Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

A. Philip Randolph

เอซ่า ฟิลิป แลนดอล์ฟ (Asa Philip Randolph)
เอซ่าเกิดวันที่ 15 เมษายน 1889 ในเมืองเครสเซนต์, ฟลอริด้า (Crescent City, Florida)  พ่อของเขาชื่อเจมส์ (James Randolph) เป็นช่างตัดเสื้อและเป็นครูสอนศาสนาให้กับโบสถ์ African Methodist Episcopal Church ส่วนแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elizabeth Robinson Randolph)  แลนดอล์ฟเป็นลูกคนที่สองของครอบครัว
1891 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่แจ็คสันวิลล์ (Jacksonville, Florida)
เขาเข้าเรียนที่สถาบันคุ๊กแมน (Cookman Institute) ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมแห่งเดียวของเมืองที่เปิดให้คนผิวสีเข้าเรียนได้  ระหว่างเรียนเขาเก่งพวกวิชาวรรณกรรม, การพูด และยังเป็นนักกีฬาเบสบอลของโรงเรียน
1907 จบมัธยม หลังจากนั้นเริ่มหางานทำในอาชีพการเป็นนักร้อง นักแสดง 
เอซ่าได้แรงบันดาลใจในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิและความเสมอภาคมาจากการอ่านหนังสือ เรื่อง The Souls of Black Folk ของดู เบียส (W. E. B. Du Bois) 
1911 ย้ายมาอยู่ในนิวยอร์คซิตี้ เพื่อหางานทำหลังจากไม่สามารถทดสภาพกดขี่และเหยียดผิวของรัฐทางใต้ได้  เมื่อมาอยู่ในนิวยอร์คเขาหางานทำและลงเรียนคอร์สทางด้านรัฐศาสตร์ไปด้วยพร้อมๆ กัน 
1913 แต่งงานกับลูเซลล์ (Lucille Campbell Green)  หญิงม่าย ซึ่งมีทัศนคติตรงกับเขาเรื่องสังคม ทั้งคู่ไม่มีลูกด้วยกัน 
หลังแต่งงานไม่นาเอซ่า ช่วยในการก่อตั้งสมาคมเชคสเปียร์ (Shakespearean Society) ขึ้นในย่ายฮาเล็ม (Harlem)  และเขาได้ร่วมเป็นนักแสดงละครเวที และยึดอาชีพเป็นนักแสดง 
ขีวิตในนิวยอร์คเอซ่ามีความสนใจในลัทธิมาร์กซิสต์ และให้การสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสังคมนิยมอย่างกลุ่ม Industrial Workers of the world 
เขาสนิทสนมกับแชนด์เลอร์ โอเว่น (Chandler Owen) นักศึกษากฏหมายจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งคู่มีแนวคิดคล้ายกันในการรวมแนวคิดแบบมาร์กซิสต์เข้ากับแนวคิดทางสังคมของเลสเตอร์ วาร์ด (Lester Frank Ward) เพราะทั้งคู่ต้องการให้เกิดสังคมนิยมที่มีการพัฒนาและมั่งคั่ง โดยอ้างว่าประชาชนจะไม่มีเสรีภาพอย่างแท้จริงหากว่าเศรษฐกิจมีความเสื่อมถอย แนวคิดนี้เป็นพื้นฐานให้เขาเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิมนุษยชนของคนผิวสีและเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งเขาได้ตั้งสำนักงานขึ้นในย่านฮาเล็มเพื่อใช้ในการอบรมฝีมือแรงงานให้กับผู้อพยพและสนับสนุนแรงงานให้เข้าเป็นสมาบอกสหภาพ
1917 เอซ่าและโอเพ่น ร่วมกันก่อตั้งแม็กกาซีน Messenger  ซึ่งรณรงค์ต่อต้านการทรมานคนผิวสีด้วยการแขวนคอและเผา (lynching) , ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม 
1919 ได้เป็นประฐานของ National Brotherhood of Workers of America กลุ่มสหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมต่อเรือแห่งหนึ่ง. แต่ว่าไม่นานสหภาพแรงงานแห่งนี้ถูกยุบตัวไป
1925 ได้เป็นประธานของกลุ่ม Brotherhood of Sleeping Car Porters กลุ่มของแรงงานอเมริกันแอฟริกันในบริษัทพูลล์แมน (Pullman Compatny) บริษัทอุตสาหกรรมรถไฟ  แต่ว่ายังไม่มีสถานะเป็นสหภาพแรงงาน 
1925 เขาก่อตั้งสหภาพแรงงานของคนเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน แห่งแรกขึ้นมาในชื่อ Brotherhood of Sleeping Car Porters 
1963 March on Washington, เอซ่า ร่วมกับเบย์อาร์ด รัสติน (Bayarf Rustin) และ เอ. มัสเต้ (A. J. Muste) ร่วมกันเดินขบวนไปยังวอชิงตัน เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันให้กับแรงชาวอเมริกันแอฟริกันในอุตสหกรรมทหาร แต่ว่าการเดินขบวนครั้งนี้ยกเลิกไป หลังจากประธานาธิบดีรูสเวลต์ ได้ออกกฏหมาย Fair Employment Act (Executive Order 8802) อย่างไรก็ตามกฏหมายนี้ไม่มีผลกับแรงงานที่อยู่ในกองทัพที่ยังคงถูกเลือกปฏิบัติ
1947 ก่อตั้งสันนิตบาตเพื่อการต่อสู้อย่างอหิงสา (League for Non-Violent Civil disobedience) เพื่อเรียกร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติในกองทัพและในรัฐบาลต่อแรงงานอเมริกันอัฟริกัน  ซึ่งมีผลทำให้ประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) ยอมออกคำสั่ง 9981 (Executive Order 9981) ให้ยกเลิกการเหยียดผิวภายในกองทัพ
1950 ร่วมกับรอย วิลกิ้นส์ (Roy Wilkins) ก่อตั้ง Leadership Conference on Civil Rights, LCCR) ซึ่งกายเป็นองค์กรหลักในการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนในอเมริกา
1963 จัดการเดินขบวน March On Washington for Jobs and Freedom ไปยังวอชิงตัน ดี. ซี. ซึ่งมีผุ้ร่วมเดินขบวนสองถึงสามแสนคน ในการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ แต่ว่าประธานาธิบดีเคนเนดี (John F. Kennedy) ถูกลอบสังหารไปเสียก่อ่นหลังจากการเดินขบวนครั้งนี้สามเดือน ทำให้กฏหมายสิทธิมนุษยชนค้างอยู่ในสภา อย่างไรก็ตามการเดินขบวนครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รัฐผ่านกฏหมายการเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ในปี 1965 เพื่อให้สิทธิในการลงคะแนนกับคนผิวสีอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
1979 16 พฤษภาคม, เสียชีวิตภายในอพาร์ตเม้นในแมนฮัตตัน จากอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ

Don`t copy text!