Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Cyrus The Great

ไซรัส ที่  2 , มหาราช (Cyrus II The Great
กษัตริย์ไซรัส ประสูตรระหว่างปี 600-599 BC 
จารึกแห่งไซรัส (Cyrus Cylinder) เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งค้นพบในปี 1879 ในอิรัก คาดว่าจารึกแห่งไซรัสนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 539-530 BC จารึกซึ่งสลักด้วยอักษาอัคคาเดียน คูนิฟอร์ม (Akkadian cuneiform) ที่ได้กล่าวถึงกษัตริย์แห่งอคาเมนิด (Achaemenid) ไซรัส 
ไซรัส เอาชนะกษัตรย์นาโบนิดัส (Nabonidus) แห่งบาบิโลน (Babylon) พระองค์จึงถูกยกย่อมว่าเป็นเทพมาร์ดัก (Marduk) เทพของบาบิโลน ไซรัส ได้รับยกย่องว่าปกครองบ้านเมืองอย่างมีคุณธรรม พระองค์ทรงให้อิสระภาพแก่ชาวยิวที่ถูกบาบิโลนจับตัวมา
นักประวัติศาสตร์ของกรีก อย่างพลูตาร์ช (Plutarch) , ซนิดัส (Cnidus) แปลความหมายของคำว่า “Cyrus” ว่าหมายถึง พระอาทิตย์  
เฮโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์กรีกอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับไซรัส ได้บอกว่าแม่ของไซรัส คือ แมนเดน (Mandane) และพ่อของไซรัสคือ แคมไบเซส (Cambyses I, King of Anshan) ไซรัสเป็นหลานของกษัตริย์ออสเตียเจส  แห่งอาณาจักรเมเดียน(Astyages, King of Median Empire)
สตราโบ (Starbo) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก บอกว่าคนเลี้ยงสัตว์ที่เลี้ยงไซรัส ตั้งชื่อให้เขาว่า อกราดาเตส (Agradates) 
ซึ่งข้อมูลของเฮโรโดตัส สอดคล้องกับจารึกแห่งนาโบเนียด (Chronicle of Nobonidus) 
600,599 BC ไซรัส ประสูตร พระองค์เป็นลูกของกษัตริย์แคมไบเซส ที่ 1 แห่งแอนชาน (Cambyses I, King of Anshan)​ แอนชานในตอนนั้นเป็นรัฐหนึ่งใต้การปกครองของจักรวรรดิมีเดีย (Medes~Media)  โดยแม่ของไซรัสชื่อมานเดน (Mandane)เป็นธิดาของกษัติรย์ออสเตียเจส (Astyages, King of Median Empire) 
ชื่อไซรัส ถูกตั้งตามชื่อ ไซรัส ที่ 1 (Cyrus I) บิดาของแคมไบเซส ที่ 1 
 ในวันที่ไซรัสเกิดนั้น กษัตริย์ออสเตียเจส  ได้มีนิมิต และโหรได้ทำนายว่าเด็กคนนี้จะมายึดบัลลังค์ของพระองค์  ออสเตียเจสจึงได้สั่งนายทหารชื่อ ฮาร์ปากัส (Harpagus)ให้นำเอาตัวทารกไปฆ่าเสีย  ฮาร์ปากัสได้นำเอาไซรัสไปให้กับคนเลี้ยงสัตว์ชื่อ อตราดาเตส  (Atradates หรือ Mitradater) แล้วสั่งให้นำเอาทารกไปทิ้งไว้ในหุบเขาแล้วปล่อยให้ตาย  แต่ว่าอตราดาเตสและภรรยาของเขาชื่อไซโน่ (Cyno หรือ Spaca-o) สงสารจึงได้เลี้ยงทารกเอาไว้ และตั้งชื่อว่าอกราเดเตส (Agradates) 
+ – – +เมื่อไซรัสอายุได้ 10 ปี เขาได้พบกับกษัตริย์ออสเตียเจส ผู้เป็นตาของตนเอง ทำให้กษัตริย์ออสเตียเจสรู้สึกสงสัยในหน้าตาของไซรัส จึงได้คาดคั้นเอาความจริงจากฮาร์ปากัส ซึ่งสารภาพว่าไม่ได้ฆ่าไซรัสเมื่อตอนเด็ก  หลังจากลงโทษฮาร์ปากัสแล้ว  กษัตริย์ออสเตียเจสได้อนุญาตให้ไซรัสกลับมาอยู่พ่อแม่ที่แท้จริง 
ไซรัส อภิเษกกับคาสซานเดน (Cassandane) และมีลูกด้วยกันสี่คน คือ แคมไบเซส ที่ 2 (Cambyses II), บาร์ดิย่า (Bardiya~Smerdis), อตอสซ่า (Atossa) และอีกคนไม่ทราบชื่อ , บางข้อมูลบอกว่าไซรัสยังมีลูกคนที่ 5 ชื่อ อาร์ติสโตน (Artystone) ซึ่งอาจจะเกิดจากนางสนมหรือจากคาสซานเดน 
559BC แคมไบเซส ที่ 1 สละราชสมบัติ และไซรัสขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งแอนชาน
553BC {เฮโรโดตัส} ไซรัสและฮาร์ปากัส เริ่มพยายามนำชาวเปอร์เซียก่อกบฏเพื่อโค่นอำนาจของกษัตริย์ออสเตียเจส
551BC แคมไบเซส ที่ 1 , พ่อของไซรัส สวรรคต 
549BC ไซรัสบุกถึงกรุงเอ็คบาตาน่า (Ecbatana) ของอาณาจักรมีเดียและโค่นกษัตริย์ออสเตียเจสได้สำเร็จ
546BC ไซรัสสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์แห่งมีเดีย แต่ว่าได้เปลี่ยนชื่ออาณาจักรมีเดีย มาเป็นเปอร์เซีย (Persia) และไซรัสได้เริ่มก่อสร้างเมืองหลวงของเปอร์เซีย ชื่อ กรุงปาซาร์กาด  (Pasargad) ซึ่งเมืองนี้ถูกสร้างไม่เสร็จเมื่อไซรัสสวรรคต
~547BC บุกยึดอาณาจักรลิเดีย (Lydia Empire บริเวณตุรกีปัจจุบัน) 
539BC ไซรัสบุกบาบิโลน (Babylon)
กันยายน, สมรภูมิโอพิส (Battle of Opis)
7 ตุลาคม, ทหารของเปอร์เซีย นำโดยกุบารุ (Gubaru) เดินสวนสนามเข้าไปยังบาบิโลได้โดยปราศจากการต่อต้าน กล่าวกันว่าพระราชินีนิโตกริส (Nitokris) ของบาบิโลนไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อน จึงได้สั่งให้มีการระบายน้ำจากแม่น้ำยูเฟรเตส (Euphrates river) เข้าไปในคลองเพื่อให้น้ำลดลง และทหารของเปอร์เซียก็สามารถเดินข้ามแม่น้ำได้สะดวก 
29 ตุลาคม, ไซรัส เดินทางเข้าไปยังบาบิโลนด้วยพระองค์เอง และต่อมาได้สถาปนาพระองค์เองเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลน ซึ่งพระองค์ปกครองบ้านเมืองอยู่ดีมีสุขและเป็นที่รักของประชาชน 
538BC คาสซานเดน สวรรคต  คาดว่าหลุมฝังพระศพจะอยู่ที่กรุงปาซาร์กาด 
530BC ธันวาคม , ไซรัส สวรรคต, โดยเหตุของการสวรรคตมีหลายเวอร์ชั่น
{เฮโรโดตัส}  ไซรัสนำทหารไปรบกับชาวเมสซาไท (Massagetae) ซึ่งอยู่บริเวณเอเซียกลาง ระหว่างที่ตั้งค่ายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำซีร์ ดาร์ย่า (Syr Darya) โทไมริส (Tomyris) พระราชนีแห่งเมสซาไท ได้นำทัพออกมารบกับไซรัสด้วยพระองค์เอง และไซรัสเสียชีวิตในการรบ 
{เบรอสซัส(Berossus)} ไซรัสรบกับชาวดาเฮีย (Dahae) บริเวณต้นแม่น้ำซีร์ ดาร์ย่า และถูกสังหาร
{สเตเซียส(Ctesisas)} ไซรัสนำทหารไปปราบการกบฏของเผ่าเดอร์บิเซส (Derbices) และได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเป็นเหตุให้สวรรคตในเวลาต่อมา
{ซีโนโฟน (Xenophon)} ไซรัสสวรรคตอย่างสงบภายในกรุงปาซาร์กาด 
สุสานฝังพระศพของกษัตริย์ไซรัสถูกสร้างขึ้นด้วยหินปูนสีขาว ตั้งอยู่ในกรุงปาซาร์กาด ซึ่งอยู่ในอิหร่านปัจจุบัน
เปอร์เซีย สืบทอดไปยังแคมไบเซส ที่ 2 โอรสของไซรัส 
Don`t copy text!