Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

The Paris Uprising 1832

กบฏปารีส (The Paris Uprising of 1832)

หรือ กบฏมิถุนายน (June Rebellion) ระหว่าง 5-6 มิถุนายน 1832 เป็นการลุกฮือประท้วงของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ต่อต้านการที่รัฐบาลแต่งตั้งกษัตริย์หลุยส์-ฟิลิปเป้ ที่ 1 เป็นกษัตริย์ของฝรั่งเศส  เหตุการณ์จบลงด้วยฝ่ายกบฏถูกปราบปราม  เหตุการณ์นี้ถูกนำไปใช้เป็นฉากในนิยาย  Les Miserables ของวิคเตอร์ ฮูโก้ (Victor Hugo)

ก่อนเหตุการณ์กบฏปารีส 

หลังการปฏิวัติกรกฏาคม 1830 (The July Revolution of 1830)  กษัตริย์ชาร์ล ที่ 10 (King Charles X  ) แห่งราชวงศ์บัวร์บอง (House of Bourbon) ถูกกดดันให้ต้องสละราชสมบัติ พระองค์นั้นได้เสด็จลี้ภัยไปยังสหราชอาณาจักร

7 สิงหาคม 1830, รัฐสภาของฝรั่งเศส นำรัฐธรรมนูญ 1814 (Charter of 1814) มาปรับปรุงใหม่ และผ่านออกมาเป็นรัฐธรรมนูญ 1830 (Charter of 1830) ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Constitution Monarchy) เดิมที่นั้นกษัตริย์ชาร์ล ที่ 10 ได้ทรงเลือกอองรี แห่งชอมบาร์ด (Henri, comte de Chambord) พระนัดดาของพระองค์เอาไว้เพื่อเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ แต่ว่าอองรีนั้นปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง ทำให้ราชวงศ์บัวร์บองมีอันต้องสิ้นสุดลง

9 สิงหาคม 1830, กษัตริย์หลุยส์-ฟิลิปเป้ ที่ 1 (King Louis-Philippe) แห่งราชวงศ์ออร์ลีน (House of Orleans) ซึ่งเป็นพระญาติของกษัตริย์ชาร์ล ที่ 10 และมีพระองค์มีแนวคิดที่เสรีนิยมกว่าถูกเลือกให้สืบราชสมบัติแทน

ช่วงรัชสมัยที่กษัตริย์หลุยส์-ฟิลิปเป้ ครองราชย์นั้นถูกให้ฉายาว่า ราชวงศ์กรกฏาคม (July Monarchy, 1830-1848)

ฝ่ายที่สนับการปกครองโดยกษัตริย์ เวลานั้นถูกเรียกว่า ออร์ลีนิสต์ (Orleanists)

ส่วนฝ่ายที่ต่อต้านกษัตริย์ เรียกว่า เลจิติมิสต์ (Legitimists)


1832

การขึ้นครองราชของกษัตริย์พระองค์ใหม่ ยังคงสร้างความไม่พอใจให้กับพวกนิยมระบบสาธารณรัฐ ที่ยังฝังใจกับความสูญเสียในเหตุการณ์การปฏิวัติกรกฏาคม 1830  พวกฝ่ายต่อต้านกษัตริย์จึงได้วางแผนที่จะก่อการปฏิวัติขึ้นอีก 

ประกอบกับในช่วงเวลานั้น รัฐบาลไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจได้ เศรษฐกิจของฝรั่งเศสประสบกับความยากลำบาก ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ และค่าครองชีพก็ฟุ่งสูงขึ้นรุนแรง

และในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1832 นั้น เกิดการระบาดอย่างหนักของโรคอหิวาห์ฝรั่งเศส ทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตนับแสนคน เฉพาะในฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิต 18,000 คน

1 มิถุนายน, นายพลณอน แม็กซิมิเลียน ลามาร์ก (Jean Maximillian Lamarque) ผู้บัญชาการทหารที่ได้รับความนิยม และเป็นฝ่ายต่อต้านกษัตริย์คนสำคัญในรัฐสภา ก็เสียชีวิตด้วยโรคอหิวาห์อย่างกระทันหันด้วยเช่นกัน

3-4 มิถุนายน, ดัชเชสส์แห่งเบอร์รี่ (Duchess of Berry) มารดาของอองรี แห่งชอมบาร์ด พยายามก่อการกบฏเพื่อโค่นกษัตริย์ชาร์ล ที่ 10 เพื่อที่จะตั้งให้อองรี ลูกของเธอขึ้นเป็นกษัตริย์ตามพระประสงค์เดิมของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 10 แต่ว่าความพยายามก่อการของเธอล้มเหลว และเธอต้องหลบหนีไปซ่อนตัวนานกว่า 5 เดือนก่อนที่จะถูกจับได้ และถูกขังคุก

5-6 มิถุนายน, เหตุการณ์กบฏปารีส (Paris Uprising) งานศพของนายพลฌอน ลามาร์กจัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งมีประชาชนหลายพันคนเข้าร่วมงาน แต่ว่าในเวลาไม่นานงานศพก็กลายเป็นการต่อต้านรัฐบาล โดยมีประชาชนประมาณ 100,000 คนได้ทำการยึดกรุงปารีส พวกเขาได้สร้างแนวกั้นทางเอาไว้ตามถนนหลายสายในกรุงปารีส และได้ยึดจตุรัสบาสติล (Place de la Bastille) สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ครั้งที่ 1 (Frence Revolution 1789) เป็นฐาน และใช้ธงแดงที่มีสโลแกนว่า “เสรีภาพหรือความตาย (Liberty of Death) เป็นสัญลักษณ์

ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลใช้กำลังตำรวจเข้าปราบปราม โดยมีกำลังพล 40,000 คน และมีการยิงปะทะกับผู้ประท้วงหลายจุด ทั้งบริเวณถนนเซนต์มาติน (rue Saint-Martin) ถนนเซนต์เดนิส (rue Saint-Denis) โดยที่มีการต่อสู้กันหนักที่สุดคือ ถนนใกล้กับโบสถ์เซนต์แมร์รี่ (The Cloître Saint-Merri)

แต่ว่าการก่อการกบฏของพวกเขาล้มเหลวในเวลาอันรวดเร็วเพียง 2 วัน เพราะว่าประชาชนมากไม่ได้ให้การสนับสนุน และผู้ประท้วงก็ถูกทางการปราบลงอย่างเด็ดขาด มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน 


วิเตอร์ ฮิวโก้ ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์กบฏมิถุนายนนี้ เพราะตอนที่เกิตการกบฏขึ้นนั้น เขานั่งอยู่ในสวนตุยเลอรี่ส์ (Tuileries Gardens) และได้ยินเสียงปืนดังขึ้น จึงพยายามตามเสียงปืนไปเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น และไม่ได้ระวังตัวจนตัวเองอยู่บริเวณศาลากลาง (Les Halles) จุดหนึ่งที่มีการต่อสู้กันอย่างหนัก

หลังเหตุการณ์นี้ ฮิวโก้ จึงได้เขียนนิยาย Les Miserables ขึ้นมา แต่ว่านิยายของเขามักถูกสับสนเข้าใจผิดว่าเป็นเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789 (French Revolution 1789)

Don`t copy text!