Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Dmitry Belyaev

ดมิทรี เบลาเยฟ (Дмитрий Константинович Беляев)

นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรม ซึ่งใช้เวลาหลายทศวรรษในการศึกษาและผสมพันธ์จิ้งจอกเงิน (Silver fox) ทำให้เข้าใจกระบวนการเกิดสัตว์เลี้ยง (domestication)

เบลาเยฟ เกิดวันที่ 17 กรกฏาคม 1917 ในเมืองโปรตาโซโว่, คอสโตรม่า (Protasovo, Kostroma) พ่อของเขาชื่อคอนสแตนติน (Konstantin Pavlovich) เป็นนักบวช เบลาเยฟเป็นลูกคนที่สี่ในครอบครัว เขามีพี่ชายคนหนึ่งชื่อนิโคไล (Nikolai) ที่เป็นนักศึกษาพันธุกรรมเช่นเดียวกัน และนิโคไลยังเคยทำงานกับเซอร์เกย์ เชตเวริกอฟ (Sergei Chetverikov) หนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมของประชากร

1938 สำเร็จการศึกษาด้านสัตววิทยา จากสถาบันเกษตรกรรมอิวาโนโว่ (Ivanovo Agricultural Institute, www.ivgsha.ru) และได้เข้าทำงานที่กรมผสมพันธุ์สัตว์ที่ให้ขนเพื่อการค้า ของศูนย์วิจัยกลาง (the Central Research Laboratory) ในมอสโคว์ ซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงการค้าต่างประเทศ

1941 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่  2 เบลาเยฟได้เข้าเป็นทหาร และได้ไปทำงานอยู่ในแผนกของการวิจัยอาวุธเคมี 

1946 หลังสงครามโลก เขากลับเข้ามาทำงานที่กรมผสมพันธุ์สัตว์ฯ อีกครั้งหนึ่ง และได้ทำการศึกษาและผสมพันธ์จิ้งจอกสีเงิน (silver fox) เบลาเยฟนั้นเชื่อทฤษฏีการคัดสรรโดยธรรมชาติ (Darwinism) และทฤษฏีเกี่ยวกับพันธุกรรมของเมนเดล (Mendelian) แต่เป็นเพราะว่าในยุคนั้น สตาลิน (Joseph Stalin) ให้การสนับสนุนทฤษฏีของไลเซนโก้ (Trifim Lysenko) ซึ่งไลเซนโก้ ปฏิเสธแนวคิดของเมนเดล ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีการค้นพบยีนต์ และไลเซนโก้คิดว่าแนวคิดของเมนเดลผิด และไลเซนโก้เสนอทฤษฏีของตัวเองขึ้นมา ที่เรียกว่าไลเซนโกอิซึ่ม (Lysenkoism) หรือเป็นทฤษฏีนีโอ-ลามาร์ค (neo-Lamarckian) ซึ่งอธิบายว่าลักษณะทางทางพันธุกรรมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ และลักษณะด้อยจะถูกคัดออกในรุ่นแม่ก่อนที่จะถ่ายทอดลักษณะที่เด่นที่จำเป็นไปสู่รุ่นลูก  …​เนื่องจากสตาลินสนับสนุนไลเซนโก้ จึงทำให้แนวคิดของไลเซนโก้ไม่มีใครกล้าเถียงในโซเวียต เพราะนั้นอาจจะทำให้ถูกตั้งข้อหาว่าต่อต้านรัฐ และโทษอาจจะถึงกับชีวิต

1953 สตาลิน เสียชีวิต และวงการวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตก็เริ่มกลับมาศึกษาแนวคิดเรื่องพันธุกรรมกันได้อย่างเสรีอีกครั้ง

1958 เบลาเยฟเข้าทำงานที่สถาบันศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม, สถาบันวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียต (Institute of Cytology and Genetics, USSR Academy of Sciences) ในเมืองโนโวซีเบิร์ก (Novosibirsk) 

1959 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม

ในปีนี้เบลาเยฟ และผู้ช่วยของเขา ลุดมิล่า ทรุต (Lyudmila Trut) ซึ่งมีอายุ 25 ปี เริ่มทำการทดลองเพื่อศึกษากระบวนการที่สัตว์ป่าเปลี่ยนมาเป็นสัตว์เลี้ยง (domesticate) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเบลาเยฟ สงสัยว่าทำไมหมาป่า (wolf) ถึงกลายเป็นสุนัข (dog) ที่มนุษย์เลี้ยงเอาไว้เป็นสัตว์เลี้ยง  แต่ว่าเบลาเยฟเลือกที่จะใช้จิ้งจอกในการศึกษาเพราะเป็นสัตว์ที่ได้ศึกษามาก่อนหน้า เบลาเยฟ นั้นรู้ว่าสัตว์เลี้ยงนั้นมีการแชร์ลักษณะบางประการที่คล้ายกัน เช่น หูพับ, หางม้วน, ปากที่สั้นกว่าสัตว์ประเภทเดียวกันในป่า, ขนมีหลายสี, และมีช่วงระยะเวลาการผสมพันธ์ุที่ยาวนานกว่า ซึ่งลักษณะพวกนี้ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยง (Domestication syndrome) 

เบลาเยฟตั้งสงสัยว่าทำไม สัตว์ต่างๆ ที่ถูกเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นม้า, วัว, สุนัข ถึงปรากฏกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยง ที่คล้ายกัน เขาจึงตั้งสมมุติฐานว่ามันเกิดจาก ความเชื่อง (tameness) ซึ่งอุปนิสัยนี้สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง (ในขณะนั้นเรื่องพันธุกรรมยังเพิ่งเริ่มต้น) ไม่เฉพาะแต่ลักษณะภายนอกจากกายภาพ (morphology)

การทดลองของเบลาเยฟ เขาจึงเลือกจิ้งจอกที่มีความเชื่อที่สุดในแต่ละรุ่น และค่อยๆ ผสมพันธุ์และเลือกลูกที่มีความเชื่อที่สุดในรุ่นมาผสมพันธุ์ ทำอย่างนี้หลายรุ่นและใช้เวลาหลายสิบปี เพื่อจะดูว่าจิ้งจอกมีความเชื่อเพิ่มมากขึ้น และกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยงจากปรากฏขึ้นหรือไม่

1962 ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลับโนโวซิเบิร์ก (Novosibirsk State Universtiy) และเป็นผู้อำนวยการของภาควิชาชีววิทยาด้วย 

1970 รับตำแหน่งผู้อำนวยการของแผนกศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม 

1978 การทดลองของเบลาเยฟ กินเวลา 40 รุ่นของจิ้งจอก ศึกษาจิ้งจอกกว่า 45,000 ตัว   จนได้จิ้งจอกที่เลียมือของผู้เลี้ยง, รับอาหารที่ถูกป้อน และวิ่งเข้าผู้เลี้ยง ทำให้เขาสามารถสรุปได้ในที่สุดว่า กลุ่มอาการสัตว์เลี้ยง (domostication syndrome) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความเชื่อง (tame behavior)

เบเลเยฟ รายงานการศึกษาจิ้งจอกสีเงินของเขาในที่ประชุมด้านพันธุกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 14 (Internation Congress of Genetics) จัดขึ้นในมอสโคว์

1985 14 พฤศจิกายน, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

1999 งานวิจัยของเบเลเยฟ ได้รับความสนใจในตะวันตก เมื่อลุดมิล่า ทรุด ได้เขียนบทความเกี่ยวกับงานวิจัย ลงในนิตยสาร The Amercian Scientist 

Don`t copy text!