Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Zhang Qian

จาง เฉียน (张骞)

ทูตจากราชวงศ์ฮั่น ซึ่งส่งออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติในช่วง ศตวรรษที่ 2 ซึ่งการเดินทางของเขาเป็นการเปิดทางให้เกิดเส้นทางสายไหม (Silk Road) ขึ้นมา

จางเฉียน เกิดในปี 200 BC ในฮานจง, มณฑลส่านซี (Hanzhong, Shaanxi) 

140 BC ต่อมาราวปี 140 BC- 135 BC จางเฉียนได้ย้ายมาอยู่ในฉางอัน (Chang’an) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเข้าทำงานในราชสำนักของจักรพรรดิหวู่ตี้ (Emperor Wu, 汉武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น (Han dynasty)

ฮั่นในขณะนั้นมีศัตรูคือ เซียงนู (匈奴,Xiongnu) ชาวเผ่าเซียงหนูนั้นอาศัยอยู่บริเวณมองโกเลียนใน (Inner Mongolia) ปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันต

138 BC จางเฉียนได้รับพระราชบัญชาจากจักรพรรดิหวู่ตี้ ให้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวยูชี (月氏, Yuezhi people) ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่รอนบริเวณเอเชียกลาง บริเวณทาจิกิสถาน (Tajikistan) ปัจจุบัน ซึ่งคณะของจางเฉียนนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 99 คน หนึ่งในนั้นเป็นชาวเผ่าเซียงนู ชื่อกังฟู (Ganfu, 甘父) ทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง   เป้าหมายในการเดินทางไปหาชาวยูซีในครั้งนี้เพื่อเป็นการหาพันธมิตรทางทหารให้กับฮั่นในการทำสงครามกับเชียงนูด้วย

แต่ว่าระหว่างการเดินทางไปยูซี จางเฉียนต้องเดินทางผ่านดินแดนของเชียงนู ทำให้คณะของเขาถูกชาวเซียงนูจับตัวไประหว่างทาง ซึ่งจางเฉียนถูกจับขังไว้เป็นเชลยนานกว่าสิบสามปี ระหว่างที่ถูกจับเอาไว้ในเซียนนู จางเฉียนได้หญิงสาวขาวเชียงนูเป็นภรรยาและมีลูกชายด้วยกัน ซึ่งหลังจากมีลูกชายแล้วเขาก็ได้รับความไว้วางใจจากเซียนนู

ในเวลาต่อมาจางเฉียน และครอบครัวของเขา รวมถึงกังฟูสามารถหลบหนีออกมาได้ และพวกเขาก็ยังมุ่งเดินทางไปยังดินแดนของชาวยูชี เพื่อสานต่อภาระกิจทูต

เมื่อมาถึงต้าหยวน (Dayuan, 大宛(ต้าวาน)) ซึ่งดินแดนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกพืชพันธ์บางชนิดที่ไม่เป็นที่รู้จักของคนจีนในเวลานั้นอย่าง อัลฟัลฟ่า (alfalfa)  และยังมีการผสมพันธ์ม้าจนได้สายพันธ์ที่แข็งแรง อดทน ซึ่งเรียกว่าม้าเหงื่อโลหิต (Sweat Blood horse, 大宛馬) หรือม้าเฟอร์กาน่า (Ferghana) ซึ่งมีความอดทนแข็งแรง แต่ว่าผู้นำของต้าหยวนปฏิเสธที่จะมอบม้าชนิดนี้เป็นบรรณาการณ์ให้กับจักรพรรดิฮั่น ซึ่งภายหลังฮั่นได้ทำสงครามเพื่อจะครอบครองม้านี้ถึงสองครั้ง

จางเฉียนพำนักอยู่ในต้าหยวนราวหนึ่งปี  ซึ่งเขายังได้ศึกษาข้อมูลของดินแดนที่อยู่รอบยูซี อย่างแบคเตรียน (Bactrian) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป จางเฉียนได้จดบันทีกเกี่ยวกับวัฒนธรรม, เศรษฐกิจของแบคเตรียน ตลอดจนชีวิตประจำวันของพวกเขาเอาไว้ ซึ่งเขาได้นำไปถวายรายงานหลังจากกลับไปยังฮั่น

เมื่อจางเฉียนต้องดินทางกลับจากดินแดนของชาวยูซีนั้น จางเฉียนต้องผ่านดินแดนของเชียงนูอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำให้เขาถูกจับอีกครั้ง และต้องอยู่ในเชียงนูนานสองปี จนกระทั้งเมื่อกษัตริย์ของเชียงนูสวรรคต และเกิดความวุ่นวายขึ้นภายในราชสำนักของเซียงนู จางเฉียนจึงได้อาศัยโอกาสนั้นหลบหนีออกมาและเดินทางกลับฮั่น

125 BC ปีที่ 13 หลังจากถูกส่งไปเป็นทูต จางเฉียนก็เดินทางกลับมายังฮั่นได้สำเร็จ และได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิหวู่ตี้ เพื่อถวายรายงานการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรต่างๆ ที่เขาได้เดินทางไปเยือน อย่าง เมืองแบคเตรียนของต้าเซีย (大夏, Daxia) ซึ่งเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมผสมระหว่างกรีซ-อินเดีย, ดินแดนกางจู (康居, Kangju) หรือเมืองที่จางเฉียนไม่เคยไปแต่ยินจากคำบอกเล่าอย่าง อาณาจักรแอ๊กซิ (安息, Anxi) ดินแดนของอาณาจักรอาร์ซาคิด (Arsacid Empire) , อู่ซัน (烏孫, Wusun), เชนตู (Shendu ซึ่งหมายถึงอินเดีย มาจากคำว่า “สินธุ”)  , เตาจี (条支,Tiaonzhi) หรืออาฯาจรักเซลัวคิด (Seleucid Empire) ในเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ซึ่งข้อมูลที่จางเฉียนถวายรายงานไปนั้น ภายหลังถูกบันทึกเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของ หนังสือ Records of the Grand Historian หรือ ชี จี้ ( 史記, Shi Ji ) ที่เขียนขึ้นมาภายหลังโดย ซือหม่า เชียน (司马迁, Sima Qian) ในตอนศตวรรษที่ 1

จากรายงานที่จางเฉียนนำขึ้นถวายนั้น ทำให้จีนได้เห็นโอกาสที่จะพัฒนาการค้ากับดินแดนตอนกลางและตะวันตกของเอเซีย จนได้เกิดเป็นเส้นทางสายไหมในเวลาต่อมา

119 BC ถูกส่งไปเป็นทูตเจริญสัมพันธไมตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้เขาถูกส่งไปยังอู่ซัน (烏孫, Wusun) ซึ่งเป็นชาวเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำไอลิ (Ili River) บริเวณตอนเหนือของแอ่งตาริม (Tarim Basin)  คณะทูตของเขาประกอบไปด้วยคณะ 300 คน และม้า 600 ตัว  พร้อมกับวัวและแกะนับหมื่นตัว พร้อมกับเงินและอัญมณีมีค่าอีกจำนวนมาก

นอกจากนี้เขายังได้แบ่งคณะบางส่วนให้เดินทางไปเยือนแบคเตรีย (Bactria, อัฟกานิสถาน) ซ๊อกเดียน่า (Sogdiana, เติร์กเมนิสถาน) และเฟอร์กาน่า (Fergana Valley, อุซเบกิสถาน) ด้วย ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปาร์เทีย (Parthia) และอินเดียในการเดินทางครั้งนี้เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นการได้เข้าไปใกล้กับดินแดนที่อิทธิพลมาถึง ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมัยของอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)  ทำให้จางเฉียนได้รับรู้ว่ามีดินแดนกรีกอยู่ทางตะวันตกไกลออกไป

ภาระกิจครั้ง ที่ 2 ของจางเฉียนประสบความสำเร็จ และกษัตริย์อู่ซันได้ส่งทูตกลับมายังฮั่นพร้อมเขาด้วย

หลังจากกลับมาจีนจางเฉียนได้แต่งตั้งเป็นอุปราช (大行)

113 BC จางเฉียเสียชีวิตในบ้านเกิดของเขา

Don`t copy text!