Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Recep Erdoğan

รีเซป เออร์โดกัน (Recep Tayyip Erdogan)
ประธานาธิบดีคนที่ 12 ของตุรกี
เออร์โดกัน เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1954 ในเมืองคาสซิมปาซา (Kasimpasa) ชานกรุงอิสตันบูล, ตุรกี  พ่อของเขาชื่ออาห์เมต (Ahmet Erdogan) ป็นชาวจอร์เจีย (Turkey’s Rize) ที่อพยพจากบาทุมิ (Batumi)เข้ามาตั้งรกรากในไรซ์ (Rize) เมืองทางตอนเหนือของตุรกี และทำงานอยู่บนเรือลาดตระเวณชายฝั่ง  ส่วนแม่ชื่อ เทนซิล (Tenzile Erdogan)
ชื่อของเออร์โดกัน มาจากชื่อเดือนที่เขาเกิด Rajab (Recep) ซึ่งเป็นเดือนเจ็ดตามปฏิทินอิสลาม ส่วน Tayyip เป็นชื่อของปู่
เออร์โดกัน ใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ไรซ์ ก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่ในอิสตันบูลตอนที่เขาอายุ 13 ปี  เขาเคยทำงานหารายได้เสริมด้วยการขายมะนาวและขนมปัง (simit)  อยู่ข้างถนน
1960 เข้าเรียนประถมที่โรงเรียนปิเยล (Piyale Elementary School) ในคาสซิมปาซา
1965 จบชั้นประถม และเข้าเรียนต่อมัธยมที่โรงเรียนศาสนาอิหม่าม ฮาติป ไลเซซี( Imam Hatip Lisesi ,Istanbul Religious Vocational High School)  ระหว่างที่เรียนเขาเป็นนักกีฬาฟุตบอลที่เก่งจนเกือบที่จะเลือกไปเอาดีในด้านกีฬา เคยมีข่าวว่าเขาอ่านจะเซ็นต์สัญญากับสโมสรเฟเนอร์บาห์เช่ (Fenerbahce)
ช่วงที่เรียนนี้เขายังเคยได้พบกับเออร์บากัน (Necmettin Erbakan) อดีตนายกรัฐมนตรีของตุรกี ซึ่งเป็นนายกคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม เชื่อว่าเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เออร์โดกันเลือกเดินทางในสายการเมือง
1973 จบมัธยม และได้รับ อนุปริญญาจากโรงเรียนมัธยมอียัป (Eyup HIgh School) ด้วย
ระหว่างที่เรียนหนังสือ เขาเป็นนักกิจกรรมเป็นสมาชิกของสหภาพนักศึกษาฯ (Turkish National Student’s Union) และยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม  Akıncılar Derneği ซึ่งเป็นองค์กรใต้ดินใกล้ชิดกับพรรค MSP (National Salvation Party)  , Akıncılar เป็นกลุ่มหัวรุนแรงและเป็นคู่แข่งของกลุ่ม Grey Wolves ซึ่งใกล้ชิดกับพรรค MHP (Nationalist Movement Party) 
1976 ได้รับเลือกเป็นประธานของยุวชนฯ พรรรค MSP สาขาเบลโยกลู (Beyoglu Youth Branch of National Salvation Party) และไม่นานในปีเดียวกันเขาก็ได้รับเลือกเป็นประธานของยุวชนฯ พรรค MSP สาขาอิสตันบลู เขาอยู่ในตำแหน่งนี้จนปี 1980
1978 4 กรกฏาคม, แต่งงานกับอีไมน์ (Emine Gulbaran) พวกเขามีลูกชายสองคนและลูกสาวสองคนด้วยกัน ชื่อ อาห์เม็ด (Ahmet Burak), เนคเมดดิน (Necmeddin Bilal), เอสร่า (Esra) และ สุเมย์ญี (Sumeyye)
1980 12 กันยายน, เกิดการปฏิวัติ โดยนายพลเอฟเรน (General Kenan Evren) และกองทัพตุรกีได้สั่งให้ปิดพรรคการเมืองทุกพรรคในประเทศ และได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีการลงประชามติในปี 1982 โดยประชาชนส่วนใหญ่ 90% ให้การสนับสนุนรัฐธรรมนูญปี 1982 หลังจากรัฐธรรมนูญผ่านแล้ว นายพลเอฟเรน ยังคงได้เป็นประธานาธิบดีต่ออีก 7  ปี จนถึงปี 1989
1981 จบด้านเศรษฐศาสตร์และวิทยาศาสตร์การพาณิชย์ จากมหาวิทยาลัยมาร์มาร่า (Marmara University)
1983 เขากลับเข้ามาเล่นการเมืองกับพรรค RP (Welfare Party) ซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อสานต่อพรรค MSP ที่ถูกยุบไป โดยที่เขาได้เป็นประธานของพรรคในสาขาเบโยกลู
1985 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานพรรคในสาขาอีสตัลบลู และยังเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกลางของพรรคซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบาย
1988 พ่อของเขาเสียชีวิต
1994 27 มีนาคม, ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ ของเมืองอิสตันบูล
1997 เกิดการปฏิวัติในตุรกีอีก , พรรค RP ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ เขาจึงได้มาอยุ่กับพรรค FP (Virture Party)
1998 12 ธันวาคม, เขาอ่านบทกวีดัดแปลงจากหนังสือ Siirt ของซิย่า (Ziya Gökalp) ต่อหน้าประชาชนในจังหวัด Siirt
Democracy is just the train, on which we ascend until we have arrived. The mosques are our barracks, the minarets our bayonets, the domes our helmets and the faithful our soldiers
ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นการยั่วยุ และปลุกระดมให้ประชาชนก่อความรุนแรง ทำให้เขาถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ และไม่นานถูกตัดสินจำคุกสิบเดือน แต่ว่าอยู่จริงแค่สี่เดือนก่อนได้รับการประกันตัวออกมา กลางปี 1999
2001 22 มิถุนายน, พรรค FB ถูกสั่งยุบ
14 สิงหาคม, เขาได้ตั้งพรรค AKP (Justice and Development Party) ขึ้นมา
2002 พรรค AKP ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง  ได้เสียงสนับสนุนราว 2/3  ในสภาสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่ว่าคำสั่งของศาลทำให้เขาไม่สามารถขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพราะติดข้อกฏหมายและคดีที่เคยติดคุกจากการอ่านบทกวีครั้งก่อน  เออร์โดกันจึงได้แค่ตำแหน่งรองนายก โดยที่อับดุลลัด กุล (Abdullad Gül) เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ว่าหลังรัฐบาลของ AKP ได้มีการแก้กฏหมาย ทำให้เออร์โดกันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้
2003 15 มีนาคม, ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังขึ้นเป็นนายก ช่วงแรกๆ ปัญหาเกี่ยวกับชาวเคิร์ด (Kurds) ในตุรกีได้รับการดูแล และสถานการณ์ดีขึ้น  ชาวเคิร์ดในตุรกีมีราว  12 ล้านคน หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากร มีการอนุญาตให้ใช้ภาษาของชาวเคิร์ดในสื่ออย่างวิทยุและหนังสือพิมพ์ได้ และมีการปล่อยนักโทษชาวเคิร์ดบางส่วนออกมา
ปัญหาชาวเคิร์ดเริ่มกลับมารุนแรงในประเทศอีกครั้ง เมื่อชาวเคิร์ดมีแนวโน้มโหวตให้กับพรรค PKK (Kurdistan Workers’) ซึ่งสหรัฐฯ และตุรกีมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ต้องการจะแยกตัวเป็นอิสระ
กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอาร์เมเนีย (Armenia Genocide 1915)  นับล้านคน โดยตุรกีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เออร์โดกันก็ปฏิเสธที่จะขอโทษอย่างเป็นทางการ ต่อตัวเขาเองมีทัศนะคติว่าเหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้น ในปี 2011 เออร์โดกันยังสั่งให้ทำลายรูปปั่นแห่งมนุษยธรรม (Statue of Humanity) สัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีและอาร์เมเนีย ในเมืองคารส์ (Kars)
2005 สนับสนุนการตั้งกลุ่มพันธมิตร AOC (Alliance of Civilizations) เพื่อต่อสู้กับพวกหัวรุ่นแรง ริเริ่มโดยโจเซ่ ซาปาเตโร่ (Jouse Luis Zapatero) นายกรัฐมนตรีของสเปน และเออร์โดกัน
2007 พรรค AKP ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 46.58 เปอร์เซ็นต์
2009 ในการประชุม G8 เขากล่าวตำหนินโยบายของจีนต่อชาวอุยกูร์ ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์
2011 พรรค AKP ชนะการเลือกตั้งได้รับคะแนนเสีย 49.84%  แต่ว่าผิดจากเป้าหมายที่เขาต้องการ เพราะเขาต้องการเสียง 2/3 ในสภา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เพียงพรรคเดียว, เหตุที่พรรค AKP พลาดเป้าการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นเพราะชาวเคิร์ดหันไปเทคะแนนให้กับพรรค HDP (People’s Democratic Party) พรรคที่มีนโยบายสนับสนุนชาวเคิร์ด
มีนาคม, เริ่มเกิดสงครามในซีเรีย (Syrian War)
แม่ของเออร์โดกันเสียชีวิตในวัย 88 ปี
เออร์โดกันเข้ารับการผ่าตัดเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (digestive tract) ซึ่งมีข่าวลือว่าเขาอาจจะเป็นโรคมะเร็งในลำไส้
2012 เออร์โดกัน พยายามเจรจากับพรรค PKK 
2013 ประชาชนหลายล้านคนทั่วประเทศออกมาประท้วงรัฐบาล โดยเริ่มการประทั้วงเริ่มต้นที่เกซีปาร์ค (Gezi Park protest) ในเดือนพฤษภาคม ก่อนขยายไปทั่วประเทศ รัฐบาลเออร์โดกันส่งกำลังเข้าปราบปรามเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน และบาดเจ็บหลายพันคน
2014 สิงหาคม, หลังเขาชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้ประกาศสร้างธรรมเนียบประธานาธิบดี (President Complex) ขนาด 31 ล้าน ตร.ฟุต ซึ่งใหญ่กว่าพระราชวังแวร์ซาย 4 เท่า ซึ่งต้องใช้เงินค่าก่อสร้างกว่าสี่หมื่นล้านบาท ซึ่งถูกมองว่าฟุ่มเฟือยกว่าฐานะเศรษฐกิจของประเทศและค่าก่อสร้างที่สูงเกินความเป็นจริง
2015 กรกฏาคม, ตุรกีเริ่มส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดในอิรัก อ้างว่าเป็นการโจมตีกลุ่ม IS  แต่ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือชาวเคิร์ดในอิรัก และซีเรีย หรือกลุ่ม PKK (Kurdistan Worker’s Party) ซึ่งตุรกีมองว่าเป็นพวกก่อการร้าย
ตุลาคม, โจ ไบเดน (Joe Biden) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยกล่าวตำหนิเออร์โดกันว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนกลุ่ม IS แต่ไม่นานไบเดนถูกกดดันให้ต้องขอโทษและถอนคำพูด
10 ตุลาคม,  (Ankara bombing) เกิดระเบิดครั้งใหญ่ในกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตุรกี นำโดยพรรค HDP และสหภาพแรงงาน มีผู้เสียชีวิต 102 ศพ
1 พฤศจิกายน, การเลือกตั้งในตุรกี พรรค AKP  ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 49.50 %, 317 ที่นั่งในสภา
24 พฤศจิกายน, เครื่องบิน F-16 ของกองทัพอากาศตุรกียิงเครื่องบิน Su-24 ของรัสเซียตก ตุรกีอ้างว่าเครื่องบินรัสเซียละเมิดน่านฟ้า แต่ว่ารัสเซียยืนยันว่าเครื่องบินอยู่ห่างจากพรหมแดนมาถึงหนึ่งกิโลเมตร
พระราชวังเออร์โดกัน
………………
สงครามในซีเรีย (Syrian War, 2011-present)
โดยที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียของอัสซาด (Bashar al-Assad) อย่างกลุ่ม  FSA (Free Syrian Army) ได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจากตุรกี FSA มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองฮาเตย์ (Hatay) ของตุรกีติดกับซีเรีย และเป็นส่วนหนึ่งของสภาแห่งชาติซีเรียน (Syrian National Council) สภาของฝ่ายต้านรัฐบาลอัสเซีย ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอีสตันบูล  ตุรกีสอนุญาติให้ฝ่ายกบฏ FSA เดินทางเข้าออกพรหมแดนได้  แต่รู้กันว่า FSA แทบจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่ม IS,  มิลัล เออร์โดกัน (Bilal Erdogan) ลูกชายของเออร์โดกัน ยังเคยพบกับแกนนำ IS ในกรุงอีสตันบูล
นอกจากนี้พื้นที่บริเวณเมือง Jarabulus-Azaz  (protective zone) ในซีเรียซึ่งติดกับตุรกีถูกตุรกีส่งกองทัพเข้ายึดครอง และใช้เป็นพื้นที่ที่ตุรกีให้การสนับสนุนทางอาวุธกับกลุ่ม IS และ FSA

ข้อมูลจากวิกิลีค (Wikileaks)  เปิดเผยเอกสารของทางการซาอุฯ ในปี 2015 ว่าซาอุฯ, กาตาร์ (Qutar), และตุรกีอยู่เบื้องหลังกลุ่มต่างๆ ที่พยายามโค่นล้มอัสซาต
Don`t copy text!