Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

History of Stem Cell

1908 อเล็กซานเดอร์ แม็กซิมอฟ (Alexander Maksimov) เสนอแนวคิดความเป็นไปได้ของการมีอยู่ของ “Haematopoietic Stem Cell (สเตมเซลล์ของเม็ดเลือด) ” ต่อที่ประชุมสมาคมผู้วิจัยเม็ดเลือด (hematologist society in Berlin) ในเบอร์ลิน 
1924 อเล็กซานเดอร์ แม็กซิมมอฟ ค้นพบ “mesenchymal stem cells” เป็นเซลล์เม็ดเลือดต้นกำเนิดซึ่งเปลี่ยนเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ 
1958 จอร์เจส มาธี (Georges Mathe) แพทย์ชาวฝรั่งเศส ทำการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplants) เป็นครั้งแรกให้กับคนงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชาวยูโกสลาเวีย 5 คน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการปลูกถ่ายสเตมเซล (Hematopoietic stem cell transplantation) แต่ว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกครั้งนี้ไม่ได้รับการรับรอง
1961 1 กุมภาพันธ์ , ดร.เจมส์ ติลล์ (Drs. James Till) นักวิทยาศาสตร์แคนนาดา และเออร์เนสต์ แม็คคุลลอช (Ernest McCulloch) ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง Radiation Research ซึ่งแสดงการค้นพบ stem cells โดยบังเอิญจากไขกระดูกสันหลังของหนู
1960s โจเซฟ อัลต์แมน (Joseph Altman) และโปกาล ดาส (Gopal Das) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการมีอยู่ของนิวรอลสเตมเซลล์ (neural stem cells) 
1968 การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไขกระดูกครั้งแรกประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกระหว่าญาติกันเพื่อรักษาอาการภูมิคุ้มกันรวมต่ำผิดปกติ (Sever combined immunodeficiency (SCID))
1974 สภาคองเกรสสหรัฐฯ ผ่านกฏหมายห้ามการใช้ตัวอ่อนมนุษย์ในการวิจัย
1978 ค้นพบ “Haematopoietic stem cells” ครั้งแรกในเลือดของมนุษย์
1975 มีการตั้งคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม (Ethics Advisory Board)
1980 ปธน. เรแกน (Ronald Reagan) ยุบ Ethics Advisory Board
1981 มาร์ติน อีแวนส์ (Martin Evans) ขณะนั้นเขาทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ค้นพบ เอ็มบริโอ สเตมเซลล์ “embryonic stem cells” ในหนู
1988 ในสหรัฐฯ มีการอนุญาตให้มีการวิจัยเอ็มบริโอได้
1989 แซลลี่ เทมเพิ้ล (Sally Temple) ค้นพบ มัลติโปเตนต์ (multipotent cell), สเตมเซลล์, และ self-renewing progenitor ในสมองของหนูส่วนซับเวนตริคูลาร์ (subventricular zone)
1992 – เบรนต์ เรย์โนลด์ (Brent A. Reynolds) , ซามูเอล วีสส์ (Samuel Weiss) สามารถแยกนิวรอนสเตมเซลล์ออกมาจากสมองของหนู้ด
– คอนสแตนซ์ เคปโก้ (Constance Cepko) และอีแวน สไนเดอร์ (Evan Y. Snyder) สามารถแยกมัลติโปเตนต์ จากสมองหนู
1997 -เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) และคณะ จากสถาบันโรสลิน (Roslin Institute) ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่ง แกะดอลลี่ (Dolly the sheep) 
– จอห์น ดิก (John E. Dick) ตี่พิมพ์ผลการศึกษาซึ่งคาดการณ์ความเป็นไปได้ของการมีอยู่ของสเต็มเซลล์มะเร็ง (cancer stem cells)
1998 เจมส์ ทอมสัน (James Thomson) จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (Wisconsin University) และจอห์น เกียร์ฮาร์ต (John Gearhart) จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้น (Johns Hopkins University) สามารถสกัด เอ็มบริโอส เตมเซลล์ (human embryonic stem cells) ของมนุษย์ได้สำเร็จ
2001 – นักวิจัยของ Advanced Cell Techonology สามารถโคลนนิ่งเอ็มบริโอมนุษย์ ในช่วงแรกที่มี 4-6 เซลล์ได้
– ประธานาธิบดีบุช (George W. Bush) ออกคำสั่งห้ามการวิจัยที่ใช้สเตมเซลล์ของมนุษย์
2003 ซงเต่า ไช (Songtao Shi) ค้นพบว่าฟันน้ำนมของทารกในระยะแรกสามารถใช้สกัดสเตมเซลล์ได้
2005 วู ซุก ฮวาง (Woo Suk Hwang) จากมหาวิทยาลัยโซล (Seoul National University) ของเกาหลีใต้ ได้ใช้เทคนิค therapeutic cloning แบบเดียวกับที่ใช้ในการสร้างแกะดอลลี่ ในการโคลนนิ่งเอ็มบริโอของมนุษย์ แต่ปรากฏภายหลังว่าเรื่องที่เขาประกาศเป็นเรื่องโกหก
2006 ชินยะ ยามานากะ (Shinya Yamanaka) จากมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ค้นพบวิธีการในการสร้างสเตมเซลล์ที่เหมือนกับเอมบริโอสเตมเซลล์โดยใช้เซลล์ที่โตเต็มวัยแล้ว  โดยเรียกวิธีการนี้ว่า “induced pluripotent stem cells” ซึ่งเป็นการใส่ยีนส์สำคัญสี่ตัวเข้าไปเซลล์ที่โตเต็มวัย (adult cellls) แล้วเพื่อเหนี่ยวนำให้กลับเป็นสเตมเซลล์
2007 มาร์ติน อีแวนส์ , มาริโอ้ คาเปคชี (Mario Capecchi), โอลิเวอร์ สมิเทส (Oliver Smithies) ได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ร่วมกันจากการศึกษาเกี่ยวกับสเตมเซลล์
2008 – Advanced Cell Technology นำโดยโรเบิร์ก แลนซ่า (Robert Lanza) สามารถแยกสเตมเซลล์ของมนุษย์ได้โดยไม่ต้องทำลายเอ็มบริโอ้
– เปาโล แม็คเคียลินี (Paolo Macchiarini) แพทย์ชาวสวิสฯ ทำการปลูกหลอดลม (trachea) ครั้งแรกในมนุษย์ได้สำเร็จ โดยเป็นหลอดลมที่สร้างจากสเตมเซลล์ อย่างไรก็ตามเขาถูกกล่าวหาว่าการวิจัยของเขาเป็นละเมิดต่อศีลธรรมและใช้ผู้ป่วยในการทดลอง
2009 ประธานาธิบดีโอบาม่า (Barack Obama) ยกเลิกคำสั่งห้ามรัฐอุดหนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยเอ็มบริโอสเตมเซลล์ของมนุษย์
2010 บริษัท Geron ในแคลิฟอร์เนีย ใช้เอมบริโอสเตมเซลล์ของมนุษย์ในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังได้สำเร็จ
2012 – สเตมเซลล์ถูกนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่ตาบอด
– ยามานากะ, ได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ร่วมกับ จอห์น เกอร์ดอน (John Gurdon) จากการคิดค้นเทคนิค “induced pluripotent stem cells” 
2013 ชัวครัต มิตาลิปอฟ (Shoukhrat Mitalipov) จากศูนย์วิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในโอริกอน (Oregon National Primate Research Center) ใช้เทคนิค therapeutic cloning ในการสร้างเอมบริโอสเตมเซลล์จากฟีตัลเซลล์ (fetal cells) 
2014 – ชาร์ลี วาแคนติ (Charles Vacanti) จากวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ร่วมกับฮารูโกะ โอโบกาตะ (Haruko Obokata) จากศูนย์วิจัยไรเคน (Ripken Center for Developmental Biology) ในโกเบ พัฒนาเทคนิคในการเหนียวนำเซลล์ใดๆ ก็ได้กลับมาเป็นสเตมเซลล์

– เดียเตอร์ อีกลี (Dieter Egli) จากมูลนิธิสเตมเซลล์นิวยอร์ค (New York Stem Cell Foundation) และยัง เกีย (Young Gie Chung) จากมหาวิทยาลัยชา (CHA University) ในโซล, เกาหลีใต้ ต่างก็สามารถสร้างเอ็มบริโอสเตมเซลล์ของมนุษย์จากเซลล์ที่โตแล้วได้ โดยใช้เทคนิค therapeutic cloning 
Don`t copy text!