Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Georgy Gapon

จอร์จี กาปอน (Георгий Аполлонович Гапон)

ผู้นำประชาชนในเหตุุการณ์ Bloody Sunday  1905
กาปอน เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1870 (5 กุมภาพันธ์ O.S.) ในหมู่บ้านเบลิกอฟ, โปลตาว่า, จักรวรรดิรัสเซีย (Belikov, Poltava province, Russia) ปัจจุบันเมืองที่เขาเกิดอยู่ในยูเครน พ่อของเขาชื่อ อโปลลอน ฟีโดโรวิช (Apollon Fedorovich) เป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย ส่วนมารดานั้นเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้หนังสือ
กาปอนเติบโตมาในบ้านเกิด มีชีวิตประจำวันเหมือนเกษตรกรทั่วไปคือช่วยพ่อเลี้ยงปศุสัตว์ แต่เล่ากันว่าเขามีนิสัยชอบฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติของนักบุญคนต่างๆ มาก 
เขาเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุ 7 ปี โดยเป็นคนที่เรียนหนังสือเก่ง 
เขาเรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนศาสนาโปลตาว่า (Poltava Theological School) ครูที่สอนเขาคนหนึ่งชื่ออิวาน เทรกุบอฟ (Ivan Tregubov) ซึ่งเป็นเลื่อมใสในตอลสตอย และได้มอบหนังสือผลงานของตอลสตอย (Leo Tolstoy) ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูแบนในเวลานั้น ให้เขาอ่าน 
หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยศาสนาโปลตาว่า (Poltava Theological Seminary)
1894 แต่งงาน ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสองคนชื่อมาเรีย (Maria) กับอเล็ก (Alex) 
1896 ภรรยาของเขาเสียชีวิตจากการล้มป่วย
1899 ตัวเขาเองมีอาการป่วย นอกจากนั้นยังมีความขัดแย้งกับคำสอนในวิทยาลัยศาสนาโปลตาว่า เขาจึงได้เดินทางไปยังแถบไครเมียเพื่อพักผ่อน
1900 เริ่มทำงานเป็นครูสอนหนังสือในสถานเด็กกำพร้า เซนต์โอลก้า (St.Olga orphanage) ช่วงเวลานี้ได้รู้จักกับ St. John of Kronstadt 
เขากลับเข้าไปยังวิทยาลัยศาสนาโปลตาว่า  อีกครั้งโดยความช่วยเหลือของโป๊ปแอนโธนี่ (Metropolitan Anthony)
ช่วงปลายปีกาปอน ได้พบกับ เซอร์เกย์ ซุบาตอฟ (Sergey Zubatovs) ผู้บัญชาการหน่วยพิเศษของกรมตำรวจ ต้องการที่จะตั้งกลุ่มแรงงานตามเมืองใหญ่ในประเทศ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้านหนึ่งเพื่อให้การศึกษา และสาธารณสุขแก่แรงงาน และอีกด้านหนึ่งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านนักเคลื่อนไหวปฏิวัติ จึงได้ติดต่อให้กาปอนมาทำภารกิจนี้ 
ซุบาตอฟอ้างว่ากาปอนมีความคิดประณีประนอม และมันเห็นต่างจากพวกหัวรุนแรง แม้ว่าซุบาตอฟเองภายหลังก็มีการถกเถียงกับกาปอน เมื่อกาปอนต้องการนำเอารูปแบบของสหภาพการค้า (trade unions) ของอังกฤษมาใช้ แต่ซุบาตอฟกลัวว่าจะทำให้กลายเป็นเครื่องมือให้ต่างชาติมาแทรกแซงได้
1903 จบจากวิทยาลัยศาสนาโปลตาว่า หลังจากน้ั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักบวชของโบสถ์เซนต์มิคาอิล (St.Petersburg Mikhail of Chernigov) 
เข้าเรียนที่สถาบันศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg Theological Academy) 
 ซุบาตอฟ ถูกไล่ออกจากกรมตำรวจเพราะขัดแย้งกับรัฐมนตรีมหาดไทย เปลฟ (Vyacheslav Pleve) เมื่อไม่มีซุบาตอฟ กาปอนจึงมีแนวคิดที่จะให้กลุ่มแรงงานของเขามีอิสระโดยไม่เกี่ยวข้องกับตำรวจอีก
1904 กุมภาพันธ์ , กลุ่มแรงงานได้จดทะเบียนใหม่ในชื่อ Assembly of Russian Factory and Mill Woorkers of St. Petersburg (Собрания русских фабрично-заводских рабочих г. Санкт-Петербурга)
ช่วงฤดูใบไม้ผลิ , มีการประชุมกันของกลุ่มแรงงานบนเกาะ Vasilevsky Island ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมที่สำคัญมี อเล็กซี คาเรลิน (Alexei Karelin) และเวร่า คาเรลิน่า (Vera Karelina) ซึ่งเป็นฝ่ายนิยมสังคมนิยม (Social Democratic) แต่ว่ากาปอนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพวกเขา จึงได้ไล่พวกเขาออกไป
มีนาคม, กาปอนเสนอแนวคิด Programs of Five (программы пяти) เพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ห้าข้อ ให้กับแรงงานทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ  ซึ่งแรงงานต่างก็สนับสนุน และ Assembly ของกาปอนขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีสมาชิกกว่า 8,000 คน 
ธันวาคม, แรงงานในโรงงานปูติลอฟ (Putilov) เริ่มมีการเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงและสวัสดิการ 
1905 18 มกราคม (5 มกราคม) มีการร่างฏีกาที่จะถวายแก่ซาร์นิโคลัส ที่ 2 
22 มกราคม (9 มกราคม) Bloody Sunday  
กาปอนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยในเหตุการณ์นี้ เขาได้รับการช่วยเหลือจากปีเตอร์ รูเตนเบิร์ก (Peter~Pinchas Rutenberg) ให้หลบหนี โดยเขาไปอยู่ในบ้านของกอร์กี (Maxim Gorky) ก่อนที่ต่อมาจะเดินทางออกจากรัสเซียไปยังสวิสเซอร์แลนด์ในช่วงปลายเดือน ที่เจนีวา เขาได้รับการติดต่อจากนักปฏิวัติชาวรัสเซียหลายคนให้เข้ากับกลุ่มของตน แต่ว่ากาปอนเลือกที่จะไม่เข้ากับกลุ่มใด แต่เขาเลือกเขียนคำประกาศให้มีการโค่นพระเจ้าซาร์และระบบขุนนางแทน  นอกจากนั้นยังเสนอให้กลุ่มปฏิวัติกลุ่มต่างๆ รวมตัวกัน  , กาปอนมีโอกาสได้พบกับเลนิน ในเจนีวานี้ด้วย
พฤษภาคม , กาปอนเข้าเป็นสมาชิกของพรรค SRs (Socialist Revolutions) อยู่ช่วงสั่นๆ  แต่ว่าถูกเชิญให้ลาออกเพราะความแตกต่างกันทางความคิด สมาชิกพรรค SRs บางคนบอกว่ากาปอนมีแนวโน้มเป็นพวกอนาธิปไตยมากเกินไป และเชื่อมั่นแต่ตัวเอง  
ช่วงฤดูร้อน, กาปอนเดินทางไปอยู่ในกรุงลอนดอน และได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ Chapman & Hall ให้เขียนชีวประวัติของตัวเขา โดยหนังสือถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษตามคำบอกเล่าของกาปอน โดยเดวิด ซอสกิส ( David V. Soskice) ทำให้กลายเป็นหนังสือ The Story of my life , ประวัติของกาปอน ที่ถูกพิมพ์ออกมา 
ในอังกฤษกาปอนมีโอกาสพบกับ โครป๊อตกิ้น (Alexander Kropotkin)  ซึ่งอิทธิพลของโครป๊อตกิ้นทำให้กาปอนสนใจอนาธิปไตย และยังได้เข้าไปสังเกตุการณ์การทำงานในสภาของสหภาพการค้าของอังกฤษ 
สิงหาคม, (Grafton Affair) กาปอนพยายามลักลอบส่งอาวุธไปยังรัสเซีย โดยบรรทุกปืนไรเฟิ้ลกว่า 15,500 กระบอก กระสุนกว่าสองล้านนัดและระเบิดจำนวนมากไปกับเรือสินค้า ชื่อกราฟตัน ( SS John Grafton) โดยเงินทุนที่ใช้ซื้ออาวุธมากจาก คอนนี ซิลเลียคัส (Konni Ziliacus) นักปฏิวัติชาวฟินแลนด์ 
กาปอนติดต่อกับเลนินและตกลงกันว่าอาวุธส่วนใหญ่นั้นจะส่งให้กับสมาชิกของบอลเชวิค  กาปอนออกจากอังกฤษและขึ้นเรือไปยังฟินแลนด์เพื่อรอรับอาวุธที่จะขนมา  แต่ว่าการขนอาวุธถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ กัปตันของเรือได้ตัดสินใจระเบิดเรือทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธตกไปยังเจ้าหน้าที่ 
30 ตุลาคม (17 ตุลาคม) , นายกรัฐมนตรีวิตตี้ (Sergei Witte) ประกาศแถลงการณ์ตุลาคม (October Manifesto) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัสเซีย และให้มีการจัดตั้งสภาผู้แทนราษฏร์ 
พฤศจิกายน, กาปอนได้เดินทางกลับเข้ามาในรัสเซีย แต่ยังคงหลบซ่อนตัว รัฐบาลขณะนั้นยังกลัวว่ากาปอนจะก่อให้เกิดการประท้วงรอบใหม่จึงปฏิเสธที่อภัยโทษให้เขา  เมื่อกลับมารัสเซีย กาปอนได้ติดต่อกับกลุ่มแรงงานเก่าๆ อย่างลับๆ 
ต่อมานายกรัฐมนตรีวิตตี้ ได้ทราบว่ากาปอนอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาได้แอบส่งตัวแทนมาพบกับกาปอน  วิตตี้เสนอให้กาปอนเดินทางออกจากรัสเซียเป็นเวลา 6 สัปดาห์และจะกลับรัสเซียได้หลัง 9 มกราคมปีถัดไป ส่วนกาปอนยืนข้อแลกเปลี่ยนให้วิตตี้ยอมให้มีการจัดประชุมของ Assembly ได้อย่างถูกต้องและคืนทรัพย์สินของกลุ่มที่ถูกยึดไป   ซึ่งสองฝ่ายตกลงกันได้ และเจ้าหน้าที่ที่ไปพบกาปอนได้มอบเงินจำนวนพันรูเบิ้ลซึ่งเป็นเงินส่วนตัวให้กับกาปอน 
ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ของกาปอนกับพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายย่ำแย่ลง เพราะกาปอนต้องการก่อตั้งสหภาพแรงงาน 
ธันวาคม, เขาเดินทางไปยังปารีส 
1906 6 กุมภาพันธ์ (19 กุมภาพันธ์) เดินทางมามอสโคว์ 
ปีเตอร์ เดอร์โนวอส (Peter Durnovos) เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการภายใน ซึ่งทำให้เขามีบทบาทแทนวิตตี้ในการเจรจากับกาปอน  เขากลับว่ากาปอนจะก่อการประท้วงครั้งใหม่อีก จึงได้ส่งนายตำรวจชื่อ P.I. Raczkowski มาพบกาปอน อ้างว่่าอยากได้จดหมายยึนยันว่าเขาจะไม่ทำการประท้วงรอบใหม่อีก และต่อมามีการเจรจากันอีกรอบเขาเสนอตำแหน่งในสำนักงานตำรวจให้กาปอนแต่กาปอนปฏิเสธ
หนังสือพิมพ์หลายฉบับเริ่มโจมตีกาปอน โดยยกข้อมูลที่กาปอนได้รับเงินหลายหมื่นรูเบ้ิลจากวิตตี้มาโจมตี ซึ่งกลายเป็นว่าฝ่ายที่เคยสนับสนุนกาปอนโกรธแค้น และวางแผนจะกำจัดเขาเพราะเป็นคนทรยศ 
10 เมษายน (28 มีนาคม) กาปอนขึ้นรถไปออกจากสถานีฟินแลนด์ (Finland Station) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กและไม่ได้กลับมาอีกเลย คนที่พบเห็นเขาบอกว่าเขาออกไปกับสมาชิกของ SRs 
30 เมษายน ศพของกาปอนถูกค้นพบ โดยถูกทำร้ายและถูกแขวนคอกับพนัง โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเขาน่าจะถูกสังหารโดยคน 3-4 คน
3 พฤษภาคม (16 พฤษภาคม) ร่างของกาปอนถูกฝังที่สุสานอัสสัมชัน (Assumption cemetery) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ในปี 1909 จากการสอบสวน มีการเปิดเผยว่า  รูเตนเบิร์ก และเยฟโน่ เอเซฟ (Yevno Azef)  มีส่วนในการฆาตกรรมกาปอน  เอเซฟเป็นสายลับสองหน้า เขาเป็นหัวหน้าหน่วยติดอาวุธของ SRs และเป้นเจ้าหน้าที่ตำรวจลับของรัฐบาล 
Don`t copy text!