บทที่ 3
บางกอก (หมู่บ้านต้นมะกอกป่า) ได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ ตั้งแต่การล่มสลายของจูเทีย (Juthia หมายถึง กรุงศรีอยุธยา) เมืองนี้อายุยังไม่ถึง 90 ปี และตอนนี้มีประชากรกว่า 400,000 คนแล้ว และที่คือสภาพของประชากรในปัจจุบันตามข้อมูลของเอกอัครราชทูตอังกฤษและอเมริกาที่ได้เคยเดือนทางมาเยือนหลายครั้ง
ชาวจีน (ที่เสียภาษี) | 200,000 |
สยาม | 120,000 |
ชาวอานัม (เวียดนาม) | 12,000 |
ชาวกัมพูชา | 10,000 |
ชาวพะโค (ชาวหงสาวดี, ชาวมอญ) | 15,000 |
ลาว | 25,000 |
พม่า | 3,000 |
มาเลย์ | 15,000 |
ชาวคริสต์ จากหลายประเทศ | 4,000 |
รวม | 404,000 |
บางกอก สืบสานชื่อมาจากจูเทีย มีอีกซื่อหนึ่งว่า กรุงเทพมหานคร ศรีอยุธยา มหาดิลก ราชธานี ฯลฯ ซึ่งแปลว่า นครแห่งเทวดา ที่งดงาม แกร่งกล้า ฯลฯ เมืองนี้ตั้งอยู่บนสองฝั่งของแม่น้ำ ห่างจากทะเล 8 ลีค ห่างจากเมืองออกไป 2 ลีคมีเกาะซึ่งมีป้อมปราการตั้งอยู่ ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงโค้งและขนาบข้างด้วยหอคอยหรือป้อมปราการเป็นระยะ ตรงมีกลางมีสวนขนาดใหญ่ที่ประดับประดาด้วยต้นไม้เขียวขจี เป็นทำเลที่งดงามมาก เรือและเรือสำเภาติดธงจำนวนมากจอดเรียงรายอยู่ที่ปากน้ำทั้งสองด้าน เรือบางลำมีเสาที่มียอดแหลมสีทอง บ้างมีทรงโดม ทรงปิรามิดสูงตระหง่านชวนให้ต้องแลมอง ปลายยอดประดับประดาด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบหลากหลายสี หลังคาและพื้นของเจดีย์ปิดทองอย่างสวยงามและปูด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งสะท้อนแสงเป็นเงาของเจดีย์ในเกลียวคลื่นที่กระจายทุกทิศทุกทางจากเรือที่ผ่านไปมา ป้อมปราการทาสีขาวดั่งหิมะ เมืองที่มีหอคอยและประตูมากมาย และมีแม่น้ำหลายสายที่ตัดผ่านตัวเมือง ยอดของปราสาทพระราชวังมีสีทอง รูปทรงขั้นบันไดที่มีสี่หน้า สถาปัตยกรรมมีกลิ่นอายของอินเดีย จีน และยุโรป ผสมกลมกลืนกันจนน่าแปลกใจ
ในเมืองหลวงยังไม่มีรถยนต์แม้แต่คันเดียว ทุกคนยังคงเดินทางโดยใช้เรือ ซึ่งแม่น้ำและคลองมีมากมายเหมือนถนน และมีเพียงใจกลางเมืองเท่านั้นซึ่งเป็นตลาดที่มีการตัดถนนและปูด้วยหินก้อนใหญ่
สัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของบางกอกก็คือพระบรมหาราชวังและเจดีย์ที่อยู่ภายใน พระบรมหาราชวังนั้นมีการสร้างกำแพงสูงล้อมเอาไว้ ซึ่งความสูงนั้นถึงหนึ่งในสี่ของความสูงของปราสาทข้างใน
พื้นที่บริเวณด้านในถูกปูด้วยแผ่นหินอ่อนหรือแผ่นหินแกรนิต มีป้อมทหารและปืนใหญ่วางเอาไว้เป็นระยะ หากมองไปรอบๆ ในทุกด้านของกำแพง เราจะเห็นอาคารน้อยใหญ่อยู่หลายหลัง ซึ่งล้วนแต่ประดับประดาสวยงาม ด้วยภาพวาด หรือแผ่นทอง ตรงกลางของลานกว้าง มีอาคารใหญ่ทรงสี่เหลี่ยม เรียกว่ามหาปราสาท ซึ่งตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ ประติมากรรมอันวิจิตรตระการตา และล้อมรอบด้วยยอดแหลมสีทองสูง ที่นั่นเป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการต้อนรับราชทูตจากต่างชาติ และสถานที่เดียวกันนี้ยังเป็นที่สำหรับตั้งพระบรมศพของกษัตริย์เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระศพจะถูกนำมาบรรจุไว้ในโกศทองคำเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีก่อนที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จะมีพระสงฆ์จำนวนมากมาเทศน์ พระราชินีและเหล่าข้าราชบริพารจะมารับฟังอยู่ด้านหลังผ้าม่าน ห่างหอกไปสักหน่อยจะมีห้องสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้สำหรับประทับรับฟังราชกิจต่างๆ ซึ่งที่ประทับมีรูปทรงเหมือนแท่นบูชาที่ซ้อนกันเจ็ดชั้น ห้องทรงงานของพระมหากษัตริย์อยู่ติดกับสวน ถัดไปเป็นพระราชวังของพระราชินี นางสนมและเหล่าข้าราชบริพาร ซึ่งมีสวนขนาดใหญ่ซึ่งจัดแต่งอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีอาคารขนาดใหญ่หลายหลังที่ใช้สำหรับเก็บสมบัติของพระมหากษัตริย์ อาทิ ทองคำ, เงิน, อัญมณี, เฟอร์นิเจอร์และผ้าที่มีราคาแพง
ภายในบริเวณพื้นที่อันกว้างใหญ่ของพระบรมมหาราชวัง ประกอบไปด้วยพระที่นั่ง โรงละคร หอสมุด ปืนใหญ่ขนาดมหึมา โรงสำหรับช้างเผือก โรงสำหรับม้า และมีร้านมากมายสำหรับทำสิ่งของเกือบจะทุกสิ่ง นอกจากนั้นยังมีเจดีย์ขนาดใหญ่ ซึ่งภายนอกกรุด้วแผ่นเงิน ซึ่งองค์หนึ่งเป็นเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป อีกเจดีย์หนึ่งเป็นเจดีย์หลวงซึ่งงดงามมาก ซึ่งถ้าสร้างในยุโรปอาจจะมีมูลค่ากว่า 200 ควินทัล (quintals หรือมากกว่า 4 ล้านฟรังค์) ภายในพระบรมมหาราชวังมีกำแพงอยู่ 11 กำแพง และมีอยู่อีก 20 กำแพงที่อยู่ภายนอก
เจดีย์เชตุพน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาส ที่มีความยาวถึงห้าสิบเมตร มีสีทองอร่าม ซึ่งเรียกว่า บวรนิเวศ ซึ่งเพียงแผ่นทองที่ใช้สำหรับปิดก็น่าจะมีนำ้หนักมากกว่าสี่ร้อยห้าสิบออนด์
พระบรมหราชวังเป็นสถานที่ซึ่งมีข้าราชบริพากกว่าห้าร้อยและยังเด็กๆ อีกกว่าพันคนอาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อคอยถวายรับใช้ เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่หรือจะเรียกว่าเป็นสวนขนาดใหญ่ ซึ่งบริเวณตรงกลางเป็นที่ตั้งของอาคารสวยงามหลายหลัง ซึ่งหลายลังมีสไตล์แบบจีน ห้องขนาดใหญ่หลายห้องก็หันไปหาแม่น้ำ มีห้องสำหรับสวดมนต์ขนาดใหญ่ มีวิหารขนาดใหญ่สองแห่ง หลังหนึ่งสำหรับปฏิษฐานพระพุทธรูป และอีกหลังสำหรับผู้ที่เข้าทำพิธี นอกจากนั้นศาลหรือบ้านเล็กๆ (หินสลักสำหรับแต่งสวน) สองหรือสามร้อยชิ้น อีกทั้งหงษ์สีทอง หินรูปสิงห์ เต่า ที่ทำจากหินอ่อนหรือหินแกรนิต ซึงนำเข้าจากประเทศจีน
บ้านเรือนที่กรุงเทพนั้นมีอยู่ 3 ประเภท แบบหนึ่งสร้างจากอิฐและหรูหรา อีกแบบหนึ่งสร้างมาจากไม้กระดาน และบ้านสำหรับคนยากจนนั้นจะสร้างจากไม้ไผ่ ซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้บ่อยครั้งและมักจะรุนแรง มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่บางครั้งไฟไหม้แต่ละครั้งจะทำลายบ้านเรือนไปสี่หรือห้าร้อยหลัง แต่ว่าภายในเจ็ดวันแปดวันหลังจากนั้นทุกอย่างก็จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือจากญาติพี่น้องหรือปว่าเพื่อนบ้าน
รายชื่อจังหวัดของสยาม
อาณาจักรสยามเองแบ่งออกเป็น 41 จังหวัดซึ่งมีชื่อเมืองหลวง ได้แก่
9 จังหวัดตอนกลาง
นนทบุรี หรือ ตลาดควน, ปากเทร, ปทุมมาธานี หรือ สามโคก, จุฑา หรือ กรุง-เก่า, อ่างทอง, เมืองพรหม (เมืองพรหมนคร ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี), เมืองอินทร์ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในสิงห์บุรี) , ไซนาท, นครสวรรค์,
5 จังหวัดตอนเหนือ
สังคโลก, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, พิสัย (อ.บรรพตพิสัย นครสววรค์ปัจจุบัน) , ระแหง (อ.ระแห่ง จ.ตากในปัจจุบัน)
10 จังหวัดทางตะวันออก
เพชรบูรณ์, บัวซูม, สระบุรี, นพบุรี, นคร-นาจอก, ปาฉิม, กบินทร์, ฉะเชิงเทรา หรือ แปดริ้ว, พระตะบอง, พนัสนิคม.
10 จังหวัดทางตะวันตก
เมืองสิงห์, สุพรรณบุรี หรือ สุพรรณ, กาญจนบุรี หรือ ปากแพรก, ราชบุรีหรือ ราชรี, นครชัยศรี, สาครบุรีหรือท่าจีน, สมุทรสงคราม หรือ แม่กลอง
5 จังหวัดทางใต้
นครเขื่อนขันธ์ หรือ ปากลัด ( คือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน) , สมุทรปราการ หรือ ปากน้ำ, สระบุรี หรือ บางปลาสร้อย, ระยอง, จันทบุรี หรือ จันทบูร, ทุ่งใจ, เพชรบุรี หรือ พิพรี , ชุมพร, ไชยา, ซ่าลัง หรือ สลัง
จังหวัดทั้ง 41 จังหวัดนี้จะมีผู้ปกครองเรียนกว่า พระยา ซึ่ง 41 จังหวัดจัดเป็นจังหวัดชั้นเอก แต่ว่ายังมีอีก 22 จังหวัดที่จัดเป็นจังหวัดในชั้นลำดับที่สองและลำดับที่สาม
ข้าพจะอธิบายเกี่ยวกับจังหวัดต่างๆ ที่มีโอกาสเดินทางไปเยือนมาแล้ว ซึ่งเรื่องราวของจังหวัดที่ข้าพเจ้าได้ไปเยือนมาแล้วนั้นจะช่วยอธิบายให้เห็นภาพของจังหวัดอื่นๆ ที่ข้าพเจ้าไม่ได้ไปได้ดีพอสมควร
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1838 ข้าพเจ้าลงเรือลำเล็กลำหนึ่งที่ยาวสักหกเมตร และกว้างเมตรครึ่ง พวกเราล่องไปตามแม่น้ำไปในเนื้อที่สี่ลีค ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นสวนกว้างใหญ่ทั้งขวาและซ้ายไปตลอด จนเมื่อผ่านเมืองปากหาด (Pakhlat) เมืองที่มีประชากรราว 7,000 คน ซึ่งมีผู้ปกครองเมืองอยู่ บนฝั่งทั้งสองฝั่งมีป้อมปรากาที่สวยงามและมีปืนใหญ่ติดตั้งอยู่ แต่ว่ามีทหารประจำการณ์อยู่เพียงเล็กน้อย
ประชาชนของเมืองปากหาดนี้ ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมอญผสม เมืองนี้ส่งสินค้าพวกถ่านและฝืนไปขายยังบางกอก บ้านเรือนของพวกเขามุงด้วยใบไม้จำจากพืชจำพวกปาล์มขนาดเล็ก นอกจากนี้พวกเขายังทำการเพาะปลูกข้าวและการทำสวนเป็นอาชีพ ซึ่งเมื่อเลยจากเมืองปากลาดไปนิดหน่อยพวกเราก็ได้พบกับพื้นที่ซึ่งปลูกอ้อยและผ่านโรงงานน้ำตาลถึงสี่แห่ง จนกระทั้งในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ พวกเขาก็มาจอดเรือบริเวณด่านศุลกากรหลักของเมืองปากน้ำ ซึ่งเป็นบริเวณปากของแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองนี้มีประชากร 6,000-7,000 คน มีป้อมปราการสวยงามสามแห่งบริเวณชายฝั่ง และตรงกลางแม่น้ำ เพื่อใช้ตรวจการณ์เรือที่จะผ่านไปมา
ประชาชนบางส่วนนั้นทำการประมง บางคนก็เข้าไปในป่าแสม ซึ่งเป็นบริเวณที่หาดกับทะเลบรรจบกัน ไม้ของต้นแสมนี้ถือว่าเป็นไม้ที่เป็นถ่านชั้นเลิศ เพราะเมื่อมันติดไฟแล้วมันจะไม่ดับจนกว่าจะหมด
แต่ว่าในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประชาชนเหล่านี้แหละที่จะกลายเป็นกำลังทหาร และจะต้องเข้าไปยังค่ายซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่มีผู้คนที่นั้น
พวกเราออกจากเมืองปากน้ำกันตั้งแต่เช้าตรู่ และเสียเวลาไปเกือบทั้งวันเพราะว่ากระแสลมไม่เป็นใจ จนกระทั้งในตอนค่ำจึงได้เดินทางมาถึงเกาะที่เรียกว่า เกาะสีชัง เกาะนี้มีเส้นรอบวงประมาณเจ็ดหรือแปดไมล์มีชาวสยามและชาวจีนประมาณร้อยครอบครัวอาศัยอยู่ เราสามารถเดินทางไปที่เกาะได้เฉพาะจากทางด้านที่หันเข้าหาแผ่นดินใหญ่เท่านั้น โดยเราจะไปทอดสมอในอ่าวเล็กๆ ที่สวยงามที่ตีนเกาะ แต่ว่าด้านอื่นๆ ของเกาะนี้ราวกับถูกขนาบด้วยกำแพงธรรมชาติที่สูงชัน ก่อตัวขึ้นจากหิน ที่ยกตัวขึ้นสูง และขรุขระ ซึ่งทำให้มีทิวทิวทัศน์ที่แปลกตา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสขึ้นไปบนฝั่ง จึงได้พบว่าโขดหินเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่ห่อหุ้มหินอ่อนสวยงามที่มีลายเส้นสีขาว สีแดง และน้ำเงินเอาไว้ ซึ่งในบางแห่งกระแสของน้ำทะเลก็ได้ทำหน้าที่ขัดเกลาให้หินเหล่านี้งดงาม ไม่แพ้ผีมือของมนุษย์
เนื่องจากมีโขดหินอยู่มากทำให้ข้าพเจ้าคิดว่าเกาะนี้ไม่สามารถที่จะเข้าเทียบได้ เพราะโขดหินเหล่านั้นอยู่ในจุดที่น้ำตื้น ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตพิเศษบริเวณน้ำตื้น ซึ่งกินเวลาอยู่ราวสามเดือน เหมือนเป็นรังให้พวกมันได้พัฒนาการ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ดูเหมือนกับเยลลี่ซึ่งนักชิมชาวจีนหรืออินเดียนิยมรับประทาน
สารเจลาตินที่นักชิมในประเทศจีนและ อินเดีย รังนกเหล่านี้เกิดจากเส้นใยที่พันเข้าด้วยกัน สามารถขายได้ราคาสูงถึง 160 ฟรังก์ต่อปอนด์ ทำใหชายบ้านมีความกระตือรือร้นในการค้นหารังนกอันล้ำค่าเหล่านี้ แม้ว่าจะอยู่บนถ้ำที่สูง แต่พวกเขาใช้การโรยเชือกลงมา และค่อยๆ เก็บรังนก แต่บางครั้งหากรังนกอยู่บริเวณซึ่งสุดของปลายเชือกแล้ว บางที่คนที่หารังนกก็จะปลดเชือกออก แล้วก็ออกปืนออกไปเก็บรังนกด้วยตัวเองเพราะความล่อใจของมูลค่า ซึ่งบางคนก็โชคร้าย ตกและหายไปท้องทะเล บนชายฝั่งสยามมีเกาะหลายแห่งที่มีรังนกนางแอ่น
พระสงฆ์ซึ่งข้าพเจ้าได้พบบนเกาะสีชัง ได้ชี้ให้ข้าพเจ้าเห็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งว่ากันว่ามีหินคริสตัลที่สวยงามอยู่มากมาย ทั้งสีขาว, เหลือง และน้ำเงิน และยังเล่ากันด้วยว่าภูเขาบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่บนฝั่งใกล้เกาะ น้ำบริเวณนั้นจะอุ่นและมีแร่อยู่มากมาย ซึ่งจากตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้รับ ทำให้คาดได้ว่าแร่บริเวณนั้นเป็นทองแดง
เมื่อออกจากเกาะสีชังในตอนกลางคืน พวกเราสำรวจแผ่นดินใหญ่ โดยทางด้านขวามีเกาะอยู่หลายเกาะ ซึ่งยังไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้บนแผนที่ เกาะขามเป็นเกาะที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการมีเต่าขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดและมีบึงปลาขนาดใหญ่พอสมควร อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่ นอกจากครอบครัวของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งพวกเขาถูกบังคับให้ต้องหนีเข้ามาอยู่ในป่าเมื่อปีที่แล้ว เพราะว่ามีโจรสลัดมาเลย์ปรากฏตัว ซึ่งมาปล้นศุลกากรที่โดดเดี่ยวนี้ เกาะนี้ดูอุดมสมบูรณ์ โดดเด่นเรื่องความงามของเปลือกหอยที่ขึ้นฝั่งบ่อยๆ นอกจากนี้ยังมีก้อนควอตซ์ขนาดใหญ่ รอยแยกที่เรียงรายไปด้วยผลึกหินที่มีน้ำงามมาก
วันที่สามของการเดินทาง เราเห็นสิงโตขนาดใหญ่จากระยะไกล บริเวณที่ปากแม่น้ำจันทบุรี สิ่งทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นขึ้นมา เพราะสิงโตกำลังนอนอยู่บนพุงของมัน หัว แผงคอ ปาก ตา และหู ทุกอย่างเห็นได้ชัดเจนมาก แต่เมื่อเราเข้าไปใกล้ๆ ภาพลวงตากลับค่อยๆ หายไป และสิ่งที่พบเป็นเพียงก้อนหินที่ไร้รูปทรง
หลังจากผ่านด่านศุลกากรและปราการเล็กๆ ที่ปากแม่น้ำแล้ว พวกเราล่องขึ้นไปตามแม่น้ำ ไม่เห็นอะไรที่น่าตื่นตา เว้นแต่ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่โดดเด่นตลอดสองฝั่ง รากมันใหญ่จนพยุงลำต้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน เหมือนกับขาตั้งกล้อง พวกเขาเรียกมันว่า ต้นโกงกาง
เย็นวันเสาร์ เรือของชาวคริสเตียนอันนาไมท์ (Anamite Christians) ที่กลับมาจากปากเกร็ดได้สวนกับพวกเรา มีกันทั้งหมดยี่สิบลำ และในเช้าวันอาทิตย์ ตอนรุ่งสาง เรือทุกลำก็ตั้งแถวเป็นขบวน แล้วก็ลากเรือของพวกเราไปด้วย โดยใช้การพายและส่งเสียงร้องเป็นจังหวะ ไม่นานนักนักดนตรีก็มาร่วม ดังนั้นเราจึงมาถึงจันทบุรีประดุจการได้รับชัยชนะ เพราะมีการต้อนรับพวกเราด้วยเสียงระฆังและกลอง ชาวคริสต์ที่นี่มีอยู่ 1,000 คน
จันทบุรีเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 6,000 คน ทั้งชาวสยาม ชาวคริสต์ และชาวจีน มีตลาด โรงงาน และเจดีย์หลายองค์ ที่นี่มีการสร้างเรือทุกขนาด โดยนำไม้จากภูเขาในช่วงที่น้ำขึ้นสูง การค้าขายโดยการนำเข้าสินค้ามักจะดำเนินการโดยชาวจีน ซึ่งนำสินค้าจากเมืองจีนมาขายทุกปี การค้าส่งออกมีความสำคัญมากขึ้น โดยสินค้าส่งออกหลัก คือ พริกไทย, กระวาน, ยางไม้, ไม้หอม, หนังสัตว์, งาช้าง, น้ำตาล, ขี้ผึ้ง, ยาสูบ, ปลาเค็ม ฯลฯ
แระชาชนในจัวหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่ครอบครองที่ดินไว้เพื่อการเพาะปลูก ผลผลิตหลักนอกจากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ยังมรการปลูกถั่วที่รสชาดเหมือนถั่วพิสตาชิโอแต่ถั่วจะเกิดจากปมที่ราก มันจะถูกแปรรูปเป็นขนมกรือน้ำมันที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ยังมีการปลูก มันฝรั่ง มันเทศ มะพร้าว ถั่วลันเตา ทุเรียน ขนุน มะม่วง และยังมีผลไม้อีกหลายชนิดที่ขึ้นเองในป่า ซึ่งที่ผมอยากจะพูดถึง คือ กระบก รสชาดมันเหมือนอัลมอนด์จากป่า อร่อย ได้มาจากต้นไม้ที่ใหญ่มาก แต่ละต้นให้ผลผลิตมากมาย
ยางมังคุด (gamborg gum) ได้มาจากยางไม้จากต้นไม้ที่ขึ้นในป่าสูงเท่านั้น ซึ่งชาวบ้านจะนำกระบอกไม้ไผ่ไปรองเอาน้ำยาง เมื่อน้ำยางเต็มกระบอกก็จะเก็บเอามา ยางในกระบอกนั้นแข็งแล้วก็จะมีรูปร่างเป็นแท่งตามทรงกระบอกไม้ไผ่
กระวาน ได้มาจากต้นไม้ที่มีความสูงราว 40 ซ.ม. มากหรือน้อยกว่านั้นเล็กน้อย มันออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายของลำต้น ผลของมันหนึ่งพวงมีผลเล็กๆ สามผล ซึ่งมีกลิ่นหอมและฉุนมาก
ไม้กฤษณา (มันถูกเรียกว่า ไม้อินทรี เพราะว่าสีของมัน) เป็นไม้ที่เหมือนมีจุด ที่มีสีดำผสมคล้ายกับขนของนกอินทรี ไม้มีกลิ่นหอมหวาน โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่นำไปเผา และมันกลายเป็นส่วนผสมในตำหรับยาเกือบทุกชนิดของสยาม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามันมีประโยชน์ แต่นี่กำลังจะอธิบายให้รู้ว่าพวกเขาเอาไม้กฤษณามาได้อย่างไร มันมีเพียงต้นไม้แบบเดียวเท่านั้นที่ให้ไม้ที่มีกลิ่นหอม คืนต้นที่ถูกทำให้เกิดบาดแผล ด้วยเลื่อย ขวานหรือของมีคมต่างๆ ซึ่งเมื่อต้นไม้มีการรักษาบาดแผลของตัวมันเอง ไม้ต้นนั้นก็จะให้เนื้อไม้หอมแบบที่ต้องการ พวกเขาก็จะตัดต้นมันนั้นลงมา นำไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พวกเขาทำมันอย่างปราณีตถนุถนอมอย่างที่สุด แต่ว่าไม้ส่วนที่เป็นสีขาวนั้นจะถูกคัดออก เหลือเอาไว้แต่เนื้อไม้ที่มีสีดำซึ่งส่วนนี้เองคือไม้หอมที่แท้จริง ซึ่งกระบวนการได้มานั้นมันแปลกยิ่งนั้น ซึ่งหลังจากพวกเขาได้มันมาแล้ว ก็จะนำไปขายในราคาราวยี่สิบฟรังค์ต่อปอนด์ ซึ่งครอบครัวชาวคริสต์นั้นมีหน้าที่จะต้องส่งไม้หอมนี้ไปถวายแก่กษัตริย์เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นเครื่องบรรณาการณ์ ครั้งละสองปอน์ด
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในป่ามีการล่าสัตว์ อย่างเสือ หมี แรด ควาย วัวป่าและกวาง วิธีที่พวกเขาใช้ในการล่าแรดนั้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งพวกเขาใช้ชายสี่หรือห้าคนถือไม้ไผ่ไว้ในมือ ส่วนปลายแหลมถูกทำให้แข็งขึ้นโดยการนำไปรนไฟ พวกเขาตระเวณเข้าไปทั่วทุกพื้นที่ ที่คิดว่าจะมีเจ้าสัตว์ตัวนี้อยู่ พร้อมกับเปล่งเสียงร้องและปรบมือดังๆ เพื่อล่อให้แรดโผล่ออกมาจากสถานที่หลบซ่อน และเมื่อพวกเขาเห็นแรดที่กำลังโมโห วิ่งตรงมาทางเขา พวกเขาก็จะรอรับโดยใช้ปลายไผ่แหลมแทงตรงไปในปากของมัน จนทะลุลำคอและอวัยวะภาย แรดจะส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดทรมาน ก่อนจะล้มลงและกลิ้งลงบนพื้นดินด้วยภาพอันชวนสยดสยอง ในขณะที่นักล่าที่กล้าหาญพากันปรบมือและร้องเพลงแสดงชัยชนะ จนกว่าเจ้าแรดจะหมดแรงจากการเสียเลือด
สำหรับการล่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ พวกเขาใช้อาวุธปืน แต่บางครั้งพวกเขาก็จับเก้งและกวางโดยการใช้ตาข่าว ซึ่งมันดูน่าขบขันมาก หลังจากพวกเขาจับมันด้วยตาข่ายได้แล้ว พวกเขาก็จะจุดไฟในพงหญ้า และคนที่คอยหลบซ่อนตัวอยู่ก็จะออกมาใช้ไม้ฟาดพวกมัน
ปลามีอยู่มากมายตามชายฝั่งทะเลของจันทบุรี ในแม่น้ำการหาปลามีบ้างเล็กน้อย ยกเว้นปลาดุกที่เหมือนอาหารปกติของประชาชนตัวไป ซึ่งพวกเขาหามันโดยการตกด้วยเบ็ด และสำหรับการหาปลาทะเลนั้นทำได้สามวิธี 1. การจับเคยหรือกุ้งตัวเล็กพวกเขาใช้อวนผ้าที่มีตาละเอียดมาก กุ้งเหลานี้จะถูกนำไปบดผสมกับเกลือเพื่อทำเป็นกะปิ ซึ่งเป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ของชาวสยาม 2. ตกปลาด้วยอวนเพื่อจับปลาขนาดใหญ่พวกเขาจะดึงอวนลากไปจนตามชายฝัง 3. การหาปลาด้วยการทำอวนลอย
ภูมิประเทศของจันทบุรีนั้นสวยงาม ทางทิศเหนือวิวถูกจำกัดด้วยภูเขาที่สูงมาก ซึ่งเขาเรียกว่าภูเขาแห่งดวงดาว ที่เรียกเช่นนั้น พวกเขาให้เหตุผลว่าผู้ที่ไปถึงยอดเขาจะเห็นดาวแต่ละดวงใหญเท่ากับดวงอาทิตย์ (ความคิดเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงจะบอกคุณได้เพียงพอเกี่ยวกับสติปัญญาของชาวเมือง) ว่ากันว่าภูเขานี้มีอัญมณีล้ำค่ามากมาย
ทิศตะวันออกทอดยาวไปจดสุดที่ทะเล ราวกับม่านผืนใหญ่ มีภูเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งสูงน้อยกว่า ซึ่งยาวประมาณสิบลีกและมีเส้นรอบวงเกือบสามสิบลีก เรียกว่าเขาสะบับ (Sabab) เชิงเขาชุ่มไปด้วยน้ำจากแม่น้ำหรือลำธารซึ่งบริเวณนี้มีการปลูกพริกไทย แน่นอนว่าภูเขาที่สวยงามนี้ต้องมีแร่ธาตุที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ ระบบชลประทานของสวนพริกไทยทำได้โดยใช้กังหัน ผสมกับรางน้ำที่ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งส่งน้ำขึ้นไปในสวนเพื่อรดน้ำพริกไทย
ทางทิศตะวันตกมีเนินเขาหลายลูก บางส่วนเป็นป่าและหุบเขา มีการทำสวนขนาดใหญ่ที่ปลูกมะม่วง มะพร้าว หมาก ทุกเรียน ขนุน ฯลฯ หรือปลูกถั่วลิสง ยาสูบ และอ้อย บนเนินเขาลูกแรกซึ่งอยู่ห่างจากจันทบุรีประมาณสองลีค มีการสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ล้อมด้วยคูน้ำลึก ผู้ที่ทำงานอยู่นี้ที่คือผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานหลักของรัฐตั้ง ฐานบริเวณตีนเนินเขานี้ประกอบขึ้นจากหินแข็ง และดินด้านบนดินที่มีสีแดงหรือสีม่วงแดง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสีได้
จากป้อมนี้ ข้ามเนินเขาเล็กๆ สองลูก เราก็มาถึงตีนของภูเขาที่มีชื่อเสียงในสยามที่เรียกว่าภูเขาอัญมณีและไม่ผิดที่จะถูกเรียกชื่อเช่นนี้ เพราะว่าที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ของหินล้ำค่าจริงๆ หินที่พบ ได้แก่ บุษราคัม โกเมน พลอยสีฟ้า ทับทิม และไพลิน เนินเขาอีกสองแห่งที่อยู่ใกล้เคียงก็อุดมไปด้วยอัญมณีเช่นกัน ผมเองยังพบหินล้ำค่าพวกนี้ด้วยตัวเองอยู่ตามพื้นดินหลายชิ้น
สำหรับที่ราบจันทบุรีซึ่งมีความกว้างประมาณห้าถึงหกลีคและยาวสิบสองลีกนั้น อยู่ในที่ต่ำมากและมีน้ำท่วมทางตอนใต้ ซึ่งตอนน้ำหลากระดับน้ำจะสูงขึ้นจากความสูงของแม่น้ำสิบถึงยี่สิบฟุต น้ำพวกนี้มาจากคลองเล็กคลองน้อยที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งนำเอาแร่ธาตุเข้ามาด้วย ในทุกปีในช่วงที่มีฝนตก แม่น้ำจะล้นและท่วมที่ราบนี้เวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์ การปลูกข้าวที่นั่นจะหยุดไปในช่วงนี้ ดังนั้นการผลผลิตข้าวจึงไม่ค่อยจะเพียงพอสำหรับประชาชนในจังหวัด พื้นที่ราบมากกว่าสองในสามเป็นป่าไผ่และต้นไม้ป่าอื่นๆ
จังหวัดทุ่งใจ (Thung-Jai) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน กระวาน ไม้กฤษณา มังคุด พริกไทย งาช้าง และผลผลิตอื่นๆ ที่มีค่า เมืองทุ่งใจมีประชาก 4,000 คนส่วนใหญ่เป็นชาวสยามและชาวจีน ซึ่งเกือบทั้งหมดทำอาชีพค้าขาย มีเพียงไม่กี่คนที่ประกอบอาชีพประมงซึ่งมีปลามากมายตามชายฝั่ง บริเวณใกล้เคียงมีเกาะที่มีป่าไม้มีค่าหลายเกาะ ซึ่งเกาะหลักคือเกาะช้าง (หมายถึงเกาะของช้าง) ว่ากันว่าเต็มไปด้วยเสือโคร่ง ภูเขาสูงบนเกาะทำให้มีอากาศบริสุทธิ์ และกลายเป็นที่พักผ่อนสำหรับเรือทุกลำที่มาเยือนพื้นที่บริเวณนี้
เมื่อกลับจากจันทบุรี ข้าพเจ้าแวะที่บางปลาสร้อย (Bangpla-Soi) ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา ที่อ่าวด้านล่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลา และ pcchc ก็มีอยู่มากอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเดินผ่านตลาดจะเห็นแผงปลานานาชนิด ซึ่งใช้เงินเพียงหนึ่งเฟื้อง (ประมาณเจ็ดเซ็นต์) ข้าพเจ้าก็ได้อาหารเพียงพอแล้วที่จะเลี้ยงคนสิบห้าคน ประชากรของที่นี่เป็นชาวสยามและชาวจีนจำนวน 6,000 คน ทำอาชีพค้าขายหรือชาวประมง จังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกที่ดีและอุดมสมบูรณ์มาก สามารถผลิตข้าว น้ำตาล ยาสูบที่คุณภาพเยี่ยม ผลไม้และผักอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีโรงเกลือขนาดใหญ่และเหมืองเปลือกหอยที่เหมือนจะไม่มีวันหมดซึ่งชาวจีนนำไปใช้ประโยชน์จากการทำปูนขาว
หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชาวคริสตที่อาศัยอยู่กันกระจัดกระจายตามในไร่ยาสูบและอ้อยแล้ว พวกเราได้นั่งเรือพายที่ยาวกว่าและเบากว่าเข้าไปในแม่น้ำบางปะกง ซึ่งกินระยะทางหลายสิบลีก จนเดินทางมาถึงเมืองเปดริ้ว (Pëtriu) ซึ่งเมืองนี้มีป้อมปราการสำหรับป้องกัน และผู้ปกครองก็ทำงานอยู่ด้านใน ประชากรของเมืองอาศัยกระจัดกระจายไปตามชายฝั่งทั้งสองอาจจะมีจำนวนถึง 10,000 คน ทั้งจังหวัดซึ่งเป็นที่ราบกว้างใหญ่ประกอบด้วยนาข้าว สวนผลไม้ และไร่อ้อย ซึ่งที่ดินราว 20% น่าจะถือครองโดยชาวจีน ผมพักอยู่กับชาวจีนที่นับถือคริสต์อยู่หลายวัน เขาเป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาล ทำให้ผมพอจะได้อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เราจะเห็นเสาไม้ซุงสองหรือสามต้น ซึ่งแต่ละต้นสูงถึงสิบห้าถึงยี่สิบเมตร ถัดมาเป็นแท่นทรงกลม ที่มีควายสองตัวทำหน้าที่ลากหมุนในทิศทางตรงกันข้ามกัน ทำเสาไม้ทรงกระบอกสองอันบีบคั่นเอาน้ำอ้อยออกมา น้ำอ้อยก็จะไหลเข้าสู่ขนาดใหญ่ซึ่งทำจากอิฐ ด้านหลังเป็นเตาอิฐขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนหอคอย ที่ส่วนบนของเตาที่มีแท่งเหล็กขนาดใหญ่สามแท่งสำหรับวางหม้อขนาดใหญ่สามใบ ซึ่งหม้อนี่เอง ด้วยความร้อนของไฟ น้ำอ้อยจะถูกระเหย จนกระทั้งเมื่อน้ำอ้อยเคี่ยวจนได้ที่แล้ว ก็จะนำไปเทลงในกรวยดิน วันรุ่งขึ้นกากน้ำตาลจะแห้งลง เหมือนกั้บดินเหนียว จึงได้น้ำตาลที่มีสีน้ำตาลอ่อนมา ส่วนกากน้ำตาลที่เหลือยังจะสามารถนำไปทำเป็นน้ำตาลทรายแดง สุดท้ายหากยังมีกากน้ำตาลเหลืออีกมันก็ถูกส่งไปยังโรงงานยางหรือผสมกับปูนขาวในการก่อสร้าง หลุมซึ่งใช้เก็บกากน้ำตาลจะอยู่ในที่โล่ง ดังนั้น จิ้งจก หนู และคางคกก็มาตายที่นั่น ซึ่งมีปริมาณมากด้วย มันมีเพิงขนาดใหญ่สองหลัง แต่ละหลังยาวห้าสิบเมตร ไม่เพียงแต่จะใช้เป็นที่สำหรับเก็บวัสดุทั้งหมดของโรงงานเท่านั้น แต่ยังเป็นที่อยู่ของคนงานสองร้อยคนที่ทำงานที่นั่นด้วย ซึ่งในเพิงหลังหนึ่งหนึ่งทำให้ข้าพเจ้ารู้สึยินดีมาก ที่มีคนกว่าสองร้อยคน เกือบทั้งหมดเข้าร่วมพิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์
จากที่นั่น ข้าพเจ้าทวนขึ้นไปตามแม่น้ำ และพบกับแม่น้ำสาขาที่แยกมาจากทิศตะวันออก แต่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไปทางแม่น้ำที่สาขาที่มาจากทางทิศเหนือ ระหว่างทางมีนกน้ำจำนวนนับไม่ถ้วนตลอดสองฝั่ง สร้างความบันเทิงให้กับผู้ติดตามของของข้าพเจ้าอย่างมาก พวกมันฆ่ามันมาปริมาณหนึ่ง พอตกกลางคืนพวกเราแวะที่วัดร้างเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ แล้วก็หุงหาอาหารกัน เมื่อเข้าไปในอาคารหลังเล็กๆ ต้องมีการจุดไต้ ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจและตกใจเมื่อเห็นว่าภายในเต็มไปด้วยหัวจระเข้ขนาดใหญ่หลายหัว เมื่อลองวัดดูปรากฏว่ามีความยาวเกือบเมตร วันรุ่งขึ้นช่วงเย็น เราก็มาถึงโคราช เมืองนี้มีประชากร 5,000 คน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสูง ริมฝั่งแม่น้ำที่สวยงามซึ่งยังคงเดินเรือต่ออีกสองวัน ที่นี่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวลาวและชาวสยาม พวกเขาทำอาชีพปลูกข้าวและหาของป่าเพื่อส่งไปขายยังกรุงเทพฯ ข้าพเจ้ามาเพื่อฟังทัศนคติทางศาสนาของพวกเขา ข้าพเจ้าจึงใช้สายตามองสำรวจตามริมฝั่งด้วยความสนอกสนใจ มันใช้เวลาไม่มากเพื่อดึงดูดฝูงชนที่มาชมพระราชวังตุยเลอรี (Tuileries Palace) โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ (Saint-Pierre of Rome) ในกรุงโรม และสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามอื่นๆ ที่สร้างเพื่อดึงดูดให้ผู้คนมาชื่นชม
อย่างไรก็ตามมีสุภาพสตรี หลายคนนำข้าว ปลา และผลไม้มาให้ข้าพเจ้า ราวกับจะขอบคุณฉันที่นำสิ่งสวยงามเหล่านี้ให้พวกเขาดู และในช่วงสุดท้าย ผู้ใหญ่บ้านก็เชิญฉันขึ้นไปที่บ้านของเขา เขายืนหมาก พลูอะรีก้าและยามวนให้ข้าพเจ้า ก่อนจะยิงคำถามมากมายตามมา ซึ่งทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสสอนพวกเขาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ดังนั้นพวกเขาจึงพาชวนให้ข้าพเจ้ามาตั้งรกรากอยู่ในหมู่บ้านกับพวกเขา ข้าพเจ้าตอบว่าเนื่องจากข้าพเจ้าตัดสินใจเองไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงบอกว่าจะส่งคนอื่นมาแทนที่ข้าพเจ้า วันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าก็บอกลาจากพวกเขา ข้าพเจ้าไปขึ้นเรือบริเวณริมฝั่งคลองตรงที่คลองสองมาบรรจบกัน โชคไม่ดีที่พวกเราจำเป็นต้องค้างคืนกันบนเรือในคลองนี้ซึ่งมียุงมากมาย ซึ่งพวกเราใช้เวลาทั้งคืนในการต่อสู้กับยุง มันเป็นความเจ็บปวดทรมานเหลือเกินที่เลือดจากทุกส่วนของร่างกายถูกดูดโดยแมลงมีปีกจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งพิษจากการต่อยทำให้เนื้อตัวพองและทำให้เกิดอาการคันจนทนไม่ได้! ที่นี่มียุงอยู่เยอะเพราะเป็นที่ราบลุ่มและไม่มีการเพาะปลูกทำให้มีหญ้าเน่าอยู่ในน้ำ เช้าวันรุ่งขึ้นเรือเต็มไปด้วยยุงที่พวกเราฆ่าในตอนกลางคืน ปริมาณของมันน่าจะสักสองถัง
สุดท้าย พวกเราก็มาถึงกรุงเทพฯ อย่างเหนื่อยอ่อนและแทบไม่มีเลือดในร่างกายเหลืออยู่เลย
การเดินทางเยือนจังหวัดในภาคกลางและเหนือ
ออกจากกรุงเทพฯ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2377 ข้าพเจ้าล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา และหลังจากเดินทางได้สามชั่วโมง ข้าพเจ้าก็มาถึงตลาดควน (Talat-Khuan) เมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรราว 5,000 คน ซึ่งมีร้านค้าตั้งอยู่บนแพเป็นแนวยาว สองฝั่งแม่น้ำเรียงรายไปด้วยบ้านเรือนที่มีสวนกว้างขวาง เมื่อเดินทางออกมาได้ไกลสองลีก แม่น้ำก็กว้างขึ้นและก็ไม่มีเรือของคนอื่นลอยตามอยู่เลย พวกเราเข้าไปในคลองหนึ่งที่มีความกว้าครึ่งลีค ซึ่งบริเวณสองฝั่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวณ 6,000 คน ซึ่งประกอบอาชีพทำสวนและทำเครื่องปั้นดินเผาหยาบๆ เมืองนี้มีชื่อว่าปากเกร็ด (Pak-Tret) เป็นเมืองที่มีผู้ปกครอง มีด่านศุลกากร ร้านค้าลอยน้ำ และเจดีย์สวยงามมาก
ถัดจากปากเกร็ด ยังคงมีหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอดริมสองฝั่งกินระยะทางกว่าหกลีค ซึ่งหลังจากนั้นเราก็มาถึงเมืองที่มีชาวญวนอีกแห่ง ซึ่งมีประชากร 4,000 คน ที่นี่เรียกว่าเมืองสามโคก ซึ่งอุตสาหกรรมของเมืองนี้ประกอบด้วยการทำอิฐทุกขนาด ทั้งเพื่อขายและส่งเป็นภาษีให้กับรัฐบาล
บริเวณท้ายของแนวสวน วิวทิวทัศน์เปลี่ยนเป็นภาพของทุ่งชนบทอันกว้างใหญ่ ซึ่งไม่มีขอบเขตอื่นใดนอกจากขอบฟ้า ข้าวเป็นผลผลิตเดียวในจังหวัดนี้ แอ่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไป มีปลาสวยงามมากมายซึ่งดึงดูดฝูงนกน้ำ
ระยะทางห้าลีคจากเมืองสามโคกเป็นพบกับจุดที่แม่น้ำบรรจบกัน พวกเราเลี้ยวขวา และหลังจากผ่านเกาะสี่ที่อยู่เกือบติดแล้ว ก็มาถึงหมู่บ้านที่ชื่อว่า Navire-Englouti ซึ่งในช่วงน้ำลง เรายสามารถเสากระโดงเรือลำใหญ่ของชาวจีนอยู่กลางแม่น้ำ ซึ่งถูกทิ้งไปที่นั่นเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้ว จากที่นั่นเราจะมองเห็นแนวของเจดีย์ที่ถูกทำให้ดำคล้ำตามกาลเวลา ยอดของมันแทงสูงขึ้นไปในเมฆ ต้นไม้น้อย ต้นไม้ใหญ่พาขึ้นปกคลุมซากปรักพัง สร้างร่มเงาอันกว้างใหญ่ ทำให้พวกเรารู้สึกว่าเราได้มาถึงเมืองหนึ่งซึ่งเป็นเมืองสำคัญ ที่เคยรุ่งเรืองมั่งคั่งมากของโลกตะวันออก บริเวณแม่น้ำรอบ ๆ จูเทียถูกแบ่งออกเป็นคลองหลายสาย ทำให้อาจหลงทางได้ง่าย หรือจะอธิบายให้ถูกต้องก็คือ ตัวเมืองนั้นเป็นเกาะ มีเส้นรอบวงสามลีค ซึ่งรูปร่างค่อนข้างคล้ายกับเหรียญจีน ข้าพเจ้าได้สำรวจโดยรอบของซากปรักหักพังขนาดใหญ่นี้ซึ่งครอบคลุมทั่วบริเวณของเกาะ ที่โดดเด่นที่สุดคือของพระราชวังและพระเจดีย์หลวง ที่มีขนาดใหญ่และสูงห้าสิบถึงหกสิบฟุต ด้านในของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำจากอิฐและด้านนอกเป็นทองเหลืองหนาประมาณสองนิ้ว ตามพงศาวดารของสยาม เจดีย์องค์หนึ่งนั้นถูกหลอมเอาทองแดงออกมาได้ถึงสองหมื่นห้าพันปอนด์ เงินสองพันปอนด์ และทองคำสี่ร้อยปอนด์ กำแพงทุกด้านนั้นพังหมดแล้ว และซากปรักหักพังเหล่านี้มีพืชขึ้นปกคลุมจนหนา ต้นโพธิ์ซึ่งเป็นที่อยู่ของนกเค้าแมวและนกแร้ง ซากปรักหักพังเหล่าเคยใช้เก็บทรัพย์มหาศาลและถูกทำลายลงระหว่างการเสียกรุงจูเธีย ซึ่งมีการขุดหาสมบัติกันอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาและก็มักจะพบของมีค่าถูกขุดขึ้นมาเสมอ เมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ที่หลังนี้ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองเก่า มีร้านค้าลอยน้ำอยู่สองแถวและมีประชากร 40,000 คน ที่ประกอบด้วยชาวสยาม จีน ลาว และมาไต จังหวัดจูเธียนนี้มีข้าวและปลาอุดมสมบูรณ์ เหนือขึ้นไปทางเหนือของเมืองประมาณหนึ่งลีก บริเวณตรงกลางของที่ราบโล่ง มีสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าภูเขาทองอยู่ตรงกลาง ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1387 มีรูปทรางคล้ายปิรามิดทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สูงประมาณสี่ร้อยฟุต มีบันไดที่สวยงามซึ่งพวกเราปีนขึ้นไปเพื่อมองดูภาพกว้างๆ ของอาณาจักรเก่าโดยรอบ เมื่อปีนขึ้นมาถึงชั้นสาม คุณจะมีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ ที่ความสูงขนาดนี้นี้ มีระเบียงทางเดินสี่ด้านซึ่งนำไปสู่ภายในโดมซึ่งมีพระพุทธสีทองขนาดใหญ่นอนอยู่บนแท่น มีค้างคาวหลายล้านตัวอยู่ด้วยทำหน้าที่เหมือนบริวารและผู้มาสักการะ ซึ่งพวกมันขี้และฉี่รดส่งกลิ่นเหม็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังได้ยินเสียงปีกของมันกระเพื่อมอย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน เป็นเสียงกระเพื่อมคล้ายเสียงจากนรก เจดีย์ถูกสร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่น่าชื่นชม ยังคงสูงเหนือห้องแสดงภาพที่มีความสูงหนึ่งร้อยห้าสิบฟุตและสิ้นสุดด้วยยอดแหลมที่ปิดทองสวยงาม
เมื่อออกจากจูเธีย ล่องขึ้นไปตามสาขาหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา แนวริมตลิ่งก็เริ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และในฤดูแล้ง คนที่ผ่านมาบริเวณนี้จะเจอกับสันทรายที่เรือขนาดใหญ่ยากที่จะหาทางผ่านไปได้ โดยทั่วไปแล้ว ริมฝั่งแม่น้ำจะเรียงรายไปด้วยกอไผ่สวยงาม และมีบ้านเรือนแทรกอยู่กระจัดกระจาย สิบแปดลีคทางเหนือของจูเธีย เราพบเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 2,000 คน ชื่อเมืองอ่างทอง (The golden jar) ข้าพเจ้าได้มอบแก้วน้ำสองใบให้กับเจ้าเมืองของเมืองนี้เพื่อแสดงความขอบคุณในนำ้ใจไมตรีที่ต้อนรับ ซึ่งท่านเจ้าเมืองได้เรียกภรรยาทั้งสิบสองคนของเขาออกมาแสดงการร้องเพลงประสานเสียงพร้อมเล่นดนตรี อและนำเนื้อหมู, ปลา, ขนมและผลไม้มาใส่ในเรือของข้าพเจ้า จังหวัดนี้มีข้าวและปลาอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังผลิตน้ำตาลได้อีกนิดหน่อย
ในวันที่อากาศดีตอนอยู่ทางเหนือ ข้าพเจ้าได้แวะอีกเมืองหนึ่งชื่อเมืองพรหม (Muang-Phrom) ซึ่งมีชาวสยามและลาวรวมกัน 3,000 คน ที่นั่นมีทิวทัศน์ของภูเขาที่สวยงามมาก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางสิบลีค มีเจดีย์อยู่รอบๆ เมืองนี้ ท่ามกลางการโต้เถียงกันเรื่องศาสนา ข้าพเจ้าเชื่อว่าศาสดาของข้าพเจ้ามีความเฉลียวฉลาดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในนรก กระทะทองแดง พวกเขาโกรธจัด จนหยิบเอาอิฐและก้อนหินหินขว้างปาพวกเราเรา แต่ข้าพเจ้าเอาตัวรอดมาได้ ด้วยการให้สินบนกับคนจนคนหนึ่ง ซึ่งพาพวกเรากลับออกมา
ขึ้นไปอีกห้าลีค แม่น้ำมีสาขาแยกทางขวามือซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไหลจะจนถึงจังหวัดนพบุรี (Nophaburi) และเหนือทางแยกนี้อีกหน่อย เป็นตั้งของชุมชนชาวจีนเล็กๆ ที่มีโรงงานเหล้าหรือบรั่นดีจากข้าว หกลีกขึ้นไปอีกคือ เมืองอิน (Mûang-In) ที่มีชาวสยามและลาวอยู่ 4,000 คน ทีอยู่ของผู้ปกครองเมืองนั้นกว้างใหญ่มาก แต่ว่าบ้านเรือนของประชาชนนั้นเล็กๆ ทำจากหญ้าและไม้ไผ่ มีการปลูกข้าว หมาก ฝ้าย และอ้อย
จากที่นั่นชายฝั่งจะเรียงรายไปด้วยต้นไผ่ป่า ชั้นดินเปลี่ยนแปลงไป เป็นดินที่มีส่วนผสมของแร่เหล็กสูงแทนที่จะเป็นก้อนทราย เรายังเจอกับฝูงนกกระทุงที่ลงเล่นน้ำเหมือนกองทหาร ซึ่งพบว่ากระแสน้ำไหลเร็วขึ้นด้วย เรายังสามารถมองเห็นเนินเขาสามกษัตริย์ (Trios-Reois) ที่อยู่ไกลออกไปสามหรือสี่ลีค ซึ่งเป็นสิ้นสุดที่ราบกว้างใหญ่ของสยามด้วย
หลังจากขึ้นไปอีกสิบลีกเหนือเมืองอิน พวกเราก็มาถึงชัยนาท (Xainât) เมืองเล็กๆ ที่มีประชากร 3,000 คน มีผู้ว่าราชการจังหวัด ชาวบ้านปลูกข้าว ยาสูบ พลู ฝ้าย ทำไต้และประกอบแพไม้ เพื่อที่จะใช้ขนของส่งไปขายที่จูเทียหรือกรุงเทพฯในช่วงฤดูฝน ไม้ไผ่ที่ขึ้นในป่าเหล่านี้มีคุณภาพที่ดีกว่าไผ่ที่ปลูกมาก เพราะไม่มีตัวหนอน สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในชัยนาทคือเจดีย์หลวงโบราณที่ตกแต่งด้วยรูปปั้นโบราณที่มีรูปร่างแปลก ทางฝั่งตะวันออก คุณจะเห็นแนวเทือกเขา และแนวของต้นไผ่ที่เล็กลงจนใหญ่ไม่เกินนิ้วมือแต่สามารถนำไปใช้ตามแต่จุดประสงค์ที่หลากหลาย
ขึ้นไปอีกสิบห้าลีคจากชัยนาท เรามาถึงท่าซุง (Thà-Sung) เมืองเล็กๆ ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ริมปากแม่น้ำซึ่งไหลมาจากทิศตะวันตก ชาวจีนมีโรงงานสุราอยู่ที่นั่นและมีเตาเผาหลายสิบเตาที่พวกเขาใช้หลอมแร่เหล็กที่มีอยู่มากมายในพื้นที่ เหล็กที่ผลิตออกมาจากเตาหลอมเหล่านี้ไม่เพียงแต่เอาไว้ใช้ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอีกด้วย
ข้าพเจ้าตั้งใจว่าจะไปให้ถึงลาว ข้าพเจ้าหยุดพักที่ท่าซุงหนึ่งวัน และเดินทางต่อไปทางเหนือ และหลังจากผ่านเมืองเล็กๆ ชื่อหัวเดน (Huaden) ข้าพเจ้าก็มาถึงนครสวรรค์ (เมืองสวรรค์) ยี่สิบห้าลีค ทางเหนือของท่าซุง ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางลีค มีแนวเนือกเขาสูงตระหง่านที่เรียกว่าเขาหลวง (Khao-Luang) ซึ่งยาวจากเหนือจรดใต้ นครสวรรค์เป็นเมืองเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากในพงศาวดารของสยาม ทางตะวันออกเป็นเทือกเขา และบริเวณใกล้ๆ นี้ก็มีเจดีย์ด้วยงาม สภาพของจังหวัดค่อนข้างกันดาร มีจรเข้มานอนหลับและนอนอ้าปากกว้างอยู่ริมน้ำ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
สามลีคจากนครสวรรค์ แม่น้ำแยกเป็นสองสาขา สายหนึ่งมาจากตะวันตกเฉียงเหนือ กระแสน้ำเชี่ยวและวิ่งเข้าปะทะกับตลิ่งที่เป็นก้อนกรวด ส่วนแม่น้ำอีกสายมาจากตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งแตกต่างจากแม่น้ำสายแรกมาก เพราะมันมีน้ำลึกและไหลอย่างเงียบสงบ พวกเราจึงใช้แม่น้ำสายที่สองนี้ในการเดินทางต่อไป ทั้งสองฝั่งขอแม่น้ำเป็นป่าทึบ หากมีการยิงปืนออกไป จระเข้จะร้องคำรามอยู่ใต้น้ำ ลิงพากันกรีดร้องคร่ำครวญ ช้างส่งเสียงดังราวกับฟ้าร้อง ผู้ที่เดินทางเข้ามาจะพากันตัวแขงด้วยความหวาดผวา เมื่อมาถึงคลองแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยปลา พวกเราจึงหยุดเรือเพื่อที่จะเหวี่ยงแหจับปลา แต่จระเข้สองตัวขนาดใหญ่ที่หลับใหลกลับตื่นขึ้นและกระโจนมาทางทิศทางที่เรือของพวกเราอยู่ ซึ่งทำให้พวกเราต้องหันหลังกลับโดยเร็วที่สุด เหตุการณ์นี้ทำให้พวกเราเดินทางต่อไปด้วยความเงียบพักใหญ่เพราะเพิ่งผ่านความเป็นความตายมา นั้นทำให้ทางที่เราเดินทางต่อมายิ่งเงียบจนน่าสะพรึ่ง แล้วพวกเราก็ได้ยินเสียงกรีดร้องและความโกลาหล แล้วเราก็เห็นเรือลำใหญ่จำนวนมากมายมีเก๋งเรือ ที่ประดับด้วยธง ขนนกและหางนกยูง มีทหารสวมเสื้อสีแดง มีหอกและง้าวเป็นอาวุธ ล่องลงมาตามแม่น้ำด้วยความเร็ว พวกเราก็เข้าใจในทันทีว่าเป็นขบวนเรือขอพระสงฆ์ (ปัจจุบันคือกษัตริย์แห่งสยาม) พระองค์ทรงเสด็จกลับจากการประพาสลาว ซึ่งทรงพระราชดำเนินไปเพื่อ para-fang ด้วยใบไม้ทอง กล่าวคือ ต้นไม้สปันหรือไม้ซุงขนาดมหึมาเป็นที่เคารพบูชามาก สมัยโบราณ ฝีพายบนเรือของข้าพเจ้าทุกคนคุกเข่าลง ส่วนข้าพเจ้าก็เข้าไปอยู่ในเก๋งเรือ ระหว่างที่ขบวนเสด็จผ่าน ซึ่งพระองค์คงไม่มีเวลาที่จะทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้า
ห้าวันต่อมาพวกเราพบกับหมู่บ้านอีกเพียงห้าแห่ง และในที่สุดเราก็มาถึงพิษณุโลก (Phit-Salok) เมืองนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าพันห้าร้อยปี เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสยามมาช้านาน ถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้ง ปัจจุบันมีประชากรน้อยกว่า 5,000 คน เป็นชาวสยาม จีน และลาว ซึ่งอาชีพหลักคือการตัดไม้สักในป่า และนำมาเรียงเป็นแพ พอถึงฤดูฝนก็จะลอยไปขายที่กรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ ส่วนคนเชื้อสายจีนนิยมปลูกฝ้ายและยาสูบ ซึ่งให้คุณภาพดีเยี่ยม
เมื่อข้าพเจ้าเดินทางต่อไปทางเหนือ ช้าพเจ้าได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งรัฐลาวที่เรียกว่าเมืองน่าน (Mûang-Nàn)
พระองค์กำลังเสด็จล่องไปตามแม่น้ำด้วยแพไม้สักหลายแพ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจไปเข้าเฝ้าพระอง์ที่พลับพลาลอยน้ำของพระองค์ ข้าพเจ้าถูกห้อมล้อมไปด้วยนางกำนันมากมาย แต่งกายด้วยผ้าถุงทำจากไหมลายทาง สวมกำไลทองและเครื่องประดับอื่นๆ ข้าพเจ้าถวายเครื่องแก้วและน้ำหอมสองสามขวดแก่พระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ได้มอบให้กับนางกำนัลโดยทันที ในส่วนของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานเลี้ยงขนมปัง น้ำชา หมากและพลู ระหว่างการสนทนา เมื่อพระองค์ทราบว่าข้าพเจ้ากำลังจะมุ่งหน้าไปยังเมืองน่าน พระองค์ก็ทรงรีบบอกว่าพระองค์กำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ สองถึงสามเดือน พระองค์รับสั่งให้ข้าพเจ้ารอพระองค์อยู่ที่นี่ก่อนและเมื่อทรงเสด็จกลับมา พระองค์จะได้พาข้าพเจ้าไปยังเมืองของพระองค์ พระองค์บอกว่าพระองค์จะมอบวัดให้สำหรับให้ข้าพเจ้าสอนศาสนาของพวกฝรั่ง ข้าพเจ้าจึงขอบพระทัยในน้ำใจของพระองค์ และพวกเราก็จับมือกันเป็นการบอกลาในฐานะเพื่อนที่ดี
อย่างไรก็ตาม, ผู้ที่ติดตามเดินทางมาร่วมกับข้าพเจ้าต่างก็เบื่อหน่าย ยิ่งเมื่อรู้ว่าจะต้องรอเป็นเวลาถึงสองสามเดือน พวกเขาบอกกับข้าพเจ้าว่าพวกเขาไม่ต้องการจะอยู่รอและก็ไม่ต้องการจะเดินทางต่อไปด้วย ทำให้ข้าพเจ้าเหมือนถูกบังคับให้ต้องยกเลิกแผนการณ์ และในวันต่อมาพวกเราก็ล่องเรือกลับมาตามแม่น้ำ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2377 พวกเรากลับมาที่เมืองพรหม ที่นั่น คนของข้าพเจ้าได้ขึ้นเรือของชาวคริสต์กลับกรุงเทพฯ ส่วนข้าพเจ้านั้นเหลือเพียงชายหนุ่มนิสัยดีคนหนึ่งเอาไว้ ข้าพเจ้าฝากเรือไว้กับคนลาวคนหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าได้รู้จักเมื่อตอนที่เดินทางมาถึง ส่วนสัมภาระของข้าพเจ้านั้นถูกย้ายไปอยู่ที่กับฝูงวัว แล้วคนนำทางก็พาพวกเรามุ่งหน้าผ่านทุ่งไปทางตะวันออก, พวกเรามาหยุดพักนอนกันกลางทุ่ง และในวันถัดมา พวกเราก็มาถึงเชิงเทือกเขา ซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปติดต่อกับผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านลาวแห่งนี้ ซึ่งพวกเขาก็ให้การต้อนรับพวกเราด้วยดี ข้าพเจ้าสังเหตุเห็นว่าที่หมู่บ้านแห่งนี้ไม่มีเจดีย์หรือว่าพระสงฆ์ และคนในหมู่บ้านก็เหมือนกับว่าต้องการที่จะหันมานับถือคริสต์ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจที่จะอยู่ที่นี่ เด็กๆ และหนุ่มสาวนหมู่บ้านต่างก็เข้ามาคอยดูแลข้าพเจ้า และในสี่วันต่อมาห้องเรียนศาสนาของข้าพเจ้าที่สร้างด้วยไม้ไผ่ก็เสร็จเมื่อถึงตอนนี้ ในทุกๆ เย็นก็จะมีการสอนให้พวกเขาสวดมนต์ และในช่วงเวลากลางวันข้าพเจ้าก็จะเดินเข้าไปในป่า เพื่อที่จะเยี่ยมหมู่บ้านใกล้เคียง
สามลีคจากที่ที่ข้าพเจ้าอยู่ จะมีแม่น้ำ และใกล้เชิงเขาที่สวยงามมาก บริเวณนี้ตั้งอยู่ในเมืองที่มีชื่อเสียง ชื่อว่าเมือง นพบุรี (Nophaburi) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 600 ของเรา มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรเล็กๆ สังเกตุได้จากซากกำแพงเก่า พระราชวังและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งยังคงมีซากเจดีย์เก่าหลงเหลืออยู่หลายองค์
แต่พวกเขาเล่าให้พวกเราฟังว่าที่นี่เคยเป็นเมืองที่มีประชากรมากมาย มั่งคั่ง และทรงอำนาจ ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมชมคฤหาสน์ของคอนสแตนซ์ที่มีชื่อเสียงซึ่งโชคชะตาให้เกียรติทำให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1658 พวกเรายังเห็นโบสถ์คริสต์เล็กๆ แห่งหนึ่งที่สวยงาม แท่นบูชาแกะสลัก ลวดลายสีทองถูกคลุมด้วยผ้าที่เขียนตัวหนังสือด้วยตัวอักษรสีทองว่า “Jesus hominum salvator (พระเยซูเป็นผู้ปกป้องมนุษย์)” แต่ว่าพระสงฆ์ได้มีการนำพระพุทธรูปมาวางไว้บนแท่นบูชานี้และมาจำวัดอยู่ภายในคฤหาสน์ของคอนสแตนซ์ แต่ตามรายงานของพวกนอกรีต ได้เล่าว่าเมื่อคอนสแตน์เสียชีวิตลง ผู้คนก็เลยพากันละทิ้งหน้าที่กันไป
ก่อนที่อาณาจักรจูเทียจะล่มสลาย กษัตริย์แห่งสยามจะมาพำนักอยู่ที่นพบุรีในช่วงน้ำท่วม และหาความสำราญด้วยการล่าช้าง เนินเขาโดยรอบมีการปลูกผลไม้ (หรือผลไม้ทุเรียนเทศมีเกล็ด) และกล้วยชั้นเยี่ยม ในภูเขามีสัตว์มากมาย แม่น้ำและลำคลองเต็มไปด้วยฝูงปลาที่ดึงดูดฝูงนกกระทุง เป็ดป่า นกกระสา นกกระสา และนกน้ำอื่นๆ ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์นั้นถูกคลุมด้วยข้าวชั้นดี เรียกได้ว่าจังหวัดนี้เป็นสถานที่ที่มีเสน่ห์ ที่ซึ่งความสุขและความอุดมสมบูรณ์ครอบครอง
ในเวลาที่ข้าพเจ้าจะไปติดตามผลงานการสั่งสอนที่หมู่บ้านชาวลาวแล้ว ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ของทางการได้มาพาตัวข้าพเจ้าไปสอบสวน ซึ่งหลังการสอบสวนที่ใช้เวลานาน ข้าพเจ้าก็ได้รับการบอกว่าสถานาการณ์ในตอนนี้ได้เกิดสงครามระหว่างสยามกับเวียดนาม ชาวต่างชาติจึงถูกห้ามให้อยู่ที่เมืองนี้
ข้าพเจ้าถูกขังในเรือนจำเป็นเวลาสองวัน หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ถูกพาตัวไปโดยมีทหารคุ้มกันสี่นาย ช้าพเจ้าถูกนำตัวมายังเมืองพรหม ซึ่งข้าพเจ้าเดินทางมาถีงในเวลากลางคืน ทั้งเหนื่อย หิวและเมื่อยล้าจากการถูกยังคับให้ต้องเดินทางเป็นเวลานาน ผู้ว่าฯ ของเมืองพรหม ซึ่งหลังจากได้อ่านจดหมายของผู้ว่าฯ เมืองนพบุรีแล้ว ก็ร้องอุทานว่า “จะจับกุมนักบวชที่ไร้พิษภัยไปทำไมกัน ? ผู้คุม! จงไปที่เรือของเขา แล้วตรวจดูหากไม่มีฝิ่นหรืออาหารต้องห้ามอื่นใดที่ผิดกฎหมาย ก็ให้ปล่อยเขาไป”
เมื่อผู้คุมมาตรวจสอแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับการปล่อยตัวและเดินทางกลับกรุงเทพฯ แต่ระหว่างนี้ข้าพเจ้าเกิดป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบจนเกือบจะเสียชีวิต
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2386 ข้าพเจ้าออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเยี่ยมชาวคริสต์เชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดทางภาคตะวันตก สองข้างทางของตามคลองมีการทำสวนไประยะทางตลอดแปดลีค จากนั้นพวกเราก็มาถึงคลองขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ ซึ่งคลองนี้เชื่อมไปยังเมืองมหาชัย (Maha-Xai) และท่าจีน(Tha-Chin)
มหาชัยเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีความโดดเด่นโดยเฉพาะป้อมปราการที่ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบกันของคลองและแม่น้ำ ท่าจีนนั้นเป็นอำเภอเมืองศูนย์กลางของจังหวัด มีประชากร 5,000 คน โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและค้าขาย ดังนั้นจีงเป็นเมืองที่มีเรือสำเภาจีนแวะเวียนมาประจำ
หลังจากข้ามแม่น้ำแล้ว เราก็ผ่านคลองคดเคี้ยวซึ่งไหลไปทางทิศตะวันตก น้ำในแม่น้ำมีรสเค็ม พวกเราต้องต่อสู้กับความหวาดกลัว เพราะความเปลี่ยวที่ปกคลุมเส้นทาง นอกจากนั้นยังมีจระเข้มากมายที่พวกเราพบว่ามันนอนอยู่ตามริมตลิ่ง แต่เมื่อผ่านมาได้สิบลีค บรรยากาศก็เปลี่ยนแปลงไปทันที เพราะพวกเรามาเจอกับแม่น้ำอีกสายที่สวยงาม และเมืองที่มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยผู้คน ที่นี่มีตลาดน้ำ เจดีย์และสวนที่สวยงาม ประชากรของแม่กลอง (Me-Khlong) ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อค้าและชาวประมงเชื้อสายจีสน ชาวสยามทำสวนในแผ่นดินที่มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์มหาศาล ที่ท้ายสุดของเมืองยังมีป้อมปราการขนาดใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้เรือของศัตรูผ่านเข้ามาในแม่น้ำในกรณีที่เกิดสงคราม นอกจากพืชที่พวกเขาปลูกได้แก่พริกยาว มันเทศ หัวผักกาด หัวหอม เมล่อน ยาสูบ หมาก ฯลฯ จังหวัดนี้ยังมีนาเกลือขนาดใหญ่ที่ผลิตเกลือให้กับคนทั้งอาณาจักร
ขึ้นไปตามแม่น้ำแม่กลองท สองข้างทางเป็นสวนไปตลอดระยะทางสิบลีค จากนั้นพวกเราใช้เส้นทางผ่านคลองเล็ก ๆ ซึ่งพาพวกเราข้ามที่ราบกว้างใหญ่ที่ใช้เพาะปลูก พวกเราก็มาถึงกระท่อมของคนจีนลูกศิษย์ของเรา ข้าพเจ้าพักอยู่สิบวันเพื่อทำกิจกรรมกับชาวคริสต์และเตรียมพิธีบัพติศสำหรับคนที่จะมาบวชใหม่หลายสิบคน
วันที่ 13 มิถุนายนพวกเราออกเดินทางในตอนเช้า โดยขึ้นไปตามแม่น้ำอีกครั้ง และในตอนเย็น พวกเราก็มาถึงเมืองราชรี (Rapri) อำเภอเมืองของจังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่มีป้อมปราการซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นเชลยชาวกัมพูชา ซึ่งถูกนำตัวมาไว้ที่นี่เป็นจำนวนหกถึงเจ็ดพันคน แนวเทือกเขาอยู่ที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ซึ่งห่างออกไปสี่หรือห้าลีค ภูเขาเหล่านี้อุดมไปด้วยแร่ดีบุก แต่ป่าทึบนั้นมีเสืออยู่มากซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสำรวจแร่ จังหวัดนี้ยังดินที่อุดมสมบูรณ์มาก สามารถผลิตน้ำตาลได้มาก และภูเขานี่เองที่มีไม้ฝางหรือไม้พีชที่เราเอามาทำสีย้อมผ้าที่ให้สีแดงอยู่มาก
เหนือเมืองราชรี ตลิ่งนั้นสูงขึ้นและแม่น้ำก็กว้างขึ้น แม่น้ำไหลเร็วแต่ตื้น ทำให้มีคลื่นม้วนเข้าไปกระทบริมตลิ่ง เรือเดินทางด้วยความยากลำบาก มันจึงกินเวลาถึงสี่วันก่อนจะไปถึงกาญบุรี (Kanburi) หรือ ปากแพรก (Pak-Phrek) ด้วยความยากลำบาก เมืองนี้เป็นเมืองปราการ เป็นเมืองหลักทางตะวันตกสุดของประเทศ ที่เมืองนี้แม่น้ำแบ่งออกเป็นสองสาบ สายหนึ่มาจากทิศตะวันตกมาจากหุบเขาที่มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ ชนเผ่านี้ครอบครองเหมืองตะกัวจำนวนมาก แม่น้ำอีกสายหนึ่งมาจากทางเหนือผ่านหุบเขาที่สูงชันและป่าเถื่อนซึ่งแทบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จังหวัดนี้มีไม้ฝาง ไม้มะค่า ไม้ไผ่ชั้นดี และไม้ที่เหมาะกับการก่อสร้างต่างๆ ชาวจีนประกอบอาชีพทำไร่ยาสูบ มัน และมันฝรั่ง ชาวบ้านอื่นๆ มักปลูกข้าว ล่าสัตว์ ตกปลา ทำไต้ สร้างเรือ ตัดไม้ไผ่และไม้อื่นๆ พวกเขาทำแพยาวเพื่อใช้ลอยไปตามแม่น้ำในเวลาที่น้ำขึ้นสูง
หลังจากใช้เวลาเยี่ยมเยียนและดูแลชาวจีนลูกศิษย์ของข้าพเจ้าแล้ว พวกเขาก็นำไก่ เป็ด เนื้อกวาง ไข่เค็ม มันฝรั่ง มันเทศ กล้วย ยาสูบ และเสบียงอื่น ๆ มาใส่เต็มเรือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเดินทางกลับโดยทางแม่น้ำ ใช้เวลาสามครึ่ง ข้าพเจ้าก็เดินทางมาถึงท่าจีนในตอนเย็นของวันที่ 18 มิถุนายน และเช้าวันรุ่งขึ้น พวกเราล่องขึ้นไปตามแม่น้ำ และแทบไม่ได้เลี้ยวไหนเลย จนมาฝูงลิงหลชายร้อยตัวกำลังหาอาหารกลางวันโดยการเข้าไปรื้อบ้านเรือนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง ซึ่งคนแถวนั้นดูสนุก และก็ต่อสู้กับลิงเหล่านั้นแบบชบขั้นและมีความสุข พวกเขายังโยนกล้วยให้พวกมันด้วย ฃ
อย่างไรก็ตาม ตลอดสองฝั่งเป็นไร่อ้อยขนาดใหญ่ ทำให้พวกเรารู้ได้ว่ากำลังเข้าเขตของจังหวัดนครชัยศรี และที่จริงแล้ว โรงงานน้ำตาลก็อยู่ติดๆ กันตลอดทาง ข้าพเจ้านับได้มากกว่าสามสิบแห่ง ซึ่งแต่ละคนจ้างคนงานเชื้อสายจีนสองถึงสามร้อยคน จังหวัดนี้มีผลผลิตทางการเกษตรมากและดินมีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากข้าวและน้ำตาลแล้ว ยังผลิตคราม ข้าวโพด มันฝรั่ง และผักทุกชนิด สวนของพวกเขามีการขุดคลองนับไม่ถ้วนเพื่อให้น้ำ ทำให้มีผลไม้นานาชนิดอุดมสมบูรณ์ พอตกกลางคืน พวยกเราก็มาถึงโบสถ์ของเรา ที่สร้างด้วยไม้ไผ่และคลุมด้วยใบไม้ เช้าวันรุ่งขึ้น ก็มีคนเชื้อสายจีนจีนหนึ่งร้อยห้าสิบคนมาร่วมร้องเพลง สวดมนต์ ฟังเทศน์ สารภาพบาปและรับวัตถุมงคลจากทางโบสถ์ หลังจากเก้าวันของการอดอาหาร ซึ่งทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กต่างยอมอดเนื้อหมู ไก่ และเป็ด ขนมและผลไม้ แต่ว่าดื่มเหล้าหรือบรั่นดีจากข้าวปริมาณเล็กน้อย
วันที่ 23 มิถุนายน ข้าพเจ้าอำลาพวกเขาและเดินทางต่อไป ในตอนเย็นข้าพเจ้ามาแวะที่นครไชยศรี เมืองนี้ไม่มีอะไรน่าสนใจ บ้านเรือนสร้างด้วยไม้ไผ่อยู่กันเป็นกลุ่มประมาณห้าร้อยหลัง เว้นแต่บ้านผู้ว่าราชการซึ่งทำด้วยไม้กระดาน ซึ่งเขาขู่ว่าจะทำลายโบสถ์ของพวกเรา ข้าพเจ้าจำเป็นต้องไปหาเขาเพื่อแจ้งว่าข้าพเจ้าได้รับพระราชอำนาจอนุญาตจากกษัตริย์และได้นำจดหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เขาดู หลังจากนั้นเขาต้อนรับข้าพเจาอย่างสุภาพและสัญญาว่าจะรับดูแลลูกศิษย์ใหม่ของฉันเป็นอย่างดี
เช้าวันที่ 25 ข้าพเจ้าเดินทางต่อไปทางเหนือ ได้เห็นหมูบ้านเล็กๆ ทั้งสองข้างทาง ทางขวาและทางซ้ายกระจัดกระจ่าย มีอยู่วันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้แวะพักที่เจดีย์ร้างแห่งหนึ่ง ขณะที่กำลังหุงข้าวอยู่ ผู้ติดตามของข้าพเจ้าบางคนไปเดินด้อม ๆ มองๆ รอบๆ เจดีย์ และก็ได้ขุดเอาพระพุทธรูปขนาดเล็กประมาณยี่สิบองค์ออกมา บางองค์ทำด้วยแผ่นทองแดง และบางองค์ทำด้วยเงิน เมื่อข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าก็ดุว่าพวกเขาอย่างแรงและโยนพระทั้งหมดลงไปในแม่น้ำโดยพูดกับพวกเขาว่า: “คุณเป็นคนไม่รอบคอบ! ไม่รู้หรือว่ากฎหมายสยาม การขโมยรูปเคารพมีความผิด และลงโทษโดยให้เผาทั้งเป็น!” หลังจากขึ้นแม่น้ำมาแล้วสี่วัน เราก็มาถึงสุพรรณ เมืองที่ปกครองโดยผู้ว่าฯ เป็นเมืองโบราณที่มีซากปรักหักพังและเจดีย์โบราณตั้งอยู่ประปราย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงที่มีทัศนียภาพงดงาม ทางทิศตะวันตกเป็นทิวเขาที่ค่อนข้างใกล้ มีป่าทึบ มีเหมืองตะกั่วสีเงิน ผลผลิตของจังหวัดคือน้ำตาลปึก ข้าว และปลา ซึ่งมีปริมาณมาก แม้ว่าสุพรรณจะอยู่ห่างจากทะเลมากกว่าหกสิบลีก แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีน้ำขึ้นและลง ซึ่งตอนน้ำลงเรือที่มีขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่เนินทรายกลางแม่น้ำ ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าจะไปทางเหนือต่อได้ยาก ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจกลับไปที่นครชัยศรี ซึ่งที่น้ันมีคลองเล็กๆ ที่สามารถเชื่อมไปถึงแม่น้ำของกรุงเทพฯ แต่เนื่องจากช่วงนี้น้ำลงทำให้การพายเรือยากลำบาก พวกเราจึงได้ผูกเรือเข้าด้วยกันแะใช้ควายในการลาก โดยให้เงินตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ กับคนที่นำควายมาให้ใช้ในการณ์นี้
วันที่ 29 มิถุนายน ข้าพเจ้าก็กลับมาที่วิทยาลัยของข้าพเจ้าในกรุงเทพฯ
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2392 ข้าพเจ้าออกจากจูเธียแล้วล่องไปตามแม่น้ำซึ่งมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดเส้นทางพบเรือที่สวยงามหลายลำที่บรรทุกผู้คนซึ่งสวมชุดเทศกาล ผู้หญิง และเด็กหญิงสวมผ้าพันคอไหมประดับประดาด้วย ด้วยสร้อยคอและกำไลทองคำ พวกเขาร้องเพลงนำ ในขณะที่มีการขานรับด้วยคนอื่นๆ ที่อยู่ในงาน และเสริมด้วยดนตรีจากวงบรรเลงที่ส่งเสียงอึกทึก ซึ่งข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าว่ามันเป็นประเพณีของพวกเขาในการออกดไปศักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งข้าพเจ้าจะเก็บเอาไว้อธิบายภายหลัง
สองฝั่งริมน้ำ มีร่มเงาของมะม่วงและมะขาม มีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านปรากฏให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ผู้คนแถวนั้นมีทั้งจับปลา อาบน้ำ และเด็กๆ ก็ลงมาเล่นกันในน้ำหรือเล่นอยู่ที่หาดทราย เต่า นกพิราบ นกแก้วและนกอีกหลายชนิดก็ปรากฏตัวให้เห็นตลอด ข้าพเจ้านั้นมาหยุดนอนหลับพักผ่อนที่หมู่บ้านที่เรียกว่า ท่าเรือ (The-Rua) ซึ่งเป็นจุดที่พวกเราขึ้นฝั่งกันเพื่อจะเดินทางไปพระบาท (Phra-Bat) ซึ่งเป็นเมืองที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาท ซึ่งพวกเราได้พบกับเรือมากกว่าห้าร้อยลำที่มีขนาดใหญ่จอดในบริเวณนี้ และทั่วบริเวณก็สว่างไสว บ้างมีการละเล่นเปิดแสดงอยู่ในเวทีที่ตั้งริมฝั่ง และในเรือก็มีการบรรเลงดนตรี บางคนก็ร้องเพลง แต่พวกเราอยู่ระหว่างการถือศีลอด จึงดื่มแต่น้ำชา พวกเราเล่นทอดลูกเต๋าและไผ่จีน พวกเราทั้งสนุกและต่อปากต่อคำกัน มันช่างเป็นค่ำคืนที่วุ่นวายไปตลอดทั้งคืน
เช้าวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าเห็นทั้งเจ้าชาย, ชาวจีน, ขุนนาง, สุภาพสตรี เด็กสาว และพระสงฆ์ ทุกคนต่างแต่งตัวในวาระพิเศษเช่นนี้ พวกเขาออกมาจากขบวนเรือ และเดินขึ้นฝั่งเป็นกลุ่มใหญ่ มีคนจำนวนหนึ่งเดินเข้าไปหา และพาพวกขุนนางและคนมั่งคั่งขึ้นไปบนหลังช้าง และก็ออกเดินทางไปภูเขาศักดิ์สิทธิ์อย่างมีความสุข ส่วนข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเดินทางในส่วของข้าพเจ้าต่อไป ช่วงบ่ายข้าพเจ้ามาถึงสระบุรี ซึ่งเป็นตัวเมืองของจังหวัด ที่นี่มีประชากร 4,000 คน ข้าพเจ้าเดินทางไปหาผู้ว่าการฯ ซึ่งในตอนแรกเขาต้อนรับข้าพเจ้าอย่างแย่มากและมีอาการหงุดหงิด “อ้า! เขาพูดกับข้าพเจ้าว่าข้าพเจ้าเป็นคนที่หลอกลวงประชาชนของเขาให้เข้ารีดเป็นคริสต์! ข้าพเจ้าสามารถทำให้เขาใจเย็นลงได้ ด้วยการอธิบายให้เขาฟังถึงความงดงามของหลักคำสอนของคริสต์ และเหนือสิ่งอื่นใดก็ด้วยการมอบแก้วคู่หนึ่งที่ปากมีสีเงินสวย ๆ และของเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ ให้เขา ในไม่ช้าเขาก็กลายเป็นเพื่อนกับข้าพเจ้า จนถึงจุดที่ข้าพเจ้าก็สามารถที่จะขอให้เขาเขียนหนังสือพร้อมผนึกด้วยตราประทับของเขาเพื่อแนะนำข้าพเจ้าให้กับหัวหน้าหมู่บ้านทั่วจังหวัดของเขาซึ่งเขาให้ข้าพเจ้าโดยง่าย ซึ่งข้อความในหนังสือได้ระบุเอาไว้ตามนี้ว่า “เราขอแจ้งชาวจีนและหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่อยู่ภายใต้คำสั่งของเราว่านักบวชฝรั่ง (คริสเตียน) คนนี้เป็นเพื่อนของเรา เราสั่งให้คุณปฏิบัติต่อเขาอย่างดี ปกป้องเขา และจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่เขาต้องการให้แก่เขาด้วย” ตัวเขาเองจะไม่ยอมให้ข้าพเจ้าลาจากเขาจนกว่าเขาจะเลี้ยงข้าว ปลา และเนื้อกวางตากแดดให้ข้าพเจ้า
จากสระบุรี ภูมิประเทศกลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าและกันดารมากขึ้น แม่น้ำไหลเร็วขึ้นผ่านก้อนกรวดและก้อนหิน บ่อยครั้งที่พวกเราต้องต้องลงไปในน้ำเพื่อทำให้เรือเบาขึ้น จึงจะสามารถนำเรือผ่านโขดหินบริเวณที่น้ำตื้นได้ แต่ตรงไหนที่น้ำลึกมาก พวกเราก็จะกลับเข้าไปในเรือ เมื่อมาถึงหมู่บ้านที่มีชื่อว่าปากเพรียว (Pak-Priau) ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของน้ำตก เมื่อเรามาถึงและได้ยินเสียงคำรามของสายน้ำจากน้ำตก พวกเราทิ้งไม้พาย โยนตัวเองลงไปในน้ำ แต่ละคนคว้าขอบเรือ และพยายามว่ายน้ำหรือเกาะกับหิน ค่อย ๆ เคลื่อนไปข้างหน้าที่ละน้อย ผ่านโขดหินและคลื่น ซึ่งตลอดระยะทางเจ็ดถึงแปดลีกพวกเราพบกับบริเวณที่เป็นน้ำตกกว่าสิบแห่ง แต่ว่าไม่มีแห่งไหนเลยที่ผ่านไม่ได้ ในระหว่างปีนั้นช่วงที่น้ำหลากน้ำตกเหล่านี้ก็จะหายไปเป็นระยะเวลากว่าหกเดือน
ข้าพเจ้ามาจอดพักอยู่ที่พาสเพรียว (Pas-Priau) ซึ่งบริเวณโดยรอบมีชาวลาวและชาวจีนที่นับถือคริสต์ ข้าพเจ้าแวะไปเทศนาให้กับคนในหมู่บ้านลาวหลายแห่งซึ่งอยู่ในป่าและบนภูเขา ข้าพเจ้าทำพิธีบัพติศมาให้กับผู้นับถือคริสต์ใหม่หลายสิบคน และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2377 ข้าพเจ้ากลับมาที่ท่าเรือ (TM-R~Thà-Rûa) และพบว่าเรือที่จอดเอาไว้ได้หายไป ข้าพเจ้าจึงคิดว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะเดินทางไปดูสถานที่ที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ซึ่งดึงดูดผู้คนหลั่งไหลกันมามากมายทุกปี เช้าวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าจ้างมัคคุเทศก์คนหนึ่ง ขี่ช้าง และออกเดินทางไปยังพระบาท โดยที่ผู้ติดตามของข้าพเจ้าเดินตามหลังมา ข้พเจ้ารู้สึกประหลาดใจมากที่ไดเห็นว่าถนนถูกทำให้กว้างสวยงาม และปูด้วยอิฐตลอดเส้นทางที่ผ่านผืนป่า สองข้างทางของถนน ในทุกลีก เราพบจุดแวะพักที่ทำเป็นศาลา และมีบ่อน้ำสำหรับผู้มาแสวงบุญ แต่ในไม่ช้าพื้นดินก็เริ่มคลุคละ พวกเราจึงหยุดอาบน้ำที่สระน้ำขนาดใหญ่ตอนเวลาประมาณสี่โมงเย็น แล้วพวกเราก็มาถึงวัดใหญ่ที่เรียกว่าวัดพระบาท สร้างขึ้นบนทางลาดเชิงเขาที่สวยงามซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นโขดหินแปลกที่มีสีฟ้า วัดนี้มีกำแพงล้อมรอบหลายชั้น เมื่อเข้าไปถึงชั้นที่สองแล้ว เราพบเจ้าอาวาสนั่งอยู่บนแท่นในห้องที่เปิดโล่งและมีผู้คนมากมายรุมล้อม
คนรับใช้ของเจ้าอาวาสตะโกนตะคอกใส่ข้าพเจ้า ให้ทำการคำนับ แต่ข้าพเจ้าไม่ทำ เจ้าอาวาสบอกคนพวกนั้นว่า “หุบปาก! ไม่รู้หรือว่าฝรั่งให้เกียรติผู้อื่นด้วยการยืน?” ข้าพเจ้าเดินเข้าไปหาเจ้าอาวาสและส่งขวดเกลือหอมให้ คาดว่าเขาจะชอบกลิ่นของมัน ข้าพเจ้าร้องขอให้เจ้าอาวาส แนะนำคนที่จะพาพวกเราไปดูรอยพระพุทธบาท ท่านเจ้าอาวาสจึงได้ให้คนของท่านนำทางพวกเราไปทันที่ พวเราเดินผ่านสนามกว้างที่ล้อมรอบด้วยอาคารที่สวยงาม มีโบสถ์ขนาดใหญ่สองหลัง จนกระทั้งเดินมาถึงบันไดหินอ่อนที่มีราวทองแดงที่ทอง พวกเราก็เดินไปตามระเบียงซึ่งอยู่บริเวณฐานของพระพุทธบาท อาคารที่สวยงามแห่งนี้ปิดทองทั้งหมดทุกด้วน ด้านล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ด้านบนมีรูปทรงโดม ซึ่งปลายยอดสูงประมาณหนึ่งร้อยยี่สิบฟุต ประตูและหน้าต่างบานเป็นแบบบานคู่ ที่เป็นงานฝีมือประณีต ประตูด้านนอกฝังด้วยเปลือกหอยมุกที่ทำเป็นลวดลายสวยงาม ส่วนประตูด้านในประดับด้วยภาพเขียนสีทองงดงามตระการตา บรรยายเรื่องราวพุทธประวัติ
การตกแต่งภายในนั้นงดงาม พื้นปูด้วยเสื่อเงิน ด้านล่างและบนบัลลังก์ปิดทองประดับด้วยอัญมณีมีค่า มีพระพุทธรูปเนื้อเงินที่มีความสูงเท่าคนจริง ตรงกลางมีม่านสีเงินที่ล้อมรอบรอยพระพุทธบาท ที่มีความยาวประมาณสิบหกหรือสิบแปดนิ้ว พวกเราาไม่อาจมองเห็นได้ชัดเจนนัก เพราะมันถูกดปังด้วยแก้วแหวนทองคำ ต่างหู กำไล และสร้อยคอ ซึ่งผู้ศรัทธาจะโยนไปที่นั่นเมื่อมาสักการะ มีเรื่องเล่าสองเรื่องเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทน้ี ในปี ค.ศ. 1602 มีการแจ้งกษัตริย์แห่งจุเทียว่าถึงการค้นพบรอยพระบาทที่ก้นภูเขา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า กษัตริย์แห่งจุเทียจึงได้ส่งหมอหลวงซึ่งหมอหลวงส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาเพื่อมาตรวจสอบ ซึ่งหลังการตรวจสอบแล้วหมอหลวงก็ได้รายงานว่ารอยตรงนี้ตรงกับคำบรรยายเกี่ยวกับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าในตำราภาษาบาลี เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น และได้ข้อยุติที่น่าเชื่อถือแล้ว กษัตริย์แห่งจุเทียจึงได้ทรงสั่งให้มีการสร้างวัดขึ้นมาในบริเวณรอยพระพุทธบาท ซึ่งวัดก็ได้รับการขยายและทำนุบำรุงเรื่อยมา
หลังจากแวะไปชมรอยพระพุทธบาทแล้ว เจ้าชายซึ่งเป็นอาวาสก็ได้พาพวกเราไปดูบ่อน้ำลึกที่ขุดลงไปในหิน เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของภูเขาลูกนี้และบริเวณโดยรอบรัศมีแปดลีก เขามีข้ารับใช้กว่าสี่หรือห้าพันคน และเขาสามารถจะจ้างคนเท่าไหร่ก็ได้ตามแต่ที่ต้องการเพื่อมารับใช้ภายในวัดแห่งนี้
ตอนที่ข้าพเจ้าพักอยู่ที่วัด ข้าพเจ้าถูกประนิบัติราวกับเจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าสังเกตุเห็นว่าอาหารถูกเตรียมโดยหญิงสาวประมาณยี่สิบคน และยังมีกลุ่มชายฉกรรจ์อยู่คอยรับใช้พวกเรา ซึ่งหามิได้ในวัดอื่น
เจ้าอาวาสทรงให้พวกเราพักอยู่ในบ้านไม้ที่สร้างอย่างดี มีคนรับใช้สองคนเพื่อปรนนิบัติและดูแลข้าพเจ้า แต่กำชับห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าออกไปด้านนอกในเวลากลางคืนเพราะว่าเสือ เช้าวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าไปบอกลาจากเจ้าอาวาส และขึ้นขี่ช้างของข้าพเจ้า ใช้ถนนอีกสายหนึ่ง พวกเราเดินทางรอบตีนเขาไปยังจุดที่มีน้ำพุพวยพุ่ง ที่นั่นพวกเราพบพืชที่น่าสนใจ ใบของต้นไม้นี้ทั้งมีรูปร่างและสีเหมือนผีเสื้อ พวกเราแวะทานอาหารกลางวันกันแบบสบายๆ ในบ้านหลังแรกที่พวกเราเจา และในตอนเย็น เวลาสี่โมงเย็น พวกเราก็กลับไปขึ้นเรือของเรา หลังจากพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มแล้ว เราก็ออกจากจากท่าเรือเพื่อกลับไปที่โบสถ์ของเราที่จูเทีย