Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Katalin Kariko

คาตาลิน (แคทเธอรีน) คาริโก้ (Katalin Kariko)

คาตาลิน เกิดวันที่ 17 มกราคม 1955 ในซอลน๊อก, ฮังการี (Szolnok, Hungary) แต่ว่าเติบโตขึ้นที่เมืองคิสัสซอล (Kisújszállás) พ่อของเธอเป็นพ่อค้าเนื้อ และแม่ทำงานบัญชี 

เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม  Móricz Zsigmond Grammar School

1973 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซเก็ด (University of Szeged) เพื่อนๆ ที่โรงเรียนเรียกเธอว่า เคธี (Kati)

1978 หลังเรียนจบได้เข้าเรียนต่อปริญญาเอกที่ศูนย์วิจัยชีววิทยาเซเก็ด (Szeged Biological Research Center) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย

1980 แต่งงานกับเบรา ฟรานเซีย (Bela Francia) ซึ่งภายหลังทั้งคู่มีลูกด้วยกันชื่อซูซาน (Zsuzsanna “Susan” Francia) ซึ่งซูซาน ต่อมาเป็นนักกีฬาเรือพายเหรียญทองโอลิมปิกสองสมัย และแชมป์โลกห้าสมัย

1982 จบปริญญาเอก

1985 คาตาลินและสามีพร้อมกับลูก ได้ย้ายมาอยู่ในฟิลาเดลเฟีย (Phidadelphia) สหรัฐฯ และคาตาลินได้เข้างานที่มหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล (Temple University) ซึ่งงานวิจัยของคาลาติโฟกัส ไปที่ RNA มาตั้งแต่ต้น

1989 ได้ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) โดยได้รับตำแหน่งเล็กๆ เป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับ ดร.เอลเลียต (Dr.Elliot Barnathan) ซึ่งพวกเขาร่วมกันหาวิธีในการนำ mRNA เข้าไปสู่เซลล์ในอย่างไร โดยที่ไม่ให้ถูกภูมิคุ้มกันทำลาย และเหนี่ยวนำให้เซลล์สร้างโปรตีนท่ีต้องการขึ้นมาได้ โดยในช่วงแรกของการทดลอง พวกเขาพยายามทำให้เซลล์สร้างโปรตีน ที่เรียกว่า urokinase receptor ขึ้นมา ซึ่งความพยายามของพวกเขาประสบความสำเร็จในที่สุด

ต่อมาคาตาลิน และ ดร.เอลเลียต จึงพยายามให้ mRNA ในการพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือด เพื่อช่วยในการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

ต่อมาเมื่อ ดร.เอลเลียต ย้ายออกไปจากมหาวิทยาลัย คาตาลินซึ่งยังคงอยู่ที่ ม.เพนซิลวาเนีย ได้เปลี่ยนไปทำงานร่วมกับ ดร.แลนเจอร์ (Dr.Langer) ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกศัลยกรรมระบบประสาท ซึ่ง ดร.แลนเจอร์สนับสนุนให้ คาตาลินหาวิธีใช้ mRNA ในการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดสมองแต่เกิดอาการเลือดแข็งตัวในสมอง โดย ดร.แลนเจอร์ มีไอเดียว่า อยากใช้เทคนิค mRNA จะกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดสร้างไนตริค อ๊อกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งจะช่วยขยายหลอดเลือด แต่ว่าการทดลองของพวกเขาล้มเหลวหลายครั้ง จน ดร.แลนเจอร์ย้ายออกไปจากมหาวิทยาลัย

1998 คาตาลิน ได้พบกับ ดร.ดริว ไวส์แมน (Drew Weissman) ซึ่งเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) เพื่อทำการวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีน HIV ซึ่งในช่วงแรกนั้น ดร.ไวส์แมน ได้พยายามพัฒนาวัคซีนแบบ DNA แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อได้อ่านงานวิจัยของคาตาลินแล้ว ดร.ไวส์แมน จึงสนใจการใช้ mRNA 

2005 มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย, คาตาลินและ ดร.ไวส์แมน จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการใช้สั่งเคราห์ mRNA และสามารถสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีนที่ต้องการได้ 

ซึ่งต่อมา ม.เพลซิลวาเนีย ได้ขายสิทธิบัตร ให้กับบริษัท CellScript LLC สหรัฐฯ, บริษัท Moderna สหรัฐฯ , และ บริษํท BioNTech ในเยอรมัน

2006 ก่อตั้ง RNARx ร่วมกับ ดร.ไวส์แมน 

2008 บริษัท BioNTech บริษัทเล็กๆ ถูกก่อตั้งขึ้นมาในเยอรมัน โดยแพทย์สองสามีภรรยา  อูเกอร์ ซาฮิน (Ugur Sahin) และออสเลม ตุเรคิ (Ozlem Tureci) พวกเขาทั้งคู่เป็นชาวตุรกีที่อพยพมาอยู่ในเยอรมัน

2013 ร่วมกับชาวญี่ปุ่นชื่อฮิโรมิ มูรามัตสุ (Hiromi Muramatsu) ในการประยุกต์ใช้ mRNA ในการบำบัดโรค โดยพวกเขาได้รับการสนับสนุนจาก BioNTech ในการพัฒนาวัคซีนเบื่อบำบัดโรคมะเร็ง และโรคติดเชื้อ ซึ่ง BioNTech กำลังทำการวิจัยวัคซีน mRNA ขึ้นมาหลายชนิดในหลายโรค อย่างวัคซีนต้านไข้หวัดใหญ่ (Flu) วัคซีนโรคซิก้า (Zika)

2020 มกราคม, ทางการจีนมีการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 และเผยแพร่ออนไลน์ เพื่อให้นักวิจัยทั้วโลกนำไปใช้ในการพัฒนายาหรือวัคซีนเพื่อต้านโรคโควิด 

คาตาลิน และ BioNTech จึงใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงในการออกแบบวัคซีนต้านโควิด-19 ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายมนุษย์สร้างโปรตีนที่เหมือนกับหนามของโคโรนาไวรัส (spike protein) จากนั้น BioNTech ได้ติดต่อกับ Pfizer เพื่อให้เข้ามาร่วมสนับสนุนในการทำวิจัย

และในเวลาไม่กี่เดือนในการสร้างวัคซีนจริงขึ้นมา โดยยังต้องอาศัยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนในด้านต่างๆ 

18 ธันวาคม, คาตาลิน และ ดร.ไวส์แมน รับการฉีดวัคซีน Pfizer/ BioNTech Covid19 vaccine ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

2021 ได้รับรางวัล Rosentiel Award ร่วมกับ ดร.ไวส์แมน

Don`t copy text!