Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Tsar Nicholas II

นิโคลัส II อเล็กซานโดรวิช (Николай Алексфндрович Романов)

ซาร์นิโคลัส มีพระราชสมภพในวันที่ 6 พฤษภาคม 1868 (18 พฤษภาคม N.S.) ภายในพระราชวังซาร์สโกเย่ เซโล่ (Tsarskoye Selo) นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 (Tsar Alexander III) และซาร์ดิน่า มาเรีย ฟีโอโดรอฟน่า (Empress Maria Feodorovna

ทรงเข้าพิธีแบ๊พติส ในวันที่ 20 พฤษภาคม ที่โบสถ์ภายในพระราชวังซาร์ซโกเย่ เซโล่ โดยบาทหลวงเบซิล บาซานอฟ (Basil Bazhanov) 

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอยู่ภายในพระราชวัง ครูวิชาภาษาอังกฤษคือชาวอังกฤษ ชื่อชาร์ล ฮีธ (Charles Heath) และทรางเรียนวิชาอื่นๆ จากครูที่มีชื่อเสียงของประเทศในเวลานั้น ซาร์นิโคลัส

1881 ซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 สวรรคตจากการถูกลอบปลงพระชนษ์ และซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 ได้ครองราชย์ต่อมา

1884 6 พฤษภาคม, เข้าพิธีสถาปนาเป็นมงกุฏราชกุมาร

1891 เดินทางไปทางตะวันออกไกลเพื่อสำรวจเส้นทางการก่อสร้างทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย 

29 เมษายน (11 พฤษภาคม N.S.) ถูกลอบปลงพระชนษ์ระหว่างอยู่ในพำนักในประเทศญี่ปุ่น (Otsu Incident) โดยคนร้ายคือนาย ชุดะ ซานโซะ (Tsuda Sanzo) พยายามจะใช้ดาบซามูไรฟันพระองค์ แต่ว่าเจ้าชายจอร์จ (Prince George of Greece and Denmark) ซึ่งประทับร่วมในที่เกิดเหตุ ได้ช่วยหยุดไว้โดยที่เจ้าชายนิโคลัสได้รับบาดแผลยาวประมาณ 9 เซนติเมตรที่พระเศียรด้านขวา และถูกส่งตัวไปรักษาภายในพระราชวังอิมพีเรียลในเกียวโต ก่อนจะเดินทางออกจากญี่ปุ่นอีกไม่กี่วันถัดมา , ส่วนคนร้ายถูกจับและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ว่าเขาเสียชีวิภายในเรือนจำในปีเดียวกันนี้

1894 20 ตุลาคม, ซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 เสด็จสวรรคต

14 พฤศจิกายน (26 พฤศจิกายน N.S. ), มีพิธีสถาปนาเจ้าชายนิโคลัส ขึ้นเป็นซาร์อย่างเป็นทางการภายในมหาวิหารในพระราชวังฤดูหนาว (Winter Palace) และยังได้มีการจัดพิธีราชาภิเษก ของซาร์องค์ใหม่กับเจ้าหญิงเอลิกซ์ แห่งเฮสซ์ (Princess Alix of Hesse) ในวันเดียวกัน ซึ่งได้เปลี่ยนพระนามเป็น อเล็กซานดร้า (Alexandra Feodorovna) ตามธรรมเนียมของออโธดอกซ์ 

ทั้งสองพระองค์มีพระธิดาสี่พระองค์ คือ โอก้า (Olga), แทตยาน่า (Tatyana), มาเรีย (Maria), อนาสตาเซีย (Anastasia) และเจ้าชายอเล็กซีย์ (Aleksey) ซึ่งป่วยด้วยโรคฮีโมฟิเลีย

1896 เสด็จเยือนยุโรป 

1897 ทำการปฏิรูประบบเงินในรัสเซีย โดยเอามาตราฐานทองคำกลับมาใช้ ตามคำแนะนำของวิตตี้ (Sergei Witte) รัฐมนตรีคลัง ทำให้ค่าเงินอ่อนลงซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในขณะนั้น ช่วงปี 1885-1913  ตั้งแต่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 จนถึงซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในรัสเซีย ซึ่งเศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรื่อง เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ย 3.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

1901 ซาร์นิโคลัส ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ว่าพระองค์ไม่ได้รับชัยชนะ ผลงานที่ทำให้พระองค์ถูกเสนอชื่อเข้าชิง คือ ทรงเป็นผู้ริเริ่มการประชุมแห่งกรุงเฮก ครั้งแรก ในปี 1899  (Hague Convention of 1899) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการเจรจาเพื่อให้มีกฏหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับอาชญกรรมสงคราม

1904 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่น (Russia-Japanese War, 1904-1907) เมื่อญี่ปุ่นเข้าโจมตีพอร์ทอาร์เธอร์ (Port Arthur) ของรัสเซียในขณะนั้น สงครามสั่นคลอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความภาคภูมิของราชวงศ์โรมานอฟ จนนำไปสู่การเรียกร้องให้ยุติสงครามและความพยายามปฏิวัติ 

1905 9 มกราคม, เกิดเหตุการณ์อาทิตย์เลือด (Bloody Sunday) เมื่อผู้ประท้วงนำโดยนักบวชกาปอน (Georgy Gapon) เดินขบวนไปยังพระราชวังฤดูหนาวและเรียกร้องให้มีรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ประท้วงถูกเจ้าหน้าที่ยิงและเสียชีวิตไปร้อยกว่าคน 

17 ตุลาคม, (October Manifesto) ทรงออกประกาศให้มีการจัดตั้งสภาดูม่า ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีวิตตี้ ซี่งประกาศนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัสเซีย

รัสปูติน (Grigory Rasputin) ถูกนำตัวเขามาถวายรับใช้ในการดูแลเจ้าชายอเล็กซีย์

1907 สงครามระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่นยุติลงด้วยสนธิสัญญาพอร์ทเมาท์ (Treaty of Portsmouth) ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตัวกลางในการเข้ามาช่วยไกลเกลี่ย

1911 เมื่อเกิดการปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) ในประเทศจีน และมองโกเลียนอก ได้ประกาศอิสระภาพจากจีน รัสเซียได้เข้าไปสนับสนุนมองโกล 

1912 มีการก่อตั้งสันนิบาตบอลข่าน (Balkhan League) โดยการเป็นพันธมิตรกันของรัสเซีย, มองโกล, กรีซ และเซอร์เบีย ในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมาน (Ottoman Epire) 

1913 14 มีนาคม, มีการฉลอง 300 ปีการสถาปนาราชวงศ์โรมานอฟ 

1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันได้ประกาศสงครามต่อรัสเซีย

1917 23 กุมภาพันธ์ เกิดการปฏิวัติกุมภาพันธ์ (February Revolution)

2 มีนาคม,  ทรงประกาศสละราชบัลลังค์ ให้กับพระอนุชาเจ้าชายมิคาอิล

9 มีนาคม, รัฐบาลเฉพาะการได้กักบริเวณซาร์นิโคลัส ไว้แต่ในวังอเล็กซานเดอร์ (Alexander Palace) ภายในพระราชวังซาร์สโกเย่ เซโล่ 

1918 ช่วงต้นเดือนเมษายน, ถูกนำตัวมายังมอสโคว์เพื่อพิพากษาความผิด แต่ว่าพอถึงปลายเดือนถูกนำตัวส่งไปยังเมืองเยคาเตรินเบิร์ก (Yekaterinburg)

คืนระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน ซาร์นิโคลัส, ซาร์ดิน่าอเล็กซานดร้า, และพระธิดา และ ดร.บอตกิ้น (Botkin) แพทย์พระจำพระองค์ถูกสังหารภายในบ้านอิปาเตียฟ (Ipatiev House) พระศพของทุกพระองค์ถูกฝังบริเวณอาคารแห่งนี้

1991 มีการขุดพระอัษฐิของซาร์นิโคลัสและซาร์ดิน่าอเล็กซานดร้าขึ้นมา พร้อมกับพระธิดาอีก 3 พระองค์ ขาดแต่พระศพของอนาสตาเซียและเจ้าชายอเล็กซีย์ที่หาไม่พบ

2007 พบโครงกระดูกในชานเมืองเยคาเตรินเบิร์ก ซึ่งได้พิสูจน์ว่าเป็นของอนาสตาเซียและเจ้าชายอเล็กซีย์

Don`t copy text!