บาฟนูตี เชบีเชฟ (Пафнутий Дьвович Чебышёв)
บิดาแห่งคณิตศาสตร์ของรัสเซีย
เชบีเชฟ เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม 1821 (16 พฤษภาคม, ปฏิทินปัจจุบัน) ในโอกาโตโว่, กาลุก้า, จักรวรรดิรัสเซีย (Okatovo} Kaluga Governorate, Russian Empire) เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย
ครอบครัวของเขามีฐานะดี พ่อแม่ของเขาเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก พ่อมีชื่อว่าเลฟ (Lev Pavlovich Chebyshov) เป็นอดีตทหารในกองทัพรัสเซีย เคยร่วมในสงครามระหว่างรัสเซียกับ่นโปเลียน (Napolean) ซึ่งรัสเซียเป็นฝ่ายชนะ ส่วนแม่ของเขาชื่อว่าเอกราเฟน่า (Agrafena Ivanovna Pozniakova) เชบีเชฟมีพี่น้องผู้ชายสี่คน และพี่น้องผู้หญิงสี่คน
เชบีเชฟ มีความผิดปกติในการเดิน ที่เรียกว่าเทรนเดเลนเบิร์กเกต (Trandelenburg’s gait) มาตั้งแต่เล็ก ทำให้ในวัยเด็กเขาต้องอาศัยไม้เท้าในการช่วยเดิน
ในวัยเด็กแม่ของเขาเป็นผู้ที่สอนหนังสือให้เขา โดยสอนทั้งภาษารัสเซีย, ฝรั่งเศส คณิตศาสตร์ และดนตรี โดยที่มีญาติ ชื่อชุคาเรว่า (Avdotya Kvintilianovna Sukhareva) ซึ่งทำงานราชการ เป็นครูอีกคนที่สอนหนังสือให้เขาด้วย
1832 ตอนที่มีอายุได้ 11 ปี ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในมอสโคว์ และได้มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์กับโปโกเรลสกี้ ( P. N. Pogorelski) หนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศในเวลานั้น
1837 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลับมอสโคว์ (Moscow State University) และได้เรียนกับ ศจ.บราสแมน (Nikolai Dmetrievich Brashman) ศาสตราจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์
1840 ที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์มีการจัดการแข่งขันทางด้านคณิตศาสตร์ขึ้น และเชบีเชฟ ได้ส่งผลงานของเขาเรื่อง The Calculation of roots equations of nth degree เข้าประกวด ซึ่งผลงานของเขาได้รับเหรียญเงิน
1841 จบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยมอสโคว์ โดยได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และหลังจากจบ เขาได้เลือกที่จะเรียนต่อโท เพื่อได้ร่วมงานกับ ศจ.บราสแมน ต่อ
1842 เชบีเชฟ ส่งผลงานคณิตศาสตร์ของเขา ไปให้กับหลุยส์วิลล์ (Joseph Liouville) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งงานจองเชบีเชฟถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารของหลุยส์วิลล์ ในปี 1843
1844 มีผลงานของเชบีเชฟ อีกชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารของออกัส แคร์ (August Crelle) ซึ่งเป็นผลงานเกี่ยวกับ the convergence of Taylor series
1846 จบปริญญาโท จาก ม.มอส์โคว์ และหลังจากเรียนจบเขาได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg University) โดยเชบีเชฟ ได้ส่งผลงาน On integration by means of logarithms ไปยังมหาวิทยาลัยตอนที่เขาสมัครเป็นอาจารย์ที่นั่น
1849 สำเร็จปริญญาเอก โดยที่เขียนวิทยานิพนธ์ด้านคณิตศาสตร์เรื่อง “Theory of Congruences” ซึ่งเป็นผลงานเอกชิ้นหนึ่งของเขา
มีผลงานเขียนหนังสือ Teoria sravneny (Theory of Congruences) พิมพ์ออกมา ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลจากสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย (Russian Academy of Sciencs)
เชบีเชฟ ยังได้ร่วมกับ บันยากอฟสกี้ (Bunyakovsky) พิมพ์ผลงานเกี่ยวกับ ทฤษฏีจำนวน ลำดับที่ 99 ของออยเลอร์ (Euler’s 99 number theory)
1850 มีผลงานพิสูจน์ทฤษฏี Bertrand’s conjecture ซึ่ง ทฤษฏี Bertrand’s conjecture ได้บอกว่า มีจำนวนเฉพาะ (prime numbers) อย่างน้อย 1 ตัว เสมอ ระหว่าง n และ 2n … เมื่อ n>3
ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ ม.เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
1852 เดินทางไปฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม และเยอรมัน เพื่อศึกษาดูงานพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมในต่างประเทศ
1867 พิมพ์ผลงาน On mean value
1882 เกษียณจากมหาวิทยาลัย
1894 26 พฤศจิกายน (8 ธันวาคม N.S.), เสียชีวิตในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก