Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Boris Podolsky

บอริส โปโดลสกี้ (Борис Яковлевич Подольский)
Einstein-Podolsky-Rosen paradox
โปโดลสกี้ เกิดวันที่ 29 มิถุนายน 1896 ในตากานร็อค (Taganrog, Russia) รัสเซีย พ่อของเขาชื่อยาคอฟ (Yakov Podolsky) และแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elizabeth Parnakh)
โปโดลสกี้จบมัธยม จาก จิมเนเซียม No.2 , เอ.พี. เชคอฟ (gymnasium No.2 , A.P. Chekhov) ในตากานร็อค
1913 ครอบครัวของเขาย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯ 
1918 สำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California)
หลังจากนั้นถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพ หลังจากปลดประจำการณ์เขาก็มาทำงานกับคณะกรรมการกิจการไฟฟ้าและแสงสว่างของลอสแองเจเลส (Los Angeles Bureau of Lighting and Power)
1926 จบปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์จาก ม.เซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
1928 จบปริญญาเอกด้านฟิสิกทฤษฏี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech)
หลังจากเรียนจบเขาได้รับทุนให้ทำงานวิจัยอยู่ที่เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley)
1929 ย้ายมาทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยลิปซิก (Leipzig University)
1930 กลับมาอยู่ที่แคลเทค  ที่นี่เขาได้ร่วมงานกับ โทลแมน (Richard Chace Tolman) และมีโอกาสติดต่อกับไอสไตน์ (Alber Einstein)
Pearl K. Podolsky
1931 มาทำงานที่สถาบันฟิสิกและเทคโนโลยียูเครน,​สหภาพโซเวียต (Ukrainian Institute of Physics and Technology) โดยได้มีโอกาสร่วมทำงานกับดิแร็ก (Paul Dirac), แลนดัว (Lev Landau) , ฟ็อค (Vladimir Fock) ซึ่งที่นี่พวกเขาร่วมกันศึกษาในด้านควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิค (quantum electrodynamics)
1933 กลับมายังสหรัฐฯ โดยได้รับทุนของสถาบันเพื่อการศึกษาชั้นสูง (Institute for Advance Study, Princeton) ที่พริ้นตัน
1935 15 พฤษภาคม, นิตยสาร Physical Review ตีพิมพ์ผลงานเขียนของไอสไตน์ ร่วมกับโปโดลสกี้, นาธาน โรเซ่น (Nathan Rosen) ซึ่งใช้ชื่อหัวเรื่องว่า “ Can Quantum Mechanical Description of Physical Reality Be Considered Complete? ” หรือ EPR argument
กลศาสตร์ควอนตัมมีอายุกว่า 10 ปีแล้ว ก่อน EPR โดยมุมมองแบบของบอห์ร (Niels Bohr), การตีความแห่งโคเปนฮาเก้น (Copenhagen interpretation) , หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg uncertanty) ได้รับการยอมรับ ว่าเราไม่สามารถวัดตำแหน่ง (positon) และโมเมนตัม (momentum) ของควอนตัมได้อย่างแม่นยำพร้อมกัน 
EPR พยายามอธิบาย (ด้วยคณิตศาสตร์และการทดลอง) ว่าหลักความไม่แน่นอนในกลศาสตร์ควอนตัมนั้น แสดงให้เห็นว่าทฤษฏียังไม่สมบูรณ์ และน่าจะมีตัวแปรบางอย่างที่ไม่ถูกค้นพบ
กลางปีโปโดลสกี้ย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ฟิสิกที่มหาวิทยาลัยซินซินเนติ (University of Cincinnati)
1961 ย้ายมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยซาเวียร์ (Xavier University) ซึ่งเขาทำงานอยู่ที่นี่จนกระทั้งเสียชีวิต

1966 28 พฤศจิกายน, เสียชีวิต

Don`t copy text!