Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Louis Victor Leborgne

หลุยส์ วิคเตอร์ เลอบอร์กเน (Louis Victor Leborgne)

ผู้ป่วยท่ีถูกเรียกว่าแทน (Tan) สมองของเขาทำให้ค้นพบ Broca’s area สมองในส่วยควบคุมการพูด

1840 วิคเตอร์เป็นชาวฝรั่งเศส ที่เขามีอาการป่วยด้วยโรคลมบ้าหมู (epilepsy) เรื้อรังมาตั้งแต่ยังเล็ก จนกระทั้งเมื่ออายุ 30 ปี วิคเตอร์เกิดสูญเสียความสามารถในการพูดอย่างกระทันหัน เขาจึงได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลบิเคเตอร์ (Bicêtre) ชานกรุงปารีส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจิตเวช 

ตอนเข้ารับการรักษาวิคเตอร์สามารถที่จะออกเสียงคำได้เพียงพยางค์เดียวคือคำว่า แทน (tan) ซึ่งทำให้หมอและพยายาลเรียกเขาว่าแทน 

เมื่อการรักษาผ่านไปสามเดือน อาการของวิคเตอร์ก็ยังไม่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการลมบ้าหมู (epilipsy) ประกอบเข้ามาด้วย

10 ปีหลังจากเข้ารักษาตัว วิคเตอร์เริ่มมีอาการแขวนขวามอัมพฤกษ์ และต่อมาขาด้านขวาก็มีอาการอัมพฤกษ์ตามมาด้วย และต่อมาอาการทางด้านสายตาก็ตามมา 

1861 เมษายน, วิคเตอร์เริ่มมีอาการเนื้อตายบนร่างกาย ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นอาการติดเชื้อทั่วร่างกายซึกขวา

11 เมษายน, ถูกนำตัวเข้าผ่าตัด โดยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้เขาคือหมอปิแอร์ โบรค่า (Pierre Paul Broca)  ระหว่างการรักษา หมอโบรค่าได้ทำการทดสอบวิคเตอร์ และพบว่าเขายังมีสติดีและเข้าใจ โดยหมอโบรค่าให้เขาตอบโดยการเคลื่อนไหวแขนซ้ายแทน  หมอโบรค่า เรียกวิคเตอร์ ว่ามองซิเออร์ เลบอร์กเน่ (Monsieur Leborgne) 

หมอโบรค่า เรียกการสูญเสียความสามารถของวิคเตอร์ว่า deficit aphémie (aphimia)  ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่าอาการ Broca’s aphasia

17 เมษายน, วิคเตอร์เสียชีวิต ในขณะที่มีอายุ 51 มี ซึ่งรวมเวลาแล้ววิคเตอร์รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 21 ปี

หลังจากวิคเตอร์เสียชีวิต โบรค่าทำการชันสูตรร่างกายของเขา และนำสมองออกมา

โบรค่านำสมองของวิคเตอร์ไปแสดงในที่ประชุมของสมาคมมนุษยวิทยา (Societe d’Anthropologie) หนึ่งวันหลังจากวิคเตอร์เสียชีวิต หลังจากนั้นก็ได้นำสมองไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ 

หลังวิคเตอร์เสียชีวิตไม่กี่เดือน หมอโบรค่าได้พบกับลาแซร์ เลอลอง (Lazare Lelong) วัย 84  ซึ่งเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลบิเคเตอร์จากอาการความจำเสื่อม (dementia) ประกอบกับมีอาการสูญเสียความสามารถในการพูดตั้งแต่หนึ่งปีก่อนหน้านี้ แต่ว่าเลอลอง พูดได้หลายคำมากกว่าวิคเตอร์ คือ เขาพูดได้ 5 คำ คือ oui (ใช่), non(ไม่), tois (สาม), toujours (เสมอ), Lelo (ชื่อของเขาเอง ตามที่พยายามออกเสียง)

หลังจากเลอลองเสียชีวิต หมอโบรค่าได้ทำการผ่าชันสูตรดูสมองของเขาเช่นเดียวกับกรณีของ ซึ่งหมอโบรค่าพบว่าสมองส่วนเดียวกันในเคสของเลอลองและวิคเตอร์ที่ผิดปกติ มันเป็นสมองส่วนหน้าซึกซ้าย (left frontal lobe) ทำให้เขาสามารถยืนยันได้ว่าสมองส่วนนี้มีหน้าที่ในการควบคุมการพูด  การออกเสียง  ทำให้สมองส่วนนี้ถูกเรียกว่าเป็น Broca’s area 

2013 มีเอกสารเพิ่มเติบเกี่ยวข้องกับแทนที่ได้รับการเปิดเผยออกมา โดยเซซารี่ โดแมนสกี้ (Cezary Domanski) จากมหาวิทยาลัยมาเรีย คูรี (Maria Curie-Sklodowska University) ในโปแลนด์ซึ่งเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแทนว่า คำว่า “Tan” ที่ผู้ป่วยแทนออกเสียงนั้นอยู่ที่เมืองโมเร็ต (Moret) ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นแหล่งผลิตสีย้อมผ้า (tanneries) นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยออกเสียง “tan”

ปัจจุบัน สมองของวิกเตอร์ ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ดูพุเอทรัน (Musée Dupuytren) ในกรุงปารีส 

Don`t copy text!