Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Giacomo Casanova

จาโคโม คาสโนว่า (Giacomo Girolamo Casanova)

ผู้เขียน Story of My Life, สายลับ Venetian

คาสโนว่า เกิด วันที่  2 เมษายน 1725  ภายในบ้านของเขาบนถนนมาลิเปียโร่ (st. Malipiero) ใกล้กับโบสถ์เซนต์ซามูเอล (St.Samuel Church)  ในเมืองเวนิช สาธารณรัฐเวนิช (Republice of Venice)  โบสถ์เซนต์ซามูเอลเป็นโบสถ์ที่คาสโนว่าเข้าพิธีแบ๊พติสซ์ 

แม่ชื่อ ซาเน็ตต้า ฟารัสซิ (Zanetta Farussi) พ่อของเขาชื่อเกียตาโน่ คาสโนว่า (Gaetano Giuseppe Casanova) ทั้งคู่มีอาชีพเป็นนักแสดง   คาสโนว่าเป็นพี่ชายคนโตในพี่น้องทั้งหมดหกคน พ่อเสียชีวิตไปตอนที่เขามีอายุได้ 8 ปี

มีเสียงซุบซิบเหมือนกันว่าแท้จริงแล้วคาสโนว่าเป็นลูกที่เกิดจากมิเคลี กริมานี (Michele Grimani) เศรษฐีเจ้าของโรงละครซาน ซามูเอล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับแม่ของเขา 

คาสโนว่า ถูกเลี้ยงดูมาโดยยายของเขาชื่อมาร์เซีย บัลดิสเซร่า (Marzia Baldissera) เพราะว่าแม่ของเขาต้องออกเดินทัวร์ไปกับคณะละครครั้งหนึ่งกินระยะเวลานาน

ในตอนเล็กคาสโนว่ามีสุขภาพอ่อนแอ มีอาการเลือดออกที่จมูก (nosebleeds) ยายของเขาเลือกใช้การรักษาโดยพาเขาไปพบกับแม่มดและมีเครื่องรางให้ติดตัวแม้ว่าการรักษาจะไม่ได้ผล แต่ว่าทำให้คาสโนว่าหลงไหลในเรื่องราวลึกลับ

เมื่ออายุ 9 ปี เขาถูกส่งเข้าไปอยู่ในบ้านที่แบ่งห้องเช่า (broading house) ในเมืองพาดัว (Padua) ซึ่งเจ้าของบ้านชื่อแอ๊บบี้ (Abbe Gozzi) แอ๊บบี้เป็นเหมือนครูคนแรกของเขา เป็นคนที่สอนวิชาหลายอย่างให้กับเขาทั้งดนตรีและการอ่าน สาเหตุที่เขาถูกส่งมาที่พาดัวอาจเป็นเพราะอากาศที่ดีกว่าจะช่วยรักษาอาการเลือดออกที่จมูกของเขาได้ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่คาสโนว่าเองคิดว่าเป็นเพราะไม่มีใครรักและต้องการจำกัดเขา

ที่บ้านหลังนี้คาสโนว่าพบรับกับเบตติน่า (Bettina) น้องสาวของแอ๊บบี้ ซึ่งแก่ว่าคาสโนว่าและต่อมาเธอแต่งงาน แต่ทั่งคู่ยังรักษามิตรภาพต่อกันไป 

1737 เมื่ออายุ 12 ปี เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยพาดัว (University of Padua) ระหว่างที่เรียนหนังสือเขาสนใจด้านปรัญชา เคมี การแพทย์ และคณิตศาสตร์ แต่ก็เริ่มมีนิสัยติดการพนัน ทำให้เริ่มหนี้สิน

1742 สำเร็จการศึกษาตอนอายุ 17 ปี  โดยได้ปริญญาทางด้านกฏหมาย

1743 18 มีนาคม, ยายได้เสียชีวิตลง หลังทราบข่าวคาสโนว่าจึงได้เดินทางกลับมายังเวนิช

ต่อมาเขาได้ทำงานเป็นพ่ออธิการ (abbot)  ซึ่งอยู่ใต้คำสั่งของบาทหลวงแห่งเวนิช (Patriarch of Venice)

ช่วงเวลานี้เขามีความสนิทสนมกับวุฒิสภา วัย 76 ปี ชื่ออัลวิซ มาลิเปียโร่ (Alvise Gasparo Malipiero) ซึ่งนำเขาไปยังสังคมชั้นสูง ที่เพลิดเพลินกับการกินการดื่มและผู้หญิง

คาสโนว่า เป็นชายหนุ่มที่มีนัยตาสีดำ ผิวเข้มและตัวสูง ผมสีดำถูกไว้ยาวและดัดเป็นรอน เขามีความสัมพันธ์ทางเพศครั้งแรกกับสองพี่น้อง นาเน็ตต้า (Maria Savorgnan) และ มาเรีย  (Maria Savorgnan)  ซึ่งมีอายุสิบสี่ปีและสิบหกปี 

เมษายน, คาสโนว่าถูกจับขังคุก เพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เขาถูกขังในเรือนจำที่ค่ายเซนต์แอนดริว (Fort St. Andrew) แต่พอเดือนกรกฏาคมก็ได้รับการประกันตัวออกมา

1744 หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปยังกรุงโรมเพื่อเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาเบเนดิค ที่ 14 (Pope Benedict XIV)

สิงหาคม, เขาสมัครเป็นทหารของกองทัพเวนิช บนเกาะคอร์ฟู (Corfu island) ทำให้ได้มีโอกาสเดินทางไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ลเป็นช่วงสั้นๆ 

1745 ลาออกจากราชการทหารและกลับมายังเวนิช และได้ทำงานเป็นนักไวโอลีน ในโรงละครซาน ซามูเอล (San Samuele theater)

1746 ได้รู้จักกับแมทธิว บราเกดิน (Matther Bragadin) ซึ่งกลายเป็นเจ้านายใหม่ที่ให้ความช่วยเหลือเขา 

1749 ช่วงเวลานี้เขามีความสัมพันธ์กับหญิงฝรั่งเศสชื่อเฮนเรียต (Henriette)

1750 เดินทางปารีส เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของฟรีเมสัน แห่งลีออน (Lyon Masonic Society) และยังเป็นสมาชิกของกลุ่มกางเขนกุหลาบ (Order of the Rosicrucians)

1752 หลังอยู่ในปารีสกว่าสองปี เขาออกเดินทางอีกครั้งไปยังเดรสเดน (Dresden) ซึ่งที่นี้เขาได้เขียนบทละครเรื่อง La Moluccheide แต่ว่าปัจจุบันสูญหายไป

ช่วงเวลาในปารีสนี้เขาเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศส ที่กลายมาเป็นภาษาที่เขาใช้ในงานเขียนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งยังมีโอกาสได้พบกับโมสาร์ต (Mozart) ซึ่งเป็นสมาชิกของฟรีเมสันเช่นเดียวกับเขา

1753 กลับมายังเวนิช แต่ว่าระหว่างนี้เขาถูกจับตามองจากทางการเป็นพิเศษ โดยตำรวจของเวนิช ได้ส่งสายลับชื่อ จิโอวานนี มานุคคิ (Giovanni Manucci) ให้มาสอดแนมเขาเพื่อหาหลักฐานการกระทำผิดกฏหมาย

1755 26 กรกฏาคม, ถูกจับและถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำเดอะรีด (The Leads~ Piombi)ใน พระราชวังดอจ (Doge’s Palace) เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาห้าปี 

1756 เขาหนีออกจากเรือนจำมาได้ และมุ่งหน้าไปยังปารีส ในปารีสเขาได้พบกับเพื่อนเก่าคือเด เบอร์นิส (de Bernis) ซึ่งตอนนี้กลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส เบอร์นิส ได้จ้างวานให้คาสโนว่าเป็นสายลับให้กับเขา โดยถูกส่งไปยัง Dunkirk

ช่วงเวลานี้ยังได้รู้จักกับมาดาม ดูร์ฟี (Marquise d’Urfe) เศรษฐีซึ่งนอกจากหลงไหลในตัวของคาสโนว่าแล้วเธอยังชอบพิธีกรรมไสยศาสตร์ที่คาสโนว่าแสดงให้เห็นด้วย 

เมื่อเกิดสงคราม 7 ปี (Seven Year War) คาสโนว่าได้รับหน้าที่ในการนำพันธบัตรของฝรั่งเศสไปขายในอัมสเตอร์ดัม ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินของยุโรป ซึ่งการขายพันธบัตรประสมความสำเร็จ นอกจากนั้นเขายังเสนอโครงการทำล๊อตเตอรี่ให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ทำให้คาสโนว่าได้รับค่าตอบแทนอย่างมาก ซึ่งเขานำเงินดังกล่าวมาทำโรงงานผลิตผ้าไหม ซึ่อต่อมาประสบความล้มเหลว ทำให้เขามีหนี้สินอีกครั้ง

ตอนที่กลับมาจากอัมสเตอร์ดัม เขาทราบข่าวว่าเพื่อนของเขกุลติเนียน่า (Giustiniana Wynne)  นักเขียนที่เป็นลูกครึ่งอิตาลีและอังกฤษได้ตั้งครรถ์กับแฟนหนุ่ม แอนเดรีย เมมโม่ (Andrea Memmo) ที่มาจากตระกูลชั้นสูงของเวนิช ด้วยความแตกต่างของชาติตระกูลทั่งคู่จึงไม่สามารถแต่งงานกันได้ คาสโนว่าพยายามช่วยเหลือเธอในการทำแท้งโดยมีความสัมพันธ์กับเธอ แต่ว่าไม่สำเร็จ 

1759 คาสโนว่าถูกจำคุกอีกครั้งจากคดีเกี่ยวกับหนี้สินครั้งนี้ เขาถูกขังอยู่ในเรือนจำ For-IEveque ต่อมาได้รับการช่วยเหลือจากมาดาม ดูร์ฟี จนได้รับการปล่อยตัว เขาออกจากฝรั่งเศสไปยังเนเธอร์แลนด์ 

1760 ระหว่างที่มาอยู่ในสตุ๊ตการ์ด (Stuttgart) เขาถูกจับอีกครั้งเพราะคดีเรื่องหนี้สิน แต่ว่าเขาหนีมาได้สำเร็จ โดยครั้งนี้หนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่คาสโนว่าแสดงว่าตัวเองเป็นอัศวินแห่งเซงัลต์ (Chevalier de Seingalt) หรือเคานต์แห่งฟารัสซิ (Count de Farussi) เพื่อได้เข้าไปในสังคมชั้นสูง เขามีโอกาสพบโวลแตร์ (Voltaire) ระหว่างอยู่ในสวิสนี้

พระสันตะปาปาคลีเมน ที่ 13 (Pope Clement XIII) ได้มอบรางวัล Order of the Golden Spur ในช่วงเวลานี้ด้วย

1762 กลับไปหามาดามดูร์ฟี ในปารีส 

1763 เดินทางไปอังกฤษ เพื่อขายแนวคิดการทำล๊อตเตอรรี่ให้กับทางการ  ระหว่างนี้เขาได้เงินจำนวนหนึ่งที่หลอกเอามาจากมาดาม ดูร์ฟี ในอังกฤษนี้เขามีความสัมพันธ์กับหญิงหลายคน จนกระทั้งป่วยด้วยโรคทางเพศสัมพันธ์ (venereal disease)

เมื่อมีอาการป่วยจึงได้ออกจากอังกฤษไปรักษาตัวในเบลเยี่ยม และเมื่อหายดีได้เดินทางไปยังรัสเซีย ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและมอสโคว์

1764  ธันวาคม, ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าซาร์ดินาแคทเธอรีน (Catherine the Great) เพื่อเสนอแนวคิดเรื่องการนำล๊อตเตอร์รี่ แต่ว่าถูกปฏิเสธ

1766 เขาอยู่ในวอร์ซอร์ และได้มีการดวลปืนกับพันเอกบรานิคกี (Colonel Franciszek Ksawery Branicki) เพื่อแย่งชิงนักบัลเลต์ชื่อ แอนนา (Anna Binetti) การดวลปืนทำให้ทั่งคู่ได้รับบาดเจ็บ หลังการดวลปืนเขาถูกเนรเทศออกจากวอร์ซอร์ เขากลับไปยังฝรั่งเศสแต่ต่อมาก็ถูกหลุยส์ที่ 15 (Louis XV) สั่งให้เขาออกจากประเทศ จากคดีเก่าเกี่ยวกับการหลอกลวงมาดามดูร์ฟี 

คาสโนว่าจึงเดินทางไปยังสเปน 

1774 กลับมายังเวนิสหลังจากแปดปีผ่านไป โดยเมื่อกลับไปเขาสามารถหางานเป็นผู้อำนวยการโรงละคร และได้เงินช่วยเหลือจากสหายเก่าอย่างแดนโดโล (Dandolo) แต่ว่าไม่พอใช้จ่าย ทำให้เขาเลือกทำงานเป็นสายลับให้กับเวนิสไปด้วย 

1775 เขาพิมพ์มหากาพย์อิเลียด (Iliad) ฉบับแปลเป็นภาษาอิตาลี ตอนที่ 1 ออกมา 

1779 ได้พบรักช่างเย็บฟ้าคนหนึ่งชื่อฟรานเซสก้า (Francesca Buschini) 

1783 ถูกเนรเทศออกจากเวนิชอีกครั้งหนึ่ง

พฤศจิกายน, ระหว่างอยู่ในปารีส ได้พบกับเบจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Frankling) ซึ่งเข้าร่วมการแสดงนิทรรศกาลเกี่ยวกับบอลลูน

ต่อมาคาสโนว่าได้งานเป็นผู้ช่วยของฟอสคารินี (Sebastian Foscarini) ทูตของเวนิสประจำเวียนนา

1785 เมื่อฟอสคารินี เสียชีวิต คาสโนว่าหางานใหม่จนได้เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดให้กับเคานต์วัลด์สไตน์ (Bohemain Count Waldstein)  ในโบฮีเมีย (Kingdom of Bohemia) ในสาธารณรัฐเชคฯ ปัจจุบัน โดยที่เข้าใช้เวลาช่วงนี้ในปราสาทดัชคอฟ (Castle Duchcov) เขียนชีวประวัติของตัวเอง 

1787 Story of My Life (Histoire de ma vie) ถูกพิมพ์ออกมา โดยเป็นภาษาฝรั่งเศส

1797 สาธารณรัฐเวนิชหายไปจากแผนที่โลก เมื่อนโปเลียน (Napoleon Bonaparte) บุกเข้ายึด

1798 4 มิถุนายน เสียชีวิตในเมืองดัชคอฟ โบฮีเมีย ขณะมีอายุ 73 ปี  ร่างของเขาถูกฝังที่เมืองดัชคอฟนี้ แต่ว่าสถานที่ฝังศพของคาสโนว่าไม่รู้แน่ชัดจนปัจจุบัน

Don`t copy text!