Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

William Shockley

วิลเลี่ยม ช๊อคเลย์ (William Bradford Shockley Jr.)

โนเบลฟิสิกส์ 1956 จากการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

ช๊อคเลย์ เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1910 ในลอนดอน อังกฤษ พ่อของเขาชื่อวิลเลี่ยม (William Hillman Shockley) เป้นวิศวกรเหมืองแร่จากแมสซานซูเซตต์ มีความสามารถในการพูดได้ถึงแปดภาษา แม่ชื่อแมรี่ (Mary Bradford) เธอจบจากสแตนฟอร์ดและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำรวจในกรมเหมืองแร่ของสหรัฐฯ 

วัยเด็กของช๊อคเลย์นั้นเขาเรียนหนังสืออยู่กับบ้านจนกระทั้งอายุแปดปี 

1913 ครอบครัวย้ายกลับมาอยู่ที่สหรัฐฯ โดยมาอาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย

เข้าเรียนที่สถาบันทหารปาโล อัลโต (Palo Alto Military Academy) โดยเรียนอยู่แค่ 2 ปีก่อนย้ายมาเรยนที่โรงเรียนฝึกโค๊ชลอสแองจลิส (the Los Angels Coaching School)  โดยเรียนทางด้านฟิสิกส์ ในช่วงสั้นๆ 

1927 จบมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมฮอลลิวู๊ด (Hollywood High School) หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่แคลเทค (Californis Institute of Technology) ทางด้านวิทยาศาสตร์

1932 จบปริญญาตรี

1933 สิงหาคม, แต่งงานกับจีน (Jean Bailey) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคนและลูกสาวหนึ่งคน 

1936 จบปริญญาเอกจากเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) โดยที่เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “Electronic Bands in Sodium Chloride”

หลังจากนั้นเขาได้เข้าทำงานที่เบลล์แล๊บ (Bell Labs) ในนิว เจอร์ซีย์ ซึ่งขณะนั้นกำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor)

1938 ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรชิ้นแรก “Electron Discharge Device” ซึ่งเป็นเครื่องเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอน (Electron multiplier)

1940 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 งานวิจัยของช๊อคเลย์ต้องสะดุดลง และเขาถูกส่งไปทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ซึ่งทีมนักวิจัยขุดของเขาที่นี่ ทำหน้าที่ค้นคว้าอุปกรณ์และวิธีการต่อสู้กับเรือดำน้ำให้กับกองทัพเรือ

1944 ช๊อคเลย์ร่วมในโปรแกรมการฝึกนักบินเครื่องบิน B-29 ในการใช้เรดาห์ชนิดใหม่ ทำให้ช๊อคเลย์ได้มีโอกาสเดินทางไปรอบโลก เพื่อประเมินประสิทธิผล

1945 กรกฏาคม, ช๊อคเลย์ได้ทำรายงานประเมินความน่าจะเป็นให้กับกองทัพสหรัฐฯ​ ในกรณีที่ว่าสหรัฐฯ ส่งทหารบุกญี่ปุ่น ซึ่ง รายงานของช๊อคเลย์ สรุปเอาไว้ว่า หากสหรัฐฯ บุกญี่ปุ่น สหรัฐฯ อาจจะต้องสังหารชาวญี่ปุ่นราว 5-10 ล้านคน และต้องเสียสละชีวิตทหารอเมริกันระหว่าง 4-8 แสนคน ซึ่งจะสูญเสียมากกว่าการรบกับนาซีเยอรมัน … ซึ่งรายงานของช๊อคเลย์นี้อาจจะมีอิทธิพลทำให้สหรัฐฯ เลือกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ต่อญี่ปุ่นแทนการบุก

หลังสงครามโลกยุติลง ช๊อคเลย์ได้กลับมาทำงานที่เบลล์แล็บอีกครั้ง โดนเขาทำวิจัยเพื่อหาวิธีสร้างเซมิคอนเตอร์สำหรบทำเป็นแอมป์ (amplifiers) เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า 

1947 ทรานซิสเตอร์ (transistor) ชิ้นแรกที่ใช้งานได้จริง เรียกว่าเป็นชนิด (Point-contact transistor) ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาจนสำเร็จโดยช๊อคเลย์, จอห์น บาร์ดีน (John Bardeen), วอล์เตอร์ แบร็ตเทน (Walter Brattain) นอกจากนั้นไม่นานก็สร้างทรานซิสเตอร์แบบ junction transistor ขึ้นมาด้วย 

1950 เขียน Electrons and Holes in Semiconductors

1951 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ NAS (National Academy of Sciences) 

1956 เขาย้ายมาอยู่ใน เมาน์เทน วิว , แคลิฟอร์เนีย และเปิดห้องวิจัยเซมิคอนดักเตอร์ (Schockely Semiconductor Laboratory) โดยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเบคแมน (Beckman Instruments) 

ได้รับรางวัลโนเบล ร่วมกับจอห์น บาร์ดีน, และวอล์เตอร์ แบร็ดเทน จากการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์

1958 เป็นอาจารย์เลคเชอร์ที่สแตนฟอร์ด (Stanford Unversity)

1963 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ไฟฟ้าของแตนฟอร์ด 

1975 เกษียณจากสแตนฟอร์ด โดยรับตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมาศักดิ์ ซึ่งในช่วงปั่นปลายของชีวิต เขามีความสนใจเกี่ยวกับชาติพันธ์​, สติปัญญา ของมนุษย์ จนหลายครั้งแสดงทัศนคติที่คล้ายกับการเหยียดชาติพันธ์ เช่น เขาเสนอให้มีการวัด IQs ของแต่ละคน และเสนอให้มีการจ่ายเงินให้กับคนที่ IQ ต่ำกว่า 100 เพื่อให้พวกเขาไปทำหมัน

1989 12 สิงหาคม, เสียชีวิต ในปาโล อัลโต้, แคลิฟอร์เนีย ด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

Don`t copy text!