Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

William Adams

วิลเลี่ยม อดัม (William Adams) 

ชาวญี่ปุ่นรู้จักเขาในชื่อ ซามูไรมิอุระ อันจิน (Miura Anjin) 

อดัม เกิดวันที่ 24 กันยายน 1564 ในเคนต์, อังกฤษ (Gillingham, Kent, England) 

1576 พ่อของอดัมเสียชีวิตตอนที่เขาอายุ 12 ปี หลังจากพ่อเขาเสียชีวิตอดัมได้มาอาศัยอยู่กับเจ้าของกิจการต่อเรือชื่อ นิโคลัส ดิกกิ้นส์ (Nicholas Diggins) ในเมืองไลม์เฮาส์ (Limehouse) ซึ่งระหว่างที่ทำงานที่อู่ต่อเรือนี้ เขาก็ได้เรียนวิชาการต่อเรือ, การเดินเรือและดาราศาสตร์ไปด้วย

1588 ในช่วงของสงครามระหว่างอังกฤษและสเปน (Anglo-Spanish war, 1585-1604) จากความขัดแย้างด้านศาสนา ช่วงเวลานี้อดัมจึงได้เข้าเป็นทหารในกองทัพเรือของอังกฤษ ภายใต้การบังคับบัญชาของเซอร์ ฟรานซิส เดร็ก (Sir Franicis Drake) ซึ่งอดัมมีหน้าที่ในการคุมเรือ Richarde Dyffylde ซึ่งเป็นเรือลำเลียงสนับสนุน

1589 20 สิงหาคม, แต่งานกับแมรี่ (Mary Hym) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสองคนในเวลาต่อมา ลูกชายชื่อจอห์น (John) และลูกสาวชื่อเดลิเวแรนซ์ (Deliverance) 

1604 หลังสงคราม อดัมได้เข้าทำงานกับบริษัทบาร์บารี่ (Barbary Company) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าที่ได้รับสัมปทานการเดินเรือระหว่างอังกฤษกับโมร็อคโค

1598 อดัมได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้นำทางของกองเรือสินค้าของดัตซ์ (เนเธอแลนด์) ของบริษัท Voorcompagnie ซึ่งกองเรือนี้ประกอบไปด้วยเรือทั้งหมด 5 ลำ ประกอบด้วย the Hoope (“Hope”), the Liefe (“Love”), the Geloof (“Faith”), the Trouw (‘Loyalty”), the Blijde Boodschap (“The Gospel”) โดยที่อดัมโดยสารอยู่บนเรือ the Liefde , กองเรือนี้ประกอบไปด้วยทหารและลูกเรือรวมกัน 750 คน 

กองเรือของบริษัท Voorcompagnie นี้มีเป้าหมาย ที่จะไปยังหมุ่เกาะอีสต์อินเดีย (East Indies) ซึ่งคือประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน โดยใช้เส้นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านช่องแคบมาเจลแลน (Strait of Magellan) ในอเมริกาใต้ เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก 

27 มิถุนายน, เรือเริ่มออกเดินทางจากเตเซล (Isle of Texel) เนเธอร์แลนด์ 

1599 มีนาคม, เดินทางมาถึงเมืองริโอ เด ลา พลาต้า (Rio de la Plata) ในอาร์เจนติน่า 

3 กันยายน, เรือเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกได้สำเร็จ แต่สภาพอากาศเลวร้ายมาก ทำให้เรือ The Trouw และ The Geloof ต้องเดินทางกลับ

1600 เมษายน, เรือ the Liefde ซึ่งอดัมโดยสารอยู่ได้มาถึงเกาะคิวชูในญี่ปุ่น โดยที่มีลูกเรือเหลืออยู่เพียง 23 คน จาก 100 คนตอนเริ่มออกเดินทาง  

เมื่อลูกเรือของ the Liefde ขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น พวกเขาถูกนักบวชเยซูอิต (Jesuit) ชาวโปตุเกส กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นโจรสลัด และนักบวชคนนั้นได้บอกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้จับตัวพวกเขาเอาไว้เพื่อลงโทษ 

ลูกเรือทั้งหมดของ the Liefde รวมทั้งอดัมจึงได้ถูกนำไปขังเอาไว้ที่ปราสาทโอซาก้า (Osaka Castle) ตามคำสั่งของโตกุกาวะ อิเอยะสุ (Tokugawa Ieyasu) ซึ่งขณะนั้นยังมีตำแหน่งเป็นไดเมียวแห่งเอโดะ (daimyo of Edo) 

กรกฏาคม, เรือ The Geloof กลับมาถึงเนเธอร์แลนด์โดยที่มีลูกเรือเหลืออยู่เพียง 36 คน จาก 109 คนในตอนเริ่มเดินทาง

1601 มกราคม, เรือ The Trouw เป็นเรือลำเดียวที่เดินทางมาถึงอินโดนิเซีย แต่ลูกเรือต้องเสียชีวิตจากการถูกฆ่าโดยชาวโปตุเกสระหว่างที่แวะที่เกาะติดอร์ (Tidore) เกาะทางตะวันออกของอินโดนีเซีย

1604 อดัมได้รับคำสั่งจากโตกุกาวะ อิเอยะสุ ให้ช่วยมุไก โชเก้น (Mukai Shogen) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือของเมืองอุรากะ (Uraga) ในการสร้างกองทัพเรือของญี่ปุ่นตามแบบฉบับของตะวันตก

ซึ่งอดัมได้รับคำสั่งให้สร้างเรือขนาด 120 ตันขึ้นมา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเรือ The Liefde ที่มีขนาด 150 ตันเล็กน้อย โดยการต่อเรือเริ่มขึ้นบริเวณอ่าวในเมืองอิโต (Ito) 

ลูกเรือส่วนใหญ่ของเรือ The Liefda ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากญี่ปุ่นได้ในปีนี้ ยกเว้นอดัมที่ได้รับอนุญาตในปี1613

1607 เรือขนาด 120 ตันถูกต่อจนสำเร็จ ภายหลังเรือลำนี้ในปี 1610 ถูกตั้งชื่อว่า San Buena Ventura เมื่อโตกุกาว่า อิเอยะสุ ให้ชาวเสปนเช่าเรือลำนี้เพื่อเดินทางกลับประเทศ หลังจากเรือของพวกเขาล่ม ซึ่งเรือ San Buena Ventura ได้นำคณะทูตชาวญี่ปุ่นนำโดยทานาะ โชสุเกะ (Tanaka Shosuke) ไปยังสเปนด้วย

1609 อดัมเป็นตัวแทนของโตกุกาวะ อิเอยะสุ ทำหนังสือติดต่อกับรอดริโก้ อะเบอร์รุเซีย (Rodrigo de Virero y Aberrucia) ซึ่งเป็นผู้ว่าการชั่วคราวของฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนั้นฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของนิวสเปน (New Spain) เพื่อติดต่อการค้าระหว่างกัน

โชกุน โตกุกาวะ อิเอยะสุ ได้ออกกฤษฏีกา ให้อดัมเป็นผู้เสียชีวิต หลังจากนั้นก็ได้ประทานนามใหม่ให้เขา ว่ามิอุระ อันจิน (三浦按針, Miura Anjin) และประทานยศซามูไรชั้นฮาตาโมโตะ (hatamoto) พร้อมกับดาบซามูไร 2 เล่ม ให้กับอดัม การกระทำเช่นนี้ เพื่อให้เขาสามารถทำงานรับใช้ในราชสำนักของโชกุนได้ง่ายขึ้น และสิ้นสุดการแต่งงานตามกฏหมายกับแมรี่ด้วย

อดัมได้รับประทานบ้านหลังหนึ่งบริเวณหาดอุรากะ (Uraga harbour) ในอ่าวเอโดะ (Edo bay) มูลค่า 250 โกกุ (koku) 

แต่งงานกับโอยุกิ (お雪, Oyuki) ซึ่งพวกเขามีลูกชายด้วยกันชื่อโจเซฟ (Joseph) และลูกสาวชื่อซูซานน่า (Susanna) 

กันยายน, บริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย (the Duthc East India Company) ได้เข้ามาเปิดโกดังการค้าในเมืองฮิราโดะ (Hirado) เพื่อทำการค้ากับญี่ปุ่น 

1613 อดัมได้รับอนุญาตจากโชกุนให้เดินทางกลับประเทศได้ แต่ว่าเขาไม่ได้เดินทางกลับ

24 พฤศจิกายน, เขาได้งานใหม่ที่โรงงานการค้าที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในฮิราโดะ  ซึ่งเป็นของบริษัทอีสต์อินเดีย (the East India Company) ของอังกฤษ ภายใต้การควบคุมของริชาร์ด  ค๊อคส์ (Richard Cocks) 

1614 อดัมเดินทางมาทำการค้ากับอยุธยา ในนามของบริษัทอีสต์อินเดีย โดยเขาใช้เรือสำเภาแบบญี่ปุ่นขนาด 200 ตันเป็นพาหนะ ซึ่งเขาตั้งชื่อเรือลำนี้ว่า the Sea Adventure โดยมีลูกเรือ 120 ทั้งชาวญี่ปุ่น, จีน, อิตาลี, เสปน และอังกฤษ  แต่ว่าการเดินทางครั้งนี้ล้มเหลวเพราะเรือของพวกเขาเจอกับพายุไต้ฝุ่นบริเวณเกาะริวกิว (Ryukyu Islands) จนเรือเสียหาย และต้องเดินทางกลัล

1615 เดินทางออกจากญี่ปุ่นเพื่อมาอยุธยาอีกครั้งหนึ่งด้วยเรือ the Sea Adventure ลำเดิม โดยบรรทุกเงินมาจำนวนมากเพื่อมาซื้อสินค้าจากอยุธยา โดยสินค้าที่พวกเขาต้องการจากอยุธยาคือ ผ้าไหม, ไม้ฝาง, หนังกวาง, หนังปลากระเบน ช่วงเวลานั้นอยุธยาเป็นรัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม (King Songtham)

1616 5 มิถุนายน, เดินทางกลับญี่ปุ่น ซึ่งในการทำการค้าครั้งนี้ ในขากลับอดัมได้ซื้อเรือสำเภาในอยุธยาเพื่อขนสินค้ากลับไปญี่ปุ่นเพิ่มอีกสองลำ โดยเฉพาะเรือ Sea Adventure ก็บรรทุกไม้ฝางกลับไป 143 ตัน หนังกวาง 3,700 ผืน ส่วนเรือทีซื่อมาลำแรก บรรทุกไม้ฝางได้ 44 ตัน ลำที่สองบรรทุกหนังกวาง 4,560 ผืน 

22 กรกฏาคม, เดินทางกลับถึงญี่ปุ่น

1617 เดินทางจากญี่ปุ่นมาทำการค้ากับโคชินไชน่า (Cochinchina) ซึ่งอยู่ในเวียดนามปัจจุบัน

1618 มีนาคม, ตั้งใจเดินทางมาโคชินไชน่าอีกรอบ เพื่อการค้า แต่เรือเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้ายใกล้เกาะริวกิว จนต้องเดินทางกลับ

1620 16 พฤษภาคม, อดัมเสียชีวิตในฮิราโดะ (Hirado, Nagasaki) ขณะมีอายุ 55 ปี

Don`t copy text!