Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Tag: Neuroscience

  • Louis Victor Leborgne

    หลุยส์ วิคเตอร์ เลอบอร์กเน (Louis Victor Leborgne) ผู้ป่วยท่ีถูกเรียกว่าแทน (Tan) สมองของเขาทำให้ค้นพบ Broca’s area สมองในส่วยควบคุมการพูด 1840 วิคเตอร์เป็นชาวฝรั่งเศส ที่เขามีอาการป่วยด้วยโรคลมบ้าหมู (epilepsy) เรื้อรังมาตั้งแต่ยังเล็ก จนกระทั้งเมื่ออายุ 30 ปี วิคเตอร์เกิดสูญเสียความสามารถในการพูดอย่างกระทันหัน เขาจึงได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลบิเคเตอร์ (Bicêtre) ชานกรุงปารีส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจิตเวช  ตอนเข้ารับการรักษาวิคเตอร์สามารถที่จะออกเสียงคำได้เพียงพยางค์เดียวคือคำว่า แทน (tan) ซึ่งทำให้หมอและพยายาลเรียกเขาว่าแทน  เมื่อการรักษาผ่านไปสามเดือน อาการของวิคเตอร์ก็ยังไม่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการลมบ้าหมู (epilipsy) ประกอบเข้ามาด้วย 10 ปีหลังจากเข้ารักษาตัว วิคเตอร์เริ่มมีอาการแขวนขวามอัมพฤกษ์ และต่อมาขาด้านขวาก็มีอาการอัมพฤกษ์ตามมาด้วย และต่อมาอาการทางด้านสายตาก็ตามมา  1861 เมษายน, วิคเตอร์เริ่มมีอาการเนื้อตายบนร่างกาย ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นอาการติดเชื้อทั่วร่างกายซึกขวา 11 เมษายน, ถูกนำตัวเข้าผ่าตัด โดยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้เขาคือหมอปิแอร์ โบรค่า (Pierre Paul Broca)  ระหว่างการรักษา หมอโบรค่าได้ทำการทดสอบวิคเตอร์ และพบว่าเขายังมีสติดีและเข้าใจ โดยหมอโบรค่าให้เขาตอบโดยการเคลื่อนไหวแขนซ้ายแทน …

  • John Searle

    จอห์น เซียร์เล่อ (John Rogers Searle)  Chinese room argument เชียร์เล่อ เกิดวันที่ 31 กรกฏาคม 1932 ในเดนเวอร์, โคโลราโด้ (Denver, Colorado) พ่อเขาชื่อ จี. เซียร์ล (G. W. Searle) เป็นวิศวกร ทำงานกับ AT&T และแม่ชื่อเฮสเตอร์ (Hester Beck Searle)  1949 เข้าเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin)  ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และปรัชญา 1952 ได้รับทุน Rhodes จึงย้ายมาเรียนที่อ๊อกฟอร์ด (Oxford)  1959 จบปริญญาเอกจากอ๊อกฟอร์ด และได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ย์ที่เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley)  1980 เขียนบทความ “Minds, Brains, and Programs”…

  • Eric Kandel

    อีริค แคนเดล (Eric Richard Kandel)  Nobel  Physiology or Medicine 2000 อีริค เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน 1929 ในเวียนนา, ออสเตรีย พ่อของเขาชื่อเฮอร์มันน์ (Hermann Kandel) เป็นชาวออสเตรีย-ฮังการี และชาร์ลีอต (Charlotte Zimels) เกิดในยูเครน, จักรวรรดิรัสเซีย เฮอร์มันน์ย้ายมาอยู่ในเวียนนาช่วงสงครามโลกครั้งแรก และเขาได้เปิดร้านขายของเล่นในเวียนนาไม่นานก่อนที่อีริคจะเกิด 1939 ตอนอีริคอายุ 9 ขวบ ครอบครัวของเขาต้องออกจากออสเตรียเพราะว่าเยอรมันบุกออสเตรียในปี 1938 และมีนโยบายกวาดล้างผู้มีเชื้อสายยิว เขาและพี่ชายจึงถูกส่งตัวอพยพผ่านเบลเยี่ยม โดยขึ้นเรือ Gerolstein เดินทางมายังบรู็คลิน, อเมริกา โดยมาถึงในวันที่ 11 พฤษภาคม เพื่อที่จะไปอาศัยอยู่กับลุง ก่อนที่พ่อแม่ของเขาจะเดินทางมาสมทบภายหลัง ในบรู๊คลิน อีริคถูกส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมเยชิวาแพล๊ตบุช (Yeshiva of Flatbush) ซึ่งเป็นโรงเรียนยิว 1944 เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยอีรัสมุส ฮอลล์ (Erasmus…

  • Stanislas Dehaene

    สตานิสลาส ดิเฮน์ (Stanislas Dehaene)  ผู้เขียน The Number Sense, Reading in the Brain ดิเฮน์ เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 1965 ในรัวเบ็กซ์, ฝรั่งเศส (Roubaix, France)  1984 เข้าเรียนทางด้านคณิตศาสตร์อีโคล โนร์แมล์ (École Normale Supérieure) ในปารีส จนกระทั้งปี 1989 1985 จบปริญญาโททางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส ที่ 6 (Pierre and Marie Curie University~ Paris VI)  หลังจากได้อ่านหนังสือ Neuronal Man: Tie Biology of The Mind ของ ฌอห์น-ปิแอร์ (Jean-Pierre Changeux) ดีเฮเน่…

  • Vilayanur Ramachandran

    วิเลียอานูร์ รามาจันทรัน (Vilayanur Subramanian Ramachandran) “The Marco Polo of Neuroscience”  รามาจันทรัน เกิดวันที่ 10 สิงหาคม 1951 ในรัฐทมิฬนาดู, อินเดีย (Tamil Nadu, India) พ่อของเขาชื่อ V.M. Subramanian เป็นวิศวะกร ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติอยู่ในกรุงเทพมหานคร รามมาจันทรัน เรียนหนังสือที่มาเชนไน (Chennai) และโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพ 1971 มีบทความเรื่อง “Concepts of retinal rivalry need drastic revision” พิมพ์ลงในแม็กกาซีน Nature 1974 จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์สแตนลีย์ (Stanley Medical College ) ในเชนไน ทางด้านการแพทย์ 1978 จบปริญญาเอกจากไตรนิตี้คอลเลจ,​ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Trinity College, University of…

  • Vilayanur Ramachandran

    วิเลียอานูร์ รามาจันทรัน (Vilayanur Subramanian Ramachandran) “The Marco Polo of Neuroscience”  รามาจันทรัน เกิดวันที่ 10 สิงหาคม 1951 ในรัฐทมิฬนาดู, อินเดีย (Tamil Nadu, India) พ่อของเขาชื่อ V.M. Subramanian เป็นวิศวะกร ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติอยู่ในกรุงเทพมหานคร รามมาจันทรัน เรียนหนังสือที่มาเชนไน (Chennai) และโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพ 1971 มีบทความเรื่อง “Concepts of retinal rivalry need drastic revision” พิมพ์ลงในแม็กกาซีน Nature 1974 จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์สแตนลีย์ (Stanley Medical College ) ในเชนไน ทางด้านการแพทย์ 1978 จบปริญญาเอกจากไตรนิตี้คอลเลจ,​ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Trinity College, University of…

  • Steve Ramirez

    สตีฟ รามิเรซ (Steve Ramirez) ผู้ใส่ความทรงจำเทียมให้กับหนู 1970s พ่อกับแม่ของรามิเรซ​ต้องลี้ภัยสงครามกลางเมืองในเอล ซัลวาดอร์ (El Salvador) มายังสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็มาทำงานรับจ้าง เพื่อเลี้ยงดูลูกๆ  รามิเรช เกิดและเติมโตขึ้นมาในบอสตัน (Boston)  เมื่อตอนรามิเรซอยู่ชั้นมัธยม ญาติสนิทของเขาไปทำคลอดที่โรงพยาบาลด้วยการผ่าคลอด (C-section) ก่อนการผ่าตัดหมอมีการให้ยาเพื่อลดความเจ็บปวด (anesthesia) แต่เหตุการณ์นี้ทำให้เธอหมดสติและอยู่ในอาการโคม่าตั้งแต่นั้นมา รามิเรซจึงมีความฝังใจและมีความต้องการที่จะรู้ว่าสมองทำงานอย่างไร เขาจบด้านวิทยาศาสตร์สาขาระบบประสาท จากมหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston Universtiy) เข้าเรียนปริญญาเอก ด้านวิทยาศาสตร์สมองและจิตสำนึก (Brain and Cognitive Sciences) ที่เอ็มไอที (MIT) 2013 รามิเรซ มีชื่อเสียงจากการทดลองของเขาร่วมกับ หู ลัวะ (Xu Liu) ในการสร้างความทรงจำเทียมให้กับสมองของหนู (plant false memories into the brain) วันแรก, พวกเขาใส่หนูทดลองลงภายในกล่อง A  และปล่อยให้มันเดินสำรวจภายในกล่อง พวกเขาฉีดแชนเยลโรโด๊ปซิน (Channelrhodopin…

Don`t copy text!