Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Pyotr Kapitsa

เปียเตอร์ คาปิตช่า (Пётр Леонидович Капица)

โนเบลฟิสิก 1978

คาปิตช่าเกิดในครอนสแตท (Kronstadt, Russia) เมื่อวันที่  9 กรกฏาคม 1894 พ่อของเขาชื่อลีโอนิค (Leonid Petrovich Kapitsa) เป็นวิศกรทหาร และแม่ชื่อโอลก้า (Olga Leronimovna Stebnitskaia) มีอาชีพเป็นครู 

1914 เข้าเรียนในภาควิชาไฟฟ้าเครื่องกลของสถาบันโพลีเทคนิคเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg Polytecnic Institute) แต่เมื่อเกิดสงครามโลกขึ้น เขาได้อาสาสมัครเข้าเป็นทหาร โดยได้ทำหน้าที่เป็นพลขับรถในแนวหน้าด้านการรบกับโปแลนด์

1916 เมื่อสงครามสิ้นสุดได้กลับมาศึกษาต่อ  ระหว่างนี้ ศ.จ. ไอออฟฟ์ (A.F. Ioffe) ได้ชวนเขาให้เข้ามาทำงานในสถาบันรังสี ของสถาบันฟิสิกเทคนิค (Physic-technical Institute)

1917 พ่อของคาปิตช่าเสียชีวิตในช่วงที่เกิดการปฏิวัติในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยเขาเสียชีวิตจากการระบาดของไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) 

1921 ถูกส่งมาฝึกงานที่ห้องทดลองคาเวนดิช (Cavendish Laboratory) มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ได้มีโอกาสทำงานกับ รัทเธอฟอร์ด (Ernest Rutherford) โดยฉายา “จรเข้ (Crocodite)” ของรัทเธอฟอร์ด คาปิตช่าเป็นคนตั้ง

1924 พัฒนาวิธีการสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง โดยมีขนาด 320 กิโลเกาส์ (Kilogauss) ในพื้นที่ปริมาตร 2 ลูกบาศเซนติเมตร

1927 แต่งงานกับแอนนา (Anna Alekseevna Krylova) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคนชื่อ เซอร์เกย์ (Sergei) และแอนดรี (Andrei)

1928 ค้นพบค่าความต้านทานสนามแม่เหล็กเชิงเส้นของโลหะหลายชนิดในสนามแม่เหล็กแบบเข้ม (linear dependence of resistivity on magnetic field for various metals in very strong magnetic fields.)

1934 เดินทางกลับมารัสเซีย และถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศอีก 

เมื่อมีก่อตั้งสถาบันศึกษาปัญหาทางฟิสิก (Institute of Physical Problems) คาปิตช่าได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของสถาบัน  ตัวเขาเองเปลี่ยนแนวการวิจัยมาศึกษาฟิสิกที่ภาวะอุณภูมิต่ำแทน และสามารถสร้างอุปกรณ์ผลิตฮีเลี่ยมเหลวที่ให้ปริมาณครั้งละมากขึ้นได้

1937 ค้นพบซุปเปอร์ฟลูอิดดิตี้ (Superfluidity~ ของไหลยวดยิ่ง) สภาวะซึ่งสสารมีพฤติกรรมเหมือนของเหลวและมีความหนีดเป็นศูนย์

1939 เขาออกแบบปรับปรุงเครื่อง Turboexpander เครื่องจักรที่ใบพัดทำงานโดยอาศัยความดันของก๊าซ จนมีประสิทธิภาพสูงและกลายเป็นต้นแบบพื้นฐานของเครื่องประเภทเดียวกันนี้จนปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1940s สถาบัน IPP ได้ย้ายไปอยู่ในคาซาน (Kazan) และในสงครามมีความต้องการใช้อ๊อกซิเจนเหลวเป็นจำนวนมาก คาปิตช่าจึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ผลิตอ๊อกซิเจนเหลวของเขาให้มีประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรม

1946 เขาถูกให้ออกจากสถาบัน IPP จากความขัดแย้งกับเบเรีย (Lavrenty Beria) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมโครงการวิจับระเบิดนิวเคลียร์ของโซเวียต ในตอนแรกคาปิตช่าถูกเลือกให้เข้าร่วมทีมวิจัยการแยกยูเรเนียมโดยใช้เทคนิคฟิสิกสภาวะอุณหภูมิต่ำ แต่ความขัดแย้งกับเบเรียทำให้เขาลาออกจากทีม บางว่าช่วงเวลานี้คาปิตช่าถูกกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพัก แต่ว่ายังได้รับอุปกรณ์สำหรับการวิจัยจำนวนหนึ่งมาไว้ที่บ้าน

1950 พัฒนาเครื่องกำเนิดคลื่นไมโครเวฟกำลังสูง (UHF oscillators) ชื่อ the Planotron และ the Nigotron 

1955 ในยุคของครุสเชฟ (Nikita Khrushcev) คาปิตช่าได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบันเซมิคอนดัคเตอร์ฟิสิก (Institute of semiconductor physics) 

1957 เป็นสมาชิกของ USSR Academy of Sciences 

1959 คาปิตช่าเป็นผู้พิสูจน์ว่ามีทะเลสาบอยู่ใต้พื้นนำ้แข็งในแอนตาร์ติก้าจริง ตามที่ปีเตอร์ โครป๊อตกิ้น (Peter Kropotkin) เคยตั้งสมมุตฐานเขาไว้ ทะเลสาบแห่งนี้ถูกตั้งชื่อว่าทะเลสาบวอสต๊อค (Lake Vostok)

1978 ได้รับรางวัลโนเบลฟิสิก จากการบุกเบิกวิชาฟิสิกในภาวะอุณภูมิต่ำ

1984 22 มีนาคม, มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

8 เมษายน, เสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำไปฝังที่สุสานโนเวเดวิชี  (Novedevichy cemetery) ในมอสโคว์

Don`t copy text!