Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Fyodor Tyutchev

โฟดอร์ ทุตเชฟ (Фёдор Тютчев)

กวี

 ทุตเชฟ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1803 ในหมู่บ้านออฟสตัก (Ovstug village) ราว 30 กิโลเมตรจากเบอร์ยานส์ก (Bryansk, Russian Empire)  หมู่บ้านของเขาอยู่บนฝังแม่น้ำเดสน่า  (Desna River) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทุตเชฟเป็นลูกชายคนที่สองของบ้าน พ่อของเขาชื่ออีวาน (Ivan Tyetchev) และแม่ชื่อแคทเธอรีน (Ekaterina L. Tyutchev) ภายในบ้านของเขานั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารระหว่างกัน มีเพียงคนรบใช้ที่ใช้ภาษารัสเซีย ทำให้ทุตเชฟนั้นเชี่ยวชาญในทั้งสองภาษา แต่เขานั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก

1812 ย้ายมาอยู่ในเมืองเยโลสลาฟ ไม่นานก่อนที่เมืองนี้จะถูกโจมตีโดยกองทัพของนโปเลียน

ทุตเชฟได้เรียนหนังสือโดยจ้างเซมยอน ไรซ์ (Semyon Raich) มาเป็นครูสอนที่บ้าน โดยเขาได้เรียนวรรณกรรมอิตาลีและวรรณกรรมคลาสสิค ทุตเชฟนั้นหลงไหลการอ่านมาตั้งแต่นั้น เขาเริ่มแปลผลงานของฮารีส (Horace) กวีชาวโรมัน มาเป็นภาษารัสเซียตั้งแต่อายุ 12 และเริ่มเขียนบทกวีของตัวเองตอนอายุ 16

1819 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ (Moscow University) ในคณะปรัชญา 

1822 เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ที่สำนักงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก่อนเขาถูกส่งไปเป็นเจ้าหน้าที่ทูตยังมิวนิค โดยเป็นผู้ช่วยของเคาต์ออสเตอร์มัน-ตอลสตอย (Count Ostermann-Tolstoy) ซึ่งเป็นญาติของเขาด้วย  จากงานของเขาทำให้ทุตเชฟใช้ชีวิตในต่างประเทศนานกว่า 22 ปี 

ในเมืองมิวนิคนี้ ทุตเชฟได้ตกหลุมรักเคาน์เตส อเมลีย์ เลอร์เชนเฟล์ด(Amalie von Lerchenfeld) แต่ความรักของทั้งคู่ไม่สมหวัง เมื่ออเมลีย์ถูกบังคับให้ไปแต่งงานกับบารอนอเล็กซานเดอร์ (Baron Alexander von Krüdener) อย่างไรทั้งคู่ยังคบหากันในฐานะเพื่อนตลอดมา และในวันที่ทุตเชฟเสียชีวิตเธอก็อยู่ด้วย

1826 กลับมาจากเยอรมันและได้แต่งงานกับ อีเลียนอร์ ปีเตอร์สัน (Elenore “Nelly” Peterson (Bothmer)) เธอเป็นหญิงม่ายที่มีลูกติดสามคน หลังแต่งงานกับทุตเชฟพวกเขามีลูกด้วยกันอีกสามคน ชื่อแอนน่า (Anna) , ดาร์ย่า (Darya) และแคทเธอรีน (Ekaterina)

1836 เจ้าชายอีวาน กาการิน (Prince Ivan Gagarin) เพื่อนของทุตเชฟได้ขออนุญาตนำบทกวีของเขาไปตีพิมพ์ลงในหนังสือแม็กกาซีน Sovermennik ของพุชกิ้น แต่ว่างานของเขายังไม่ได้รับความสนใจเท่าไรในขณะนั้น

1837 ถูกย้ายไปอยู่ในตูริน (Turin) พวกเขาลงเรือไอน้ำ ชื่อ นิโคลัส 1 (Nicholas I) จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปยังตูริน แต่ระหว่างที่เรืออยู่ในทะเลบอลติก ก็ประสบอุบัติเหตุ แม้ทุกคนรอดชีวิตมาได้ แต่อีเลียนอร์ก็มีปัญหาสุขภาพมาตั้งแต่นั้น

1838 อีเลียนอร์ ภรรยาของเขาเสียชีวิต

1839 แต่งงานกับเออร์เนสไตน์ (Ernestine von Dornberg)  มีลูกด้วยกันหนึ่งคนชื่ออิวาน  (Ivan) หลังจากแต่งงานไม่นานเขาก็ลาออกจากกระทรวง แล้วกลับไปอาศัยในมิวนิค

1844 กลับมาอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และทำงานในแผนกเซนเซอร์หนังสือของกระทรวงต่างประเทศ หนังสือที่ไม่ได้รับอนุญาตให้แปลเป็นภาษารัสเซียที่ถูกเซนเซอร์ในตอนนั้นอย่างเช่น Communist Manifesto 

1846 พบรักกับอีลิน่า เดนิซีว่า (Elena Denisieva) ซึ่งมีอายุอ่อนกว่าเขายี่สิบปี ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันแบบลับๆ และมีลูกด้วยกันสามคน 

1864 อีลีน่าเสียชีวิตด้วยวัณโรค 

1873 มกราคม, ล้มป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

27 กรกฏาคม เสียชีวิตภายในโรงพยาบาลในพระราชวังซาร์สโกเย่ เซโล่ (Tasrskoe Selo)

Don`t copy text!