Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Description du Royaume Thai ou Siam บทที่ 2  หัวเมืองและรัฐบริวารของสยาม

หมายเหตุ แปลจากหนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam เขียนโดย Jean-Baptiste Pallegoix (ฌอง-แบพติสต์ ปาลเลอกัวซ์) พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในปี 1854

บทที่ 2

หัวเมืองและรัฐบริวารของสยาม

หัวเมืองบริวารของสยาม ได้แก่ ตรังกานู (Tringanu) กาลันตัน (Kalantan) ปาตานี (Patani) เกดาห์ (Quedah) ลิกอร์ (Ligor) กัมพูชา(Combodia) โคราช (Korat) เซียงใหม่ (Xiang-Mai) ลำพูน (Laphun) ลาคอน (Lakhon) แพร่ (Phre) น่าน(Nan) หลวงพระบาง (Luang-Phra-Bang) เมืองลอม (Muang Lom) และเมืองอื่นๆ ที่ชาวกัมพูชาและลาวอาศัย ซึ่งยังจะต้องนับรวมกับกลุ่มชาติพันธ์อย่างมง (Xong) กะเหรียง (Karieng) และละว้า (Lava) (สำหรับตำแหน่งของรัฐเหล่านี้ ดูที่แผนที่สยาม)

เกี่ยวกับมาเลเซียในคาบสมุทร

ก่อนพูดถึงรัฐมาเลย์ทั้งสี่รัฐ เป็นการเหมาะสมที่จะเกริ่นถึงที่มาสักเล็กน้อยของรัฐเหล่านี้ ชาวมาเลย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คาบสมุทรนั้นอพยพมาจากเกาะสุมาตรา แต่เป็นการยากที่จะระบุเวลาที่แน่ชัดที่พวกเขาอพยพเข้ามา ลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือมีผิวสีน้ำตาล หน้าผากต่ำแต่กล้มมน จมูกโตและกว้าง ปลายจมูกหนา รูจมูกแยกออกจากกัน โหนกแก้มสูงปานกลาง ปากกว้าง และกรามบนยื่นออกมา ชนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ดูเหมือนจะเป็นส่วนผสมระหว่างนิโกรและมองโกเลีย ภาษาของชาวมาเลย์มีลักษณะดุดัน มีนิสัยทรยศ มืดมน และเจ้าเล่ห์ เขาเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย กล้า ดุร้ายในสงคราม กล้าหาญ กระหายหาผลประโยชน์  นิสยเหมือนพ่อค้า เจ้าเล่ห์ เป็นนักทำการค้าที่มีทักษะ  ชอบการเป็นโจรสลัดโดยใช้เรือขนาดเล็ก มีกริชเป้นอาวุธ พวกเขาชอบการบริโภคพลูและมาก และมักจะเคี้ยวอยู่ตลอดเวลา พวกเขาดำรงค์ชีวิตโดยการกินข้าวเป็นหลัก และมี สาคู ปลา เนื้อวัวหรือเนื้อควาย มันฝรั่ง และผลไม้ พืชที่พวกเขาปลูกเป็นหลัก ได้แก่ กล้วย อ้อย พริกไทย และไม้ผลอื่นๆ 

ภาษามาเลย์เป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่ายที่สุดภาษาหนึ่ง เป็นภาษาที่ง่ายที่สุดในบรรดาภาษาของชาวตะวันออก และประกอบจากการประสมเสียงสระเป็นส่วนใหญ่

ศาสนาของชาวมาเลย์ในคาบสมุทรคือ ศาสนาอิสลาม ที่ผสมกับไสยศาสตร์ พวกเขาถูกปกครองโดยราชาหรือกษัตริย์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีของพวกเขาเรียกว่า โตมางกง (Tomonggong) เสื้อผ้าของพวกเขาประกอบด้วยสะโหร่งหรือผ้าถุงทำจากลินิน พร้อมมีกางเกงซับใน ผมมีสีดำ แต่พวกเขามักจะโกนผมออกและพันด้วยผ้าโพกหัวสกปรกแทน กริชเป็นอาวุธที่พวกเขาโปรดปราน พวกเขามักเหน็บเอาไว้บริเวณเข็มขัดและใช้มันอย่างคล่องแคล่ว

ตรังกานุ (Tringanu)


รัฐตรังกานูตั้งอยู่ที่ละติจูดองศาที่ 4 เป็น ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ค่อยมีภูเขาและถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ มีประชากรประมาณ 50,000  หากยังไม่นับรวมชาวจีนหมื่นหรือหมื่นสองพันคน ชาวมาเลย์ที่นี่ออกไปหาทองคำและดีบุกได้จากทรายในแม่น้ำ และโลหะเหล่านี้เป็นสินค้าหลักที่ใช้ในการค้าขาย

เมืองตรังกานูที่ประทับของราชา ซึ่งพระราชวังตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำสายเล็กๆ ซึ่งมีป้อมปราการเล็กๆ ที่สร้างขึ้นบนเนินเขาคอยทำหน้าที่ป้องกัน เมืองนี้มีบ้านเรือนจำนวน 1,500 หลัง ซึ่งรวมถึงไชน่าทาวน์ด้วย ที่บ้านเรือนของชาวจีนจะสร้างจากอิฐทั้งหมด ในขณะที่บ้านของชาวมาเลย์ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่และปูหลังคาด้วยใบไม้ ตลาดสดมีผลไม้คุณภาพดีและราคาถูกมากมาย เหรียญจากดีบุกถูกใช้เป็นเงินสำหรับการซื้อขาย

กะลันตัน (Kalantan)


รัฐกะลันตันตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของตรังกานู ซึ่งแบ่งแยกโดยแม่น้ำสายเล็กๆที่ชื่อบาตุต (Batut) ซึ่งเชื่อต่อไปยังแม่น้ำอีกสายหนึ่งที่เรียกว่า  Z~ïMMf ซึ่งแยกจากปาตานี ประชากรรวมทั้งชาวจีนมีจำนวนถึง 65,000 คน รัฐแห่งนี้แบ่งออกเป็น 50 เขต ซึ่งผลิตทองคำ ดีบุก และพริกไทย ซึ่งชาวมาเลย์จะส่งสินค้าไปขายที่สิงคโปร์ และเหล็กจะส่งไปขายังกรุงเทพ  คนจีนในกาันตันก็เหมือนกับชาวจีนในตรังกานุ พวกเขาพ่อค้าและใช้เวลาทั้งวันในการดื่มชา สูบฝิ่น และค้าขาย แต่สินค้าบางอย่างของชาวจีนก็ดูไม่เหมาะสมกับดินที่อุดมสมบูรณ์เลย

ปัตตานี (Patani)


ธานี (Thani) หรือ ปัตตานี ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกลันตัน แต่เป็นรัฐที่มั่งคั่ง เฟื่องฟู พื้นดินอุดมสมบูรณ์ และผลผลิตก็มากกว่ารัฐมาเลย์อื่นๆ อย่างมีนัยยะ ประชากรมีประมาณ 100,000 คน ซึ่งชาวสยามเป็นส่วนใหญ่ของที่นี่ ที่เมืองนี้ผลิตข้าว เกลือ ทอง และดีบุก การปกครองแบ่งออกเป็น 5 เขต โดย 3 เขตตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล และ 2 จังหวัดด้านใน ปัตตานีมีชื่อเสียงมานานเพราะเป็นเส้นทางเดินเรือในสมัยโบราณ เพราะเดิมใช้เป็นเมืองสำหรับพักสินค้า ที่ส่งไปค้าขายระหว่างสยาม กัมพูชา และจีน

เมื่อก่อนทั้งจังหวัดนี้เป็นมีแต่ชาวมาเลย์ทั้งหมด แต่เมื่อเขาต้องการแยกออกจากอาณาจักรสยาม พวกเขาก็ถูกถือว่าเป็นกบฏ ประชาชนมากกว่าครึ่งถูกจับเป็นเชลยและชาวสยามได้เข้ามาแทนที่

เกดาห์ (Quedah)


เกดาห์ ซึ่งชาวสยามเรียกว่าเมืองไทร (Muang-Sai ไทรบุรี) ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 และ ที่ 7  ถูกกันระหว่างสงขลาและปัตตานีโดยเทือกภูเขาหินแกรนิตซึ่งทอดยาว ภูเขาบางแห่งมีความสูงตั้งแต่สี่ถึงหกพันฟุต ค่อนข้างอุดมด้วยดีบุก ทองคำยังพบได้บ้างแต่มีปริมาณน้อย ยิ่งกว่านั้นประเทศนี้ถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้อันกว้างใหญ่และยังไม่มีการสำรวจ ชายฝั่งทะเลเป็นแอ่งน้ำ มีการปลูกอ้อย จันทน์เทศ กานพลู และกาแฟซึ่งพืชพวกนี้เติบโตได้ดีบนเนินเขาใกล้ทะเล ในรัฐนี้มีแม่น้ำ 36 สาย ซึ่ง 6 สายนั้นสามารถใช้เดินเรือได้ การปกครองถูกแบ่งออกเป็นหนึ่งร้อยห้าหมู่บ้านซึ่งมีประชากรจำนวน 60,000 คน ส่วนใหญ่เป็นมาเลย์ ที่เหลือเป็นชาวสยาม

ตัวเมืองเกดาห์ ถูกใช้เป็นสถานที่พำนักของราชา แต่ว่าป้อมปราการสำหรบการป้องกันนั้นไม่ดีและมีประชากรเพียงเจ็ดหรือแปดพันคน เนื่องจากราคาแห่งเกดาห์ได้ขายเกาะพูโลปินัง (Pulopinang) ให้แก่อังกฤษ ทำให้การค้าขายระหว่างรัฐกับเกาะพูโลปินังคึกคัก เพราะเกาะห่างจากชายฝั่งไม่ไกล และยังมีเกาะเล็กๆ รอบๆ อีกหลายเกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดชื่อลังกาวี (Lang-Kavi)มีความอุดมสมบูรณ์มากและเป็นอาศัยอยู่โดยชาวมาเลย์ 5,000 คน เล่ากันว่า ป่าของเกดาห์เต็มไปด้วยเสือโคร่ง เสือดาว และสัตว์ดุร้ายอื่นๆ

ลิกอร์ (Ligor)


ลิกอร์ ซึ่งชาวสยามเรียกว่าเมืองละคร (Lakorn ~ เมืองนคร)  และมีชื่อจริงว่านครศรีธรรมราชเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งโดยกษัตริย์พระองค์หนึ่งของจูเทีย (Juthia) เมื่อประมาณสี่ร้อยห้าสิบปีก่อน ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 7 ถึง 9 ซึ่งยาวห้าสิบลีคและกว้างประมาณสามสิบลีค ถลุง (Thalung ~ ถลาง) และสงขลา ทั้งสองจังหวัดเคยที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ถูกปกครองโดยมีเจ้าชายสองพระองค์ซึ่งเป็นพระญาติของกษัตริย์แห่งเมืองลิกอร์ หลายครั้งที่ดินแดนนี้ต้องการหลีกหนีการปกครองของสยาม แต่สยามก็รู้วิธีที่จะนำกลับมาปกครองได้อยู่เสมอ แต่กษัตริย์องค์ปัจจุบันและพระอนุชาของพระองค์ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับครอบครัวของนายกรัฐมนตรีของสยาม ซึ่งส่งผลให้ทั้งดินแดนทั้งสองรวมเข้าด้วยกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้ 

เราสามารถประมาณจำนวนประชากรของลิกอร์ว่ามี 150,000 คน โดยสามในสี่เป็นชาวสยาม ส่วนที่เหลือประกอบด้วยชาวจีน มาเลย์ และชนเผ่าพื้นเมืองอีกสองสามเผ่าที่อาศัยอยู่ในป่า ป่าเหล่านี้แทบไม่เคยถูกมนุษย์ย่างกายเข้าไป หากคุณจะผ่านก็ต้องเปิกทางด้วยเหล็กและไฟ ซึ่งที่นั่นคุณสามารถเห็นต้นไม้ใหญ่มหึมาตั้งตรงและมีกิ่งก้านสูงนับร้อยฟุต และเกือบตลอดทางคุณต้องเจอลำธาร ทะเลสาบ แม่น้ำ เพราะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบและเป็นแอ่ง แม่น้ำและทะเลสาบเล็ก ๆ เต็มไปด้วยจระเข้

เมืองลิกอร์ตั้งอยู่ในที่ราบที่ร่มรื่นและสวยงาม ล้อมรอบด้วยกำแพงอิฐที่มีคูน้ำลึก มีเจดีย์ที่สวยงามโดดเด่น  ประชากรในเมืองรวมทั้งชาวจีน มีประมาณ 12,000 คน แม่น้ำซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือมีความลึกสองหรือสามฟาทอม และปากแม่น้ำมีความกว้างและปลอดภัยสำหรับเรือสำเภาที่จะเข้ามาค้าขายที่นั่น

ผลผลิตหลักของที่นี่ ได้แก่ ข้าว ดีบุก ทอง พริกไทย หวาย  ไม้สำหรับย้อมผ้า งาช้าง เป็นต้น เรือของลิกอร์มีความสวยงามและมีอุปกรณ์ครบครัน ใบเรือทำด้วยผ้าใบสีขาว และไม่เป็นท่อนๆ เหมือนใบเรือของเรือสำเภามาเลย์ ช่างทองชาวลิกอร์ทำอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เป็นงานเฉพาะของพวกเขา เช่นการตกแต่งประดับแจกันเงินด้วยแผ่นทอง ขึ้นรูปบนพื้นหลังสีดำที่สวยงามน่ามองยิ่ง ศาสนาของชาวลิกอร์เหมือนกับของคนไทย 

แคมโบเดีย (Cambodia)


แคมโบเดียเคยถูกเรียกว่ากัมพูซา (Kamphuxa) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า กัมโบชา (Caboja) แต่วันนี้พวกเขาถูกเรียกว่าเขมร (Khmer) เดิมเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่จาก ละติจูดที่ 8° 30′ ถึงละติจูดที่ 20° ซึ่งครอบคลุมหลายเมืองของลาวและแม้กระทั่งสยามเอง แต่ว่าได้เสื่อมสลายไปกว่าสามร้อยปีที่ผ่านมา เพราะถูกรุกรานโดยสยามด้านหนึ่ง และอีกฟากหนึ่งโดนโคชินไชน่า (Cochinchina เวียดนาม) รุกราน ซึ่งทำให้เสียอาณาเขตไปเกือบทั้งหมด และทุกวันนี้เหลือพื้นที่เพียงประมาณสี่สิบลีคเท่านั้น และประกอบไปด้วย 4 จังหวัด คือโพธิสัต (Photisat) หรือโพร์สัต (Poursat)  กำปงสวย (Kampon-Saui) กำปงส้ม (Kampong-Som) และกำปอด (Kampot) สองจังหวัดหลังนี่เป็นจังหวัดที่ติดกับทะเล เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เจ้าชายกัมพูชาชื่อองค์ดวง (Ongduang) ถูกนำตัวมาคุมขังไว้ในกรุงเทพฯ ซึ่งเราทราบมาว่ากษัตริย์แห่งกัมพูชา ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ ได้เสด๊จลี้ภัยไปอยู่กับชาวอันนัม (Annamites ชาวเวียดนาม) พระองค์เพิ่งสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์แห่งสยามจึงปล่อยองค์ดวงออกจากเรือนจำทันที พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระองค์ พระราชทานทองคำและเงินให้อีกจำนวนมหาศาล . , และกองทัพของสยามได้นำองค์ด้วงกลับเข้าไปครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งแคมโบเดีย ซึ่งตอนนี้พระองค์ก็ทรงครองราชย์อยู่

แคมโบเดียถูกล้อมรอบด้วยทะเลด้านทิศใต้ ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับสยาม และแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ทำหน้าที่เป็นพรมแดนด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ในขณะที่ด้านตะวันตกทั้งหมดเป็นภูเขาและปกคลุมด้วยป่าไม้ ผลผลิตได้แก่ ข้าว งาช้าง ไหม กระวาน ไม้กฤษณา และต้นรกทอง (gamboge) หรือที่เรียกว่าหมากฝรั่งกัมพูชา ประชากรทั้งหมดมีจำนวนไม่ถึง 500,000 คน โดยเจ็ดในสิบเป็นชาวกัมพูชา ส่วนที่เหลือเป็นชาวสยาม จีน และเวียดนาม

นอกจากแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่แล้วประเทศนี้ไม่มีแม่น้ำที่สำคัญเลย และที่ปากแม่น้ำกำปอตเป็นท่าเรือเพียงแห่งเดียวที่ชาวเวียดนามเหลือทิ้งไว้ให้แคมโลเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเล็กๆ ชื่อเดียวกัน มีประชากร 3,000 คน มีการค้าขายพอสมควร ซึ่งปกติแล้วจะเห็นเรือสำเภาประมาณหกสิบลำจอดอยู่ที่นั่น

ชาวเวียดนามได้เผาเมืองหลวงเก่าซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไปแล้ว กษัตริย์องค์ปัจจุบันจึงได้สร้างที่ประทับของพระองค์ใหม่ไว้ทางริมฝั่งทางฝั่งตะวันตก และเมืองหลวงใหม่นี้เรียกว่าอุด้ง (Udong)  มีประชากรประมาณ 12,000 คน ตรงใจกลางเมืองมีจัตุรัสขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยกำแพงที่มีประตูแต่ละด้านและขนาบข้างด้วยป้อมปราการ ภายในจัตุรัสนี้มีกำแพงล้อมรอบอีกแห่งหนึ่งซึ่งล้อมรอบวังของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังที่ค่อนข้างธรรมดาและไม่มีอะไรน่าประทับใจ บ้านเรืองของประชาชนยังสร้างจากไม้ไผ่ มีเพียงบางหลังเท่านั้นที่ทำจากไม้กระดาน ส่วนเมืองอื่นๆ ในประเทศนี้ไม่มีอะไรสำคัญน่าสนใจ ฉันถึงเล่าถึงแค่โป่งสน (Pong-Song) กำปอต (Kampot)และปินหลู (Pinhalu) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงเท่านั้น

ที่ปลายสุดทางเหนือของกัมพูชามีทะเลสาบที่สวยงามชื่อว่าทะเลสาป (Thalesap โตเลสาบ) ซึ่งมีเส้นรอบวงกว่ายี่สิบลีค มันเต็มไปด้วยปลามากมาย ทุกปีเมื่อน้ำลดจะมีการจับปลาขนาดใหญ่ที่มีรสชาดอร่อย ปลาชนิดนี้เรียกว่า ปลาสวาย ซึ่งมันจะถูกนำไปหมักกับเกลือและขี้เถ้าที่ได้จากต้มปาล์ม ซึ่งทำให้รสชาดของเนื้อปลาหวาน หวาน และหวาน 

ใกล้กับริมฝรั่งของทะเลสาบแห่งนี้ ยังซึ่งเป็นที่ตั้งของซากโบราณสถานซึ่งน่าอัศจรรย์ นครวัด (Nokorvat) ที่ประกอบด้วยพระราชวังใหญ่ แนวเสาหิน และแนวของ ปิรามิด วัดหรือเจดีย์ ทั้งหมดสร้างด้วยหินอ่อนแกะสลัก นอกจากนั้นยังมีสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเหมือนโดมและห้องโถงขนาดใหญ่ มันเป็นผลงานอันน่าทึ่งที่เป็นฝีมือมนุษญ์ แต่ชาวกัมพูชาไม่เคยพูดถึง พวกเขาบอกแต่ว่าเป็นผลงานของเทวดาไม่ใช่ของมนุษย์  เป็นไปได้ว่าซากปรักหักพังเหล่านี้จะย้อนกลับไปในสมัยของกษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งกัมพูชา พระอัยจุม สุริวงศ์ (Phra ayjum Surivong ~ สุริยวรมัน ที่ 2 ?) ซึ่งในสมัยนั้นมีคณะทูตจากศรีลังกา (Ceylon) ได้นำหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธและศาสนาของพระพุทธเจ้าเข้ามาเผยแผ่ในประเทศนี้

ด้านสรีระศาสตร์ ผิวพรรณ รูปร่าง กระทั่งกิริยาและจารีตประเพณี ชาวแคมโบเดียค่อนข้างจะคล้ายกับชาวสยาม แต่พวกมีสีผิวที่เข้มกว่าและนิสัยกร้าวร้าวกว่า ผู้หญิงมีความสามารถในการทอไหม และมักทำแถบสีและดอกไม้ มีความภาคภูมิในใจในสีสันและความคมชัดของมัน  ชาวแคมโบเดียมีความลับและความเชื่อเกี่ยวกับโลหะสีดำที่พวกเขาเรียกว่าสัมฤทธิ์ ที่พวกเขาพรรณาคุณสมบัติไปตามแต่จินตนาการ ตัวอย่างเช่น ในแจกันที่ทำจากสัมฤทธิ์ พวกเขาเชื่อว่าถ้าเอามาใช้ใส่ปูนแดงที่ใช้เคี้ยวพลู น้ำปูนจะไม่มีวันแห้ง และยังเชื่อว่าผิวของน้ำที่อยู่อ่างสัมฤทธิ์ ตรงกลางจะสูงกว่าบริเวณขอบ ฯลฯ

ภาษาเขมรมีความน่าสนใจ ทุกคำที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะถูกแปลงมาจากภาษาบาลี มีส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นคำเฉพาะ แต่ว่าก็มีความยากเล็กน้อยเนื่องจากพยัญชนะหลายหลากเสียง แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอักษร “ร” ใช้บ่อยมากในภาษาของพวกเขา และออกเสียงนั้นเสียงต่ำเหมือนคนปารีส งานเขียนของพวกเขาสวยงาม แต่ซับซ้อนเกินไปและยากที่จะเลียนแบบ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้ลอกเลียนแบบที่ดีแม้นในหมู่พวกเขากันเอง

เมื่อก่อนแคมโบเดียมีสกุลเงินเป็นของตัวเอง แต่ทุกวันนี้ใช้สกุลเงินของสยามและเวียดนาม ซึ่ง ประกอบด้วย เหรียญเงิน (tical) แท่งเงิน เหรียญดีบุกที่มีรูตรงกลาง (sapek) ซึ่ง 1,200 sapek เท่ากับ 5 ฟรังก์ฝรั่งเศส

ประมาณสองศตวรรษก่อน ศาสนาคริสต์ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในแคมโบเดีย โดยทหารโปรตุเกสจำนวนสองสามร้อยนาย ซึ่งพวกเขาได้แสดงตัวเองเป็นข้าราชบริพารรับใช้กษัตริย์ และได้ตั้งรกรากอยู่ประเทศในที่สุด แต่ว่าศาสนาคริสต์ก็ไม่เจริญรุ่งเรื่อง บางทีอาจเป็นเพราะสงครามและความวุ่นวายอาณาจักรที่โชคร้ายต้องเผชิญอย่างไม่หยุดหย่อน ปัจจุบันมีชาวคริสเหลืออยู่เพียงห้าร้อยคน แต่มีพระสังฆราชองค์ใหม่ซึ่งพระสันตะปาปาได้ทรงแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบรรดามิชชันนารี หวังว่าจะประสบความสำเร็จ ผมหวัง ,ในการฟื้นฟูศรัทธาให้กลับมาในประเทศ

โคราช (Korat)


จังหวัดเล็กๆ แห่งนี้เคยเป็นเมืองที่ทำหน้าที่เป็นพรมแดนระหว่างสยามกับแคมโบเดีย นั่นเป็นที่มาของชื่อนคร-รักษา-เสมา (เมืองชายแดน) ตอนนี้มีเจ้าเมืองน้อยๆ อยู่สององค์ซึ่งปกครองอาณาบริเวณยาวประมาณสี่สิบลีค โคราชเป็นจุดที่สูงที่สุดระหว่างสยามและแคมโบเดีย ตัวเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพง ตั้งอยู่บนที่ราบสูงที่มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกด้าน แต่ว่าการจะเดินทางไปที่นั่น ต้องใช้เวลาหกวันและทางเป็นทางลาดขึ้นเขา ป่าที่มีชื่อเสียงของที่นี่เรียกว่า ป่าดงพญาไฟ(ป่าของราชาแห่งไฟ) เพียงแค่ชื่อก็ฟังดูสยองขวัญแล้ว มีนักเดินทางมากมายที่ต้องสังเวยชีวิตภายในป่าแห่งนี้ ว่ากันว่าในหลายพื้นที่ของป่าแห่งนี้ พื้นดินเหมือนจะมีแหล่งของสารหนู ซึ่งนักเดินทางที่ผ่านมาสูดเข้าไปในรูปของฝุ่นผง  และด้วยเหตุนี้เองที่ผู้คนจำนวนมากถึงต้องสังเวยชีวิตที่นี่

โคราชมีประชากรประมาณ 60,000 คน  ในตัวเมืองมีประชากรเพียง 7,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นชาวสยามและครึ่งหนึ่งเป็นชาวแคมโบเดีย มีเหมืองทองแดงมากมาย เร็วๆ นี้เพิ่งมีการจัดตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นมาสี่หรือห้าแห่ง  จังหวัดนี้ยังเป็นแหล่งของงาช้าง หนัง เขาสัตว์ กระวาน ชิงชัน อบเชย ฯลฯ อีกด้วย

เกี่ยวกับลาว

ลาว มี ความคล้ายคลึงกันมากกับสยามและพม่า แต่มีผิวขาวกว่า พวกเขาถูกสร้างขึ้นมาอย่างปราณีต แข็งแรง และโดยทั่วไปแล้วจะมีผู้ที่สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดวงตานั้นเอียงเล็กน้อย จมูกเล็กมากกว่าแบน ปากกว้าง แต่ก็ถูกทำให้ไม่งามเพราะด้วยฟันสีดำ ผมยาวตรง หยาบและดำ คนลาวเผ่าที่เรียกว่าลาวพุงดำนั้น จะสักที่บริเวณขาและต้นขาเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่เผ่าลาวพุงขาวไม่ชอบการสัก รอยสักมักถูกสักเป็นรูปของสัตว์อย่าง หมี ช้าง เสือ มังกร ฯลฯ

เมืองของลาวที่คนมีผิวขาวและไม่นิยมการสัก ได้แก่ เมืองลอม และเมืองหลวงพระบาง  ในญณะที่เผ่าที่นิยมการสักอาศัยอยู่ในเซียงใหม่ ลำพูน นคร เมืองแพร่และเมืองน่าน

สกุลเงินลาวมีลักษณะเป็นก้อน รูปวงรีหรือคล้ายกับเค้กกลมขนาดเล็ก มันเป็นโลหะที่ไม่บริสุทธิ์ คล้ายกับว่าพวกเขาสกัดออกมาจากเหมือง ซึ่งภูมิประเทศที่เป็นภูเขาในดินแดนนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเหมืองแร่ทุกชนิด ต้นไม้และพันธุ์ไม้ของประเทศนี้เกือบจะเหมือนกับในสยาม ในด้านตะวันออกเฉียงเหนือเราพบพันธุ์ปาล์มที่มีอยู่มาก เรียกว่า ลาน (lan) ใบของมันถูกใช้สำหรับเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาโดยใช้ปากกาเหล็กขนาดเล็ก หลังจากขีดเขียนเส้นอักขระบนใบลานแล้ว ก็จะเอาหมึกทา ก่อนที่จะเช็ดออก ซึ่งจะเหลือแต่รอยที่ขีดด้วยแท่งเหล็กเท่านั้นที่จะยังอยู่

ลาวมีต้นกำเนิดเดียวกับไทย ภาษาของพวกเขาอ่อนโยนมากและมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยมากจนทำให้ทั้งสองชาติสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ งานเขียนของพวกเขาคล้ายกับของเขมรหรือแคมโบเดีย การแต่งกายนั้นผู้ชายสวมลังกูตี (langoti ผ้าที่นำมาพันรอบเอว เหมือนกางเกงใน) และเสื้อแขนสั้น ซึ่งบางครั้งพวกเขาจะสวมเสื้อคลุมที่ทำจากผ้าฝ้าย และมีแถบสีดำและสีแดง ในขณะที่ผู้สูงอายุอาจจะสวมเสื้อคลุมที่ทำจากผ้าดิบหรือผ้าไหมปักด้วยด้ายทองทองหรือเงิน ผู้ชายตัดผมทรงแบบสยาม กล่าวคือ ไว้ผมด้านหน้าและโกนที่เหลือ  ผู้หญิงมีเพียงกระโปรงสั้นลายทางหลากสี ผูกจากด้านหน้า และผ้าพันคอทำจากไหมถูกพันไว้รอบๆ หน้าอกแทนที่จะใช้คลุม แต่เมื่อต้องออกจากหมู่บ้าน พวกเขาสวมเสื้อแจ็กเก็ตที่รัดแน่นมาก และผูกรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดงอ่อน ผู้หญิงนั้นค่อนข้างขาวกว่าผู้ชายและมีลักษณะที่สวยงาม พวกเขาสวยงาม ผมสีดำที่มัดขึ้นเหนือศีรษะ  ผู้ชายและผู้หญิงมักเดินเท้าเปล่า แต่บางครั้งพวกเขาสวมรองเท้า ซึ่งทำมาจากหนังควายและรัดติดกับเท้าด้วยห่วงที่ทำจากวัสดุเดียวกัน เด็กทั้งชายและหญิงสวมสร้อยคอที่ทำจากแก้วและกำไลอันใหญ่ที่ทำจากทองหรือเงินที่มือและเท้า เด็ก ๆ สวมแผ่นทองแดงหรือเงินที่คอของพวกเขาซึ่งมีการแกะสลักรูปที่แปลกประหลาดและตัวอักขระที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เชื่อว่าเพื่อรักษา พวกเขาเชื่อว่ามันช่วยป้องกันจากโรคและป้องกันพวกเขาจากวิญญาณชั่วร้าย

ที่อยู่อาศัยของพวกเขาไม่มีอะไร เป็นเพียงกระท่อมที่สร้างด้วยแผ่นไม้ไผ่พันกันอย่างมีศิลปะ ติดตั้งบนเสาไม้แปดหรือสิบต้น และปกคลุมด้วยใบไม้หรือหญ้าแห้ง ด้านล่างของกระท่อมยังมีกระท่อมสำหรับควาย วัว สุกร ไก่และเป็ด ในขณะที่คนในครอบครัวจะนอนอยู่ที่ชั้นบนสุดซึ่งมักจะมีห้องเดียว ที่มีห้องทำอาหารแบบมีหลังคาสำหรับทำอาหาร อย่างไรก็ตาม ในเมืองมีบ้านที่ทำจากอิฐสองสามหลังและเจดีย์ที่สวยงามมาก บางครั้งก็ปิดทองทั้งภายในและภายนอก

คนลาวเป็นคนที่รักสงบสุข อ่อนน้อม อดทน มีสติสัมปชัญญะ มั่นใจ ซื่อ เชื่อโชคลาง ซื่อสัตย์ เรียบง่ายและไร้เดียงสา ธรรมชาติของพวกเขาเกลียดการลักขโมย ว่ากันว่าครึ้งหนึ่งกษัตริย์ของพวกเขาลงโทษหัวขโมยด้วยการทอดในหม้อน้ำมันเดือด แต่เนื่องจากผลของสงครามครั้งสุดท้าย มีคนเริ่มพบโจรจำนวนหนึ่งซึ่งถูกบังคับให้ต้องออกปล้นเพราะความยากจนหรือเพราะต้องการล้างแค้น

อาหารของพวกเขา ได้แก่ ข้าวเหนียว ปลา ไก่ หมู เนื้อกวางหรือควายป่า และผักอีกมากมาย แต่อาหารจานโปรดของพวกเขาคือปลาที่ทิ้งให้บูดกลางแดดแล้วแช่ในน้ำเกลือ พวกเขาเอามาทำเป็นน้ำพริกด้วยการผสมกับข้าวและพริก นอกจากนั้น งู กิ้งก่า ค้างคาว หนู กบทั้งตัว ก็เป็นเกมที่เอร็ดอรอ่ยเพราะพวกเขาจะต้องออกล่าพวกมันในแต่ละฤดูกาล ซึ่งพวกเขาจะปรุงมันโดยการนำไปย่างบนเตาถ่าน

ในหมู่ประชาชนทั่วไปนั้นหายากที่จะมีคนที่เป็นเจ้าของเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องเคลือบกระเบื้อง พวกเขากินอาหารโดยใส่ในตะกร้าเล็กๆ ที่ทอด้วยหวาย และหากคุณยกกล่องไม้ที่มีผ้าไหมที่สวยงาม พวกเขาไม่มีเครื่องประดับอื่นใดนอกจากตะกร้าทำจากหวายหรือไม้ไผ่ ไม่มีเก้าอี้ ไม่มีม้านั่ง ไม่มีเตียง มีแต่เสื่อที่ชำรุดสองสามผืนที่ทำหน้าที่เป็นที่นั่ง โต๊ะและเตียงในเวลาเดียวกัน

ความบันเทิงที่พวกเขาชื่นชอบคือการล่าสัตว์และการตกปลา ข้าพเจ้ามักชื่นชมความคล่องแคล่วของเด็กๆ ที่ใช้หอกยาวแทงปลาในกระแสน้ำที่ใสสะอาดของกระแสน้ำเชี่ยวได้อย่างแม่นยำ  และจะกลับมาบ้านในตอนเย็นพร้อมเหยื่อที่หามาได้ อาวุธที่พวกเขาใช้ในการล่าสัตว์ ได้แก่ ปืนไรเฟิล หน้าไม้ และปืนลูกซอง ซึ่งทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเมื่อพวกเขายิ่งลูกธนูออกไปแลว ลูกศรไม่ค่อยจะพลาดเป้า

นอกจากนั้นแล้วยังมีการการปลูกข้าวและข้าวโพดแล้ว ชาวลาวยังปลูกมันฝรั่ง สควอช พริกแดง แตง และผักอื่นๆ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเลือกพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์บริเวณใกล้กับป่า พวกเขาจะโค่นต้นไม้ออกจนหมดแล้วจุดไฟเผา ซึ่งวิธีนี้ทำให้แผ่นดินมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอย่างน่าประหลาดใจ พวกเขาขายงาช้างให้กับจีน และยังมีหนังเสือและหนังสัตว์ป่าอื่นๆ ด้วย ฝงทอง แร่เงินและทองแดง ยาง กระวาน แล็กเกอร์ ขี้ผึ้ง ไม้สำหรับย้อมสี ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และสินค้าอื่น ๆ ที่พวกเขาส่งไปแลกเปลี่ยนกับถ้วยชาม เครื่องแก้ว และ วัตถุสินค้าอื่น ๆ จากประเทศจีน

คนลาวไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อการทำสงคราม พวกเขายินดีที่จะสวามิภักดิ์กับกษัตริย์ของประเทศข้างเคียง พวกเขาไม่เคยรู้วิธีที่จะสลัดพันธนาการนี้ออก และหากพวกเขาพยายามก่อกบฏไม่กี่ครั้ง ไม่ช้านานมันก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม เหมือนทาสที่ดื้อรั้นเมื่อเห็นเจ้านายที่หงุดหงิดถือ ไม้เรียวเพื่อเตรียมจะลงทัณฑ์

ยาถือว่าเป็นของสูงในหมู่พวกเขา แต่เป็นยาทั้งเชิงประจักษ์และทั้งไสยศาสตร์ ยาครอบจักรวาลสำหรับรักษาทุกโรคของพวกเขาคือน้ำมนต์ที่ให้ผู้ป่วยดื่มหลังจากผูกด้ายสายสิญจน์เข้ากับแขนและขาของคนป่วยแล้ว เชื่อว่าเพื่อป้องกันอำนาจของวิญญาณชั่วร้าย อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า วิธีนี้รักษาคนป่วยได้ ราวกับใช้เวทมนตร์ ความเจ็บป่วยที่ถูกรักษาด้วยพืชสมุนไพรที่ไม่รู้จักในยุโรป และซึ่งดูเหมือนจะมีพลังอำนาจยิ่งใหญ่ ในการเยียวยารักษาโรคได้เกือบทั้งหมด มีบางสิ่งที่แปลกประหลาดและความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กระดูกของนกแร้ง เสือ งู นกฮูก, น้ำดีของงูเหลือม เสือ หมี ลิง,  เขาแรด ไขมันจระเข้ น้ำที่ได้จากอวัยวะสัตว์และสารอื่น ๆ ลักษณะนี้ถือเป็นยาที่ดีเลิศ

ดนตรีของพวกเขาไพเราะ กลมกลืน และซาบซึ้งมาก ใช้คนเพียงสามคนก็สามารถสร้างคอนเสริฐแสนไพเราะ คนหนึ่งเล่นออร์แกนที่ทำจากไม้ไผ่ อีกคนร้องเพลงแสนโรแมนติกที่สร้างแรงบันดาลในจิตใจ และคนที่สามใช้ไม้กระทบกันให้เกิดเป็นเสียงเข้าจังหวะ ซึ่งให้ผลดี ออแกนแบบลาวประกอบด้วยไม้ไผ่สิบหกชิ้นที่มีขนาดเล็กแต่ยาว ถูกยึกเอาไว้กับไม้ตะโก และใช้ปากเป่า ซึ่งทำให้เกิดเสียงระดับต่างๆ ด้วยช่องเล็กๆ ที่ทำบนไม้ไผ่แต่ละชิ้น เสียงที่ออกมาช่างกลมกลืนกัน ในขณะที่นิ้วมือร่ายไปอย่างคล่องแคล่วเหนือรูเล็ก ๆ จำนวนมาก ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ของพวกเขาคล้ายกับของสยาม

ลาวเป็นพุทธนิกายเหมือนคนไทย พวกเขาสร้าง เจดีย์ ไว้เป็นที่สักการะพระพุทธรูป แต่ไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าพวกเขาบูชาภูติผีวิญาณหรือปีศาจมากกว่าพระพุทธเจ้า พวกเขาเชื่อว่ามีผีสางหลายประเภท 

(1) ผีแห่งป่า (Phi phrai ผีไพร) ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าทึบ ถ้าใครรุกล้ำที่จะเข้าไปที่นั่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเข้าไปค้างแรมที่นั่น มักจะหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ในบางครั้ง ในบางครั้งคนเหล่านั้พบว่าตัวเองถูกส่งตัวไปยังดินแดนประหลลาด  หลงทางอยู่ในภาพลวงตานานหลายปีก่อนที่จะสามารถหลบหนีจากอาณาจักรเวทมนตร์ได้ เขาพบว่าตัวเองอยู่ที่ประตูกระท่อมของเขา ซึ่งเขาพบว่ามันยาก ให้ภรรยาและลูกๆ ของเขารู้จัก ซึ่งไม่คิดถึงเขาอีกต่อไป บ่อยขึ้น ปีศาจแห่งป่าทำดาเมจกับไข้ร้ายที่พาเขาไปที่หลุมฝังศพในอีกไม่กี่วัน 

(2) ปิศาจที่ทำให้เกิดความกลัว (Phi-lok ผีหลอก) ปีศาจพวกนี้จะทำให้มนุษย์เกิดคามหมายกลัวโดยทำให้พวกเขาเห็นภาพหลอนหรือว่าได้ยินเสียงประหลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนที่ผู้คนออกไปเดินรอบบ้านเรือน หรือตามถนนรอผู้สัญจรไปมา ผีพวกนี้ก็จะปรากฏตัวออกมาในรูปลักษณ์ที่สะพรึงกลัว 

(3) ปีศาจตะกละ ( phi pob ผีปอป ) ปีศาจพวกนี้เป็นปีศาจที่มีความโลภที่ไม่รู้จักพอ เมื่อคุณโกรธแค้นหรือต้องการจะทำร้ายใครก็ตาม คุณก็แค่ต้องไปหาพ่อมดหรือหมอผีที่เลี้ยงปีศาจชนิดนี้เอาไว้ หมอผีก็จะเป็นคนสั่งให้ปีศาจออกไปทำร้ายคนที่คุณต้องการ ปีศาจตนนี้จะสิงเข้าไปในร่างของเหยื่อ และกัดกินอวัยวะภายใน ตับ และหัวใจของเหยี่อเคราะห์ร้ายคนนั้น เหยื่อก็จะค่อยๆ ตายลงไปวันละนิด วันละนิด จนกว่าเขาจะสิ้นใจในที่สุด 

(4.) ปีศาจที่ทำหน้าที่คุ้มครอง ( Thevada เทวดา) เป็นปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ในกระท่อมแต่ละหลังและปกป้องเจ้าของบ้าน แต่ก็ต้องระมัดระวังและดูแลเทวดาเหล่านี้ให้ดี ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะทำให้เกิดโรคร้าย ทำลายการเก็บเกี่ยวข้าวไม่ได้ผล และทำให้คนในบ้านเป็นทุกข์ และวิธีที่เราต้องดูแลเทวดาเหล่านี้  เราต้องสร้างแท่นทรงคล้ายปีรามิด(ศาล)ไว้ข้างบ้าน จากนั้นก็โยงด้ายสีขาว (สายสิญจน์) จากยอดปีรามิดเข้าไปในตัวบ้าน เส้นด้ายเหล่านี้เองที่เทวดาใช้ลงมาจากปิรามิด คอยยืนเฝ้าและปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย เสือโคร่งงูและและทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อความสุขของเจ้าของบ้าน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของกระท่อมเช่นนี้นั้น จำเป็นต้องยกแท่นบูชาเล็กๆ เอาไว้ด้วย เพื่อเป็นที่นั่งของเทวดา ซึ่งบางที่เขาอาจจะมาแสดงปาฏิหารย์ตรงนั้น หรือไม่พวกเราก็จะเข้าไปขอคำปรึกษาในทุกกรณีที่มีความทุกข์ โดยเจ้าของบ้านจะเข้าไปอธิษฐานและจุดเทียนไข ธูปหอม ข้าว อารักษ์(เหล้า) ถวายแก่เทวดา ยิ่งกว่านั้นดูเหมือนว่าเทวดาจะชอบไวน์ด้วยนะ  ในทุกๆ วัน เช้าและเย็น อย่าลืมตักข้าวสวยร้อนๆ เต็มชาม ไปถวายด้วยเพื่อที่เทวดาจะได้ลิ้มรสข้าวที่นึ่งสุกใหม่ๆ  เล่ากันว่าถ้าเทวดามาพบว่าชามของเขาว่างเปล่า เทวดาก็จะโกรธ และยังเชื่อกันว่าเทวดาไม่อนุญาตให้คนแปลกหน้านอนที่บ้านมากกว่าสามคืน นี่คือเหตุผลที่คนลาว (อย่างน้อยก็ที่ฉันได้พบเห็น) ให้การต้อนรับแขกแปลกหน้าเพียงแค่สามวันหลังจากนั้นพวกเขาจะบอกให้คุณไปหาที่อยู่อื่นเอาเองที่อื่นเพื่อไม่ให้เทวดาเกิดความขุ่นเขือง เพราะดูเหมือนว่าเขาชอบ

เชียงใหม่ (Xieng-May, Xiang-Mai)


เชียงใหม่สร้างขึ้นที่เชิงเขา ทางทิศตะวันออกของภูเขาที่ค่อนข้างสูงในที่ราบสวยงามและกว้างใหญ่ ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น แต่ละกำแพงมีคูน้ำกว้างและลึก พื้นที่ภายในนั้นยาวหนึ่งพันฟาทอมและกว้างเก้าร้อยฟาทอม บ้านแต่ละหลังไม่ปลูกติดกัน และจะมีการปลูกต้นไม้และสวนเล็กๆ ล้อมเอาไว้ จึงเป็นการยากที่จะประเมินจำนวนประชากร แต่ประมาณว่ามีประชากรถึง 50,000 คน รวมถึงผู้คนที่อยู่นอกกำแพงออกไปด้วย ห่างจากแนวกำแพงออกไปสามร้อยถึงสี่ร้อยเมตรด้วย มีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งมีบ้านเรือนของคนล้มละลายจากบางกอกตั้งเรียงรายแต่ไม่หนาแน่น พวกเขาหลบมาอยู่ที่นั่น และเปลี่ยนชื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีจากเจ้าหนี้

หมู ไก่ เหล้า และข้าวที่นี่มีราคาถูกมาก แต่ว่ามีปลาน้อยและแทบไม่มีผักเลย เงินหายากมาก มีเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้นที่สามารถซื้อเนื้อสัตว์ได้ ผู้คนดำรงชีพด้วยการกินข้าวเป็นหลัก ไม่มีเครื่องปรุงอื่นใดนอกจากพริกแดงและปลาเล็กๆ เน่าครึ่งหนึ่งและบดผสมน้ำเกลือ วัวนั้นมีอยู่มากมาย แต่มีขนาดเล็กมาก แทบไม่มีน้ำนมเลย วัวถูกใช้สำหรับการไถดินและเพื่อขนส่งข้าว ฝ้าย และสินค้าอื่นๆ ช้างยังพบเห็นได้ทั่วไปที่นั่น มันถูกใช้สำหรับเป็นพาหนะเดินทาง และใช้ในสงคราม ใช้ลากต้นไม้และบรรทุกสิ่งของที่หนัก การเกษตรมีเฉพาะการปลูกข้าวและผัก และทันทีหลังจากผ่านฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านสนุกสนานกับละเล่นต่างๆ  และอยู่อย่างเกียจคร้านจนถึงมิถุนายน พวกเขาก็จะเริ่มกลับมาไถนาในทุ่งอีกครั้ง การค้าขายในตลาดเกือบทั้งหมดเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งเกลือถือว่าเป็นสินค้าที่มีราคาแพง เพราะถูกขนส่งมาจากบางกอก และขายดีมากในเชียงใหม่ ผู้หญิงมีความกระฉับกระเฉงและขยันมากกว่าผู้ชาย ดังนั้นพวกเธอจึงมีอำนาจมากที่จะไล่สามีออกไปจากบ้านเมื่อไม่พอใจ ที่เชียงใหม่นี่มีเจดีย์หลายองค์ ซึ่งวัยรุ่นจะมารวมตัวกัน เด็กพวกนี้ดูเกียจคร้าน อ่านหนังสือไม่ออก และมองดูป่าเถื่อนไร้อารยะ

บนภูเขาสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของเชียงใหม่ มีรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่สักการะ และมีการทำบุญใหญ่ทุกปี

สามสิบห้าลีคไปทางเหนือของเชียงใหม่ มีเมืองที่เรียกว่าเซียงใหม่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำ โมลเม็ง (Molmein river)  เมืองนี้ถูกยีดและกลับคืนมาหลายครั้ง ถูกทำลายและสร้างใหม่ บางครั้งโดยพม่า บางครั้งโดยลาว ซึ่งลาวได้กลับมายึดไปอีกปี 1844

สินค้าหลักของเซียงใหม่ ได้แก่ ข้าว ฝ้าย งาช้าง ธูป แล็คเกอร์ ขี้ผึ้ง ไม้ย้อม ฯลฯ โดยชาวจีนจากยูนนานเป็นลูกค้าหลักที่เข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้า โดยแลกกับผ้าไหม เหล็ก แจกันทองแดง ฯลฯ ซึ่งพวกเขาบรรทุกสินค้ากลับไปโดยใช้ล่อตัวเล็กๆ เพราะการเดินทางต้องผ่านภูเขาและป่าใช้เวลาไม่ต่ำกว่าเดือน

เซียงใหม่เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มาก มีบันทึกไว้ในพงศาวดารสยามว่าพระร่วง (Phra Ruang) ซึ่งครองราชย์ในสยามเมื่อ 500 ก่อนคริสศักราช ได้ให้พระอนุชาของพระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงของเซียงใหม่ ทำให้พระองค์ได้ปกครองดินแดนแห่งนี้

ลำพูน (Paphun)

เมืองเล็กๆ แห่งนี้ปกครองโดยเจ้าชาย ซึ่งขึ้นกับกษัตริย์เซียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองติดกัน ผู้นำของเมืองเรียกว่าลำพูน-ไซ (Laphun-Xai) เมืองนี้ที่สวยงาม มีประชากร 12,000 คน ตั้งอยู่บนที่ราบสวยงาม ริมฝั่งแม่น้ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์และมีผลผลิตเหมือนกับเซียงใหม่

ลาคอน (Lakon ~ ลำปาง)

ลาคอนเป็นเมืองที่สวยงาม มีประชากร 25,000 คน ตั้งอยู่ในที่ราบอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำสายงามไหลผ่าน มีเทือกเขาทั้งทางซ้ายและขวาที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะไม้สัก ที่มีค่ามากสำหรับใช้ในการต่อเรือ ตัวเมืองมีบ้านเรือนหลายหลังและการเพาะปลูกให้ผลผลิตดี

แพร่ (Phre

แพร่เป็นชื่อเมืองหลวงของอาณาจักรเล็กๆ แห่งนี้ ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่ประกบด้วยเทือกเขาสองแนว น้ำสามารถหาได้จากแม่น้ำที่ไหลอยู่ใต้ดิน ซึ่งไหลผ่านก้อนหินและก่อให้เกิดเป็นน้ำตกหลายแห่ง การเพาะปลูกในที่ราบให้ผลผลิตที่ดีและดินมีอุดมสมบูรณ์มาก ประชากรของเมืองที่ชื่อเมืองแพร่นี้มีประชากรไม่เกิน 15,000 คน

น่าน (Nan)

อาณาจักรน่านมีขนาดใหญ่กว่าสามอาณาจักรก่อนหน้ามาก เมืองหลวงมีประชากรอย่างน้อย 60,000 คน ตั้งอยู่ในหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ และที่ตำแหน่งละติจูดเดียวกันกับเชียงใหม่ แม่น้ก่อให้เกิดน้ำตกหลายแห่ง ซึ่งในฤดูฝนผู้คนสามารถสามารถลงไปล่องแพที่ทำจากไม้สักได้ ทางเหนือของน่านมีชนเผ่าเชื้อสายลาวที่เรียกว่า ลื้อ (Lu) ซึ่งทำสงครามกันกับน่านอยู่

หลวงพระบาง (Luang Phra Bang)

เดิมที่, บนแม่น้ำใหญ่ของกัมพูชาที่เรียกว่า แม่โขง มีอาณาจักรลาวอยู่ 3 อาณาจักร คือ เวียงจันทร์อยู่ทางใต้ หลวงพระบางอยู่ตรงกลาง และเมืองพวน (Muang Phuen) อยู่ทางเหนือ แต่เนื่องจากสยามได้บุกเวียงจันทร์ และรวมกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในอาณาจักรของพวกเขา ประชาชนเกือบทั้งหมดของเมืองพวนก็ถูกจับไป อาณาจักรหลวงพระบางก็อาศัยจังหวะรวบดินแดนของพวนทำให้ได้อาณาเขตเพิ่มขึ้นมาอย่างมา ทุกวันนี้หลวงพระบางจึงเป็นประเทศที่ทำการค้าขายกับสยามและกับชาวจีนโลโล (Lolo หรือ Yi) ซึ่งเดินทางมาจากตอนเหนือเข้ามาค้าขาย ประชากรของหลวงพระบางมีประมาณ 80,000 คน ประเทศนี้อุดมไปด้วยเหมืองแร่และมีผลผลิตที่หลากหลาย ซึ่งจะได้เล่าภายหลังในการกล่าวถึงลาวโดยเฉพาะ

เมืองลอม (Muang Lom)

การเดินทางทวนแม่น้ำใหญ่เป็นเวลาหนึ่งเดือน จากจูเธีย (Juthia) เรามาถึงรัฐเล็กๆ ที่เรียกว่าเมืองลอม ซึ่งตั้งอยู่ที่ด้านล่างของหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขาทุกด้าน เป็นดินแดนที่มีความเงียบสงบ และคงจะจิตนาการไม่ถึงสงครามที่เกิดขึ้นมามายในประเทศโดยรอบ เมืองหลวงมีประชากรราว 9,000 ถึง 10,000 คนเท่านั้น พระราชาองค์น้อยที่ปกครองก็มีความสัมพันธ์อันดีกับสยาม มีการส่งเครื่องบรรณาการทุกปี อาทิ แร่ทองแดง ใบลานสำหรับเขียนหนังสือ ขี้ผึ้ง กำยาน งาช้าง เครื่องเขิน และสินค้าพื้นเมืองอื่นๆ 

การส่งบรรณาการจากหัวเมืองลาวและหัวเมืองแคมโบเดียให้สยาม

นอกจากดินแดนที่เราได้เอยถึงไปก่อนนี้แล้ว ทางตะวันออกของโคราชระหว่างจังหวัดพระตะบองกับอาณาจักรหลวงพระบาง ยังมีรัฐเล็กๆ อีกห้าหรือหกรัฐที่ปกครองโดยเจ้าชายที่ส่งบรรณาการให้กับสยาม ซึ่งสองเมืองที่สำคัญมีชื่อว่า ภูเขียว (ภูเขาสีเขียว) และสุวรรณภูมิ(แผ่นดินทอง) รัฐเหล่านี้ภูมิประเทศเป็นภูเขาและปกคลุมด้วยป่าไม้ ฉันคิดว่ามันไร้ประโยชน์ที่จะอธิบาย เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นลาวและแคมโบเดียปะปนกัน ส่วนสินค้าที่ผลิตได้ก็เหมือนกับสยามและแคมโบเดีย สองรัฐเล็กๆ เหล่านี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเนื่องจากอยู่โดดเดี่ยวและขาดถนนที่จะผ่านเข้าไปยังป่าอันกว้างใหญ่

เผ่าซอง (Xong tribe)

ทางทิศเหนือของจังหวัดจันทบูรมีเทือกเขาสูงที่ว่ากันว่าเรียงตัวกันเป็นวงกลม ที่นั้นเป็นที่อยู่ของชนเผ่าที่เรียกว่าซอง พวกเขาทำหน้าที่คอยคุ้มกันช่องเขาและไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปในดินแดนของพวกเขา นอกเสียจากพ่อค้ากลุ่มเล็กๆ ที่พวกเขาไม่มีอะไรจะต้องกลัว พวกเขาเชื่อฟังผู้นำ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการออกกฏและจารีต ซึ่งกฎเหล่านี้ถือกันว่ารุนแรงมากและจะไม่ใช้บ่อยนัก

เป็นไปได้ว่าชนเผ่านี้สืบเชื้อสายมาจากกะเหรี่ยง ซึ่งหนีทัพและหนีการถูกจับเป็นทาสจากดินแดนโดยรอบมาอยู่ปะปนกัน ดังนั้นจึงยากที่จะบรรยายรูปร่างลักษณะให้เห็น เพราะเชื้อสายที่ผสมกันระหว่างกะเหรี่ยง สยาม ลาว และแคมโบเดีย

การแต่งกายของผู้ชายใช้เพียงผ้ามัดรอบสะโพก ส่วนผู้หญิงสวมผ้าถุงเนื้อหยาบลายทางหลากสี ขนบธรรมเนียมของพวกเขาความคล้ายคลึงกับประเพณีของกะเหรี่ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งจะขอพูดถึงภายหลัง เล่ากันว่าพวกเขาจะเอายาพิษใส่ในบ่อน้ำและน้ำพุที่อยู่ใกล้ๆ  เพื่อป้องกันไม่ให้คนต่างถิ่นเข้ามาติดต่อสื่อสารกับพวกเขา คนที่นี่ตัดต้นไม้มาใช้สร้างบ้านเรือน เข้าป่าเก็บยาง ขี้ผึ้ง กระวาน น้ำมันดิน ยางไม้ ไม้กฤษณาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และในฤดูน้ำหลาก ก็จะนำสินค้ามาค้าขายที่จันทบูร  แลกกับตะปู ขวาน เลื่อย และมีดขนาดใหญ่ เกลือ กะปิ และของอื่นๆ ที่จำเป็น

สำหรับพวกเขา การเก็บเกี่ยวขี้ผึ้งถือว่าเป็นงานที่อันตราย เพราะผึ้งมีขนาดเกือบเท่าแมลงค็อกเชเฟอร์ (แมลงชนิดหนึ่งขนาดประมาณตัวด้วง) มันสร้างรังขนาดใหญ่บนกิ่งด้านบนของต้นไม้ขนาดมหึมาที่สูงกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบฟุต ต่อไปนี้คือวิธีการที่ชาวเผ่าซองใช้เพื่อจะเก็บขี้ผึ้ง พวกเขาจะเตรียมใบมีดทำจากไม้เนื้อแข็งจำนวนมาก และจะนำไปปักที่ต้นไม้ที่พวกเขาต้องการปีน เพื่อใช้สำหรับวางเท้าและใช้มือจับใบมีดอีกอันไต่ขี้นไป และก่อนที่จะทำงานเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ พวกเขาไม่เคยลืมที่จะขอขมาวิญญาณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเมื่อสามารถไต่ขึ้นไปจนถึงรังผึ้งแล้ว พวกเขาจะใช้ไม้ไผ่ที่ยาวและเบาในการเกี่ยวให้รังผึ้งร่วงลงมา

สำหรับการหาน้ำมันดินนั้นใช้วิธีการดังนี้: พวกเขาจะใช้ขวานจาให้เกิดรอยบากที่ลึกมาก  ที่โคนต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีน้ำยาง จากนั้นก็จะจุดไฟก่อนที่จะดับในไม่ช้า น้ำมันหรือน้ำมันดินก็จะไหลออกมารวมกันที่รอยบากที่พวกเขาทำไว้ น้ำมันดินนี้มีประโยชน์มาก เมื่อนำไปผสมกับเรซิน สามารถนำไปใช้ทาเรือ และเมื่อมันใสก็มีความเหมาะสมกับใช้ระบายสี หรือถ้าต้องการทำไต้สำหรับจุดไฟ ก็แค่ขุดหลุมดินแล้วโยนเศษไม้ผุๆ ลงไป แล้วตามด้วยน้ำมันดิน แล้วก็นวดให้เศษไม้กับน้ำมันเข้ากัน แล้วปั้นเป็นก้อนเท่าฝ่ามือ ก่อนจะนำไปห่อด้วยใบไม้ยาว หรือม้วนเป็นก้อนแล้วมัดด้วยหวาย 

ภูเขาที่ชาวซองอาศัยอยู่ มีเหมืองแร่และหินล้ำค่าหลากหลาย ซึ่งพวกเขาจะนำมามอบให้ผู้ปกครองเมือจันทบูรเป็นระยะ ๆ ซึ่งจะเป็นผู้ที่นำเครื่องบรรณาการนี้ส่งให้กับกษัตริย์สยามเป็นประจำทุกปี และที่พวกเขาส่งกระวาน และสินค้าอื่นๆ ให้ด้วย

ชนเผ่ากะเหรี่ยง (Karieng tribe)

ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้ที่อยู่ในสยามมาแต่ดึกดำบรรพ์ เมื่อชายไทย (Thai) ที่สืบเชื้อสายมาจากดินแดนทางเหนือได้มาก่อตั้งเมืองจูเธีย ชาวกะเหรี่ยงก็เสียดินแดนให้กับพวกเขาและเข้าไปอาศัยอยู่ตามภูเขาทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งพวกเขายังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ พวกมันมีรูปร่างที่ปราดเปรียวและสมส่วน คล่องแคล่ว แข็งแรง แข็งแกร่ง และมีความอดทนต่อความเหนื่อยล้า พวกเขาคุ้นเคยกับการอยู่ป่าตั้งแต่อายุยังน้อย พวกเขาสามารถเอาตัวรอดจากความอดอยาก หิวกระหายและภัยต่างๆ ได้ดี  รูปร่างหน้าตาของพวกเขาโดยเฉพาะผู้หญิงดูมีความอ่อนโยนและความเมตตา

การแต่งกายของผู้ชายเป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่งที่มีแขนสั้นและกว้าง ซึ่งยาวลงไปถึงหัวเข่า พวกเขาใช้ผ้ารัดบริเวณเอว และมีผ้าโผกศีรษะ พวกเขาไว้ผมยาวและเจาะหูเพื่อสอดขนนกสวยงามและพกทรงกระบอกสีเงินกลวงเล็กๆ ส่วนผู้หญิงจะนุ่งโสร่งหรือกระโปรง ส่วนเสื้อคลุมซึ่งประดับด้วยเม็ดแก้วหรือผลไม้เล็กๆ  ทำให้เกิดลวดลายแปลกๆ พวกเขายังสวมสร้อยคอหลายเส้นและโผกศีรษะด้วยผ้าผืนใหญ่ ปล่อยปลายผ้าให้ลงมาบนบ่า … พวกเธอมีใบหูยาว และเจาะเป็นรู สำหรับติดดอกไม้ เครื่องประดับจากอัญมณี ทองหรือเงิน

กระท่อมของกะเหรี่ยงทำด้วยไม้ไผ่และมีเสาที่ใช้ค้ำไม่กี่ต้น ไม้ไผ่ น้ำเต้า ตะกร้าสองสามใบ และเสื่อสานหยาบ เป็นของตกแต่งทั้งหมดที่เห็น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระท่อมมีอายุใช้งานแค่เพียงหนึ่งปี พวกเขายังมีนิสัยเช่นเดียวกับคนลาวที่นิยมตัดไม้และเผาป่าเพื่อปลูกข้าวทุกปีแล้วเปลี่ยนสถานที่ปลูกทุกปี ซึ่งทำให้พวกเขาสร้างกระท่อมใหม่ด้วย ชาวกะเหรี่ยงไม่มีการเขียนกฏเกณฑ์เอาไว้เป็นตัวหนังสือ ประเพณีของพวกเขาที่ตกทอดจากบรรพบุรุษถือเป็นกฎหมายทั้งหมด พวกเขายอมรับในตัวผู้นำคนหนึ่งในหมู่พวกเขาที่พวกเขาถือว่าเก่งที่สุดและเป็นคนที่ได้รับความเคารพจากทุกคนที่เหลือ ผู้นำคนนี้จะต้องไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิดและมีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาและผู้พิทักษ์ในหมู่พวกเขา

เป็นไปได้ว่ากะเหรี่ยง มีต้นกำเนิดมาจากคนลาว เพราะมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ พวกเขาเคารพนับถือผีสองประเภท คือผีที่ดี และผีเลว แต่พวกเขาไม่สักการะบูชาผีที่ดี ในขณะที่จะใช้ไก่ ผลไม้ ข้าว ดอกไม้ ฯลฯ เช่นไหว้วิญญาณชั่วร้าย ในเวลาที่พวกเขาต้องการขออะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

พวกเขาไม่มีนักบวช ไม่มีเจดีย์ ไม่มีสักการะบูชาหรือสวดมนต์ แต่หัวหน้าครอบครัวของแต่ละบ้านจะทำหน้าที่บูชาผีร้ายในเวลาที่คนภายในบ้านเจ็บป่วย หรือในเวลาที่พวกเขารู้สึกมีลางสังหรที่ไม่ดี นี่แหละศาสนาของพวกเขา

ชาวกะเหรี่ยงเป็นพวกที่ซื่อสัตย์ พวกเขามีไม่ชอบการลักขโมยและการโกหก แต่ละบ้านจะมีการคู่แต่งงานแค่คนเดียว ไม่มีบ้านไหนที่มีภรรยาหลายคน ผู้คนมีอัธยาศัยดี คนที่เดินทางผ่านมาสามารถขอข้าวกิน นอน ราวกับอยู่บ้านของตัวเอง ดูเหมือนว่าผู้คนทั้งเผ่าจะเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน และพวกเขายินดีแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้ที่ไม่มี

การศึกษาของพวกเขาเป็นศูนย์ พวกเขาไม่มีหนังสือ แต่พวกเขารู้วิธีการตกปลา ล่าสัตว์ การปลูกข้าวและปลูกผัก ว่ากันว่าในตอนที่ผู้ชายจะขอหญิงสาวมาแต่งงานด้วยกันนั้นก่อนที่จะจัดให้มีงานเลี้ยงฉลองการแต่งงาน ผู้ชายมีหน้าจะต้องปีนเข้าไปในกระท่อมฝ่ายหญิง โดยจะต้องฝ่าด่านของชายสองคนที่ยืนเฝ้าบันไดของกระท่อม 

ชาวกะเหรี่ยงจะเผาร่างของคนที่เสียชีวิต แล้วเอากระดูกกะโหลกศีรษะไปแขวนที่ต้นไม้พร้อมกับเสื้อผ้า สร้อยคอ และอาวุธของผู้ตาย จากนั้นพวกเขาก็เต้นรำและแสดงละครใบ้ประกอบเพลงที่แสนไพเราะ จากนั้นผู้เฒ่าก็เอากระดูกและของใช้ที่เหลือทั้งหมดของผู้ตายไปฝังไว้ที่เชิงเขาในป่าลึกอย่างลับๆ และบอกให้ผู้ตายไม่ต้องกลับมารังกวานครอบครัวของเขาอีก เพราะของทุกๆ อย่างของเขา ถูกนำมาฝังพร้อมกับเขา

เผ่าละว้า (Lava tribe)

ชาวละว้าอาศัยอยู่ในภูเขาจากตะวันตกและเหนือ มีความเชื่อมโยงกับชาวกะเหรี่ยงในหลายอย่าง ทั้งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ชาวละว้านิยมการปลูกฝ้าย เพราะคนทั่วไปในสยามใช้ผ้าห่มที่ทำจากฝ้ายและมุ้งกันยุงก็เป็นงานฝีมือที่สตรีของชาวเผ่านี้ ผู้หญิงที่นี่มีหูห้อยและมีรูไว้ใส่ไข่ไก่ ชนเผ่าสืบเชื้อสายมาจากลาว พวกเขาไม่ค่อยออกจากป่าที่พวกเขาอาศัย แต่ก็มีการทำมาค้าขายพอสมควร โดยการแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าชาวจีนและชาวสยามเข้าไปหาชาวละว้าแม้นจะอยู่ในป่าลึก

เพื่อให้การประเมินจำนวนประชากรของชนเชื้อสายต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนสยามสมบูรณ์ ข้าพเจ้ายังต้องพูดถึงพวกเคลิง (Keling คนอินเดีย) อาหรับ พีกูอัน (Peguans) พม่า เวียดนาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน (ซึ่งคิดเป็นประชากรถึงหนึ่งในสามของสยาม) แต่นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ฉันจะมีโอกาสกล่าวถึงบางอย่างเกี่ยวกับพวกเขา ฉันคิดว่าคนต่างเชื้อสายเหล่านี้ฉลาดพอที่จะทำให้ฉันไม่บันทึกเกี่ยวกับพวกเขาลงในที่นี่

Don`t copy text!