Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Arthur Scherbius

อาร์เธอร์ เชอร์เบียส (Arthur Scherbius)
ผู้สร้างเครื่อง Enigma 
เชอร์เบียส เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม  1878 ในแฟรงเฟิร์ต  (Frankfurt am Main, Germany) 
1899 เข้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยเทคนิคฮาโนเวอร์ (Hanover Technical University)
1901 เชอร์เบียส หยุดเรียนที่ ม.ฮาโนเวอร์ แล้วมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิค (Technical University Munich) อยู่ 2 เทอม ช่วงปี 1901-1902 ก่อนที่จะกลับไปเรียนที่ ม.ฮาโนเวอร์อีกครั้ง
1903 จบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าจาก ม.ฮาโนเวอร์ แต่ได้ลงเรียนปริญญาเอกต่อ
1904 จบปริญญเอก โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “Proposals for the construction of an indirect-acting water turbine controller
หลังจากเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานให้กับหลายบริษัท อาทิ บริษัทซีเมนต์ (Siemens Schuckert GmbH) ช่วงสั้นๆ ก่อนจะลาออกมา และประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบเองออกขาย
1914 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาถูกว่าจ้างให้เป็นครูสอนวิชาเกี่ยวกับการสื่อสารไร้สาย
1917 มาทำงานที่ Waffen und Munitionschaffungsamt (WuMBA) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของเยอรมัน ซึ่งรับผิดชอบการผลิตอาวุธและวัตถุระเบิด
1918 ก่อตั้งบริษัท Scherbius & Ritter ร่วมกับเอิร์น ริตเตอร์ (Ernst Richard Ritter) บริษัทแห่งนี้ประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไกต่างๆ หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เขาจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในปีนี้คือเครื่องโรเตอร์ (rotor machine) เชอร์เบียสไม่ใช่คนเดียวที่ประดิษฐ์โรเตอร์ แต่ว่ามีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนที่ประดิษฐ์โรเตอร์คล้ายๆ กัน ในอีกหลายประเทศ อย่างในสหรัฐฯ​ เอ็ดเวิร์ก ฮีเบิร์น (Edward Hugh Hebern ) จดสิทธิบัตรในปี 1921, ในเนเธอร์แลนด์ ฮูโก้ โคช (Hugo Alexander Koch) จดสิทธิบัตรในปี 1919, อาร์วิน แดมม์ (Arvid Gerhard Damn) ก็จดสิทธิบัตรไว้ในสวีเดนในปี 1919
บริษัท S&R นี้เป็นผู้ผลิตเครื่องเข้ารหัส Enigma ออกมาจำหน่ายเพื่อใช้สำหรับธุรกิจ ซึ่งการสื่อสารในเวลานั้นมักใช้โทรเลข ซึ่งข้อมูลสามารถรั่วไหลได้ง่าย
Enigma ที่ผลิตออกมามีอยู่หลายโมเดล ทั้ง model A ที่มีขนาดใหญ่ และ model B, model C ที่มีขนาดเท่าเครื่องพิมพ์ดีด
ชื่อ Enigma นั้นเขาตั้งมาจากคำว่า αίνιγμα (อีนิคม่า) ในภาษากรีก ที่แปลว่า ความลึกลับ
เชอร์เบียสเอาเครื่อง Enigma ไปเสนอขายให้กับกองทัพเรือในเดือนเมษายนแต่ว่าไม่ได้รับความสนใจในตอนแรก กว่ากองทัพเรือเยอรมันจะเริ่มนำ Engima ไปใช้จริงก็ในปี 1926 และกองทัพบกเยอรมันเริ่มใช้ในปี 1928
1919 บริษัท S&R ได้ซื้อสิทธิบัตรโรเตอร์จากฮูโก้ โคช ที่จดสิทธิบัตรในเนเธอร์แลนด์
1923 บริษัท ChiMaAG (Chiffriermaschinen Aktiengesellschaft, Ciphering Machine Company) ถูกตั้งขึ้นมาเป็นบริษัจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อผลิตเครื่อง Enigma เชิงพาณิชย์โดยเฉพาะ โดยเชอร์เบียสเป็นผู้อำนวยการ
1928 สำนักงานถอดรหัสของโปแลนด์ (Polish Cipher Bureau) เริ่มรู้ว่าเยอรมันนำเครื่องมือในการเข้ารหัสมาใช้ ต่อมาจึงได้หาทางซื้อเครื่อง Enigma รุ่นสำหรับธุรกิจมาทดสอบ
1929 สำนักงานถอดรหัสของโปแลนด์ได้จัดประชุมเกี่ยวกับการเข้ารหัสโดยมีนักศึกษาด้านคณิตศาสตร์ 20 คนของประเทศมารวมกันที่มหาวิทยาโปซแนน (University of Poznan) ซึ่ง 3 คนที่เก่งที่สุดถูกว่าจ้างให้มาทำงานในความพยายามที่จะถอดรหัสเครือง Enigma
1929 13 พฤษภาคม, เสียชีวิตในเบอร์ลิน ด้วยอุบัติเหตุตกจากการตกรถม้า
…. Enigma’s Story ….
1930 กองทัพเยอรมันเริ่มใช้เครื่อง Enigma รุ่นใหม่ ที่มีการออกแบบให้สำหรับกองทัพโดยเฉพาะ
1931 ฮาน ชมิดต์ (Hans Thilo Schmidt) หรือ Asche ซึ่งทำงานในหน่วยเข้ารหัสของเยอรมัน (German Cipher Bureau) ได้ติดต่อที่จะขายเอกสารลับให้กับหน่วยข่าวกรองของฝรั่งเศส (French Intelligence Service, S.R.F.) ซึ่งกัปตันกุสตาฟ เบอร์ตรันด์ (Captain Gustave Bertrand) หัวหน้าของ S.R.F. ได้ตกลงซื้อข้อมูลนั้น แต่ว่าจนกระทั้งปลายปี S.R.F. ก็ไม่สามารถถอดรหัส Enigma ได้ และประกาศว่าเครื่องมือดังกล่าวไม่สามารถแกะรหัสได้  แต่ว่าเอกสารที่ซื้อมาถูกส่งต่อจนไปถึงมือของหน่วยถอดรหัสอังกฤษ (British Cipher Bureau) และโปแลนด์
1932 ช่วงปี 1932-1939 นักถอดรหัส 3 คนของโปแลนด์ คือ มาเรียน เรจีวสกี้ (Marian Rejewski), เฮนริค ไซกัลสกี้(Henryk Zygalski), เจอร์ซี่ โรซีสกี้ (Jerzy Rozycki) ได้วิธีและอุปกรณ์ที่หาความเป็นไปได้ในการถอดรหัสประจำวัน (daily keys) ของ Enigma ซึ่งได้แก่
-grill method
-Rejewski’s cyclemeter
-Zygalski’s perforated sheets
-Polish Bomba
1934 บริษัท AVA Radio Workshops ของโปแลนด์มีอยู่ในวอร์ซอว์ ได้สร้างเครื่อง Enigma เลียนแบบขึ้นมาได้สำเร็จ
1938 นาซีเยอรมัน ได้เพิ่มจำนวนโรเตอร์ของ Enigma จาก 3 ชิ้น เป็น 5 ช้ิน
1939 กรกฏาคม, มีการนัดพบกันอย่างลับๆ ในป่าคาแบ็คกี้ (Kabackie Woods) ใกล้กลับเมืองพีรี่ (Pyry)  ทางใต้ของกรุงวอร์ซอร์ และโปแลนด์ได้ส่งมอบเครื่อง Enigma ที่สร้างเลียนแบบของเยอรมัน ให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษสองเครื่อง 
กันยายน, GC&CS (British Government Code and Cipher School) ของอังกฤษได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยการเข้ารหัสขึ้นที่เบลตช์ลีย์ปาร์ค (Bletchley Park) ซึ่งอลัน ทูริ่ง (Alan Turing) และกอร์ดอน เวลช์แมน (Gordon Welchman) นักคณิตศาสตร์จากแคมบริดจ์ (Cambridge University) ถูกจ้างให้มาทำงาน
ทูริ่ง เกิดไอเดียการถอดรหัส Enigma ซึ่งทูริ่งเรียกมันว่า “Bombe”
เวลซ์แมน ได้พัฒนา Bombe ของทูริ่ง และเรียกมันว่า “diamonal board”
ฮาโรลด์ คีน (Harold Doc Keen) วิศวกรจาก BTM (British Tabulation Machines) ถูกเรียกมาให้เป็นผู้สร้างเครื่อง Bombe ตามความคิดของทูริ่งและเวลช์แมน
1940 พฤษภาคม, เครื่อง Bombe ของอังกฤษเครื่องแรกถูกเปิดใช้ และตลอดสงครามมีเครื่องมือนี้ถูกสร้างขึ้น 210 เครื่องทั่วอังกฤษ
1942 สหรัฐฯ ได้มาศึกษารายละเอียดของ Bombe ในอังกฤษ และกลับไปสร้างเครื่องดังกล่าวในสหรัฐฯ

1943 เครื่อง Bombe ของสหรัฐฯ ถูกสร้างโดยโจเซฟ เดสช์ (Joseph Desch) วิศวกรของบริษัท NCR (National Cash Register Company) ในโอไฮโอ

Don`t copy text!