Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Alois Alzheimer

 เอลอยส์ อัลไซเมอร์ (Aloysius Alzheimer)
ดร.อัลไซเมอร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1864 ในมาร์คเบรียต, บาวาเรีย (Marktbreit, Bavaria)  เขาเป็นลูกชายของเอดุอาร์ด (Eduard Alzheimer) กับนางบาร์บาร่า (Barbara Theresia Busch) แม่ของเขาเป็นภรรยาคนที่สองของพ่อ
เข้าเรียนหนังสือที่โรยัลฮูแมนนิสติคจิมเนเซียม (Royal Humanistic Gymnasium)  และต่อมาเข้าเรียนแพทย์ในหลายแห่ง ทั้งที่เบอร์ลิน, ตูบินเก้น (Tübingen)
1887 ได้รับปริญญาแพทย์จากวูร์เบิร์ก (University of Würzburg ) หลังจากนั้นเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยที่สถาบันดูแลผู้ป่วยทางจิตและระบบประสาท (the Städtische Anstalt für Irre und Epileptische) ในแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt am Main) ซึ่งขณะนั้นอีมิล ซิโอลี (Emil Sioli) เป็นผู้อำนวยการของสถาบัน ซึ่งดร.อัลไซเมอร์เริ่มทำงานที่นี่พร้อมๆ กับฟรานซ์ นิสเซิ้ล (Franz Nissl)
ระหว่างนี้ดร.อัลไซเมอร์กับนิสเซิ้ล ร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทของสมองส่วนเซเรบรัม (cerebral cortex)
ระหว่างที่ทำงานที่สถาบันแห่งนี้เขายังได้พบกับอีมิล แครเปลิน(Emil Kraepelin) ซึ่งเป็นจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น ซึ่งแครเปลินคอยให้คำชี้แนะในการทำศึกษาของดร.อัลไซเมอร์
1894 เขาเดินทางไปอัลจีเรีย (Algeria) เพื่อรักษาอาการป่วยของอ๊อตโต้ (Otto Geisenheim) พ่อค้าเพชรที่ล้มป่วยด้วยอาการเกี่ยวกับสมอง แต่ว่าไม่นานอ๊อตโต้ก็เสียชีวิต ทว่าดร.อัลไซเมอร์ได้ตกหลุมรักเซซิลล์ (Cecille Simonette Nathalie Geisenheimer) ภรรยาม่ายของอ๊อตโต้
เมษายน, ดร.อัลไซเมอร์แต่งงานกับเซซิลล์ ซึ่งต่อมาทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน เกอร์ทรู๊ด (Gertrud), ฮานส์ (Hans) และมาเรีย (Maria)
1901 28 กุมภาพันธ์, ภรรยาของเขาเสียชีวิต
ปีนี้ ดร.อัลไซเมอร์ ได้ทำการรักษาผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ชื่อว่าออกัสเต้ เดเตอร์ (Auguste Deter) อายุ 51 ปี ที่มีพฤติกรรมประหลาดหลายอย่าง ทั้งเห็นภาพหลอน และสูญเสียความทรงจำระยะสั้นได้ง่าย
1903 เมื่อแครเปลินย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช (Royal Psychiatric Hospital) ในมิวนิค เขาก็ชวนให้ดร.อัลไซเมอร์ ย้ายมาทำงานเป็นผู้ช่วย ซึ่ง ดร.แคเปลิน ได้มีการสร้างห้องวิจัยสำหรับศึกษาสมองขึ้น
ที่นี่พวกเขาทำการศึกษาผู้ป่วยที่เกี่ยวกับความชรา (senile illness)
1906 8 เมษายน, นางเดเตอร์ เสียชีวิต ในวัย 55 ปี 
ดร.อัลไซเมอร์ได้นำข้อมูลการรักษาและสมองของเธอมายังมิวนิค ซึ่งเขาใช้ Bielschowsky technique จึงสามารถระบุการก่อตัวของอมีลอยด์ (amyloid) และนิโรไฟบริล (Neurofibrillary Tangles, NFTs) ในสมองได้ ซึ่งอมิลอยด์ในสมองเป็นเสมือนตัวชี้วัดถึงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ที่เวลานั้นดร.อัลไซเมอร์ ระบุว่าเป็นโรคผิดปกติในสมองส่วนซีเรบรัม (unusal disease of the cerebral cortex)
3 พฤศจิกายน, ในที่ประชุมของจิตแพทย์ตอนใต้ของเยอรมัน ดร.อัลไซเมอร์ได้เสนองานศึกษาของเขาที่เกี่ยวกับโรคที่เขาพบ แต่ว่าไม่ได้รับความสนใจนักในเวลานั้น
1907 เขาเขียนรายงานการวิจัยเกี่ยวกับโรคที่เขาค้นพบออกเผยแพร่
1908 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (Ludwig Maximilian University) 
1910 ดร.แคเปลิน เป็นผู้ที่ตั้งชื่อโรคที่ดร.อัลไซเมอร์ค้นพบว่า “อัลไซเมอร์”
1912 ย้ายมาทำงานที่คลีนิคจิตเวชและประสาท มหาวิทยาลัยไฟรดริช-วิลเฮล์ม(Friedrich-Wilhelm University)
สิงหาคม, ระหว่างที่นั่งรถไฟเพื่อไปยังมหาวิทยาลัยเบรสลัว (Univers​ity of Breslau) ก็ล้มป่วยลง คาดว่าน่าจะติดเชื้อฉี่หนู (streptocococal) และรูมาติค (fheumatic fever) ทำให้มีภาวะหัวใจและตับล้มเหลว 

19 ธันวาคม, เสียชีวิตในวับ 51 ปี ที่เบรสลัว (Breslau) ปัจจุบันอยู่ในโวรคลาว, โปแลนด์ (Wroclaw, Poland) ต่อมาร่างของเขาถูกนำกลับมาฝังที่สุสานในแฟรงเฟิร์ต ข้างๆ กับภรรยาของเขา
Don`t copy text!