Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Donald Hebb

โดนัล เฮบบ์ (Donald Olding Hebb)
ผู้เขียน The Organization of Behavior, “theory of cell assemblies”
เฮบบ์ เกิดเมื่อววันที่ 22 กรกฏาคม  1904 ในเชสเตอร์, โนวา สโกเทีย, ประเทศแคนาดา (Chester, Nova Scotia, Canada) พ่อของเขาชื่ออาร์เธอร์ (Arthur M. Hebb) และแม่ชื่อคลาร่า (Clara Olding Hebb) ทั้งสองคนเป็นหมอ เฮบบ์เป็นลูกชายคนโตในพี่น้องทั้งหมดสี่คน
แม่ของเฮบบ์ได้รับไอเดียเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ถูกเรียกว่า Casa dei Bambini (Children’s House) ของมาเรีย มอนเทสโซรี (Moria Montessori) เธอจึงสอนลูกๆ ให้เรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน เฮบบ์เรียนหนังสืออยู่ที่บ้านจนกระทั้งอายุ 8 ขวบ แม่ของเขาถึงได้ส่งเข้าโรงเรียน ซึ่งเฮบบ์เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง เขาจึงได้เลื่อนชั้นให้ไปเรียน ม.1 ตั้งแต่ตอนอายุ 10 ปี
1916 ตอนอายุ 16 เฮบบ์เรียนจบชั้นมัธยมปลายจากสถาบันฮาลิแฟ็กซ์ คันทรี (Halifax Country Academy) จากนั้นเขาได้สมัครเข้าเรยนที่มหาวิทยาลัยดาลเฮาซี่ (Dalhousie Universtiy) โดยที่มีเป้าหมายที่จะเป็นนักเขียน
1925 จบปริญญาตรีด้านศิลปะศาสตร์ หลังจากนั้นได้กลับไปทำงานเป็นครูอยู่ที่เชสเตอร์บ้านเกิด
1928 สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแม็คกิลล์ (McGill University) ด้านจิตวิทยา โดยระหว่างนี้มีความสนใจการทดลองของปาฟลอฟ (Pavel Pavlov)
1931 แต่งงานกับแมเรียน (Marion Isabel Clark)
1932 จบโทจาก ม.แม็คกิลล์
1934 22 กรกฏาคม, ภรรยาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งตรงกับวันเกิดของเขาพอดี
เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (University of Chicago) โดยได้เรียนกับคาร์ล ลาชลีย์ (Karl Lashley)
1935 เขาย้ายตามอาจารย์ลาชลีย์มายังฮาร์วาร์ด (Harvard University)
1936 จบปริญญาเอกจากฮาร์วาร์ด โดยทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ The Problem of spatial orientation and place learning
1937 เข้าทำงานที่สถาบันระบบประสาทมอนทรีออล (Montreal Neurological Institute) โดยได้ทำงานกับวิลเดอร์ เพนฟิล์ด (Wilder Penfield) ซึ่งที่นี่พวกเขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับสมองส่วนหน้า (frontal lobes) และส่วนเทมโพรัล (temporal lobes) ซึ่งได้รับบาดเจ็บหลังการผ่าตัด เพื่อศึกษาความฉลาดและพฤติกรรมของมนุษย์
เฮบบ์แต่งงานครั้งที่สองกับ อลิซาเบธ (Elizabeth Nichols Donovan) พวกเขามีลูกสาวด้วยกันสองคนชื่อแมรี่ (Mary Ellen Hebb) และเจน (Jane Hebb Paul)
1941 มาสอนที่มหาวิทยาลัยควีน (Queen’s University) ในคิงส์ตัน, ออนตาริโอ (Kington, Ontario) ซึ่งที่นี่เฮบบ์ได้ร่วมกับเคนเนธ วิลเลี่ยม (Kenneth Williams) พัฒนาชุดเขาวงกต (Hebb-Williams maze) ขึ้นมาเพื่อใช้ทดสอบความฉลาดของหนู
1942 ย้ายมาทำงานที่ห้องทดลองเยิร์ก (Yerkes Laboratories of Primant Biology) ในฟลอลิด้า โดยได้ทำงานกับคาร์ล ลาชลีย์ซึ่งได้ตำแหน่งผู้อำนวยการของห้องทดลองแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยที่นี่เน้นการทดลองในลิงชิมแปนซี
1947 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ ม.แม็คกิลล์
1949 เฮบบ์พิมพ์หนังสือ The Organization of Behavior : A Neuropsychological Theory ออกมา โดยหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอทฤษฏี Hebbian theory หรือ “cell assemblies” ทฤษฏีซึ่งอธิบายการเปลี่ยนแปลงของนิวรอน (neurons) ซึ่งเป็นกลไกพื้นฐานที่เกิดขึ้นในสมองระหว่างที่เกิดการเรียนรู้ว่าความจำเกิดขึ้นได้อย่างไร  ทฤษฏีของเฮบบ์ถูกอธิบายง่ายๆ ว่า “Neurons that fire together wire together”
1960 ได้เป็นสมาชิกของสมาคมนักจิตวิทยา (American Psychological Association)
1962 อลิซาเบธภรรยาของเขาเสียชีวิต หลังเข้ารับการผ่าตัด
1966 แต่งงานครั้งที่ 3 กับมาร์กาเร็ต (Margaret Doreen Wright (Williamson)) 
1972 เกษียณจาก ม.แม็คกิลล์
1980 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านจิตวิทยาที่ ม. ดาลเฮาซี่ 

1985 20 สิงหาคม, เสียชีวิตในโนวา สโกเทีย จากอาการหัวใจล้มเหลวระหว่างเข้ารับการผ่าตัด ขณะอายุ  82 ปี
Don`t copy text!