Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Niels Bohr

นิลส์ บอห์ร (Niels Henrik David Bohr)

โนเบลฟิสิกส์ 1922

บอห์ร เกิดวันที 7 ตุลาคม 1885 ในโคเปนฮาเก้น, เดนมาร์ก พ่อของเขาชื่อคริสเตียน (Christian Bohr) เป็นศาสตราจารย์ด้านสรีระศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก้น (University of Copenhagen) คริสเตียนเคยได้รับการเสนอชื่อเขาชิงรางวันโนเบล (Nobel Prize) สองครั้งในสาขาการแพทย์ ในปี 1907 และ 1908 จากผลงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับระบบการหายใจ 

ส่วนแม่ของเขาชื่อเอลเลน (Ellen Adler) มาจากครอบครัวยิวที่เป็นเจ้าของกิจการธนาคาร

 บอห์ร มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อเจนนี่ (Jenny) และมีน้องชายคนหนึ่งชื่อฮาโรล์ด (Harald) 

เมื่ออายุ 7 ปี เขาก็เข้าเรียนในโรงเรียนเกมเมลโฮล์ม (Gammelholm Gramma School) จนกระทั้งจบระดับมัธยมปลาย

1903 เมื่อจบมัธยม บอห์นได้เข้าเรียนต่อที่ ม. โคเปนเฮเก้น โดยเลือกเรียนทางด้านฟิสิกส์ โดยได้มีโอกาสเรียนกับศาสตราจารย์คริสเตียนเซ่น (Prof. Christian Christiansen) ซึ่งในเวลานั้นเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์คนเดียวของมหาวิทยาลัย

1908 มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับแรงตึงผิวของของเหลว ซึ่งเขาส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดและได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสถาบันวิทยาศาสตร์โคเปนฮาเก้น (Royal Danish Academy of Sciences and Letters)  ผลงานของบอห์รถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร  Philosophical Transactons of the Royal Society

1911 จบปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับทฤษฏีอิเล็กตรอนในโลหะ 

หลังเรียนจบเขาได้เดินทางมาทำงานวิจัยกับเซอร์ธอมสัน (Sir J.J. Thomson) ที่ห้องแล็ปคาเวนดิช (Cavendish Laboratory) ของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge Universtiy)  เซอร์ธอมสันเป็นผู้ค้นพบอิเล็กตรอนในปี 1897  และเซอร์ธอมสันยังได้เสนอโครงสร้างอะตอมแบบ Plum Pudding Model ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา

1912 มาทำงานในห้องทดลองของศาสตราจารย์รูเธอร์ฟอร์ด (Professor Ernest Rutherford) ที่มหาวิทยาลัยแมนเซสเตอร์ (University of Manchester)  ซึ่ง ศจ.รูเธอร์ฟอร์ด เป็นผู้ค้นพบนิวเคลียสของอะตอม 

1 สิงหาคม, แต่งงานกับมาร์กรีเธ่ (Margrethe Nørlund) ในเดนมาร์ก ต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันหกคน 

1913 ได้รับตำแหน่งอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่ ม.โคเปนเฮเก้น

ปีนี้บอห์รได้เสนอโครงสร้างอะตอม (Bohr Atomic Model) ซึ่งพัฒนามาจากโครงสร้างอะตอมของรูเธอฟอร์ด (Rutherford Atomic Model) ซึ่งโครงสร้างแบบเดิมของรูเธอฟอร์ดนั้นอิเล็กรตรอน (electron) โครจรรอบนิวเคลียส (nucleus) แต่ว่าไม่มีความเสถียรขึ้น และอาจจะหล่นลงมาชนนิวเคลียสได้ แต่ว่าโครงสร้างแบบบอห์นนั้น อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียร์ในระดับที่ตามระดับพลังงาน ซึ่งอาศัยแนวคิดของควอนตัม (Quantum Theory) ที่แม็กซ์ แพล็ง (Max Plank) เสนอเอาไว้

โครงสร้างอะตอมแบบของบอห์รนี้เขาเขียนเป็นรายงานวิจัย 3 ตอน ซึ่งถูกเรียกภายหลังว่า “the trilogy” ตีพิมพ์ลงในแม็กกาซีน Philosophical Magazine 

1914 ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย (Victoria University) ในแมนเชสเตอร์ พอดีกับเป็นช่วงที่เกิดสงครามโลก ครั้งแรก ทำให้เขาอาศัยอยู่ในอังกฤษยาวสองปี

1916 กลับมาสวีเดน และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทฤษฏีที่ ม.โคเปนฮาเก้น 

1920 ก่อตั้งสถาบันฟิสิกส์ (Institute of Theoretical Physics) ขึ้นภายใน ม.โคเปนฮาเก้น และเขาได้รับตำแแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันนี้

1922 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปีเดียวกันกับอัลเบิร์ต ไอสไตน์  (Albert Einstein) โดยบอห์รได้รับรางวัลจากแบบโครงสร้างอะตอม ส่วนไอสไตน์ได้รางวัลจากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริค (photoelectric effect) 

เขียนหนังสือ The Theory of Spectra and Atomic Constitution

1926 บอห์ร เชิญให้ไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg) มาเป็นอาจารย์ที่ ม.โคเปนเฮเก้น ซึ่งระหว่างอยู่ที่มหาวิทยาลัยไฮเซนเบิร์กก็ได้พัฒนากฏความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ขึ้นมา

1938 มีการค้นพบปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิสชั่น (nuclear fission) โดยอ๊อตโต้ ฮาห์น  (Otto Hahn) , ลิซ มิตเนอร์ (Lise Meitner) 

1939 มกราคม, บอห์รเดินทางไปเข้าร่วมงานสัมมนาในสหรัฐฯ พร้อมกับนำข่าวเรื่องการค้นพบปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิสชั่นไปแจ้งให้นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ ทราบ 

กันยายน, บอห์รเขียนรายงานเรื่อง The Mechanism of Nuclear Fission ที่อธิบายกลไกการเกิดของปฏิกริยานิวเคลียร์

บอห์รพัฒนา concept of complementary 

1940 เมษายน, เยอรมันบุกเดนมาร์ก

1941 ไฮเซนเบิร์กได้เป็นหัวหน้าโครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ของเยอรมัน

1943 29 กันยายน, บอห์นหนีออกจากเดนมาร์ก เพราะเขาได้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่นาซีเห็นว่าเขามีเชื้อสายยิว บอห์รจึงพาภรรยาหนีลงเรือไปยังสวีเดนโดยได้รับความช่วยเหลือจากชาวเดนมาร์กที่ต่อต้านการยึดครอง ซึ่งเมื่อเขาไปถึงสวีเดน บอห์รยังสามารถทูลขอให้กษัตริย์กุสตาฟ (King Gustaf V of Sweden) เปิดรับชาวยิวที่ต้องการลี้ภัยด้วย

6 ตุลาคม, บอห์รถูกพามายังอังกฤษ โดยเครื่องบิน de Havilland Mosquito เขาถูกพาไปพักในอพาร์ตเม้นท์บริเวณพระราชวังเซนต์เจมส์ (St James’s Palace) ซึ่งที่นี่มีนักวิทยาศาสตร์ในโครบการ Tube Alloys โครงการวิจัยระเบิดนิวเคลียร์ของอังกฤษพักอาศัยอยู่หลายคน

8 ธันวาคม, เดินทางมาถึงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ ซึ่งบอห์รได้มีโอกาสเข้าดูโครงการแมนฮัตตัน (manhattan Project) และสถานีวิจัยลอสอลามอส (Los Alamos)  ซึ่งบอห์นเองบอกว่าโครงการพัฒนาไปมากแล้วและเขาไม่ได้มีส่วนกับโครงการนี้ แต่เมื่อบอห์รมีโอกาสพบกับประธานาธิบดีรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) บอห์รมีความเห็นว่าสหรัฐฯ​ ควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแมนฮัตตันให้โซเวียตรู้ด้วย แต่ว่าบอห์รก็ไม่สามารถโน้มน้าวรูสเวลต์ได้สำเร็จ 

1945 25 สิงหาคม, หลังจากสงครามโลกยุติ บอห์นเดินทางกลับเดนมาร์ก  และได้รับเลือกให้เป็นประธานสถาบันวิทยาศาสตร์เดนมาร์ก

1954 มีการก่อตั้ง CERN องค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปขึ้นมา

1957 บอห์รได้รับรางวัล Atoms for Peace Award ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

มีการก่อตั้งสถาบันฟิสิกส์ทฤษฏี (Nordic Institute for Theoretical Physics) ขึ้นภายใน ม.โคเปนเฮเก้น โดยที่บอห์รได้รับตำแหน่งประธานคนแรกของสถาบัน

1962 18 พฤศจิกายน, เสียชีวิตในโคเปนเฮเก้น จากอาการหัวใจล้มเหลว

งานเขียนบางส่วน

  • The Theory of Spectra and Atomic Constitution, 1922
  • Atomic Theory and the Description of Nature, 1924
  • The Unity of Knowledge, 1955
Don`t copy text!