Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Category: China

  • Taiping Rebellions

    กบฏไทปิง (Taiping Rebellion) เป็นสงครามประชาชน ระหว่างชาวจีนแมนจู (Manchu) ซึ่งเป็นฝ่ายราชวงชิง (Qing dynasty) กับฝ่ายชาวจีนฮักกา (Hakka) หรือจีนแคะ ที่สนับสนุนหง ซิ่วฉวน (洪秀全, Hong Xiuquan) ซึ่งอ้างตัวเองเป็นน้องชายของพระเยซูคริสต์ และได้สถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรสวรรค์ไทปิง (Taiping Heavenly Kingdom) ก่อนเกิดเหตุการณ์กบฏไทปิง ในปี 1850 สภาพสังคมของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง เผชิญกับวิกฤตหลายเรื่อง จากการที่เพิ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ครั้งที่ 1 (First Opium war, 1839-1840) ทำให้อำนาจการควบคุมทางเศรษฐกิจหลายอย่างตกไปอยู่ในมือต่างชาติ การขาดดุลการค้ามหาศาล จากการที่ประชาชนติดฝิ่น และประเทศเผชิญกับวิกฤตภัยแล้งหลายครั้ง ทำให้ประชาชนอดอยาก แต่ต้องถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูง และปัญหาการคอร์รัปชั่น  สังคมโดยเฉพาะชาวจีนทางใต้ของประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น (ฮักกา เป็นกลุ่มย่อยของชาวฮั่น) เกิดความรู้สึกที่ต่อต้านชาวจีนแมนจู และส่วนหนึ่งก็เกิดจากการปลุกปั่นของมิสชันนารีต่างชาติ 1837 หง ซิ่วเฉียน (Hong Xiuquan) ชาวจีนฮักกาที่มีฐานะยากจนจากมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong) สอบตกในการทดสอบเข้ารับราชการ (imperial…

  • Hong Xiuquan

    หง ซิ่วเฉียน (洪秀全, Hong Xiuquan) ผู้นำการก่อกบฏไท่ผิง (Taiping rebellion) ผู้สถาปณาอาณาจักรสวรรค์ (Heavenly Kingdom) หงซิ่วฉวน เกิดวันที่ 1 มกราคม 1814 ในกว้างตุ้ง, ชิง-จีน (Guangdong, Qing China) เขามีชื่อจริงเมื่อตอนเกิดว่า หงฮั่วเสี่ยว (洪火秀, Hon Huaxiu) ครอบครัวของเขานั้นเป็นชาวเผ่าจีนฮักกา (Hakka ~ จีนแคะ)  หงซิ่วฉวนเป็นลูกคนที่สามในครอบครัว พ่อของเขาชื่อ หง จิงหยาง (洪鏡揚, Hong Jingyang) เป็นเกษตรกรและเป็นหัวหน้าเผ่า ในขณะที่แม่ของเขาถูกเรียกว่ามาดามหวัง (Madam Wang)  หงซิ่วฉวนมีพี่ชาย ชื่อ หง เหรียนฟา (洪仁發, Hong Renfa) และพี่รองชื่อ หง เหรียนต๋า (洪仁達, Hong Renda) ไม่นานหลังจากหงซิ่วฉวน…

  • Zheng Yi Sao

    เจิ้ง ยี่ เซา (鄭一嫂, Zheng Yi Sao) โจรสลัด เจิ้งยี่เซา มีชื่อจริงเมื่อตอนเกิดว่า ชี หยาง (Shi Yang) เธอเกิดในปี 1775 ในเมืองซินฮุย (Xinhui) มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเธอเป็นต้าเจีย (疍家, Tanka) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมอาศัยอยู่ในเรือ และบางข้อมูลก็บอกว่าเธอมีอาชีพเป็นหญิงค้าประเวณี 1802 กุมภาพันธ์, เจิ้งยี่เซาแต่งงานกับโจรสลัดที่มีชื่อว่า เจิ้ง ยี่ (鄭一, Zheng Yi)  คำว่า เจิ้งยี่เซา ( Zheng Yi Sao) นั้นไม่ใช่ชื่อจริง แต่แปลว่า “ภรรยาของเจิ้งยี่” จึงถูกเรียกขานเป็นชื่อที่คนรู้จักเธอ ต่อมาพวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน คือ เจิ้ง ยิ่งชี (Zheng Yingshi, b.1803) และ เจิ้ง  เชียงชี (Zheng Xiongshi, b.1807)…

  • Zhou Enlai

    โจว เอินไหล (周恩来, Zhou Enlai) โจวเอินไหล เกิดวันที่ 5 มีนาคม 1898 ในฮุยอัน, เจียงสู (Huai’an, Jiangsu) พ่อของเขาชื่อโจว ยีเหน่ง (Zhou Yineng) ส่วนแม่นั้นแช่ว่าน (Wan)  สมาชิกของครอบครัวหลายรุ่นล้วนประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ บรรพบุรุษเดิมอยู่ในเมืองเชาซิง, มณฑลเจ๋อเจียง (Shaoxing, Zhejiang) ก่อนที่ในรุ่นของปู่ ที่ชื่อโจว พานหลง (Zhou Panlong) และพี่ชายของปู้ชื่อ โจว จันอาง (Zhou Jun’ang) จะพาย้ายมาอยู่ในฮุยอัน  โจวยีเหน่ง นั้นเป็นลูกคนที่สองของโจวพานหลง ตอนโจวเอินไหล เกิดในครอบครัวมีฐานะที่ยากจน เพราะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำภายในประเทศจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พ่อของเขาต้องออกไปหางานทำในต่างจังหวัด และยังไม่ค่อยจะมีเงินส่งกลับมาให้ที่บ้าน ไม่นานหลังจากเกิดโจวเอินไหล ได้ถูกนำไปเลี้ยงโดยอาของเขา ที่ชื่อโจว ยี่แกน (Zhou Yigan) ซึ่งโจวยี่แกนนั้นสุขภาพไม่แข็งแรงและป่วยด้วยวัณโรคอยู่ก่อนแล้ว ไม่นานหลังจากรับโจวเอินไหลไปดูแล เขาก็เสียชีวิต ซึ่งหลังอาโจวยี่แกน เสียชีวิตไปแล้ว…

  • Wu Cheng’ en

    อู๋ เชิงอัน (吴承恩) ผู้เขียน Journey to the west (西游记, ไซอิ๋ว)  อู๋เชิงอัน เกิดในปี 1500 หรือ 1505 ในเมืองเหลียงชุ่ย, เจียงสู, มณฑลฮุยอัน (Lianshui, Jiangsu, Huai’an)  ในช่วงของราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) พ่อของเขาชื่อ อู๋ หรุ่ย (Wu Rui) มีอาชีพเป็นช่างไม้ แม้จะมีฐานะยากจนแต่ก็เป็นคนที่มีความรู้ และชอบอ่านงานวรรณกรรม  เขาสนับสนุนอู๋เชิงอันให้เรียนหนังสือ  อู๋เชิงอันเคยเข้าสอบจองหงวนหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ  1544 ตอนอายุเข้าสู่วัยกลางคน เขาสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยหลวงในเมืองนานกิง (Nanjing) ได้สำเร็จ  1546 เขามาอาศัยอยู๋ในปักกิ่ง จนถึงปี 1552 โดยช่วงนี้เขามีชื่อเสียงเล็กๆ ในหมู่ปัญญาชนด้วยกันจากความสามารถในการประพันธ์บทกวี กาพย์กลอนแบบโบราณ  1570 กลับมาอยู่ที่ฮุยอัน และเขาเขียน Journal to the West ออกมาในปีนี้…

  • Kang Sheng

     คังเชิง (康生, Kang Sheng) หัวหน้าหน่วย เชอฮุ่ยปู้ (Shehui Bu, 中央社会部, Central Department olf Social Affairs) หน่วยข่าวกรองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คังเชิง เกิดประมาณปี 1898 ในต้าไทจวง, จูเชง (Dataizhung, Zhucheng) มณฑลชานตง (Shandong)  คังเชิง มีชื่อตอนเกิดว่า จาง ซงเค่อ (张宗可, Zhang Zongke) คังเชิง เรียนระดับประถมที่โรงเรียนชายกวนไห่ (Guanhai school) และได้เรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนเยอรมัน (German School) ในชิงเต่า (Qingtao) 1915 ตอนอายุ 17 ปี เขาแต่งงานกับ เชน ยี่ (Chen Yi) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสองคน ชื่อ จาง ยู่หยิง (Zhang Yuying)…

  • Zhang Qian

    จาง เฉียน (张骞) ทูตจากราชวงศ์ฮั่น ซึ่งส่งออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติในช่วง ศตวรรษที่ 2 ซึ่งการเดินทางของเขาเป็นการเปิดทางให้เกิดเส้นทางสายไหม (Silk Road) ขึ้นมา จางเฉียน เกิดในปี 200 BC ในฮานจง, มณฑลส่านซี (Hanzhong, Shaanxi)  140 BC ต่อมาราวปี 140 BC- 135 BC จางเฉียนได้ย้ายมาอยู่ในฉางอัน (Chang’an) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเข้าทำงานในราชสำนักของจักรพรรดิหวู่ตี้ (Emperor Wu, 汉武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น (Han dynasty) ฮั่นในขณะนั้นมีศัตรูคือ เซียงนู (匈奴,Xiongnu) ชาวเผ่าเซียงหนูนั้นอาศัยอยู่บริเวณมองโกเลียนใน (Inner Mongolia) ปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันต 138 BC จางเฉียนได้รับพระราชบัญชาจากจักรพรรดิหวู่ตี้ ให้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวยูชี (月氏, Yuezhi people) ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่รอนบริเวณเอเชียกลาง บริเวณทาจิกิสถาน (Tajikistan) ปัจจุบัน ซึ่งคณะของจางเฉียนนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด…

  • Zhang Qian

    จาง เฉียน (张骞) ทูตจากราชวงศ์ฮั่น ซึ่งส่งออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติในช่วง ศตวรรษที่ 2 ซึ่งการเดินทางของเขาเป็นการเปิดทางให้เกิดเส้นทางสายไหม (Silk Road) ขึ้นมา จางเฉียน เกิดในปี 200 BC ในฮานจง, มณฑลส่านซี (Hanzhong, Shaanxi)  140 BC ต่อมาราวปี 140 BC- 135 BC จางเฉียนได้ย้ายมาอยู่ในฉางอัน (Chang’an) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเข้าทำงานในราชสำนักของจักรพรรดิหวู่ตี้ (Emperor Wu, 汉武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น (Han dynasty) ฮั่นในขณะนั้นมีศัตรูคือ เซียงนู (匈奴,Xiongnu) ชาวเผ่าเซียงหนูนั้นอาศัยอยู่บริเวณมองโกเลียนใน (Inner Mongolia) ปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันต 138 BC จางเฉียนได้รับพระราชบัญชาจากจักรพรรดิหวู่ตี้ ให้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวยูชี (月氏, Yuezhi people) ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่รอนบริเวณเอเชียกลาง บริเวณทาจิกิสถาน (Tajikistan) ปัจจุบัน ซึ่งคณะของจางเฉียนนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด…

  • Emperor Taizong

    จักรพรรดิไท่จง แห่งราชวงศ์ถัง (Emperor Taizong of Tang) จักรพรรดิไท่จง มีพระราชสมภพในวันที่ 28 มกราคม 598 ภายในพระราชวังชิงซาน, ในเมืองวู่กง (Wugong) ในรัฐสุ่ย (Sui China)  ปัจจุบันคือบริเวณมณฑลซานซี (Shaanxi Provicne) พระบิดาของพระองค์คือจักรพรรดิเกาซู (Emperor Gaozu of Tang, Li Yuan, 618-626) พระนามเดิมคือ หลี่ หยวน และพระมารดาคือจักรพรรดินีไท่มู่ (太穆皇后, Empress Taimu) พระนามเดิมคือ เจ้าหญิงเต้า (竇, Duchess Dou) ขณะที่จักรพรรดิไท่จงประสูตินั้น พระบิดายังดำรงดำแหน่งเป็นอ๋องแห่งถัง (Duke of Tang) และเป็นแม่ทัพในกองทัพสุ่ย  จักรพรรดิไท่จงมีพระนามเดิมเมื่อแรกเกิดว่า หลี่ ชิหมิน (李世民, Li Shimin) ทรงเป็นโอรสรอง พระเชรษฐามีพระนามว่าหลี่ เจียนเชง…

  • Alopen

    อโลเพน (阿羅本, Alopen) มิสชันนารีคนแรกที่เดินทางไปยังประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ในปี 635 อโลเพน เดินทางไปถึงเมืองฉางอัน (ซีอาน) เมืองหลวงของจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง อโลเพนนั้นเป็นนักบวชคริสต์ในนิกายเนสโตเรียน (Nestorian Church) จากอาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ในซีเรียปัจจุบัน เขาเป็นชาวเปอร์เซียที่พูดภาษาซีเรีย  อโลเพนเดินทางไปเมืองจีนโดยเส้นทางสายไหม และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าจักรพรรดิถัง ไถ่จง (Emperor Taizong of Tang)  ชื่อของอโลเพน ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่บนจารึกซีอาน (Nestorian Monument , Xi’an Stele) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 781 ตามจารึกได้เล่าว่าอโลเพนเดินทางมาพร้อมมิสชันนารีคนอื่น โดยพวกเขามาจากเมืองต้าซิน (Daqin, Ta Tsin) ซึ่งหมายถึงอาณาจักรไบเซนไทน์ ซึ่งจักรพรรดิไถ่จงในเวลานั้น ทรงดำเนินนโยบายที่เปิดกว้างให้กับศาสนาอื่น ซึ่งต่างกับพระบิดาของพระองค์ จักรพรรดิเกาซู (Emperor Gaozu)  โดยจักรพรรดิไถ่จงให้การต้อนรับคณะของอโลเพนเป็นอย่างดี และยังได้พระราชทานอนุญาตให้อโลเพนแปลคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เขานำมาด้วยเป็นภาษาจีนและเก็บไว้ในห้องสมุดหลวง ศาสนาคริสต์ในจีนคงอยู่กับราชวงศ์ถังจนกระทั้งปี 907 เมื่อราชวงศ์ถังสิ้นสุดไป ศาสนาคริสต์ก็สูญหายไปจากจีน นานกว่า…

  • Alopen

    อโลเพน (阿羅本, Alopen) มิสชันนารีคนแรกที่เดินทางไปยังประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ในปี 635 อโลเพน เดินทางไปถึงเมืองฉางอัน (ซีอาน) เมืองหลวงของจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง อโลเพนนั้นเป็นนักบวชคริสต์ในนิกายเนสโตเรียน (Nestorian Church) จากอาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ในซีเรียปัจจุบัน เขาเป็นชาวเปอร์เซียที่พูดภาษาซีเรีย  อโลเพนเดินทางไปเมืองจีนโดยเส้นทางสายไหม และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าจักรพรรดิถัง ไถ่จง (Emperor Taizong of Tang)  ชื่อของอโลเพน ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่บนจารึกซีอาน (Nestorian Monument , Xi’an Stele) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 781 ตามจารึกได้เล่าว่าอโลเพนเดินทางมาพร้อมมิสชันนารีคนอื่น โดยพวกเขามาจากเมืองต้าซิน (Daqin, Ta Tsin) ซึ่งหมายถึงอาณาจักรไบเซนไทน์ ซึ่งจักรพรรดิไถ่จงในเวลานั้น ทรงดำเนินนโยบายที่เปิดกว้างให้กับศาสนาอื่น ซึ่งต่างกับพระบิดาของพระองค์ จักรพรรดิเกาซู (Emperor Gaozu)  โดยจักรพรรดิไถ่จงให้การต้อนรับคณะของอโลเพนเป็นอย่างดี และยังได้พระราชทานอนุญาตให้อโลเพนแปลคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เขานำมาด้วยเป็นภาษาจีนและเก็บไว้ในห้องสมุดหลวง ศาสนาคริสต์ในจีนคงอยู่กับราชวงศ์ถังจนกระทั้งปี 907 เมื่อราชวงศ์ถังสิ้นสุดไป ศาสนาคริสต์ก็สูญหายไปจากจีน นานกว่า…

Don`t copy text!