Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Communist Party of Thailand

泰國共產黨 (The Communist Party of Thailand)

นักประวัติศาสตร์จีนมองการเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์ในไทยเป็นสามกลุ่ม ซึ่งแยกจากกัน คือ ทางเหนือ, ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ ซึ่งล้วนอยู่ตามแนวชายแดน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีความอยากจน อย่างทางภาคเหนือ เช่น ชาวเผ่าแม้ว , ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นกลุ่มของคนไทยเชื้อสายลาว และชาวเวียดนามอพยพ, ส่วนทางภาคใต้เป็นกลุ่มมุสลิมมาเลเซีย

The Rusk–Thanat communiqué of March 1962

1919 สหภาพโซเวียตก่อตั้งองค์การโคมินเทิร์น (Comintern) เพื่อกระจายแนวคิดการปฏิวัติโดยกรรมาชีพไปทั่วโลก 

1921 1 กรกฏาคม, ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Communist Party of China) โดยเฉิน ตู่ซิ่ว (Chen Duxiu)

1925 พรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้ (South Seas Communist Party, 南洋共產黨) หรือรู้จักกันในชื่อ พรรคคอมมิวนิสต์นันยาง (Nanyang Communist Party, 南洋共產黨) ถูกตั้งขึ้นมาเป็นสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ยุบสาขานันยางลง (คำว่า นันยาง (南洋) แปลว่า มหาสมุทรทางใต้ ซึ่งจีนใช้เรียกประเทศและพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

คนไทยจำนวนหนึ่งเข้าไปเป็นคณะกรรมการพิเศษ (the siam special committee) ในพรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้

1927 (Northern Expedition) เกิดการแตกแยกกันจนกลายเป็นสงครามระหว่างฝ่ายชาตินิยมนำโดยพรรคโก๊ะมินตั๋ง (Kuomintang) กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party, CCP)

ซึ่งในช่วง 1937-1945 ฝ่ายโก๊ะมินตั้งควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจีนเอาไว้ได้ ทำให้มีคอมมิวนิสต์เชื้อสายจีนหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก และการเคลื่อนไหวในไทยก็เพิ่มขึ้น

1929 กรกฏาคม, โฮ จิ มินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งเป็นตัวแทนของโคมินเทิร์น ได้เข้ามาได้ประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า Nguyen Ai Quoc เขาอยู่ในประเทศไทย 16 เดือน  พยายามรวมเอาองค์กรคอมมิวนิสต์ของชาวจีนและชาวเวียดนาม เข้าเป็นองค์กรเดียวภายใต้ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์สยาม (Communist Party of Siam) ซึ่งเป้าหมายของโฮ จิ มินห์ ตอนนั้นคือการล้มสถาบันกษัตริย์ของไทยโดยใช้ความรุ่นแรก โดยอาศัยพลังของเกษตรกรยากจนและกรรมชีพ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดพื้นฐานของ มาร์กซ์-เลนิน (Marxism-Leninsm) และเหมาอีสต์ (Moasit) ซึ่งโฮ จิ มินห์ ได้รายงานกลับไปที่โคมินเทิร์นว่าในตอนนั้น Thanh Nien ได้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกคอมมิวนิสต์ขึ้นมา 3 แห่งแล้ว และกำลังสร้างแห่งที่สี่

โฮ จิ มินห์ ขณะเดินทางไปในภาคอีสาน ซึ่งมีชาวเวียดนามอาศัยอยู่กว่า 20,000 คน โฮ จิ มินห์ ตอนนั้นปลอมตัวเป็นพ่อค้า และถูกเรียกว่าลุงชิน (Old Chin) หรือบางครั้งเขาก็โกนหัวและปลอมตัวเป็นพระ เพื่อหลบเลี่ยงไม่ให้สายลับฝรั่งเศสรู้ตัว

1930 พรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้ถูกยุบไป และมีการตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นมาแทน

3 กุมภาพันธ์, โฮ จิ มินห์ ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam)

เมษายน, โฮ จิ มินห์กลับเข้ามาในกรุงเทพ โดยตอนนี้เขาใช้ชื่อใหม่ว่า Sung Man Sho และแสดงตัวว่าเป็นพ่อค้าชาวจีน เขาเข้ามาในกรุงเทพเพื่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยามขึ้นมา โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้ง หลี หรือ โงจิ๊งก๊วก ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สยามคนแรก

พฤษภาคม, หลังก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม โฮ จิ มินห์ ได้เดินทางออกจากประเทศไทยไปยังมาเลเซียและสิงคโปว์ เพื่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่นั่นด้วย

1932 (2475) เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาใช้ระบบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยที่แกนนำคณะผู้ทำการปฏิวัติคนสำคัญเป็นผู้นิยมคอมมิวนิสต์ตามแบบฝรั่งเศส

ซึ่งอำนาจพระมหากษัติรย์ของไทยถูกจำกัด และอำนาจที่แท้จริงเป็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา

1933 มีนาคม, แฟรงคลิน รูสเวล์ต (Franklin D. Roosevelt) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ  

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (Phraya Monopakorn Nititada) นายกรัฐมนตรี เกิดความขัดแย้งกับปรีดีย์ พนมยงต์ (Pridi Panomyong) จึงได้ออก พรบ.ต่อต้านการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้ปรีดีย์หนีออกไปต่างประเทศ แต่ว่ากลับเข้ามาอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น

1941 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 

ธันวาคม, ญี่ปุ่นบุกเวียดนาม ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส 

8 ธันวาคม, ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก บุกประเทศไทย

1942 1 ธันวาคม, ถือว่าเป็นวันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (Communist Party of Thailand) อย่างเป็นทางการ โดยเป็นการเปลี่ยนชื่อพรรคตามการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย โดยมีสำนักงานใหญ่ลับๆ อยู่ที่ตึกไม้ในย่านสี่พระยา

1944 Bretton Woods, การประชุมที่เบรตตันวู๊ต, นิวแฮมเชียร์สหรัฐฯ มีการก่อตั้งองค์การการเงินระหว่างประเทศ และ IMF โดยนำระบบมาตรฐานทองคำมาใช้ เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมีอัตราคงที่ ซึ่งเบรตตันวู๊ด ทำงานได้ดีกับแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) ซึ่งสหรัฐฯ ให้เงินสนับสนุนในการบูรณะฟื้นฟูยุโรปและญี่ปุ่นในหลังสงครามโลก

1945 มีนาคม, หน่วยข่าวกรอง OSS ของสหรัฐอเมริกา ติดต่อกับโฮ จิ มินห์ โดยมีการพบกันระหว่าง ชาร์ล เฟนน์ (Charles Fenn) กับโฮ จิ มินห์ ในคุนหมิง โดยสหรัฐฯ ต้องการให้โฮ จิ มินห์ ช่วงเรื่องหาข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับญี่ปุ่น ในขณะที่แลกกับความช่วยเหลือด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สื่อสารให้กับฝ่ายของเวียดมินห์ (Viet Minh)

เมษายน, ทรูแมน (Harry S. Truman) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

1946 มีนาคม, ปรีดีย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากควง อภัยวงศ์ (Khuang Aphiwong) ลาออก โดยปรีดีย์ ให้การสนับสนุน โฮ จิ มินห์ ในการตั้ง สันนิบาตต่อต้านการล่าอาณานิคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (anti-imperialist Southeast Asia Leage)  เพื่อสนับสนุนเอกราชของเวียดนาม ทำให้สหรัฐฯ ไม่สนับสนุนปรีดีย์อีก เพราะสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส

9 มิถุนายน, ในหลวงอนันทมหิดล สวรรคต (Ananda Mahidol)

สิงหาคม, ปรีดีย์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  และถวัลย์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ (Thawan Thamrongnawasat)  ดำรงค์ตำแแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งในเดือนเดียวกัน

1947 8 พฤศจิกายน, ผิน ชุณหะวัณ (Phin Choonhavan) นำการปฏิวัต โค่นรัฐบาลถวัลย์

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นพรรคการเมืองถูกต้องตามกฏหมาย และลงเลือกตั้งได้รับเลือกเข้ามาสองที่นั่ง

10 พฤศจิกายน, ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายก เป็นครั้งที่ 3

19 ธันวาคม, เกิดสงครามอินโดจีน ครั้งที่ 1 (First Indochina war) ซึ่งเวียดนาม นำโดยฝ่ายเวียดมินห์ พยายามต่อสู้เพื่อเอกราชจากฝรั่งเศส

1948 8 เมษายน, ป.พิบูล ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังใช้กำลังทหารกดดันให้ควง อภัยวงศ์ลาออกดก และทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกลายเป็นพรรคนอกกฏหมายอีกครั้ง สมาชิกพรรคคอมมิสต์จึงได้กลับไปเคลื่อนไหวใต้ดิน ซึ่งจำนวนหนึ่งเข้าไปมีบทบาทในสถานศึกษา

พรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่งเจ้าหน้าที่ราว 3,000 คนเข้ามาปฏิบัติการณ์ในประเทศไทยอย่างลับๆ และยังมีชาวเวียดนาม 60,000 คน ในประเทศไทยที่ถูกชี้นำโดยเวียดมินห์ (Viet Minh)

แต่ว่าในประเทศไทยเอง ประชาชนส่วนใหญ๋ไม่ได้สนใจลัทธิคอมมิวนิสต์ จำนวนคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยที่เป็นคนไทยอาจจะน้อยกว่า 100 คน ซึ่งคนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน 

1949 กุมภาพันธ์, (กบฏวังหลัง) ปรีดีย์ พนงยงค์ เดินทางกลับเข้าไทยอย่างกลับๆ เพื่อพยายามทำรัฐประหาร โดยยึดพระบรมมหาราชวังและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เอาไว้ และประกาศยึดอำนาจ จากรัฐบบาลจอมพล ป. ในขณะนั้น แต่ว่าการกบฏของปรีดีย์ถูกปราบปรามได้อย่างรวดเร็ว โดย พล.เอก สฤษดิ์ ธนะรัช (Sarit Thanarat) นำกำลังเข้าขับไล่ และปรีดีย์หนีออดกจากประเทศไทย และหลังจากนั้นก็ไม่กลับมาอีก

1 ตุลาคม, ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

1950 เกิดสงครามเกาหลี (Korean War. 1950-1953) รัฐบาลจอมพล ป. ส่งทหารไทยไปรบร่วมกับกองกำลังสหประชาชาตินำโดยสหรัฐฯ ซึ่งรบกับเกาหลีเหนือ และจีน ขณะที่ในเมืองไทยปรีดีย์ก็มีนโยบายต่อต้านคนเชื้อสายีน สั่งให้มีการปิดโรงเรียนและสมาคมต่างๆ ของชาวจีนในเมืองไทย แต่ขณะเดียวกัน ปรีดีย์ ส่งลูกสองคนของสังข์ พัธโนทัย (Sang Phathanothai) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาคนสนิท ไปอยู่ในการดูแลของโจว เอินไหล (Zhou Enlai)  ซึ่ง สิริน พัธโนทัย (Sirin Phathanothai) ลูกสาวของสังข์ เป็นคนเขียน The Dragon’s Pearl ซึ่งเล่าชีวิตของเธอเอง ที่เธอโตขึ้นมาท่ามกลางเหล่าผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ช่างสงครามเกาหลี พรรค CPT ก็ใช้โอกาสในการตุนอาวุธจำนวนมากไว้ในชนบท เพื่อรอโอกาสในการปฏิวัติ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการตั้ง Thailand Peace Committee ขึ้นมาในลักษณะเดียวกับ SovietPeace Committee เพื่อรณรงค์ต่อต้านสงครามในกรุงเทพ เป็นการดิสเครดิตสหรัฐฯ 

1952 CPT ประกาศเจตนารมณ์ที่จะหยิบอาวุธขึ้นมาต่อสู้ แต่ว่าการก่อเหตุไม่ได้จริงจัง จนกระทั้งปี 1965 เมื่อสหรัฐฯ ใช้ไทยเป็นฐานในการบินไปทิ้งระเบิดในเวียดนาม ทำให้จีนให้การสนับสนุนอาวุธกับ CPT มาขึ้น

1953 โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) เสียชีวิต

1954 กรกฏาคม,​ การประชุมเจนีวา (Geneva Conference, 1954) ทำให้ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ได้รับเอกราช โดยโฮ จิ มินห์ เป็นประธานาธิบดี 

Operation Passage to Freedom, ซีไอเอ ของสหรัฐฯ เริ่มปกฺบัติการณ์แบ่งแยกเวียดนาม โดยรณงค์ให้ชาวเวียดนามที่หวาดกลัวคอมมิวนิสต์ ย้ายลงมาทางใต้  โดยใช้เส้นขนานที่ 17 แบ่งเวียดนามเป็นสองประเทศ

1955 กุมภาพันธ์, ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Oranization) ในกรุงเทพ เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ 

กันยายน, จอมพล ป. ก่อตั้งพรรคเสรีมนังคศิลา (Seri Managkhasili Party)

1 พฤศจิกายน, เกิดสงครามเวียดนาม (Vietnam war) ระหว่างเวียดนามเหนือ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน กับเวียดนามใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และฝ่ายสัมพันธมิตร

1957 21 ตุลาคม, จอมพลสลิต ธนรัตน์ (Sarit Thanarat) ตั้งพรรคชาติสังคมนิยม (National Socialist Party)

15 ธันวาคม, การเลือกตั้งทั่วไป พรรคเสรีมนังคศิลา ได้ที่นั่งเพียง 4 จาก 160 

1958 1 มกราคม, จอมพลถนอม กิตติขจร (Field Marshal Thanom Kittikachorn) เป็นนายกรัฐมนตรี 

20 ตุลาคม

1959 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เริ่มใช้กลยุทธ์การฝึกชาวเขาทางภาคเหนือให้ต่อต้านรัฐบาลไทน แต่ในขณะที่ในประเทศลาว ชาวเขาที่นั่นได้รับการฝึกโดยฝรั่งเศสและต่อมาเป็นสหรัฐฯ ให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่ต่อมาคอมมิวนิสต์ในลาวประสบความสำเร็จในการต่อต้านลัทธิอาณานิคมของฝรั่งเศสและอเมริกา พรรคคอมมิวนิสต์ไทยจึงได้ขอความช่วยเหลือจากทางลาว

ในขณะที่สื่อของรัฐบาลไทยก็โจมตีพวกคอมมิวนิสต์ในไทยว่าพยายามจะแยกภาคอีสานเพื่อไปรวมกับลาว

# นักวิเคราห์มองว่าเหตุที่ในประเทศไทยฝ่ายคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะระบบกษัตริย์และพุทธศาสนาที่ฝังรากลึก และการที่ไม่เคยเป็นสูญเสียเอกราชและเป็นเมืองขึ้นมาก่อน ทำให้อุดมคติและแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ไม่ได้รับการยอมรับ

# ในช่วงปี 1970s มีชาวเวียดนามและกัมพูชาจำนวนมาลี้ภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย คนเหล่านี้เอาความจริงเกี่ยวกับความโหดร้ายของคอมมิวนิสต์ที่นั่นมาเล่าสู่กันฟัง ทำให้ภาพลักษณ์ของคอมมิวนิสต์ดูไม่ดีไปอีกในสายตาคนไทยส่วนใหญ่

# คุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวมขณะนั้นเหนือกว่า ลาว, กัมพูชาและพม่ามาก เพราะความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ 

ในปีนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีน และพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ (Democratic Republic of Vietnam) ได้ให้การสนับสนุนคอมมิวนิสต์ไทย ในการฝึกการรบและยุทธโธปกรณ์ มีการตั้งค่ายฝึกขึ้นในเวียดนาม  ลาว และยูนาน 

1959 เกิดสงครามกลางเมืองในลาว (Laotian Civil War, 1959–1975) ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายรัฐบาล

1960 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยส่งตัวแทน เข้าร่วมการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์นานาชาติซึ่งจัดขี้นที่มอสโคว์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้สหภาพโซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์จีนแตกคอกัน  และครุชเชฟ (Nikita Khrusechev) ใช้นโยบายลบล้างสตาลิน (Khrushchev Thaw) เพราะความโหดร้ายของเขาต่อชาวรัสเซียสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่สตาลินเป็นฮีโร่ของเหมาและคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยก็มีจุดยืนสนับสนุนจีน

เวียดนามเหนือ ตั้งค่ายฝึกการรบให้กับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ในจังหวัดอหว่าบิญ (Hoa Biah)

1962 สถานีวิทยุ The Voice of the People of Thailand เริ่มออกกระจายเสียงเพื่อขายค่านิยมคอมมิวนิสต์และปลุกระดมต่อต้านรัฐบาลไทย โดยที่สถานีตั้งอยู่ในคุนหมิง, มณฑลยูนาน 

รัฐบาลไทยต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยการเข้าไปพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานที่มีผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์จำนวนมาก โดยมาตรการของรัฐบาลคือ การเข้าไปสร้างโรงเรียน, โรงพยาบาล, ตลาด , บ่อน้ำ และถนน

1960s ประเทศจีนเข้ามาให้การสนับสนุน CPT มีการส่งสมาชิกพรรค CPT ไปเรียนอุดมการณ์ที่ สถาบันมาร์กซิสต์-เลนิน (the Marxist-Leninst Insitute) ในกรุงปักกิ่ง และมีการออกอากาศสถานีวิทยุ เสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (Voice of the People of Thailand, VOPT) ซึ่งออกอากาศมาจากคุนหมิง

ช่วงปี 1961-1965 พรรค CPT ทำการก่อการร้ายประมาณ 17 ครั้ง ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน 

1964 ในการเฉลิมฉลองการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครบ 15 ปี ในกรุงปักกิง พรรค CPT ออกแถลงการณ์ประนามพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ว่าเป็น revisionist , social imperialist  และพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เลือกแนวคิดแบบ Maoist ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย กับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามก็เสื่อมลง เพราะพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

ในขณะเดียวกันในปักกิง คนไทยนิยมคอมมิวนิสต์ที่นั่น ก็ประกาศตั้ง Thailand Independence Movement ขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อขับไล่สหรัฐฯ ออกจากประเทศไทย และเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1965 1 มกราคม, พโยม จุลานนท์ (Phayon Chulanont) ประกาศตั้ง Thai Patriotic Front ซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในปีต่อมา รวมกับเข้า CPT 

เมื่อสหรัฐฯ เข้ามาใช้ไทยเป็นฐานปฏิบัติการณ์ในการสนุนเวียดนามใต้ โดยสหรัฐฯ ส่งทหารกว่า 40,000 นายเข้ามาประจำการณ์ในประเทศไทย

1 มกราคม, CPT ตั้ง the Patriotic Front of Thailand ตั้งขึ้นมา โดยพวกเขาเรียกร้องให้มีการถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากประเทศไทย

สิงหาคม, Voice of the People of Thailand กระจายเสียง ประกาศว่ายุคสมัยของการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ได้เริ่มต้นขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดการปะทะกันขึ้นที่ นครพนม (โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์มีสมาชิกราว 1200 คน)

จีนจึงเพิ่มความสนับสนุน CPT และเหตุความไม่สงบในประเทศไทยก็รุนแรงขึ้น โดยจีนมองว่าสหรัฐฯ จะใช้ไทยเป็นสปริงส์บอร์ดในการโจมตีจีน และจะใช้ไทยเป็นฐานอาวุธนิวเคลียร์ที่จะใช้โจมตีจีน

รัฐบาลไทยตั้ง กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค. Communist Suppression Operations Command, CSOC) โดย นายพล สายหยุด เกิดผล (Gen. Saiyud Kerdphol) เป็นผู้บังคับบัญชา แต่ว่าสายนกพิราบในกองทัพไม่ได้เห็นด้วยกับปฏิบัติการปราบปรามของ CSOC 

ในกรุงเทพ มีการตั้งตำรวจหน่วยพิเศษ (Special Branch) นำโดย พ.ต.อ. อารีย์ กะรีบุตร (Ari Kaributra) ซึ่งมีความพยายามเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มนักโทษคอมมิวนิสต์ที่ถูกจับไว้ที่เรือนจำลาดยาว ซึ่งหนึ่งในคือ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร์ (Prasert Sapsunthorn) ที่เคยเป็นอดีต ส.ส.และเป็นกรรมธิการกลางพรรค CPT

ประเสริฐ หันมาช่วยตำรวจในการต่อสู้กับพรรค CPT ทำให้ทางการไทยสามารถจับตัวสมาชิกพรรค CPT ได้หลายคน แต่ว่าการใช้ตำรวจนำในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ใช้เวลานานหลายปีและเป็นไปอย่างเชื่องช้า

ช่วงปลายปี 1960s ถึงต้น 1970s กองทัพไทยหันมาใช้โมเดลของสหรัฐฯ ซึ่งรบกับคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ช่วงเวลานี้พรรค CPT ก็ยังมีขนาดเล็ก สมาชิกสูงสุดไม่น่าจะเกิน 2500 คน และไม่ค่อยจะมีเอกสารอะไรเป็นทางการ หลักฐานที่เก็บได้ตอนจับกุมจึงจะเป็นพวกใบปลิว โมษณาชวนเชื่อ 

จิตร ภูมิศักดิ์ (Chit Phumisak) เป็นตัวละครของฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่มีบทบาทในช่วงนี้ เขาเป็นนักเขียน, นักปรัชญาและประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกยกย่องในจากคอมมิวนิสต์ในไทยว่าเป็น “เช แห่งประเทศไทย/ Thai Che”  จิต เกิดในวันที่ 25 กันยายน 1930 ในปราจีนบุรี ครอบครัวมีฐานะยากจน จิตจบจากเตรียมอุดม และคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์  และเข้าทำงานที่สถานทูตสหรัฐฯ ในปี 1953 จิต ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของวิลเลี่ยม กิดนีย์ (william Gidney) ในการแปล the Communist Manifesto มาเป็นภาษาไทย จิตรมีผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือ โฉมหน้าศักดินาไทย (Face of Thai Feudalism) ในปี 1957 ซึ่งหนังสือของเขาทำให้เขาถูกจับและขังคุกนานหกปี ก่อนที่ศาลจะปล่อยตัวเขาออกมาหลังตัดสินว่าไม่มีความผิด 
1965 จิต เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และไปอาศัยอยู่ในป่าที่ภูพาน ในสกลนคร โดยใช้ชื่อจัดตั้งสหายปรีชา
1966 5 พฤษภาคม , จิต ถูกยิงเสียชีวิต  ใกล้กับหมู่บ้านหนองกุ้ง และร่างของเขาถูกเผา
1989 เถ้าอัษฐิของจิตถูกนำกลับมาประกอบพิธีและเก็บไว้ที่ในเจดีย์วัดประสิทธิแสงวัน

โครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี 1970s ประกอบไปด้วย โพลิตบุโร 7 คน,  คณะกรรมการกลางพรรค 25 คน และมีคณะกรรมการประจำภูมิภาคและจังหวัด โดยที่ผู้นำพรรคนั้นไม่ชัดเจน แต่ว่าในปี 1977 พันโท พโยม จุลานนท์ (Phaiom Chulanont / สหายตู้คำตัน) เป็นหนึ่งในคณะกรรมกลางกลางพรรค CPT และเป็นผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยประชาชนไทย 

พ.ท. พโยม เป็นหนึ่งในพันธมิตรของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วงการทำรัฐประหารปี 1947 (2490)  ล้มรัฐบาลของถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (Thawan Thamrongnawasawat) แต่ต่อมาเกิดความขัดแย้งกันเอง  พ.ท. พโยม จึงได้หนีไปยังจีน และกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในปี 2500 และเคลื่อนไหวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่ไปเสียชีวิตในปักกิ่งในปี 2523 

1966 19 มกราคม, Thai Patriotic Front ออกแถสงการณ์เรียกร้องให้มีการทำสงครามประชาชน (people’s war) ซึ่งต่อมาในเดือนเมษายน มีเหตุการณ์ทหารไทย 16 คน ถูกยิงเสียขีวิต และมีเหตุการ์ณยิงประชาชนตายเกือบร้อยศพท่เชียงราย

1967 กองกำลังที่ 49 ของฝ่ายโก๊ะมินตั๋ง ซึ่งแพ้สงครามกับคอมมิวนิสต์ในจีนได้เข้ามาอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำและทำการค้าฝิ่น แต่ส่วนหนึ่งพวกเขามีส่วนช่วยในการปราบปรามคอมมิวนิต์ในพื้นที่

1969 พรรคคอมมิวนิสต์ไทยก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนไทย (the People’s Liberation Army of Thailand (PLAT) และจับอาวุธขึ้นทำสงครามกองโจรรบกับรัฐบาลไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์โฆษณาชวนเชื่อว่าต้องการปลดปล่อยประเทศไทยจากการตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯ 

ในขณะที่ภาคใต้ของไทยก็มีการรบกับคอมมิวนิสต์เหมือนกัน แต่คอมมิวนิสต์ในภาคใต้จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (the Communist Party of Malaya)

2 กันยายน, โฮ จิ มินห์ เสียชีวิต

ข่วงปี 1970s จึงเป็นช่วงที่พีคที่สุดของการเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยที่จีนและเวียดนามให้การสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในไทย

1971 ลูกเสือชาวบ้าน (The Village Scounts Movement) ก่อตั้งขึ้นมา ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งติดอาวุธ คอยช่วยตำรวจตระเวณชายแดน 

13 สิงหาคม, (Nixon Shock) ประธานาธิบดีริชาร์ด นิสัน (Richard Nixon) ประกาศลอยตัวค่าเงินดอลล่าห์ ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำและเบร็ตตันวู๊ดไปโดยปริยาย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลจากสงครามเวียดนาม

1973 ผิน(ชุนวัตร) ใช้นามปากกา Amnat Yuthawiwat เขียนหนังสือโจมตี CPT ทำให้ CPT ตอบโต้กลับด้วยบทความและใบปลิว

นักศึกษาหัวเอียงซ้าย บางส่วนอินกับบทความของ CPT และมีการจัดกิจกรรมประท้วง ไปเรื่อย ไม่ว่าประเด็นอะไรก็หยิบเอามาประท้วง จนทำให้สังคมเบื่อหน่าย

รัฐบาลเริ่มมองนักศึกษาเหล่านี้ว่าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ CPT , เศรษฐีเมืองไทยหลายคนเริ่มออกนอกประเทศ เพราะกลัวว่าคอมมิวนิสต์จะชนะ 

ตุลาคม,​ช่วงต้นเดือน รัฐบาลมีการจับกลุ่มตัวนักศึกษา 13 คนที่เป็นสมาชิกของศูนย์กลางนักศึกษาแห่งประเทศไทย (the National Student Center of Thailand, NSCT) ในข้อหาแจกใบปลิว ที่มีแนวคิดคอมมิวนิต์ แต่รัฐบาลขณะนั้นความนิยมตกตำ่ เพราะปัญหาสงครามเวียดนาม ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ และแรงงานพากันประท้วงกันเนืองๆ  ซึ่งไม่นานหลังจากนักศึกษาถูกจับตัว นักศึกษาก็พากันออกมาประท้วงครั้งใหญ่ 

13 ตุลาคม, นักศึกษา 13 คนได้รับการปล่อยตัว แต่ว่านักศึกษาที่ประท้วงอยู่ไม่ยอมกลับ และส่วนหนึ่งเข้าค้างอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วงกลางคืน

14 ตุลาคม , เกิดโศกนาฏกรรมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อตำรวจใช้กำลังเข้าปราบปรามนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งหนึ่งเจ้าหน้านั้น มีณรงค์ กิตติขจร (Narong Kittikachorn) เชื่อว่าเป็นผู้ที่อยู่ในเฮลิคอปเตอร์และยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาด้านล่าง เหตุการณ์ในวันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 70คน และบาดเจ็บกว่า 800 คน แต่ตัวเลขที่ชัดเจนไม่มี

ประภาศ และณรงค์ หนีออกจากประเทศไทยไปยังไต้หวัน

ถนอม เดินทางไปสหรัฐฯ 

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ทำให้นักศึกษากว่าพันคนซึ่งมีหัวเอียงซ้ายอยู่แล้ว ไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยที่พวกเขามีฐานในการฝึกอาวุธอยู่ในลาว การไหลบ่าของนักศึกษาคนไทยเข้าไปใน CPT ทำให้โครงสร้างของพรรค CPT เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่สมาชิกพรรคส่วนใหญ่เป็นคนจีนก็กลายมาเป็นคนไทยเป็นเสียงข้างมาก 

1974 พล.เอก เปรม ตั้ง the Operational Command of Internal Security ขึ้นมา และเริ่มใช้นโยบายรัฐศาสตร์นำการทหารในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

1975 สหรัฐฯ ออกจากภูมิภาค ทำให้ไทยโดดเดี่ยว 

กลุ่มกระทิงแดง(Red Gaurs) ตั้งขึ้นมา 

มีนาคม, คึกฤทธิ์ ปราโมท์ (Kukrit Pramoj) ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

มิถุนาย, คึกฤทธิ์ เดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการ และประเทศไทยได้เปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก 

1976 มกราคม,คึกฤทธิ์ หลุดจากตำแหน่ง หลังจากมติในสภาไม่ไว้วางใจ

14 เมษายน, การเลือกตั้งครั้งใหม่ เป็นไปอย่างวุ่นวาย กลุ่มกระทิงแดงปะทะกับนักศึกษาในหลายจุด และมีการใช้ระเบิดปาเข้าใส่ฝูงชน  มีคนเสียชีวิตหลายคน ทั้งนักกิจกรรม แรงงาน 

ประพาท เดินทางกลับประเทศไทย แต่อยู่เพียงสี่วัน ก็กลับออกไปอีก 

19 กันยายน, ถนอม เดินทางกลับเข้ามา โดยบวชเป็นพระ แต่ว่านักศึกษาจัดการประท้วงใหญ่

25 กันยายน, ที่นครปฐมฯ นักศึกษา 2  คนถูกแขวนคอเสียชีวิต

5 ตุลาคม, นักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ แสดงละครเลียนแบบเหตุการณ์ที่นครปฐม 

วิทยุและหนังสือพิมพ์ตีข่าวว่านักศึกษาหมิ่นฯ โดยที่ใบหน้าของคนถูกแขวนคอคล้ายมงกุฏราชกุมาร

  กลุ่มลูกเสือชาวบ้านหลายพันคนจึงรวมตัวกันรอบธรรมศาสตร์ในเวลาค่ำหลังจากได้ฟังข่าว 

6 ตุลาคม,​ ในตอนเช้าก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ซึ่งทางการแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิต 46 คน และนักศึกษาจำนวนมากถูกจับ

ในตอนบ่าย กองทัพทำการปฏิวัติ และประกาศกฏอัยการศึก

นักศึกษาจำนวนหนึ่งหนีออกไปต่างจังหวัดและไปเข้าร่วมกับ CPT โดยที่สมาชิกของ CPT ในกรุงเทพฯ ทำงานอย่างหนักตลอดสัปดาห์เพื่อช่วยนักศึกษาหลบหนีไปอยู่ในป่า

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม ทำให้สมาชิกของ CPT เพิ่มขึ้นอย่างมา นักศึกษาหัวกะรทิ ผู้นำแรงงาน ครู และนักการเมืองราว 3,000 คน เข้าร่วมกลุ่มกับพวกเขา จำนวนสมาชิกของ CPT จึงเกิน 10,000 คนเป็นครั้งแรก และสามารถที่จะท้าท้ายกองทัพได้

นักศึกษาถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 9-60 คน และกระจายตัวออกไปยังหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งราว 250 หมู่บ้านตกอยู่ใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ 

1978 ความสัมพันธ์ที่เสื่อมทรามระหว่างสหภาพโซเวียตและจีน นำไปสู่สงครามระหว่างเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก เพราะพึ่งพาความช่วยเหลือจากทั้งจีน กัมพูชาและเวียดนามมาตลอด 

ธันวาคม, เวียดนามบุกกัมพูชาของพอลพต (Polpot) และเขมรแดง ซึ่งทั้งเวียดนามและเขมรแดงที่เคยให้การสนับสนุนทั้งอาวุธและการฝึกซ้อมแก่พรรค CPT ก็หยุดลงไป ทำให้ CPT อยู่ในสถานการณ์ลำบาก ขณะที่ในลาวซึ่งเป็นฐานที่มั่นของ CPT รัฐบาลลาวเองก็ให้การสนับสนุนฝ่ายเวียดนาม แต่พรรค CPT ซึ่งขึ้นกับนโยบายของจีนมากที่สุดนั้น ต้องเข้าข้างเขมรแดงตามจีน ทำให้รัฐบาลลาวขับไล่ CPT ออกจากประเทศ

1979 22 ตุลาคม, บุญเย็น วอทอง ( Bunyen Worthong) กับนักศึกษาจำนวนหนึ่งก็แตกกับพรรค CPT ได้ตั้งพรรคใหม่ชื่อ พรรคปลดปล่อยประชาชนไทยอีสาน (the Thai Isan Liberation Party) ขึ้นในลาว โดยพรรคของเธอมีจุดยืนให้การสนับสนุนลาวกับเวียดนาม

ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของไทยและจีนทำให้จีนลดการสนับสนุน CPT ลง

ชวลิต สร้าง หน่วยทหารพราน เพื่อทำสงครามกองโจรรบกับ CPT

11 กรกฏาคม, จีนปิดสถานีวิทยุ The Voice Of the People of Thailand ในยูนาน

1980 CPT ซึ่งไม่ได้รับการสนับจากจีนก็เริ่มจะเกิดความขัดแย้งภายใน และฝ่ายสังคมนิยม (The Socialist Party of Thailand) ถูกขับออกจากพรรค ในข้อหาทำงานให้กับต่างชาติ

สิงหาคม, พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (Prem Tinsulanonda) เป็นและใช้นโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้นต่อคอมมิวนิสต์ ที่เรียกว่า Prem’s tenure โดย พล.อ. เปรม มีทีมที่มีบทบาท สำคัญในการดำเนินนโยบายจนถูกเรียก The 4Ps & 1 C ประกอบด้วย ประจวบ สุนทรางคุร (Prachaup Suntharongkun), ปิยะ จักกะพาก (Piya Chakkaphak) เผา สารสิน (Phao Sarasin) ชวลิต ยงใจยุทธ (Chavalit Yongchaiyudh)

รัฐบาล พล.อ. เปรม ออกคำสั่ง 66/33 ( พศ. 2533, 1980) นิรโทษกรรมให้กับสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์  ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ไทยลดลงอย่างรวดเร็ว จากราว 12,000 คน เหลือ 2,000 คน

1981 เขาค้อ(Khao Kho) ซึ่งเป็นฐานหนึ่งของคอมมิวนิสต์ตั้งอยุ่บริเวณรอยต่อพิษณุโลกกับเพชรบูรณ์ถูกยึดและทำลาย

Damri Ruangsutham หนึ่งในโพลิตบุโรของพรรคก็ถูกจับ สุรชัย แซ่ด่าน (Surachai Sae Dan) ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวอยู่ในภาคใต้ก็ถูกจับ

1991 สหภาพโซเวียตล่มสลาย และสงครามเย็นสิ้นสุด พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ลดบทบาทไป 

รายชื่อเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์

1930 โงวจิ๋งก็วง , เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สยาม 1930-

หลี่ฮวา

1942 พิชิต ณ. สุโขทัย (Phichit Na Sukhothai) หรือ จูโซ่วลิ้ม (Chusowlim) หรือ พายัพ อังคะสิงห์ (Phayap Angkhasingh)

1952 ประสงค์ วงศ์วิวัฒน์ (Prasong wongwina, 2461-2555) หรือ ทรง นพคุณ (Song Nophakhun) , สหายบา 2495-2504

1961 มิตร สมานันท์ (Mitr Samanant) หรือ เจริญ วรรณงาม (Charoen wannangam) , 2504-2525

1982 ประชา ธัญญไพบูลย์ (Pracha Thanyaphaiboon) หรือ ธง แจ่มศรี (Thong Chermsri) , สหายประชา 2525-2553

Don`t copy text!