Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Józef Piłsudski

https://www.youtube.com/watch?v=NZsIXJh8de8&t=1025s

โจเซฟ ฟีลซัดสกี้ (Józef Piłsudski) 

ผู้นำการต่อสู้เรียกร้องเอกราชโปแลนด์ 

ฟีลซัดสกี้ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1867 ในตระกูลของชนชั้นสูง ที่มีฐานะร่ำรวย หมู่บ้านที่เขาเกิดชื่อซูโลว่า (Zułowo) ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ในขณะที่ปัจจุบันอยู่ในลิทัวเนีย โจเซฟเป็นลูกคนที่สองของครอบครัว พ่อของเขาชื่อโจเซฟ (Jozef Vincent Peter Pilsudski) เป็นพวกชาตินิยมโปแลนด์ที่ต่อต้านการปกครองโดยรัสเซีย เคยร่วมในการประท้วง 1863 (January 1863 Uprising)  แม่ของเขาชื่อมาเรีย (Maria Billewicz) เธอมาจากตระกูลที่ร่ำรวย  เธอมีลูกทั้งหมด 12 คน โดยฟีลซัดสกี้เป็นลูกคนที่สองของครอบครัว เขามีพี่ชายชื่อโบรนิสลาฟ (Bronislaw) และน้องชายชื่ออดัม (Adam) และแจน (Jan)

เข้าเรียนที่โรงเรียนวิลโน่ (Wilco gymnasium) ซึ่งเป็นโรงเรียนหลักสูตรรัสเซีย โดยที่โรงเรียนฟีลซัดสกี้เป็นรุ่นพี่ของเฟลิกซ์ ดเซอร์ซินสกี้ (Felix Dzerzhinsky) ผู้ก่อตั้งหน่วยเชก้า (cheka) ของโซเวียต ซึ่งภายหลังทั้งคู่เป็นศัตรูกัน

1882 โบรนิสลาฟ พี่ขายของฟีลซัดสกี้ได้ตั้งชมรมของฝ่ายชาตินิยมโปแลนด์ขึ้นมาชื่อ Spójnia ซึ่งฟีลซัดสกี้ได้ร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งชมรมนี้มีการลักลอบนำหนังสือของชาวโปล์ในวอร์ซอร์มาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

1885 เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยคาร์คอฟ (Kharkov University) โดยที่ระหว่างเรียนเขาได้เป็ฯส่วนหนึ่งของกลุ่ม Norodnaya Volya (Норадная воля) กลุ่มต่อต้านรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งมีการเคลื่อนไหวรุ่นแรงและทำการก่อการร้าย ลอบสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ 

1887 มีนาคม, ถูกตำรวจจับ ในข้อหาวางแผนสอบสังหารซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 (Tsar Alexander III) โดยที่ฟีลซัดสกี้ ถูกลงโดยด้วยการเนรเทศไปไซบีเรีย เป็นเวลาห้าปี ในขณะที่โบรนิสลาฟพี่ชายของเขาที่เป็นหัวโจ๊ก ถูกลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ แต่ว่าซาร์ได้ลดโทษลงเหลือเป็นการส่งไปใช้แรงงานในซาคาลิน เป็นเวลา 15 ปี

ระหว่างที่อยู่ในไซบีเรีย เขาทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศให้กับเด็กๆ 

1892 หลังพ้นโทษ ได้กลับมาอาศัยอยู่ในเมืองอโดมาวาส มาเนอร์ (Adomavas Manor) 

1893 เข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิคมโปแลนด์ (Polish Socialist Party, PPS)

1894 เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Robotnik (The worker) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของพรรค PPS ที่ตีพิมพ์ใต้ดิน

ช่วงปลายปี เขาได้รู้จักกับอิกนาเตียส มอสซินสกี้ (Ignatius Moscitzky) ระหว่างอยู่ในอังกฤษ ซึ่งคนหลังต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของโปแลนด์

1896 กรกฏาคม,  ร่วมการประชุมคอมมิวนิสต์สากล (Second International) ในลอนดอน โดยใช้ชื่อแฝงว่า Victor Kososcesha

1899 แต่งงานกับมาเรีย (Maria Koplewska Juszkiewiczowa) นักสังคมนิยม แต่ว่าชีวิตแต่งงานของทั้งคู่ไม่มีความสุขนัก และฟีลซัดสกี้ภายหลังก็แอบมีชู้กับนักเคลื่อนไหวคนหนึ่ง

1900 ฟีลซัดสกี้ถูกจับหลังทางการรัสเซียตรวจเจอหนังสือพิมพ์ Robotnik ที่ตีพิมพ์ผิดกฏหมาย ฟีลซัดสกี้ถูกนำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำในวอร์ซอร์ (warsaw citadel)

1901 ฟีลซัดสกี้สามารถหลบหนีการจำคุกออกมาได้ หลังจากแกล้งทำเป็นป่วยทางจิตจนถูกส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลจิตเวชในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาจึงได้อาศัยจังหวะที่อยู่ในโรงพยาบาลหนีออกมา โดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์เชื้อสายโปแลนด์ ชื่อวลาดิสลาฟ มาเซอร์เกียวิคซ์ (Władysław Mazurkiewicz) โดยที่เขาได้หลบหนีไปยังกาลิเซีย (Galicia) ซึ่งอยู่ในเขตของออสเตรีย-ฮังการี ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังลอนดอน ซึ่งฟีลซัดสกี้ได้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของลีออน วาซิเลวสกี้ (Leon wasileski) 

1902  ปลายเดือนเมษายน เขาเดินทางกลับมารัสเซีย และได้ทำหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมาชื่อ Walka (Борьба, การต่อสู้)

1904 เกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Janense war) สมาชิกของพรรค PPS ได้ถือโอกาสนี้ในการบ่อนทำลายจักรวรรดิรัสเซีย ฟีลซัดสกี้ ได้ริเริ่มแนวคิด Prometheism ซึ่งต้องการให้จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายและรัฐต่างๆ แยกตัวเป็นเอกราช  และโปแลนด์ก็จะได้รับเอกราชด้วย ฟีลซัดสกี้และพรรคของเขา ได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อขอการสนับสนุนด้านการเงินและอาวุธ โดยเขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอริโตโมะ (Yamagata Aritomo)  ซึ่งญี่ปุ่นให้การสนับสนุนในการจัดซื้ออาวุธจำนวนหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้มากเท่าที่ฟีลซัดสกี้เสนอไป 

ช่วงปลายปี พรรค PPS ได้ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธของพรรคขึ้นมา เรียกว่า bojówki (the Combat Organizaton of the Polish Socialist Party) เพื่อใช้ในการลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่รัสเซีย และลอบวางระเบิดรางรถไฟหลายครั้ง 

1905 June Day, ใพรรค PPS ใช้โอกาสความวุ่นวายในรัสเซียเพราะการแพ้สงครามกับญี่ปุ่น ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองในรัสเซีย (Russian Revolution of 1905) มีการเดินขบวนและจราจลเกิดขึ้นในหลายๆ แห่งทั่วประเทศ

พรรค PPS อาศัยจังหวะช่วงนี้ในการปลุกระดมให้แรงงานนัดหยุดงาน และใช้กองกำลังติดอาวุธก่อจราจลในเมืองล็อดซ์ (Lodz) แต่ว่าประชาชนในเมืองส่วนมากไม่สนับสนุน และสุดท้ายรัสเซียสามารถปราบปรามเอาไว้ได้ 

ช่วงปลายปีสถานะการณ์ในรัสเซีย ทำให้ซาร์นิโคลัส ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีการนำระบบรัฐสภามาใช้ และจัดให้มีการเลือกตั้งสภาดูม่า แต่ว่าฟีลซัดสกี้ประกาศให้พรรค PPS บอยคอตการเลือกตั้งนี้ 

1906 พรรค PPS แตกเป็นสองฝ่าย  โดยฝ่ายหนึ่งคือ Revolutinary Faction นำโดยฟีลซัดสกี้ ที่มีแนวคิดชาตินิยมและต้องการใช้กำลังเพื่อเอกราช และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายซ้าย Left faction ซึ่งสนับสนุนแนวคิดคอมมิวนิสต์ ต้องการล้มพระเจ้าซาร์และหลังจากนั้นจะใช้การเจรจาเพื่อเอกราช ซึ่งต่อมาฝ่ายที่สนับสนุนฟีลซัดสกี้ กลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ของพรรค  

พรรค PPS ได้ตั้งโรงเรียนฝึกกลุ่มติดอาวุธขึ้นมาในเมืองกราโกว (Krakow) โดยได้รับอนุญาตจากออสเตรีย ซึ่งมีกำลังประมาณ 2000 คน  ซึ่งปีนี้กลุ่มติดอาวุธของ PPS กระจายกำลังกันสังหารเจ้าหน้าที่รัสเซียไปหลายร้อยนาย 

ปีนี้ฟีลซัดสกี้ได้พบกับอเล็กซานดร้า  (Aleksandra Szczerbińska, 1882-1963) ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 24 ปี เธอเป็นคนเดินเอกสารและคอยสะสมอาวุธของพรรค และยังสนับสนุนฝ่าย Revolutionary Faction ของฟีลซัดสกี้ 

1908 26 กันยายน, กองกำลังติดอาวุธชองฟีลซัดสกี้ร่วมกันปลุ้นรถไฟที่ขนเงินภาษีจากวอร์ซอไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทำให้พวกเขาได้เงินทุนจำนวนมากในการสร้างกองกำลังติดอาวุธ

ฟีลซัดสกี้ ปฏิรูปกองกำลังเขาเขาใหม่ เป็น Association for Active Struggle (Związek Walki Czynnej,  ZWC)

1914 เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1, ฟีลซัดสกี้ ได้ประกาศว่ากองกำลังของเขาจะต่อสู้เพื่อเอกราชของโปแลนด์ และประกาศว่าอยู่ฝ่ายเดียวกับกลุ่ม Central Powers (ออสเตรีย-ฮังการี, เยอรมัน) และจะรบกับรัสเซียเท่านั้น โดยจะไม่ทำร้ายทหารของอังกฤษ, สหรัฐฯ  หรือฝรั่งเศส

3 กันยายน, กองกำลังติดอาวุธของพรรค PPS ผ่านเข้าไปยังรัสเซียผ่านพรหมแดนใกล้กับ Kielec

กองกำลังของฟีลซัดสกี้ถูกทางออสเตรียกดดันให้ต้องเปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังโปแลนด์ และฟีลซัดสกี้ก็ขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพ แต่ว่าแต่มาเขาไม่พอใจกับผลการเจรจากับออสเตรีย-ฮังการี ในเรื่องของสถานะภาพของโปแลนด์หลังสงคราม ทำให้กองทัพของฟีลซัดสกี้กลายเป็นศัตรูกับออสเตรีย-ฮังการีไปด้วย 

1916 4 กรกฏาคม,  (Battle of Kostiuchnowka) กองทัพโปแลนด์ของฟีลซัดสกี้ ยอมเสียสละทหารไป 2000 พันกว่านายเพื่อชะลอการเคลื่อนที่ของกองทัพรัสเซีย ซึ่งหลังจากสมรภูมินี้ ฟีลซัดสกี้ได้ยืนคำขาดให้กลุ่ม Central Powers การันตีสถานะของโปแลนด์หลังสงครามสิ้นสุดลง โดยที่ฟีลซัดสกี้ลาออกจากตำแหน่งผู้นำกองทัพเพื่อแสดงถึงความสำคัญของข้อเรียกร้องของเขา พร้อมกับนายทหารระดับสูงของกองทัพอีกหลายนาย

5 พฤศิจกายน, กลุ่ม Central Powers ประกาศว่า “โปแลนด์เป็นเอกราช” เพื่อหวังให้ทหารกองทัพโปแลนด์ต่อสู้กับรัสเซียต่อไป

ฟีลซัดสกี้จึงได้กลับเข้าบัญชาการกองทัพ ในฐานะรัฐมนตรีกลาโหม ของ ราชอาณาจักรโดยผู้แทนพระองค์โปแลนด์ (Regency Kingdom of Poland) ซึ่งโปแลนด์มีสถานะเสมือนอยู่ใต้การปกครองของจักรพรรดิเยอรมัน ซึ่งกลุ่ม Central Powers เป็นผู้ตั้งขึ้นมา

1917 กรกฏาคม, (Oath Crisis) ถูกจับขังไว้ในเรือนจำที่ค่ายแม็กเดเบิร์ก (Magdeburg) หลังจากที่ฟีลซัดสกี้ปฏิเสธที่จะปฏิญาณว่าจะสวามิภักดิ์ต่อ Central Powers

1918 5 พฤศจิกายน เมื่อสงครามโลกใกล้สินสุด สภาโปแลนด์ได้ประกาศความตั้งใจที่จะเป็นเอกราชจากจักรวรรดิเยอรมัน 

8 พฤศจิกายน, ฟีลซัดสกี้ได้รับการปล่อยตัวก่อนที่สงครามจะยุติลง 3 วัน 

11 พฤศจิกายน, สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ หลังทำข้อตกลงยุติสงคราม  (Armistice of Compiègne) ซึ่งเยอรมันแพ้สงคราม และระบบกษัตริย์ล่มสลายไป   โปแลนด์ได้รับอิสระภาพอย่างเป็นทางการ เป็นสาธารณรัฐโปแลนด์ (Second Republice of Poland) ซึ่งเป็นรัฐเกิดใหม่หลังจากที่สิ้นสุดความเป็นประเทศไปนานกว่า 123 ปี 

ฟีลซัดสกี้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพโปแลนด์ โดยการแต่งตั้งของสภา ซึ่งไว้วางใจให้เขาเป็นผู้สรรหารัฐบาลใหม่ของประเทศ

ซึ่งเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่ง ฟีลซัดสกี้ละทิ้งนโยบายแบบคอมมิวนิสต์ เพราะเขามองว่าผู้นำประเทศไม่ควรฝักใฝ่พรรคการเมืองพรรคใด และเขายังจำเป็นต้องตั้งรัฐบาลประสมขึ้นมา 

ซึ่งในช่วงนี้โปแลนด์ยังแตกเป็นสองฝ่ายที่อ้างตัวเป็นรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งคือของฟีลซัดสกี้ที่อยู่ในกรุงวอร์ซอร์ และอีกฝ่ายเป้นของโรมัน ดมอฟสกี้ (Roman Dmowski) ซึ่งอยู่ในปารีส  ซึ่งต่อมาสองฝ่ายมีการเจรจากัน จนตกลงกันให้ฟีลซัดสกี้เป็นผู้นำประเทศเฉพาะกาล ในขณะที่ดมอฟสกี้ จะเป็นตัวแทนไปประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส (Paris Peace Conference)

14 พฤศจิกายน, ฟีลซัดสกี้ ขึ้นเป็นผู้นำประเทศเฉพาะกาล (Provisional Head of State) ของโปแลนด์

22 พฤศจิกายน, ฟีลซัดสกี้ ตั้งรัฐบาลขึ้นมาในวอร์ซอร์ โดยที่เจเดอร์เซจ โมรัคเซวสกี (Jędrzej Moraczewsk) รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ

1919 4-5 มกราคม, ฝ่ายสนับสนุนดมอฟสกี้พยายามทำการปฏิวัติโค่นฟีลซัดสกี้แต่ไม่สำเร็จ

16 มกราคม, รัฐบาลของ โมรัคเซวสกีถูกยุบไป

18 มกราคม,  อิกนาซี เปเดเรวสกี (Ignacy Jan Paderewski) นักเปียโนและวาทยากรณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

กุมภาพันธ์, สงครามกับสหภาพโซเวียต (Polish-Soviet war, 1919-1921) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ยูเครนเป็นเอกราช

28 มิถุนายน, สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) และอนุสนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) รับรองว่าโปแลนด์เป็นประเทศเอกราช

Intermarium (โปแลนด์ : Międzymorze)  นโยบายต่างประเทศของฟีลซัดสกี้ในช่วงแรกมีการเสนอแนวคิดการก่อตั้งสหพันธ์โดยเขาปรารถนาที่จะรวมเอายูเครน, เบลารุส, และกลุ่มรัฐบอลติกเข้ามาเป็นสหพันธ์เสมือนการรื้อฟื้นสมาพันธรัฐโปแลนด์ลิทัวเนีย (Polish-Lithuanian Commonwealth) ในอดีตขึ้นมาใหม่แต่ว่าก็ได้รับการปฏิเสธจากรัฐเหล่านั้นที่เพิ่งได้มีอิสรภาพเช่นกันและก็มีกรณีพิพาทเรื่องพรหมแดนกับหลายประเทศทำให้การตั้งสหพันธ์เป็นไปไม่ได้

ทำสงครามกับยูเครน (Polish-Ukrainian War, 1918-1919) จากกรณีพิพาทเรื่องพรหมแดน

สงครามกับเชคโกสโลวัค (Czechoslovak-Polish border conflicts, 1919) 

1920 สิงหาคม, (Battle of warsaw)  ซึ่งโปแลนด์สามารถเอาชนะกองทัพแดงของโซเวียตได้ แต่หลังสงครามฟีลซัดสกี้ก็ตัดสินใจที่จะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้ง

ได้รับตำแหน่งจอมพล (Marshal of Poland) ซึ่งเป็นคนแรกของโปแลนด์ที่ไดรับตำแหน่งนี้

1921 สิงหาคม, มาเรียเสียชีวิต

25 กันยายน, ในเลียฟ (Lviv) ฟีลซัดสกี้ถูกลอบสังหารโดยสเตปาน เฟดัก (Stepan Stepanovich Fedak) นายทหารยูเครน แต่ว่าการลอบสังหารนี้พลาดไป  และคนร้ายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ และจำคุกเป็นเวลาหกปี

ตุลาคม, ฟีลซัดสกี้แต่งงานกับอเล็กซานดร้า ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสองคนชื่อแวนด้า (wanda) และแยนวิก้า (Janwiga)

1922 14 ธันวาคม, ลาออกจากตำแหน่งผู้นำประเทศ หลังจากการจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี และ เกเบรียล นารุโตวิคซ์ (Gabriel Narutowicz) ชนะการเลือกตั้งและขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโปแลนด์

16 ธันวาคม, ประธานาธิบดีเกเบรียลถูกคนร้ายสังหาร โดยฆาตกรชื่ออีลิเกียสซ์ (Eligiusz Nevyadomsky) พวกฝ่ายชาตินิยม

หลังจากสูญเสียประธานาธิบดีคนแรกไป  สตานิสลาฟ โวจเคียโชวสกี้ (Stanislav Wojciechowski ) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2  ในขณะที่ฟีลซัดสกี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำกองทัพ

1923 ลาออกจากตำแหน่ง และวางมือทางการเมือง

1926 พฤษภาคม, เกิดการปฏิวัติ (May 1926 coup detat) จากปัญหาทางเศรษฐกิจของโปแลนด์ ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงมาก และอัตราการว่างงานสูง ทำให้กลุ่มที่เคยสนับสนุนฟีลซัดสกี้ทำการปฏิวัติ และเรียกร้องฟีลซัดสกี้ให้กลับมาเป็นผู้นำ แต่ว่าเขาเลือกดำรงค์อยู่นายพลในกองทัพเท่านั้น แต่ฟีลซัดสกี้ก็เสมือนป็นผู้นำประเทศโปแลนด์ในทางปฏิบัติ

1934 ตั้งค่ายกักกันขึ้นมาในค่ายเบเรซ่า การ์ตุสก้า (Bereza Kartuska prison) ซึ่งเขาใช้ควบคุมและทรมานนักโทษการเมือง, ฝ่ายตรงข้าม และคอมมิวนิสต์ที่มีความคิดแตกต่างกับเขา

Józef Piłsudski1935 12 พฤษภาคม, เสียชีวิตในวัย 67 ปี 

Don`t copy text!