Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Jean Piaget

ฌอน เปียเชต์ (Jean Piaget)
ผู้เขียน The Psychology of Intelligent , บุกเบิก cognitive developmental psychology และ genetic epistemology
เปียเชต์ เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1896 ในนิวชาเตล, สวิสเซอร์แลนด์ (Neuchâtel, Swiss) พ่อของเขาชื่ออาร์เธอร์ (Arthur Piaget) เป็นชาวสวิส เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรม อยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวชาเตล (University of Neuchâtel)  ส่วนแม่ชื่อรีเบคก้า (Rebecca Jackson) เป็นชาวฝรั่งเศส
ตอนอายุ 11 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมนิวชาเตล (Neuchâtel Latin high schoool) 
เปียเชต์สนใจเกี่ยวธรรมชาติและชีววิทยามาตั้งแต่เล็ก เขามีผลงานเขียนหลายชิ้นเกี่ยวกับสัตว์ อาทิ บทความเกี่ยวกับนกกระจอกเผือก (albino sparrow) และมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับสัตว์ในไฟลัมโมลลัส (mollusk) มาตั้งแต่ตอนอายุเพียง 15 ปี ผลงานเขียนเกี่ยวกับโมลลัสมากมายถูกตีพิมพ์
เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยนิวชาเตล ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ระหว่างนี้ได้มีโอกาสเข้าฟังการสัมมนาที่ มหาวิทยาลัยซูริช (University of Zurich) โดยจัง (Carl Jung) ทำให้เขาเกิดความสนใจเกี่ยวกับปรัชญาและจิตวิทยา เขามีผลงานเขียนบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาออกมาสองชิ้นในช่วงนี้
1918 จบปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  จากมหาวิทยาลัยนิวชาเตล
1919 เปียเชต์ย้ายมาอยู่ในฝรั่งเศส และได้ทำงานเป็นครูที่โรงเรียนกร็องเจอแบลล์ (Grange-Aux-Belles Street School) โรงเรียนนักเรียนชายล้วน ซึ่งก่อตั้งโดยอัลเฟรด ไบเน็ต (Alfred Binet, ผู้สร้างแบบทดสอบ Binet intelligence test) ช่วงนี้ทำให้เขามีความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
1921 กลับมาอยู่สวิสฯ โดยได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันรุสโซ่ (Rousseau Institute) ในเจนีวา ระหว่างนี้ได้ทำงานร่วมกับเอ็ดดูอาร์ด คลาปารีด (Edouard Claparede)
1923 แต่งงานกับวาเลนไทน์ (Valentine Châtenay) พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน แจ็คเกอลีน (Jacqueline), ลูเซียน (Luciennce), และลอเรนต์ (Laurent) 
1925 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญา,สังคม, และประวัติศาสตร์ ที่ ม.นิวชาเตล
1929 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์การศึกษานานาชาติ (International Bureau of Education) สังกัดองค์การยูเนสโก้
ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (Professor of the HIstory of Scienctific Thought) ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา
1932 เป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิทยาศาสตร์ศึกษา, ม.เจนีวา
1938 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและสังคม ที่มหาวิทยาลัยลัวซาน (University of Lausanne)
1939 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสังคมที่ ม. เจนีวา
1952 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา (Professor of Genetic Psychology) ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne) ในกรุงปารีส
1955 ก่อตั้งสถาบัน International Center for Genetic Epistemology  ในเจนีวา
1971 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (Emeritus Professor)  จาก ม.เจนีวา
1972 ได้รับรางวัลอีราสมุส (Erasmus Prize)
1979 ได้รับรางวัลบัลซาน (Balzan Prize)
1980 16 กันยายน, เสียชีวิตในวัย 84 ในกรุงเจนีวา   ร่างของเขาถูกนำไปฝังที่สุสาน Cimetière des Plainpalais
เปียเชต์มีผลงานเขียนหนังสือกว่า 50 เล่ม และบทความหลายร้อยชิ้น
ผลงานเขียนบางส่วน
  • The Psychology of The Child, 1969
  • The Psychology of Intelligence, 
  • The Moral Judgment of the Child
  • The Language and Thought of the Child
  • Structuralism
  • Play Dreams & Imitation in Childhood, 1945
  • The Child’s Conception of the World
Cognitive Development Stages
1.The sensorimotor stage, ทารก-2 ปี
เป็นช่วงที่เด็กอาศัยประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ 
2.The preoperational stage 2-7 ปี
เป็นช่วงยังคงจะใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ แต่มีความสามารถในการจินตนาการ การพูด เริ่มมีการเปรียบเทียบ แต่ก็ยังมีปัญหาในการใช้ตรรกะ 
3.The Concrete operational stage, 7-11 ปี
ความคิดมีเหตุผลมากขึ้น เริ่มสนใจความเห็นของคนรอบตัว เข้าใจว่าความคิดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป
4.The formal operational stage, 11 ปี จนโต

สามารถใช้ตรรกะได้ดีมาก และสามารถแก้ปัญหาด้วยการหาคำตอบที่มากกว่าหนึ่งทาง

Don`t copy text!