Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Paul Otlet

พอล อ๊อตเล็ต (Paul Marie Ghislain Otlet) 

ผู้สร้าง Universal Decimal Classification, The Mandaneum, ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์สารสนเทศ (information science)

พอล เกิดวันที่ 23 สิงหาคม 1868 ในบรัสเซล, เบลเยี่ยม พ่อของเขาชื่อเอ็ดดูอาร์ด (Edouard Otlet) และแม่ชื่อมาเรีย (Maria Van Mons) อ๊อตเล็ตนั้นเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ซึ่งครอบครัวของพวกเขามีฐานะร่ำรวยจากการค้าขายรถรางที่ส่งออกไปทั่วโลก 

พอลนั้นเรียนหนังสืออยู่กับบ้านโดยที่จ้างครูมาสอน จนกระทั้งถึงอายุ 11 ปี

1871 แม่ของเขาเสียชีวิต ขณะที่อายุ 24 ปี และตอนนั้นพอลมีอายุเพียง 3 ขวบ 

1874 เมื่อธุรกิจของครอบครัวเริ่มมีปัญหา ทำให้พ่อพาครอบครัวย้ายไปอยู่ในปารีส และพอลได้เข้าเรียนในระบบโรงเรียนครั้งแรกเมื่ออยู่ในปารีส โดยเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนของเยซูอิด

1877 ครอบครัวย้ายกลับมาบรัสเซล และพอลได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยเซนต์มิเชล (Collège Saint-Michel)

1890 จบปริญญาด้านกฏหมาย จากมหาวิทยาลัยเสรีภาพบรัสเซลล์ (Université libre de Bruxelles)

ซึ่งหลังจากเรียนจบเขาได้ทำงานเป็นเสมียรในสำนักงานกฏหมายของเอ็ดมอนด์ ปิคาร์ด (Edmond Picard) ซึ่งเป็นเพื่อนกับพ่อของเขา แต่ว่าไม่นานเขาก็มีความสนใจงานด้านกฏหมายที่ทำน้อยลง และเกิดความสนใจด้านบรรณารักษ์ศาสตร์ (bibliography) 

9 ธันวาคม, แต่งงานกับเฟอร์นันเด้ โกลเนอร์ (Fernande Gloner) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสองคนชื่อ มาร์เซล (Marcel) แลฌอน (Jean) 

1891 พอลได้รู้จักกับเฮนรี่ ลา ฟอนเทน (Henri La Fontaine) ซึ่เป็นนักกฏหมายเช่นกัน ทั่งคู่มีความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับการบรรณานุกรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1892 มีผลงานเขียน “Something about bibliography” ซึ่งพอลเห็นว่าหนังสือไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอในการเก็บข้อมูล เพราะว่าเนื้อหาสำคัญ หรือข้อเท็จจริงในหนังสือเล่มนั้นไม่ได้ถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ แต่ว่าปรากฏขึ้นตอนใดก็ได้ในหนังสือตามความพอใจของผู้เขียน ทำให้การค้นหานั้นยาก พอลจึงได้เสนอว่าควรมีการบัตรที่เก็บใจความสำคัญเอาไว้ส่วนหนึ่ง และนำมาเรียงอย่างเป็นระเบียบและมีความสัมพันธ์กันเพื่อให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น

ปีนี้พอลและเฮนรี่ ได้รับการว่าจ้างจากสมาคมสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ (Society of Social and political sciences) ให้ทำระบบรรณานุกรมสำหรับหนังสือวิทยาศาสตร์สายสังคมที่มีอยู่หลากหลาย พวกเขาใช้เวลากว่าสามปีในการทำโปรเจ็คนี้

1895 พอลก่อตั้ง International Institute of Bibliography ขึ้นมา ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น International Federation of Information and Documentation

ปีนี้พอลมีตู้เอกสารขนาดใหญ่ ซึ่งรวมรวมการ์ดที่เขาทำดัชนีของหนังสือเอาไว้กว่า 400,000  เรื่อง ซึ่งตู้เก็การ์ดของเขานี้เรียกว่า Repertoire Bibliographique Universel (RBU) พอลยังให้บริการสืบค้นหัวข้อที่ต้ิองการผ่านจดหมายฟรีด้วย โดยคนที่เขียนจดหมายมาหาเขาเพื่อค้นหาเอกสารที่เกี่ยวช้องจะได้คำตอบเป็นข้อมูลดัชนีของเอดกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริการนี้ของพอลถูกเปรียบภายหลังว่าเป็น เสิร์ชเอ็นจิ้นแบบอะนาล๊อก (analog search engine)

1896 พอลและเฮนรี่ได้ติดต่อกับเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)  เพื่อแปลระบบบรรณานุกรมของเดเวย์ ที่เรียกว่า ระบบดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) มาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีการปรับปรุงให้เข้ากับเอกสารในที่เป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเดเวย์ได้อนุญาตให้พอลทำได้ตราบเท่าที่ไม่แปลไปเป็นภาษาอังกฤษ

ระบบดิวอี้ ที่พอลและเฮนรี่ ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมานั้นถูกเรียกว่าเป็น Universal decimal classification (UDC)

1894 เอ็ดดูอาร์ด พ่อของเขาได้รับเลือกเป็นวุฒิสภาชิก โดยเป็นผู้แทนจากพรรคแคโธลิก (Catholic Party) ช่วงเวลานี้เอ็ดดูอาร์ดยังได้แต่งงานอีกครั้งกับวาเลเรีย (Valeria Linden) 

1906 พอลตั้งบริษัท Otlert Brothers ขึ้นมา เพื่อที่จะบริหารกิจการก่อสร้างและเเหมืองของพ่อของเขาร่วมกับพี่น้อง ซึ่งในปีนี้พ่อของเขามีอาการป่วยใกล้จะเสียชีวิต และธุรกิจก็ประสบปัญหา

1907 ร่วมกับเฮนร่ ฟอนเทียน (Henri La Fontaine) ก่อตั้ง Central Office of Internaitonal Associations 

1908 พอลหย่ากับภรรยา 

1910 Central Office of International Associations เปลี่ยนชื่อเป็น Union of International Associations

1912 แต่งงานกับคาโต้ (Cato Van Nederhesselt)

1913 เฮนรี่ ได้รับรางวัลโนเบล 

1914 พอลเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อหาเงินทุนให้กับบริษัทของเขา แต่ว่าเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นทำให้เขาต้องรีบเดินทางกลับเบลเยี่ยม และไม่นานหลังจากกลับมาเบลเยี่ยมก็ตกอยู่ในอาณัติของเยอรมัน ทำให้พอลต้องย้ายไปปารีส และต่อมาไปสวิสฯ เพื่อลี้ภัยสงคราม และเคลื่อนไหวเรียกร้องสันติภาพ ในขณะที่ลูกชายทั้งสองคนของพอลร่วมรบในสงครามกับกองทัพเบลเยี่ยมที่ต่อต้านนาซีเยอรมัน และฌอนลูกชายของเขาต้องเสียชีวิตในสมรถูมิอีเซอร์ (Battle of the Yser)

พอลเขียนหนังสือ La Fin de la Guerre (The End of War) ออกมา

1919 พอลและเฮนรี่ ร่วมกันก่อตั้ง เมืองแห่งความรู้ ซึ่งพอลตั้งชื่อว่า World Palace (Palais Mondial) มีเป้าหมายเพื่อรวบรวมสารสนเทศของทั้งโลก โดยได้รบเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลเบลเยี่ยม โดยบอกว่าถ้าโครงการนี้สำเร็จเบลเยี่ยมก็มีโอกาสมากที่จะได้กลายเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การสันนิตบาตชาติ (League of Nations) 

World Palace นี้ตั้งอยุ่ที่อาคาร Palais du Cinquantenaire ของรัฐบาลในกรุงบรัสเซลส์

1924 World Palace เปลี่ยนชื่อเป็น Mundameum ซึ่ง RBU ของที่นี่เก็บรวบรวมดัชนีไว้กว่า 13 ล้านการ์ด

1934 เขียน Traité de Documentation หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนการเปิดแขนงวิชาวิทยาศาสตร์สารสนเทศ ซึ่งพอลเรียกวิชานี้ว่า “Documentation” ในตอนนั้น

ปีนี้ Mundameum ต้องปิดตัวลงเพราะว่ารัฐบาลเบลเยี่ยมยุติการให้เงินทุนสนับสนุน

1935 เขียน Monde: Essai d’universalisme

1940 เมื่อเยอรมันบุกเบลเยี่ยม RBU ที่ถูกเก็บเอาไว้ที่ Mundameum ถูกทำลายไปบางส่วน เพราะเยอรมันต้องการอาคารเพื่อไปเก็บงานศิลปะที่นาซีรวบรวมมา ทำให้พอลต้องย้าย RBU ไปเก้บไว้ที่ลีโอโปลปาร์ค (Leopold Park)

1944 10 ธันวาคม, เสียชีวิต 

ผลงานเขียน

  1. La Fin de la Guerre (The End of War) , 1914
  2. Traité de Documentation, 1934
  3. Monde: Essai d’universalisme
Don`t copy text!