Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Eric Kandel

อีริค แคนเดล (Eric Richard Kandel) 
Nobel  Physiology or Medicine 2000
อีริค เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน 1929 ในเวียนนา, ออสเตรีย พ่อของเขาชื่อเฮอร์มันน์ (Hermann Kandel) เป็นชาวออสเตรีย-ฮังการี และชาร์ลีอต (Charlotte Zimels) เกิดในยูเครน, จักรวรรดิรัสเซีย
เฮอร์มันน์ย้ายมาอยู่ในเวียนนาช่วงสงครามโลกครั้งแรก และเขาได้เปิดร้านขายของเล่นในเวียนนาไม่นานก่อนที่อีริคจะเกิด
1939 ตอนอีริคอายุ 9 ขวบ ครอบครัวของเขาต้องออกจากออสเตรียเพราะว่าเยอรมันบุกออสเตรียในปี 1938 และมีนโยบายกวาดล้างผู้มีเชื้อสายยิว เขาและพี่ชายจึงถูกส่งตัวอพยพผ่านเบลเยี่ยม โดยขึ้นเรือ Gerolstein เดินทางมายังบรู็คลิน, อเมริกา โดยมาถึงในวันที่ 11 พฤษภาคม เพื่อที่จะไปอาศัยอยู่กับลุง ก่อนที่พ่อแม่ของเขาจะเดินทางมาสมทบภายหลัง
ในบรู๊คลิน อีริคถูกส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมเยชิวาแพล๊ตบุช (Yeshiva of Flatbush) ซึ่งเป็นโรงเรียนยิว
1944 เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยอีรัสมุส ฮอลล์ (Erasmus Hall High School) ระหว่างที่เรียนเขาทำเล่นกีฬาฟุตบอลและทำหนังสือพิมพ์โรงเรียน The Dutchman 
เข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด (Harvard University) ทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณกรรม แต่ว่าระหว่างที่เรียนเขาเกิดความสนใจเกี่ยวกับจิตวิทยา โดยเฉพาะผลงานของฟรอยด์ (Sigmund Freud) และสกินเนอร์ (B.F. Skinner) ซึ่งพัฒนามาเป็นความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและความทรงจำ
อีริคเขียนวิทยานิพนธ์จบเรื่อง “The Attitude Toward National Socialism of Three German Writers: Carl Zuckmayer, Hans Carossa, and Ernst Jünger” 
1952 เข้าเรียนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York University Medical School)
1955 จบแพทย์
1956 แต่งงานกับเดนิส (Denise Bystryn)
1957 เข้าทำงานที่ห้องปฏิบัติการทางระบบประสาทของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (US National Institutes of Health) 
1962 เดินทางไปปารีส เพื่อศึกษางานวิจัยของลาดิสลาฟ ท็วค (Ladislav Tauc) เกี่ยวกับหอยทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ชื่อ Aplysia californica  ซึ่งเขาได้ศึกษาปฏิกิริยา Aplysia gill and Sippho withdrawal reflex หรือ GSWR (การตอบสนองของไซฟ่อน (อวัยวะคล้ายงวงในหอย) และเหงือกของหอยซึ่งทำงานตอบสนองเองเพื่อป้องกันตัวโดยไม่ต้องอาศัยสมองควบคุม))
1965 มาสอนที่คณะสรีระศาสตร์และจิตเวชของโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ช่วงเวลานี้ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเออร์วิ่ง คุปเฟอร์แมน (Irving Kupferman) ฮาโรลด์ ปินสเกอร์ (Harold Pinsker) และทอม คาคริว (Tom Carew) ซึ่งพวกเขาศึกษาเกี่ยวกับกลไกในการสร้างความทรงจำระยะสั้น (short-term memory) และกลไกการสร้างความทรงจำระยะยาว (long-term memory) 
1974 ย้ายมาทำงานที่ห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) และได้เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยบระบบประสาทชีวภาพและพฤติกรรม (Center for Neurobiology and Behavior) 
ช่วงเวลานี้มีงานค้นคว้าหลายอย่าง เช่น การทดลองที่สนับสนุน Hebbian theory 
ได้เป็นสมาชิกของ US National Academy of Sciences
1981 เขียนหนังสือ Principles of Neural Science
2000 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ จากการศึกษาเกี่ยวกับ GSWR
ผลงานเขียน
1981, Principles of Neural Science
2007, In Search of Memory : The Emergence of a New Science of Mind

2018, The Disordered Mind : What Unusual Brains Tell Us About Ourselves
Don`t copy text!