ในคณะแพทย์ ฟรอยด์ มีความสามารถในการพูดภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน อังกฤษ ฮิบรู ลาติน และกรีก  , เขาชอบอ่านนวนิยาย โดยเฉพาะผลงานของเชคสเปียร์ 
1876 มีโอกาสได้ไปออกค่ายกับอาจารย์ที่สอนหนังสือเขา คือ ศจ.คาร์ล เคลาส์ (Karl Claus) อาจารย์ด้านสัตววิทยา ที่ Trieste ซึ่งภายใต้การดูแลของคาร์ล ฟรอยด์จึงได้มีผลงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์ครั้งแรก เกี่ยวกับการศึกษาสัตว์จำพวกปลาไหลทะเล (eel)  โดยพวกเขาศึกษาเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ของพวกมัน
หลังจากกับจากการทำวิจัยที่ Trieste ฟรอยด์ได้ย้ายไปอยู่ที่สถาบันจิตวิทยา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการดูแลของเอิร์น วิลเฮล์ม (Ernest Wilhelm Bridge)
1879 เข้ารับการเกณฑ์ทหาร
1881 สำเร็จการศึกษา โดยเสนอวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการศึกษาประสาทไขสันหลังของปลา 
1882 เริ่มทำงานในโรคพยาบาลเวียนาเจเนรัล (Vienna General Hospital) โดยอยู่ที่แผนกด้านจิตวิทยาของ ดร.ธีโอดอร์ เมย์เนิร์ต (Theodor Meynert) 
1884 ย้ายมาอยู่ที่แผนกด้านโรคเกี่ยวกับระบบประสาท (Nervouse Diseases)  แต่ว่าไม่นานเกิดการระบาดของอหิวาต์ในออสเตรีย รัฐบาลจึงได้ส่งแพทย์เข้าไปในภาคสนามเพื่อควบคุมการระบาด ฟรอยด์เองก็เข้าร่วมกับทีมแพทย์ด้วย 
ช่วงนี้ฟรอยด์ยังสนใจศึกษาโคเคน (Cocaine) ซึ่งขณะนั้นพึ่งมีการค้นพบ เขาทดลองใช้มันด้วยตัวเอง 
1885 ตุลาคม, เดินทางไปปารีส เพื่อศึกษาผลงานของชาร์ค๊อต (Jean-Martin Charcot) ศัลยแพทย์ทางด้านระบบประสาท  และขณะนั้นชาร์ค๊อตยังศึกษาอาการฮิสทีเรีย (hysteria)  และเขาบำบัดคนเหล่านั้นด้วยวิธีการสะกดจิต (hypnosis) ซึ่งชาร์ค๊อตมักจะรักษาผู้ป่วยของเขาต่อหน้าผู้สนใจที่เขาให้อนุญาตเข้ามาชม
ช่วงนี้เองฟรอยด์ได้พบกับ ดร.โจเซฟ (Josef Breuer) กับผู้ป่วยของ ดร.โจเซฟ ที่เรียกกันว่า แอนนา โอ. (Anna O. ชื่อจริง Bertha Pappenheim) ซึ่ง ดร.โจเซฟ ดูแลแอนนา มาหลายปี โดยวิธีการบำบัดที่เรียกว่าทอร์กเธราปี  (talk therapy) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในระยะเริ่มแรกของจิตเวช
1886 ลาออกจากโรงพยาบาล  และไปทำงานที่แผนกประสาทวิทยา (Dept. of Neurology) ที่สถาบันสุขภาพเด็ก (Children’s First Publice Health Institue) ซึ่งขณะนั้นแม็ก (Max Kassowitz) เป็นผู้อำนวยการ ฟรอยด์ทำงานอยู่ที่นี่จนปี 1896 และระหว่างนี้ฟรอยด์ยังคงเดินทางไปเลกเชอร์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนาเป็นประจำ
พ่อของเขาเสียชีวิต 
13 กันยายน, แต่งงานกับมาร์ธ่า (Martha Bernays) พวกเขามีลูกด้วยกันหก มาธิลด์(Mathilde, b.1887) , จีน (Jean-Martin, b.1889), โอลิเวอร์ (Oliver, b.1891), เอิร์นส (Ernst, b.1892), โซเฟีย (Sophie, b.1893) และแอนนา (Anna, b. 1895)
นอกจากนั้น เชื่อกันว่าฟอยด์มีความสัมพันธ์กับมินน่า (Minna Bernays) ซึ่งเป็นน้องของมาร์ธ่า ภรรยาของเขา
1899 4 พฤศจิกายน,  ผลงาน The Interpretation of Dreams 
1902 1 เมษายน, ได้รับตำแหน่งว่าที่ศาสตราจารย์ 
 มีการก่อตั้งกลุ่ม Wednesday Psychological Society ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้สนใจแนวความคิดของฟรอยด์ สมาชิกเริ่มต้นมีห้าคน คือ ดร.วิลเฮล์ม สเตเกิล (Wilhelm Stekel), อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler), แม็ก (Max Kahane), รูดอล์ฟ ไรต์เลอร์ (Rudolf Reitler)  ซึ่งทุกคนต่างเป็นแพทย์และมีเชื้อสายยิว
1908 กลุ่ม Wednesday~ เปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่ม Vienna Psychoanalytic Society โดยมีสมาชิกอย่าง คาร์ล จัง (Carl Jung) , ซาบิน่า (Sabina Spielrein) , ทาเทียน่า (Tatiana Rosenthal)  ซาบิน่าและทาเทียน่านั้นเป็นชาวรัสเซีย ซึ่งทั้งสองคนต่อมานำผลงานของฟรอยด์กลับไปเผยแพร่ในรัสเซีย 
1909 ฟรอยด์เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเป็นครับแรก  พร้อมกับคาร์ล จัง  ตามคำเชิญของประธานมหาวิทยาลัยคลาร์ก (Clark University) สแตนลีย์ ฮอลล์  (Stanley Hall)
1910 ก่อตั้ง International Psychoanalytical Associations (IPA)  โดยที่คาร์ล จังได้รับการสนับสนุนการฟรอยด์ให้เป็นประธานคนแรก 
1911 คาร์ล จัง, อัลเฟรด แอดเลอร์ ลาออกจาก IPA หลังมีปัญหากับฟรอยด์เรื่องแนวคิด 
พิมพ์หนังสือ The History of the Psychoanalytic Movement 
1917 On difficulty of Psychoanalysis (A Problem of Psychoanalysis)
1923 เร่ิมมีอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่องปาก สาเหตุจากการที่เขาเป็นคนสูบบุหรี่จัด ฟรอยด์นั้นติดซิการ์เขาสูบมันวันละกว่า 20 มวน ฟรอยด์ต้องเข้าฝ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออก 
1930 ได้รับรางวัล Goether Prize 
1933  นาซีเข้ามามีอำนาจในเยอรมัน  และพวกเริ่มโครงการเผ่าหนังสือ (Nazi book burnings) สำหรับหนังสือที่เห็นว่าเป็นการต่อต้านจิตวิญญาณความเป็นเยอรมัน อย่างหนังสือของยิว มาร์กซิสต์ และพวกต่อต้านสงคราม แต่ว่าในตอนแรกฟรอยด์เองไม่ได้รู้สึกว่าจะได้รับอันตรายใดๆ เพราะเขาอยู่ในสังคมแคธอริกในออสเตรีย แต่ว่าลูกศิษย์คนหนึ่งของฟรอยด์ ชื่อ วิลเฮล์ม (Wilhelm Reich) ซึ่งสนับสนุนคอมมิวนิสต์ เริ่มเขียนบทความโจมตีนาซี 
1938 มีนาคม,  เยอรมันผนวกเอาออสเตรียเข้าด้วยกัน  และแอนนาลูกสาวของฟรอยด์ถูกเกสตาโปจับตัวไปสอบสวน  ฟรอยด์จึงเริ่มรู้สึกว่าต้องหนีออกจากออสเตรียแล้ว 
เมษายน , เดินทางหนีออกจากเวียนนา ไปยังปารีส  โดยได้รับความช่วยเหลือจากเอิร์น โจนส์ (Ernest Jones) และมาเรีย โปนาปาร์ต (Marie Bonaparte) และราวเดินมิถุนายน ได้เดินทางมาถีงลอนดอน แต่ว่าพี่น้องผู้หญิงของฟรอยด์เองสี่คนจากห้าคนไม่สามารถหนีออกจากออสเตรียได้ พวกเธอนั้นถูกนาซีจับตัวไว้และถูกคงเข้าข่ายกักกัน ก่อนที่จะถูกสังหารในปี 1942
1939 23 กันยายน , ฟรอยด์ฆ่าตัวตาย ด้วยการใช้มอร์ฟีนปริมาณมาก สาเหตุจากความทรมานจากจากโรคมะเร็งในช่องปาก  ร่างของฟรอยด์ถูกฝังที่สุสาน Golders Green Crematorium ในลอนดอน 
 
ผลงานเขียน
  • The interpretation of dreams, 1899
  • The Psychopathology of Everyday Life, 1901
  • Jokes and Their Relation to the Unconscious, 1905
  • The History of the Psychoanalytic Movement , 1911
  • Totem and Taboo, 1913
  • Beyond the Pleasure Principle, 1920 
  • Group Psychology and the Analysis, 1921
  • The Ego and the Id, 1923
  • The Future of and Illusion, ~1927
  • The discomfort in the culture, 1930
Don`t copy text!