Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nebuchadnezzar II

เนบูชัดเนซซาร์ ที่ 2 (Nebuchadnezzar II, Nabu-kudurri-usur II )
กษัติรย์แห่งบาบิโลน ผู้สร้างสวนลอยบาบิโลน, ผู้ทำลายวิหารโซโลมอน
เนบูชัดเนซซาร์ ประสูตรราวปี 634 BC ทรงเป็นพระโอรสองค์โตของกษัตริย์เนบูโพลัซซาร์ (Nabopolassar, Nabu-apla-user, 626-605 BC) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองบาบิโลน (Neo-Babylonian, 626-539) หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าอาณาจักรชาลเดียน (Chaldean Empire) ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงรัฐบริวารของอาณาจักรแอสซีเรีย (Neo-Assyria, 911-616)
627 BC หลังจากกษัตริย์แอสเชอร์บานิปาล (Assurbanipal) ของแอสซีเรีย สวรรคตลง อาณาจักรแอสซีเรีย ก็ตกอยู่ในความวุ่นวาย เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น 
นายพลซินชุมุลิชีร์ (Sin-shumu-lishir) ของแอสซีเรียได้ก่อกบฏประกาศตัวเป็นกษัตริย์ของแอสซีเรียและบาบิโลน แต่ว่าถูกต่อต้านจากนายพลแอสเฮอร์อีติลอิลานี (Ashur-etil-ilani) ซึ่งภักดีกับราชวงศ์เดิม ซึ่งนายพลทั้งสองคนเป็นพี่น้องกัน
ชาวเผ่าบาบิโลน ก็อพยพจากเลแวนต์ (Levant, บริเวณซีเรีย, อิสราเอล, อิรัก) มาตั้งรกรากใหม่บริเวณตะวันออกของเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) โดยที่ชาวบาบิโลนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนเนบูโพลัซซาร์
เนบูโพลัซซาร์ จึงได้รับการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์ของราชวงศ์ ลำดับที่ 11 ของบาบิโลน ( 11th dynasty of Babylon)
623 BC ในการรบที่นิปเปอร์ (Nippur) นายพลซินชุมุลิชีร์ สามารถสังหารนายพลอีติลอิลานีลงได้ และประกาศตนเป็นกษัตริย์ของแอสซีเรีย หลังจากนั้นได้ส่งกองทัพบุกบาบิโลน เพื่อยึดดินแดนคืนจากเนบูโพลัซซาร์ แต่ว่าทหารของแอสซีเรียใช้เวลากว่า 7 ปี ก็ยังไม่สามารถยึดดินแดนที่อยู่ในครอบครองของเนบูโพลัซซาร์ได้ เพราะในแอสซีเรียเองก็มีสงครามภายใน 
619 BC เนบูโพลัซซาร์ สามารถยึดนิปเปอร์จากแอสซีเรียได้ และต่อมาได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ทางใต้ของเมโสโปเตเมีย
616 BC เนบูโพลัซซาร์ บุกแอสซีเรีย และพยายามยึดเมืองแอสเซอร์ (Assur) และเคอร์คุค (Kirkuk) และว่าไม่สามารถเอาชนะได้จึงถอนทัพกลับมายังบาบิโลน
615 BC กษัตริย์เซียซาเรส (Cyaxares) แห่งมีเดีย (Media) ได้โจมตีเมืองอาร์ราฟา (Arrapha) และคัลฮุ (Kalhu) ทำให้แอสซีเรียอ่อนแอลง
612 BC  เนบูโพลัซซาร์ ร่วมมือกับกษัตริย์เซียซาเรส, เปอร์เซีย (Persia) และซินเธีย (Scythian)  สามารถทำลายเมืองไนน์เวห์ (Nineveh) ลงได้ และนายพลซินชุมุลิชีร์ถูกสังหารในการรบ ทำให้อำนาจส่วนใหญ่ในดินแดนของแอสซีเรียเดิมกลายมาอยู่ที่บาบิโลน
ฝ่ายของแอสซีเรีย นายพลแอสเฮอร์ อุบัลลิต ที่ 2 (Ashur-uballit II) ได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของแอสซีเรียระหว่างที่ยังคงรบกันอยู่ เขาได้ย้ายเมืองหลวงจากไนน์เวห์ มายังฮาร์ราน (Harran)
609 BC ฟาร์โรห์ เนโค ที่ 2 (Necho II) แห่งอียิปต์ พยายามจะขยายดินแดนมายังตะวันออกในเขตแดนของแอสซีเรียเดิม  เนบูเนชชาร์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเจ้าชาย จึงได้ช่วยพระบิดาของพระองค์ในการรบกับอียิปต์
608 BC เมืองฮาร์รานถูกตีแตกจากการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรบาบิโลน, มีเดีย
605 BC พฤษภาคม, เนบูเนชชาร์ ได้ถูกส่งไปรบกับอียิปต์ในการรบที่สมรภูมิคาร์เคมิช (Battle of Carchemish) กองทัพของเนบูชัดเนซซาร์ ที่ 2 สามารถเอาชนะกองทัพของอียิปต์ได้  และบาบิโลนกลายเป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของแอสซีเรียเดิมไว้ได้
สิงหาคม, เนบูโพลัซซาร์สวรรคต
7 กันยายน , เนบูชัดเนซซาร์ เดินทางกลับมาถึงบาบิโลน และก็ได้ขึ้นครองราชย์
หลังจากขึ้นครองราชย์ไม่นาน เนบูชัดเนซซาร์ ก็ได้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงอะไมตีส แห่ง มีเดีย (Amytis of Media
เมื่องทรงครองราชย์ เนบูซัดเนซซาร์ เร่งให้มีการฟื้นฟูและสร้างเมืองสำคัญๆ ขึ้นมาใหญ่อีกครั้ง ในขณะที่บาบิโลน เมืองหลวง ก็มีการสร้างขึ้นมาอย่างด้วยงาม มีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่อย่าง ซิกกุแล็ต อีเตอร์เมนันกี (Etemenanki ziggurat, House of the Frontier Between Heaven and Earth), สวนลอยบาบิโลน (Hanging Gardens), วิหารมาร์ดัก (Temple of Marduk), ประตูอิสห์ตาร์ (Ishtar Gate)
604 BC รบกับชาวฟิลิสไตน์ (Philistine) ในเมืองแอ๊ชเคลอน (Ashkelon)
เมื่อความสัมพันธ์ของบาบิโลนและมีเดียแน่นแฟ้นขึ้น ทั้งสองดินแดนก็ได้ร่วมกันทำสงครามกับแอสซีเรีย และบาบิโลนกลายเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
ต่อมาพระองค์สามารถผนวกดินแดนของซีเรีย (Syria) และโพนีเซีย (Phoenicia) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของบาบิโลน
ช่วงเวลาที่เนบูชัดเนซซาร์ เริ่มสะสมอำนาจนั้น แอสซีเรีย (Assyria) มีความไม่มั่นคงภายใน
เมื่อเนบูโพลซซาร์เสียชีวิต ได้ทิ้งทรัพย์สมบัติเอาไว้มากมาย 
601 BC ทำสงครามกับอียิปต์ แต่ไม่มีฝ่ายใดที่มีชัยชนะเด็ดขาด
597 BC บาบิโลนบุกเยรูซาเล็ม และสามารถปลดกษัตริย์เจโฮอาชิน (Jehoiachin) ลงได้ พระองค์ถูกจับและส่งตัวไปยังเมืองลิบลาห์ (Riblah) และถูกทำให้พระเนตรบอด ก่อนจะนำไปขังไว้ที่บาบิโลน 
ในสงครามนี้วิหารโซโลมอน (Solomon’s Temple) ได้ถูกทำลายลงเป็นครั้งแรก  
หลังจากยึดเยรูซาเล็มเอาไว้ได้ เนบูซัดเนซซาร์ ได้ตั้งเซเดเคียห์  (Zedekiah of Judah) ลุงของกษัตริย์เจโฮอาชิน ขึ้นเป็นกษัตริย์ของยิว
587 BC กษัตริย์เซเดเคียห์ได้รับการสนับสนุนจากอียิปต์ จึงพยายามลุกขึ้นต่อต้านอำนาจของบาบิโลน เนบูซัดเนซ์ซาร์จึงนำทหารบาบิโลนบุกเยรูซาเล็มอีกครั้งและได้ทำลายเมืองลง
562 BC สวรรคต  และพระโอรสอะเมล-มาร์ดัก (Amel-Marduk) ครองราชย์สืบต่อมา
Nebuchadnezzar’s dream – ความฝันของเนบูชัดเนซซาร์
ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล (Bible) ส่วนของหนังสือแดเนียล (Book of Daniel) ได้วาดภาพเนบูชัดเนซซาร์ว่าเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายและเป็นบ้า ผ่านการการทำนายความฝันของนักพยากรณ์ชื่อแดเนียล ซึ่งเป็นชาวยิวที่ถูกจับตัวมาจากเยรูซาเล็มตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่เขาทำงานเป็นโหรรับใช้เนบูชัดเนซซาร์อย่างซื่อสัตย์ ซึ่งพระสุบินทร์ของเนบูชัดเนซซาร์ ถูกแดเนียล ตีความออกมา
บทที่ 2: Nebuchadnezzar’s dream of four kingdoms
เนบูชัดเนซซาร์ฝันเห็นภาพของทรัพย์สมบัติมากมาก  ซึ่งแดเนียลตีความถึงการเรื่องอำนาจและการเสื่อมอำนจของเขา
บทที่ 3: The fiery furnace
เนบูชัดเนซซาร์ ฝันว่าพระองค์ได้สร้างอนุเสาวรีย์ขนาดใหญ่ของตัวเองจากทองคำไว้ในที่ราบดูร่า (plain of Dura) เพื่อให้ประชาชนสักการะ แต่ว่ามีชาวยิว 3 คน ผ่านมา คือ ฮานาเนียห์ (Hananiah), มิชาเอล (Mishael), อะซาเรียห์ (Azariah) พวกเขาปฏิเสธที่จะทำความเคารพรูปปั้น เนบูซัดเนซซาร์จึงได้สั่งให้ลงโทษด้วยการนำทั้งสามคนไปเผา แต่ว่าในฝันชาวยิวทั้งสามคนได้รับการคุ้มครองจากพระเจ้าไฟจึงไม่สามารถทำอันตรายใดๆ ได้
แดเนียลตีความฝันนี้ว่า ไม่มีทรัพย์สินใดๆ แม้แต่ทองคำที่สามารถทำลายศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าของชาวยิวทั้งสามคนใด ดังนั้น ใครหรือชาติใดก็ตามที่ท้าท้ายต่อพระเจ้าจะถูกทำลาย
บทที่ 4: Nebuchadnezzar’s madness
เนบูชัดเนซซาร์ฝันเห็นต้นไม้ขนาดมหึมา ซึ่งแดเนียลแปลความหมายว่าพระองค์จะกลายเป็นบ้านานถึงเจ็ดปี 

ซึ่งในหนังสือแดเนียลได้สรุปว่าเนบูชัดเนซซาร์กลายเป็นบ้าและมีชีวิตเยี่ยงสัตว์ป่านานเจ็ดปีก่อนที่พระองค์จะกลับสู่ปกติ

Don`t copy text!