Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Urbain Le Verrier

เออร์เบน เลอ แวร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier)
ผู้พบดาวเนปจูน , และสมมุติฐานเกี่ยวกับดาววัลแคน (Vulcan planet)
เลอ แวร์ริเยร์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1811 ในเซนต์โล, ฝรั่งเศส (Saint-Lô) พ่อของเขาชื่อหลุยส์ (Louis-Baptiste Le Verrier) และแม่ชื่อมาเรีย (Marie Jeanne Pauline Josephine Baudre)
1827 เข้าเรียนที่คานคอลเลจ (Lycée Malherbe-Caen)
1831 เข้าเรียนที่อีโคเล่ โพลีเทคนิค (Ecole Polytechnique) ในกรุงปารีส จากนั้นได้เข้าเรียนที่ Gay-Lussac เป็นช่วงเวลาสั้นๆ 
1833 หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานยาสูบ
1835 ลาออกจากโรงงานยาสูบ
1837 เมื่ออายุ 26 ได้งานเป็นอาจารย์สอนวิชาดาราศาสตร์ที่อีโคเล่โพลีเทคนิค ซึ่งทันที่เขาทำงานเขาก็ทุ่มเทให้กับการศึกษาวงโครจรของดาวพุธ (Mercury) 
แต่งงานกับลูซีลล์ โคเกต์ (Lucille Clotilde Choquet)แต่ต่อมามีลูกด้วยกันสองคน
1839 มีผลงานเขียน On the Secular Variations of the Orbits of the Planets (Sur les variations séculaires des orbites des planètes)
1845 ช่วงเวลานี้เขามีความสนใจเกี่ยวกับการโครจรของดาวยูเรนัส (Uranus) ซึ่งในเวลานั้นนักดาราศาสตร์พบว่าวงโครจรของดาวยูเรนัสผิดปกติกว่าที่คิดคำนวณได้ จึงพยายามหาคำอธิบายว่าเกิดจากสาเหตุอะไร  ซึ่งเลอ แวร์ริเยร์ หลังจากคำนวณแล้ว เข้าจึงได้ตั้งทฤษฏีว่า ดาวยูเรนัสได้รับผลจากแรงดึงดูดจากดาวอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน , เลอ แวร์ริเยร์ ได้มอบรายงานผลของการคำนวณของเขาให้กับนักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์เบอร์ลิน (Berlin Observatory) ชื่อโจฮันน์ แกลเล่ (Johann Gottried Galle) ซึ่งโจฮันน์ใช้การคำนวนของเลอ แวร์ริเยร์ ก็สามารถค้นพบดาวเนปจูน (Neptune) ได้ภายในเวลาชั่วโมงเดียวจากเริ่มสังเกตุบนท้องฟ้า 
เมื่อเลอ แวร์ริเยร์ เตรียมที่จะประกาศว่าเป็นผู้ค้นพบตำแหน่งของดาวเนปจูน เขาก็พบว่จอห์น อดัม (John Couch Adams) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบดาวดวงนี้ไปก่อนหน้าเขาไม่นาน
อย่างไรก็ตาม เลอ แวร์ริเยร์ และจอห์น อดัมได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ค้นพบดาวเนปจูนทั้งคู่
1846 ได้เป็นสมาชิกของ French Academy of Sciences 
1849 ได้รับลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา โดยเขาจัดอยู่ในกลุ่ม Amis de l’Ordre ฝ่ายขวาที่ต่อต้านปารีสคอมมูน (Paris Commune) และสนับสนุนนโยบายของหลุยส์-นโปเลียน (Louis-Napolean Bonaparte)
1851 ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก
1854 เขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันดาราศาสตร์ปารีส (Paris Observatory) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ทำงานที่นี่จนกระทั้งเสียชีวิต
1855 ได้เป็นสมาชิกของ Royal Swedish Academy of Sciences
1859 ระหว่างที่ศึกษาวงโครจรของดาวพุธ (Mercury) อยู่นั้น เขาพบว่ากลศาสตร์ (The universal gravitation) ของนิวตัน (Isaac Newton) นั้นไม่สามารถอธิบายการโครจรที่ช้าผิดปกติของดาวพุธได้ เขาจึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่ามีดาวดาวอีกดวงหนึ่งที่โครจรอยู่ใกล้กับดาวพุธ จึงส่งผลกระทบต่อการโครจร ดวงดาวในข้อสันนิษฐานของเลอ แวร์ริเยร์นี้ จึงถูกตั้งชื่อว่าดาววัลแคน (Vulcan Planet)
เลอ แวร์ริเยร์ คำนวณว่าดาววัลแคน จะโคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 1877 แต่ว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับไม่พบดาวดวงนี้  ซึ่งใช้เวลาอีกหลายสิบปี จนกระทั้ง 1915 ที่ทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์จะอธิบายความผิดปกติของวงโคจรของดาวพุธ
1870 มีการประท้วงไล่ให้เลอ แวร์ริเยร์ ลาออกจากตำแหน่งที่หอดูดาว 
1873 ได้รับการคืนตำแหน่งผู้อำนวยการของหอดูดาวอีกครั้งหนึ่ง

1877 23 กันยายน, เสียชีวิตในปารีส ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานมอนต์ปาร์แนสซ์ (Montparnasse cemetery)

Don`t copy text!