Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Vladimir Chelomey

วลาดิมีร์ เชโลมีร์ (Владимир Николаевич Челомея)

ผู้ออกแบบจรวดโปรตอน, มิสไซด์ P-70,UR-100

เชโลมีร์ เกิดวันที่ 30 (17 O.S.) มิถุนายน 1914 ในเมืองแชร์เดิลแซ, เขตบริหารลับลิน (Siedlice, Lublin Governorate, Russian Empire)  ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรดิรัสเซีย แต่ปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์ 

หลังจากเชโลมีร์เกิดได้ไม่กี่เดือน ครอบครัวก็ย้ายไปยังโปลตาว่า (Poltava) ในยูเครน เพื่อหนีภัยสงคราม ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 

1932 เข้าเรียนที่สถาบันโพลีเทคนิคเคียฟ (Kyiv Polytechnic Institute)  ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล 

1936 เขียนหนังสือ  Vector Analysis 

1937 จบจากสถาบันโพลีเทคนิคเคียฟด้วยคะแนนเกียรตินิยม หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นอาจารย์ที่สถาบันการบินบารานอฟ (The Aviation Institute , P. I. Baranov) ในมอสโคว์

1941 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เชโลมีร์ได้เข้าทำงานที่สถาบันวิจัยการบิน TsIAM (The Baranov Central Institute of Aviation Motor Engineering) ในมอสโคว์

1942 เชโลมีร์ประดิษฐ์เครื่องยนต์เจ๊ตแบบจังหวะ (pulse jet) เครื่องแรกของสหภาพโซเวียต

1944 เชโลมีร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการของโรงงานหมายเลข 51 (OKB-51)  หลังจากที่นิโคไล โพลิการ์ปอฟ (Nikolai Polikarpov) เสียชีวิต

ในช่วงเวลานี้ข่าวการพัฒนาจรวด V1 ของนาซีเยอรมันเป็นที่รับรู้กัน และจรวด V1 ถูกใช้ยิงไปยังตอนใต้ของอังกฤษ  เชดลมีร์จึงเข้ามารับผิดชอบโครงการพัฒนาจรวดมิสไซด์ของสหภาพโซเวียตบ้าง 

ธันวาคม, มีการทดสอบจรดมิสไซด์ 10Kh เป็นครั้งแรก โดยเป็นมิสไซด์ที่ยิงจากเครื่องบิน Tu-2 หรือ Pe-8

1951 จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบัวแมน (Bauman Moscow State Technical University)

1952 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ ม.บัวแมน

1955 เชโลมีร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการของ OKB-52 ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาใหม่ (OKB 52 ปัจจุบันคือ NPO Mashinostroyenia, npomash.ru)

1959 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบที่ The Aviation Equipment

1962 ได้เป็นสมาชิกของ USSR Academy of Sciences 

1965 จรวดโปรตอน (Proton , UR-500) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อส่งดาวเทียมสู่อวกาศ ซึ่งการพัฒนาจรวด UR-500 ในตอนแรกนั้นถือว่าเป็นคู่แข่ง กับจรวด N-1 ของเซอร์เกย์ โคโรเลฟ (Sergey Korolev) ในการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งโคโรเลฟไม่สนับสนุนจรวด UR-500 ของเชโลมีร์ โดยอ้างว่าใช้เชื้อเพลิงไนโตรเจน เตโตรไซด์ (nitrogen tetroxide) ซึ่งเป็นพิษรุนแรง

1966 ขีปนาวุธข้ามทวีป UR-100 ซึ่งออกแบบที่ OKB-52 นี้ถูกนำเข้าประจำการณ์ในกองทัพ

1968 P-70 Ametist จรวดมิสไซด์ที่ยิงจากเรือดำน้ำขณะอยู่ใต้ทะเล ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกของโลก 

1972 P-120 Malahit

1977 P-500 Basalt

1979 เชโรมีร์ เสนอให้มีการพัฒนายานอวกาศ LKS เพื่อแข่งกับโครงการกระสวยอวกาศ (Space Shuttle) ของสหรัฐฯ  โดยที่ LKS ถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กกว่า แต่ว่าทางรัฐบาลสหภาพโซเวียตไม่สนใจ LKS แต่ไปสนับสนุนการพัฒนาบุรัน (Buran) ซึ่งเป็นกระสวยอวกาศที่มีขนาดใหญ่กว่า

1983 P-700 Granite

1984 8 สิงหาคม, เสียชีวิตในมอสโคว์ ในวัย 70 ปี

รางวัลที่ได้รับ 

Lenin Prize (1945, 1959, 1964, 1974, 1984)

Hero of Socialist Labor (1959,1963)

USSR Stare Prize (1967, 1974, 1982)

Don`t copy text!