Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Harry Hess

แฮร์รี่ เฮส์ส (Harry Hammond Hess)
Sea Floor Spreading theory of plate tectonics 
แฮร์รี่ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1906 ในนิวยอร์คซิตี้ พ่อของเขาชื่อจูเลี่ยน (Julian S. Hess) และแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elizabeth Engel Hess) ซึ่งพ่อของเขาทำงานเป็นโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค  แฮร์รี่มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแฟรงค์ (Frank)
แฮร์รี่ เรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนแอสบุรี่ปาร์ค (Asbury Park High School) ในนิวเจอร์ซี่ โดยช่วงเวลานี้มีความสนใจเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ
1923 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ว่าไม่นานได้เปลี่ยนมาเรียนธรณีวิทยา
1927 จบปริญญาตรี หลังจากนั้นใช้เวลากว่าสองปีในการออกเดินทางสำรวจทางธรณีวิทยาในพื้นที่แถวโรเดเซียตอนเหนือ (northern Rhodesia)
1929 เข้าเรียนต่อที่พรินตั้น (Princeton Universtiy)
1932 5 กุมภาพันธ์- 25 มีนาคม, ระหว่างที่ใกล้จะจบปริญญาเอก  แฮร์รี่ได้ติดตาม ดร.เฟลิกซ์ (Dr. Felix Vening Meinnesz) จากมหาวิทยาลัยอูเทรชต์ (Utrecht Universtiy) ไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงใต้ทะเล โดยใช้เรือดำน้ำ USS S-48  โดยทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ทะเลบริเวณฐานทัพเรือกวนตานาโม (Guantanamo) ในคิวบา, บาฮามัส (Bahamas), เติร์ก ไคคอส (Turks and Caicos) โดยก่อนขึ้นเรือดำนำเขาได้ถูกบรรจุเป็นกำลังพลสำรอง
จบปริญญาเอก และได้งานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยรุตเกอร์ (Rutgers University)  
1933 มาทำงานที่ห้องวิจัยธรณีวิทยาในวอชิงตัน ดี.ซี.
1934 ย้ายมาสอนหนังสือที่พริ้นตั้น ซึ่งแฮร์รี่ทำงานอยู่ที่พร้ินตั้นนี้จนเกษียร
แต่งงานกับแอนเนตเต้ (Annetter Burns) เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านพฤษศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ (Vermont Universtiy) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน ชื่อจอร์จ (George) และแฟรงค์ (Frank) 
1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือบนอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในฮาวาย แฮร์รี่ได้อาสาเข้าร่วมกับกองทัพ โดยในช่วงแรกเขาได้รับหน้าที่ในการตรวจจับเรือดำน้ำของข้าศึก
1944 ช่วงปลายสงครามโลก ได้เป็นผู้บัญชาการเรือลำเรียง ยู.เอส.เอส. เคปจอห์นสัน (U.S.S. Cape Johnson) ซึ่งนำทหารไปส่งบริเวณหมู่เกาะมาเรียน่า (Marianas) ในแปซิฟิก และอิโวจิม่า (Iwo Jima) เรือลำนี้มีความพิเศษในยุคนั้นคือติดเครืองโซน่าร์ (sonar) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่เอาไว้ด้วย 
1947 หลังสงครามโลกเขากลับมาสอนหนังสือที่พริ้นตัน แต่ว่ายังรักษาสถานะกำลังพลสำรองเอาไว้ ทำให้เขาได้ร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลในหลายเหตุการณ์  อย่างกรณีการสูญหายของเรือดำน้ำเทรเชอร์ (Thresher submarine, 1963) หรือเหตุการณ์เรือพัวโบล (Pueblo affair, 1968) เรือสายลับที่ถูกเกาหลีเหนือยึดเอาไว้
1961 แฮร์รี่มีส่วนร่วมในโครงการโมโฮล (Project Mohole)  ซึ่งโครงการนี้มีเป้าหมายในการเจาะเปลือกโลกไปจนถึงชั้นแมนทอล (mantle) โดยมีการเจาะพื้นทะเลบริเวณเกาะกัวดาลูเป้ (Guadalupe Island, Mexico) แต่ว่าโครงการถูกยกเลิกไปในปี  1966 โดยสามารถเจาะลงไปได้ลึกที่สุด 183 เมตรจากพื้นทะเล
1962 พิมพ์หนังสือชื่อ The History of Ocean Basins ซึ่งหนังสือเล่มนี้เขาพยายามอธิบายเกี่ยวกับแผ่นเปลือกโลกว่าเคลื่อนตัวได้อย่างไร ซึ่งทฤษฏีของเขาภายหลังถูกรู้จักในชื่อ Sea Floor Spreading เฮส์สค้นพบมหาสมุทรมีการยุบ และพบเทือกเขากลางมหาสมุทร (Mid Ocean Ridges) บริเวณที่ราบใต้ทะเลมีการยกตัวสูงขึ้น 1.5 กิโลเมตร
เฮสส์จึงคิดว่าพื้นมหาสมุทรมีการขยายตัวจากศูนย์กลางของมัน ซึ่งลาวาภายในชั้นเมนเทิ้ล ของโลกได้ปะทุออกมา เมื่อเย็นตัวลงจึงกลายเป็นพื้นมหาสมุทรใหม่ และขยายตัวออกไปจากแนวของเทือกเขากลางมหาสมุทรทั้งสองด้าน

1969 25 สิงหาคม, เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในแมสซานชูเซตต์ 
Don`t copy text!